การกำกับดูแลสถาบันการเงินของไทย


การกำกับดูแลสถาบันการเงินไทยในปัจจุบันเป็นเรื่องสำคัญที่ถึงมีอำนาจ แต่จะกำกับดูแลอย่างไรให้ดีและมีประสิทธิภาพ เหล่านี้สิ ที่สำคัญ
       การกำกับดูแลสถาบันการเงินของไทย[1] มีการแยกหน่วยงานที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลสถาบันการเงิน และธุรกรรมทางการเงินแต่ละประเภทออกจากกัน และเป็นอิสระต่อกัน ภายใต้กฎหมายที่ให้อำนาจหน่วยงานกำกับดูแลนั้น ๆ
       กล่าวคือ ธนาคารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่กำกับดูแลธุรกิจธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ กรมการประกันภัย ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัย ขณะที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ เป็นต้น จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทยช่วยทำหน้าที่ในการตรวจสอบฐานะและความมั่นคง
       แต่ก่อนการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ จะอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมีลักษณะเป็นการกำกับดูแลร่วมกันระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น การจัดตั้ง การประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ การแต่งตั้งผู้ตรวจสอบ การสั่งควบคุม และการตั้งกรรมการควบคุม เป็นอำนาจของรัฐมนตรี
       ในขณะที่การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อความมั่นคงเป็นอำนาจของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี แต่สำหรับการแก้ไขฐานะหรือการดำเนินการของธนาคารพาณิชย์เป็นอำนาจของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์จะมีขั้นตอนในการปฏิบัติ และในการกำหนดนโยบายที่จะมีผลกระทบต่อระบบการเงิน ระบบสถาบันการเงิน รวมทั้งระบบเศรษฐกิจของประเทศจะอยู่ที่กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย
      ต่อมามีการปรับปรุงพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 โดยมีเหตุผล คือ การกำกับดูแลการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ จึงทำให้การกำกับดูแลแตกต่างกัน
       แต่โดยที่การดำเนินกิจการของสถาบันการเงินควรมีรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในช่วงปี 2540 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสถาบันการเงิน และกระทบกระเทือนต่อความเชื่อมั่นของประชาชนและผู้ฝากเงินที่มีต่อระบบสถาบันการเงินโดยรวม
       ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงเห็นสมควรปรับปรุงมาตรการในการกำกับดูแลสถาบันการเงินดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์และกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และรวมเป็นฉบับเดียวกัน
       เพื่อให้การควบคุมดูแลเป็นมาตรฐานเดียวกัน ตลอดจนแก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษสำหรับความผิดที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงมีการออกพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มาบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2551
        โดยมีบทบัญญัติเพิ่มเติมจากกฎหมายเดิม ได้แก่ (1) การกำกับดูแลการประกอบธุรกิจการเงินอื่นโดยการออกพระราชกฤษฎีกา  (2) การกำกับสถาบันการเงินในรูปแบบกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (3) การคุ้มครองผู้บริโภค (4) กำหนดมาตรการแก้ไขฐานะหรือการดำเนินงานของสถาบันการเงินให้ชัดเจน และ (5) การมอบอำนาจในการกำกับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

[1] กฤษฎา  อุทยานิน และคณะ , รายงานการศึกษาการปฏิรูประบบการกำกับดูแลสถาบันการเงินในประเทศไทย , 2548 .

 

คำสำคัญ (Tags): #การเงิน
หมายเลขบันทึก: 343000เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2010 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดี ครับ

เข้ามาอ่าน การกำกับดูแลสถาบันการเงินของไทย

โดยส่วนตัวแล้ว ถือว่ามีประโยชน์นะครับ แต่ก็ละเลยเรื่องธุรกรรมทางการเงินต่างๆ มาก

ไม่ค่อยเข้าใจ  และไม่คุ้นหู อยู่หลาย ๆคำ เช่น ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์

แต่ถึงอย่างไร ต้องขอขอบคุณมาก นะครับ

 

  • สวัสดีค่ะ คุณแสงแห่งความดี
  • อย่าว่าแต่คุณเลยค่ะ เจ้าหน้าที่เองถ้าไม่จับงานนี้ตลอด ก็จำความหมายไม่ได้
  • คำว่า ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน 2551 หมายความว่า การประกอบธุรกิจรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่จะจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (1) การให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจำนองอสังหาริมทรัพย์ และ (2) การรับซื้ออสังหาริมทรัพย์โดยวิธีขายฝาก
  • แค่ความหมายอ่านแล้วก็อาจงงได้ ถ้าไม่ได้อยู่ในวงการนี้
  • ผู้เขียนเองก็ต้องเปิดกฎหมายมาตอบเหมือนกัน
  • ขอบคุณที่แวะมาทักทายค่ะ

 

Mr.Wiwat Phaobanfang/พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่10

ควบคุมการเงิน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท