ไปรษณีย์ไทยกับชุมชน


ไปรษณีย์ไทยมีความสำคัญกับประชาชน โดยเฉพาะคนในชุมชนที่มีความคุ้นเคยกัน ทำให้ในบางครั้งการทำธุรกิจก็ไม่จำเป็นต้องใช้บัตรแสดงตน
      รัฐบาลไทยได้ตรากฎหมายเกี่ยวกับการไปรษณีย์ขึ้น [1] ใน ปี พ.ศ. 2428 เรียกว่า            “พระราชบัญญัติการไปรษณีย์ไทย จุลศักราช 1248” ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้ออกพระราชกำหนดไปรษณีย์ ร.ศ. 116 ยกเลิกพระราชบัญญัติฉบับแรกและใช้พระราชกำหนดนี้ตลอดมา
       ต่อมาประเทศไทยได้ออก “พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477” มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติฯ และเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 ได้มีการจัดตั้ง “การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)” ตามพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 โดยรับมอบกิจการด้านปฏิบัติการทั้งหมด รวมถึงการให้บริการไปรษณีย์โทรเลขดำเนินการโดยมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ
       และเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 คณะรัฐมนตรีมีมติให้แปรสภาพ กสท. ตามแผนแม่บทพัฒนากิจการโทรคมนาคม และพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 แยกกิจการเป็น 2 บริษัท คือ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2546
       บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.) มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีภารกิจเกี่ยวกับการให้บริการไปรษณีย์และบริการทางการเงินที่มีประสิทธิภาพครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ โดยขยายขอบเขตการบริการไปสู่กลุ่มลูกค้าที่กว้างขวางขึ้น ในรูปแบบและลักษณะใหม่ ๆ 

[1] ศิริพร  ธรรมบำรุง , แนวทางการพัฒนาคุณภาพบริการของบริษัทไปรษณีย์ไทย
จำกัด . วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์มหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , 2551 .
หมายเลขบันทึก: 343027เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2010 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท