เมื่อเป็นคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ


การกำหนดคำนิยามที่มีความหมายเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ย่อมเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่ต้องให้สิทธิตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการจะให้นั่นเอง

       คำว่า คนไร้รัฐ คนไร้สัญชาติ ตอนนี้มีหน่วยงานและนักวิชาการให้ความหมายเอาไว้แตกต่างกัน ทำให้การให้ความช่วยเหลือของแต่ละหน่วยงาน อาจจะต่างคนต่างให้เพราะกลุ่มเป้าหมายแตกต่างกัน หรือในการจัดทำงบประมาณอาจจะไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเจ้าหน้าที่ไม่เข้าใจว่า ไปให้ทำไมและจะให้ใคร

      ตอนนี้นักวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันกำหนดคำนิยาม เพื่อให้มีความชัดเจน และเข้าใจในแนวทางเดียวกัน เพราะหากประเทศไทยมีคำนิยามของคนไร้รัฐ คนไร้สัญชาติที่ชัดเจน กระทรวงมหาดไทยยอมรับ และจัดทำบัตรประจำตัวแสดงตน ที่เป็นที่รู้จักของประชาชนคนไทย

       ปัญหาเอกสารแสดงตนที่เจ้าหน้าที่ปฏิเสธไม่ยอมรับ คงหมดไป และคนไร้รัฐ คนไร้สัญชาติคงมีสิทธิในการทำธุรกรรมทางการเงินได้มากกว่าเดิม อย่างเช่น ตอนนี้ คนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ กระทรวงมหาดไทย หมายถึง คนที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน

        แต่นักวิชาการจะนิยามคำที่มีความหมายตรงตัวเลย คือ คนไร้รัฐคืออะไร คนไร้สัญชาติคืออะไร และคนไร้รัฐไร้สัญชาติคืออะไร เหล่านี้ เป็นการกำหนดของแต่ละหน่วยงาน ทำให้ในการศึกษา หากไม่ติดต่อสอบถามหน่วยงานเจ้าของคำนิยาม เราอาจงงว่า แล้วคำว่า คนไม่มีสถานะทางทะเบียนคืออะไร

       ถึงแม้กระทรวงมหาดไทยจะบอกว่า คำนิยามนี้หมายถึงคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ แต่ก็เป็นความเข้าใจเฉพาะหน่วยงาน ดังนั้น หากมีคำนิยามที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ย่อมเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะได้กำหนดสิทธิประโยชน์ได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ กำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

 

     

หมายเลขบันทึก: 342364เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2010 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท