ข้อสอบข้อที่ 3 (การจัดการความรู้)


       การจัดการความรู้กล่าวได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญคือ โดยเป็นการดึงเอาความรู้ที่กระจัดกระจาย ฝังอยู่ทั่วไปภายในสถานศึกษา  ออกมารวบรวม และแบ่งกลุ่ม จัดเก็บให้เป็นองค์ความรู้ขององค์สถานศึกษา  เพื่อเป้าหมายในการพัฒนาคนในสถานศึกษาให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้  และนำไปสู่ องค์กรแห่งการเรียนรู้ต่อไป  โดยรูปแบบการจัดการความรู้ในสถานศึกษา สามารถยกตัวอย่างกิจกรรมการดำเนินการได้ดังนี้  (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  2549 : 201)

                1.กำหนดระดับความรู้ภายในขอบเขตขององค์การ  (สถานศึกษา)    เช่น  ความรู้ส่วนบุคคล  ความรู้ของกลุ่ม  หรือความรู้ของทั้งองค์การ  ทั้งนี้  เพื่อให้สามารถแยกแยะ  จัดระดับความสำคัญ  กำหนดรูปแบบในการจัดเก็บและค้นหา  ตลอดจนรูปแบบในการแลกเปลี่ยนความรู้นั้น ๆ  ได้อย่างเหมาะสม

                2.สร้างความรู้หรือได้มาซึ่งความรู้จากการทำงานของบุคลากร  โดยความรู้ที่เกิดขึ้นมักเป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวบุคคลอย่างไม่รู้ตัว  ซึ่งจำเป็นต้องถูกแปลงออกมาเป็นความรู้ที่เป็นรูปธรรม  และสามารถตระหนักได้โดยบุคลากรในองค์กร

                3.รวบรวมและตีความหมายของความรู้จากสื่อที่หลากหลาย  เช่น กระดาษ  ไปรษณีย์อีเล็กทรอนิกส์ หรือมัลติมีเดีย  เป็นต้น  ซึ่งบ่อยครั้งที่พบว่ายังมีความรู้อีกมากที่สามารถสกัดได้จากสื่อที่ใช้ในการดำเนินการโดยทั่วไปขององค์การ  หากผู้ปฏิบัติเล็งเห็นถึงคุณค่าของความรู้อย่างแท้จริง  และรู้จักใช้ความคิดเชิงวิเคราะห์ได้เป็นอย่างดี

                4.จัดเก็บความรู้ในสื่อต่าง ๆ  เช่น  คลังข้อมูล  ฐานข้อมูล  ห้องสมุด  ชั้นหนังสือ  หรือแม้แต่ในสมองของบุคลากรเอง  โดยแยกแยะความเหมาะสมของสื่อจากคุณสมบัติที่แตกต่างกันของความรู้  เช่น  ความรู้เชิงอรรถ  ความรู้เชิงปริมาณ  ความเร็วที่จำเป็นในการค้นหาความรู้เพื่อนำไปใช้  จำนวนผู้ใช้ความรู้ร่วมกัน  ปริมาณรายละเอียดของความรู้  ระดับของความรู้  ความสำคัญของความรู้  หรือแม้แต่อายุของความรู้  เป็นต้น

                5.ประยุกต์และแลกเปลี่ยนข้อมูลจากการทำงานร่วมกัน  หรืออาจโดยผ่านเครื่องมือช่วยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ  ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในการทำงาน  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  และการกลั้นกรองกระบวนการทางความคิดร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

                6.สร้างพัฒนาการและนวัตกรรมจากความรู้  เพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่ความรู้  โดยมีการนำความรู้      ที่ได้มาประยุกต์อย่างเป็นรูปธรรม  สามารถชี้วัดได้ว่าสิ่งใดเกิดจากความรู้เดิม  สิ่งใดเกิดจากความรู้ใหม่  และความรู้ใดที่ยังขาดแคลนอยู่

 

หมายเลขบันทึก: 342134เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2010 19:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท