การจัดการความรู้


การจัดการความรู้ในสถานศึกษา

รูปแบบการจัดการความรู้ในสถานศึกษา 

เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะคนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

         การจัดการความรู้ Knowledge Management (KM) หมายถึง การรวบรวมความรู้สู่การปฏิบัติ (Tacit Knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่เกิดจาก  การเรียนรู้  เจตคติในงาน  ประสบการณ์การทำงาน  และพฤติกรรมการทำงานของแต่ละบุคคล  ซึ่งปฏิบัติงานเรื่องเดียวกันหรือคนละเรื่อง   แล้วประชุมหรือสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน  แลกเปลี่ยนประสบการณ์  เมื่อรวบรวมแล้วก็มีการนำความรู้ที่ได้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือจัดระบบใหม่ เพื่อสร้างเป็น   องค์ความรู้ใหม่  ยอมรับจุดดีและจุดที่เป็นปัญหาของกันและกัน  มีการจัดเก็บข้อสรุปทั้งมวล    อย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่การยอมรับในกฎกติกาขององค์กรที่ทุกคนยอมรับ

    การที่จะสร้างสมรรถนะคนในสถานศึกษาให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้นั้น  ผู้บริหารจำเป็นต้อง ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้  เทคโนโลยีและสารสนเทศ  วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ  สร้างแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้   รวมถึงนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อให้บุคคลในสถานศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง

ขั้นตอนในการจัดการความรู้สถานศึกษา

 1.       ปรับวัฒนธรรมองค์กรให้เหมาะสมในการจัดการความรู้ (Culture Change) 

         2.       สื่อสารสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Communication)

         3.     กระบวนการและเครื่องมือในการจัดการความรู้ (Process and Tools) 

4.     เรียนรู้ (Learning)  เพื่อสร้างความรู้ต่อยอด ซึ่งมีวิธีการต่าง ๆ ที่หลากหลาย สำหรับข้อเสนอแนะในครั้งนี้ เป็นการเรียนรู้โดยการจัดชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) มีกระบวนการขั้นตอนดังนี้

    5.     การวัดผลการจัดการความรู้ (Meausurement) การวัดผลจะทำให้เราได้รู้ว่าการจัดการความรู้ของเรา สามารถก่อให้เกิดการพัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรมจริงหรือไม่ ซึ่งจำเป็นจะต้องจัดทำตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับสิ่งที่เราตั้งเป้าหมายไว้ อย่างน้อยที่สุด 3 ประการ คือ เกิดการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร 

   6.     การยอมรับและให้รางวัล (Recognition and Rewards) ในการจัดการความรู้ให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้นั้น จะต้องมีสิ่งกระตุ้น ผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพิจารณาเรื่องการยอมรับ และให้รางวัล ก็เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญ ความสอดคล้อง และความเต็มใจถ่ายทอดร่วมกับผู้อื่น ซึ่งแต่ละองค์กรต้องพิจารณาตามความเหมาะสม เช่น-          ของรางวัล-          ประกาศเกียรติคุณ-          คำยกย่อง ชมเชย    รางวัลอาจเป็นเงื่อนไขที่ตามมา ดังนั้น จึงควรผลักดันให้ทุกคนเกิดความรู้สึกว่า ผลสำเร็จของงาน คือ รางวัลที่ยิ่งใหญ่ของตนเอง (Self – rewarding)  

                     ตัวอย่าง  การจัดการความรู้ในสถานศึกษา                ดังนี้       

              1. ส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาหลักสูตรและเน้นกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

               2.ให้บุคลากรในสถานศึกษาเป็น เป็นคนดี คนเก่ง ให้ได้แสดงความรู้ ความสามารถโดยวิธีการต่อไปนี้

          - จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับครูผู้สอนดีเด่น   ครูที่ปรึกษาดีเด่น   ครูดีในดวงใจ  ฯลฯ

          - ครูผู้สอนได้มีโอกาส  เข้ารับการอบรม  ประชุมสัมมนา  ศึกษาดูงานในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ 20 ชั่วโมง/คน/ปี

              - ประชาสัมพันธ์  เผยแพร่  ผลงานของผู้บริหารและบุคลากรในสถานศึกษาใน

          3. สนับสนุนให้ครูได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ส่งเสริมการทำผลงานวิจัย ประกอบการวางแผนและแก้ปัญหา   เผยแพร่ผลงานวิจัย

         4.  กระตุ้นให้ครู ผู้บริหารร่วมกันคิดและสร้างสรรค์ให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ทางการจัดการเรียนการสอน โดยใช้ข้อมูลจากประสบการณ์ของผู้ทีประสบผลสำเร็จในการคิดปรับปรุง หรือพัฒนาการจัดการเรียนการสอน                             

            5. มอบรางวัล สร้างขวัญและแรงจูงใจให้แก่  ผู้บริหาร  ครู   ที่มีผลงานดีเด่นเป็นคนคุณภาพ  เพื่อเสริมสร้างกำลังใจในการปฏิบัติงาน    

ที่มา : http://gotoknow.org/blog/vividboo/169217

 

หมายเลขบันทึก: 342178เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2010 22:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท