ความสำคัญของบริการทางการเงิน


บริการทางการเงินในประเทศไทย หลัก ๆ ที่เป็นที่รู้จัก คือ ธนาคาร ไปรษณีย์ โรงรับจำนำ และประกันภัย
      องค์การการค้าโลกได้ให้คำนิยามของคำว่า การบริการด้านการเงิน[1]ดังนี้
      การบริการด้านการเงิน หมายถึง การบริการใดๆ ที่มีลักษณะทางการเงินซึ่งเสนอโดยผู้ให้บริการด้านการเงิน (financial service supplier) ของประเทศสมาชิก โดยการบริการด้านการเงินจะรวมถึง การประกันภัยและบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการประกันภัย การธนาคาร และการบริการด้านการเงินอื่นๆ โดยมีกิจกรรมหรือบริการหลัก ๆ อยู่ 16 กิจกรรม ได้แก่
       การประกันภัยและบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการประกันภัย 
       (1) การประกันภัยโดยตรง (รวมถึงการประกันภัยร่วม) ซึ่งแบ่งได้เป็น การประกันชีวิตและการประกันวินาศภัย
       (2) การประกันภัยต่อและการประกันช่วง
       (3) ตัวกลางประกันภัย เช่น นายหน้าและตัวแทน
       (4) การบริการสนับสนุนการประกันภัย เช่น การให้คำปรึกษา การคณิตศาสตร์
ประกันภัย การประเมินความเสี่ยงและ การบริการจัดการเรียกร้องตามสิทธิ
        การธนาคารและการบริการการเงินอื่นๆ (ไม่รวมการประกันภัย)
        (5) การรับฝากเงินและเงินที่กู้ยืมจากสาธารณชน
        (6) การให้สินเชื่อประเภทต่างๆ รวมถึงสินเชื่อผู้บริโภค สินเชื่อจำนอง แฟคเตอริ่ง
และการให้กู้เพื่อการพาณิชย์
        (7) การให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งทางการเงิน
        (8) การบริการชำระเงินและการส่งเงินทั้งปวง รวมถึงสินเชื่อบัตรชำระหนี้และ
บัตรเดบิต เช็คเดินทาง และดร๊าฟท์ธนาคาร
         (9) การค้ำประกันและภาระผูกพัน
        (10) การค้าในบัญชีของตนหรือบัญชีของลูกค้าไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ หรือ ศูนย์ซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์อื่นใด จำพวก ตราสารตลาดเงิน (รวมถึง เช็ค ธนบัตร บัตรเงินฝาก) การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ อนุพันธ์ทางการเงิน รวมถึงแต่ไม่จำกัดเฉพาะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทฟิวเจอร์และออฟชั่น ตราสารเกี่ยวกับอัตราการแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ย รวมถึงผลิตภัณฑ์ เช่น การสวอปสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เป็นต้น หลักทรัพย์ที่เปลี่ยนมือได้ ตราสารเปลี่ยนมืออื่น และสินทรัพย์ทางการเงินรวมถึงทองคำแท่ง
        (11) การมีส่วนร่วมในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ทุกประเภท รวมถึง
การประกันการจำหน่ายและการจำหน่ายในฐานะตัวแทน (ไม่ว่าจำหน่ายทั่วไปหรือเฉพาะกลุ่ม) และการเสนอบริการที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นดังกล่าว
         (12) นายหน้าค้าเงิน
         (13) การจัดการสินทรัพย์ เช่น การจัดการเงินสดหรือเงินลงทุน รูปแบบการจัดการกองทุนรวมทุกประเภท การจัดการกองทุนบำเหน็จบำนาญ การดูแลทรัพย์สิน การบริการรับฝากและการจัดการสินทรัพย์เพื่อบุคคลอื่น
         (14) การบริการชำระและส่งมอบบัญชีสินทรัพย์ทางการเงิน รวมถึง หลักทรัพย์
อนุพันธ์ทางการเงินและตราสารเปลี่ยนมืออื่นๆ
         (15) การจัดหาและให้บริการข่าวสารทางการเงินและการประมวลข้อมูลทางการเงินและซอฟท์แวร์ที่เกี่ยวข้องของผู้ให้บริการทางการเงินอื่นๆ
         (16) การบริการให้คำแนะนำ การเป็นตัวกลางและการบริการสนับสนุนทางการเงินอื่นๆ เกี่ยวกับกิจกรรมทั้งปวงซึ่งระบุในข้อก่อนหน้านี้ (ตั้งแต่ (1) ถึง (11)) รวมถึงการยืนยันเครดิตและการวิเคราะห์สินเชื่อ
          จะเห็นได้ว่า บริการด้านการเงินในขอบเขตขององค์การการค้าโลกจะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมหรือบริการใน 4 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจธนาคาร และเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และจัดการกองทุน และธุรกิจอื่น เช่น ธุรกิจลิสซิ่งทางการเงิน หรือธุรกิจการเงินอื่นที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-bank) เป็นต้น ดังนั้น ในการศึกษาการทำธุรกรรมทางการเงินของคนไร้รัฐไร้สัญชาติจะศึกษาบริการทางการเงินของธุรกิจประกันภัยและธุรกิจธนาคาร
 

[1] สมคิด บุญล้นเหลือ , “การเปิดเสรีบริการการเงินใน WTO รอบโดฮา : แนวโน้มที่ยังต้องจับตา.” วารสารการเงินการคลัง ปีที่ 19 ฉบับที่ 58/2549, กรกฎาคม 2549. 
 
หมายเลขบันทึก: 343023เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2010 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท