การจัดการความรู้ในสถานศึกษา


การจัดการความรู้สู่สถานศึกษา

การจัดการความรู้ในสถานศึกษา

       สังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา  ตระหนักถึงความสำคัญ  ความจำเป็นของการเรียนรู้  เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ในทุกเวลา  ทุกสถานที่  ของคนทุกคนในทุกสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ในสถานศึกษาก็เช่นเดียวกัน  การที่จะสร้างสมรรถนะคนในสถานศึกษาให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้นั้น  ผู้บริหารจำเป็นต้อง ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้  เทคโนโลยีและสารสนเทศ  วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ  สร้างแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้   รวมถึงนวัตกรรมต่างๆ เพื่อให้บุคคลในสถานศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง

ขั้นตอนในการจัดการความรู้สถานศึกษา 

1. ปรับวัฒนธรรมองค์กรให้เหมาะสมในการจัดการความรู้ เปลี่ยนแปลงค่านิยมและพฤติกรรม สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน  กล้านำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ ร่วมกันสร้างโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม

 2.    สื่อสารสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการ บทบาทหน้าที่ เป้าหมายของการจัดการความรู้ ตลอดจนความยาก และปัญหา

3.     กระบวนการและเครื่องมือในการจัดการความรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ถ้าเป็นการจัดการความรู้ประเภทชัดแจ้ง มักจะใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้ประเภทฝังลึก มักจะเป็นกระบวนการที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแบ่งปันได้  ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการร่วมกัน    สอนงาน เรียนรู้โดยการปฏิบัติ จัดชุมชนนักปฏิบัติ

4.     เรียนรู้ เพื่อสร้างความรู้ต่อยอด ซึ่งมีวิธีการต่าง ๆ ที่หลากหลาย

      สถานศึกษาจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย  ประสานชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  ให้บรรลุตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ  มีความรู้คู่คุณธรรม  สถานศึกษา จึงดำเนินการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ในสถานศึกษา    ดังนี้                         

      ๑.  ส่งเสริมให้ครู   นักการ  ลูกจ้าง  เป็นคนดี คนเก่ง ให้ได้แสดงความรู้ ความสามารถให้มาก

       ๒. ประชาสัมพันธ์  เผยแพร่ ผลงานของผู้บริหาร ครู นักการ ลูกจ้าง

       ๓.   สนับสนุนให้ครูเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ใช้ผลงานวิจัยประกอบการวางแผนและแก้ปัญหาเผยแพร่ผลงานวิจัยของ  ผู้บริหาร  ครู ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษา การจัดการเรียน การสอนและควรเป็นงานวิจัยและพัฒนา

      ๔.  กระตุ้นให้ครู ผู้บริหารร่วมกันคิดและสร้างสรรค์ให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ

      ๕.   ส่งเสริมสนับสนุน ให้เกิดความร่วมมือกันทางวิชาการ ระหว่างโรงเรียนเอกชนและโรงเรียนในกลุ่มเครือข่าย                               

      ๖.  ส่งเสริมการสร้างเครือข่าย ระหว่างบุคคลและเครือข่ายระหว่างหน่วยงานกับสถานศึกษา  

       การจัดการความรู้ในสถานศึกษา เป็นวิธีการ หรือแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้โรงเรียนสามารถพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่บรรลุวัตถุประสงค์ ตามพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 ได้อย่างมีประสิทธิผล โดยนำความรู้ของแต่ละคนที่มีอยู่รอบ ๆ ตัว และที่มีอยู่ในตัวเองมารวบรวมเป็นวิธีการปฏิบัติงานที่ดีที่สุด (Best Practice : BP) เพื่อนำมาแก้ปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติงาน และการนำความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาและประสบการณ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือสร้างความรู้ใหม่ และนำมาบันทึกไว้ในรูปสื่อต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการทำงานขององค์กร

แหล่งอ้างอิง   

          ศึกษาธิการ, กระทรวง. การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล.  

                    กรุงเทพฯ :ม.ป.ท. 2546. 
          ศึกษาธิการ, กระทรวง. สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา การจัดการความรู้ใน

                    สถานศึกษา.  กรุงเทพฯ : ม.ป.ท..   2548.

          สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ.

                   กรุงเทพฯ :  จิรวัฒน์ เอ็กเพรส จำกัด. 2544 . 

          สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.เทคนิคการประชุมระดมความคิดแลกเปลี่ยน

                    ความรู้ฝังลึก.    กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.. 2548.  

        อภิวัฒน์   ทรัพย์ศิริ. สังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา 

                   [online].   เข้าถึงได้จากhtty//www.google.co.th.(2550,ตุลาคม 12 )

 

หมายเลขบันทึก: 341940เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2010 09:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท