บทความเพื่อการเรียนรู้


ความจำเป็นของนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่อการจัดการศึกษาตลอดีวิต
บทความ : ความจำเป็นในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต นางสุมลฑา ชูจร ........................................................................................................................................................................ เทคโนโลยีสมัยใหม่ ไม่ว่าเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้การจัดการศึกษาบรรลุอุดมการณ์การศึกษาตลอดชีวิตสำหรับทุกคนได้เป็นอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะ การจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ตอบ บทบาทสำคัญของเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการช่วยให้การจัดการศึกษาบรรลุอุดมการณ์การศึกษาตลอดชีวิต 1. การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา 1.1 การจัดทำแผนการนำเทคโนโลยีมาใช้ 1.2 การพัฒนาหรือจัดหาระบบเทคโนโลยีที่ต้องการ มีระบบที่เหมาะสม 1.3 การพัฒนาบุคลากรที่ควบคุมการใช้เทคโนโลยี 1.4 การบำรุงรักษา สื่อ ซอร์ฟแวร์ ที่รองรับการเปลี่ยนแปลง 1.5 การติดตาม ประเมินผล 2. การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาในฐานะเครื่องมือการบริหาร 2.1 เป็นเครื่องมือในการบริหารองค์กร เพื่อกำหนดเป้าหมาย สนับสนุน จัดการ ประสานสัมพันธ์ 2.2 เครื่องมือด้านธุรการ ผลิตเอกสาร นัดหมาย ทะเบียน บัญชี 2.3 บริหารบุคคล 2.4 บริหารวิชาการ ระเบียนสะสม วัดและประเมินผล รายงานผล 2.5 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ 3. การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือทางวิชาการ ในฐานะทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการเรียน 3.1 ข้อมูลสารสนเทศ ข่าวสาร 3.2 บุคคล 3.3 ผู้เชี่ยวชาญ 3.4 วัสดุ 3.5 เครื่องมือ 3.6 เทคนิค 4. การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือทางวิชาการ ในฐานะทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ 4.1 สร้างความเร้าใจให้กับผู้เรียน กระตุ้นการเรียนรู้ สร้างโอกาสทางการเรียนรู้มากขึ้นเนื่องจากการใช้สื่อที่ทันสมัย หลากหลาย 4.2 สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ สร้างโอกาสให้ครูในการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย 5. การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือทางวิชาการ ในฐานะทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการสอน 5.1 การใช้โปรแกรมในห้องเรียนในรูปแบบของการปฏิบัติ 5.2 การใช้โปรแกรมเพื่อการติว ตัวอย่างการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต เช่น E-library E-library มาจากคำว่า Electronic Library หรือห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง แหล่งความรู้ที่บันทึกข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและให้บริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์หรือผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยการทำงานของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ห้องสมุดดิจิตอล ห้องสมุดเสมือน ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เป็นระบบการทำงานของห้องสมุดโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เพื่อให้การทำงานของฝ่ายต่างๆ ในห้องสมุดสามารถทำงานเชื่อมโยงประสานกันได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องทำงานด้วยมือซ้ำหลายๆครั้ง ห้องสมุดดิจิตอล หมายถึง ห้องสมุดที่มีการจัดการและให้บริการเนื้อหาของข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลที่ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาฉบับเต็มได้โดยตรง มีการสร้างหรือจัดหาข้อมูลดิจิตอลมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อความสะดวกในการสืบค้นและให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ห้องสมุดเสมือน หมายถึง สถานที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้คอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันได้ทั่วโลก ห้องสมุดเสมือนจึงเป็นที่รวมแหล่งสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการจัดการอย่างมีระบบและให้บริการค้นคืนสารสนเทศแบบออนไลน์ในระบบเครือข่าย โดยที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงระยะไกลมายังห้องสมุดเพื่อสืบค้นและใช้สารสนเทศของห้องสมุดหรือเชื่อมโยงกับแหล่งสารสนเทศอื่นได้ทุกที่ในระบบเครือข่าย เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนั้นความหมายของคำว่าห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุดดิจิตอลและห้องสมุดเสมือน จึงมีความคล้าคลึงกันในหลายด้าน เช่น การจัดเก็บข้อมูลไว้ในระบบฐานข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) และให้บริการข้อมูลผ่านเครือข่าย แต่มีความแตกต่างในจุดเน้นบางประการ เช่น ห้องสมุดดิจิตอลมีการบริการเนื้อหาข้อมูลโดยตรง ห้องสมุดเสมือนเน้นการเชื่อมโยงข้อมูลจากหลายแหล่งไว้ด้วยกันโดยไม่จำเป็นต้องมีอาคารสถานที่ในการจัดเก็บ เป็นต้น ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ เป็นผลจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่ก็คงจะคาดการณ์ได้ยากว่าจากห้องสมุด อิเล็กทรอนิกส์และห้องสมุดเสมือนแล้วจะเกิดอะไรขึ้นตามมาอีกความพร้อมที่จะปรับตัวตามสภาพแวดล้อมที่แตกต่างไปจากเดิมคงจะเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ปฎิบัติงานสารนิเทศทั้งหลาย และการเสาะแสวงหาความรู้เพิ่มเติม การเพิ่มพูนทักษะโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีจะทวีความสำคัญยากขึ้น เพราะพัฒนาการของห้องสมุดในอนาคตคงจะเป็นการผสมผสานกันระหว่างความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการสื่อสารที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการบริการสารนิเทศให้แก่ผู้ใช้ ซึ่งส่วนใหญ่คงจะเป็นผู้ใช้ที่ไม่เห็นตัว(Invisibleusers) ที่ใช้บริการผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง ลักษณะของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ 1. การจัดการทรัพยากรสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์ 2. ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศโดยทางอิเล็กทรอนิกส์ 3. บรรณารักษ์หรือบุคลากรของห้องสมุดสามารถแทรกการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับห้องสมุดได้ เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ได้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์ 4. ความสามารถในการจัดเก็บ รวบรวมและนำส่งสารสนเทศสู่ผู้ใช้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์ ประโยชน์ของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ประโยชน์ของการพัฒนาห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ คือ การจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบช่วยเพิ่มความรวดเร็ว ในการเข้าถึงข้อมูลหรือค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ในเวลาที่ต้องการเป็นการแพร่กระจายความรู้ให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกยิ่งขึ้นโดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่เช่นเดียวกับการดำเนินงานขององค์กรในลักษณะ e-Office และ e-Commerce เป็นต้น ข้อจำกัด -ผู้ใช้จะต้องมีอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เนต -ผู้ใช้ต้องมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ………………………………………………………………………………
หมายเลขบันทึก: 342012เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2010 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท