ชมภาพซ้อมแผนฉุกเฉินแอมโมเนียรั่วที่ขอนแก่น


นำภาพบรรยากาศบางส่วนมาให้ชมค่ะ มีเฉพาะส่วนที่ผู้เขียนร่วมกิจกรรมนะคะ

ชมภาพบรรยากาศบางส่วนของการร่วมซ้อมแผนฉุกเฉินสถานการณ์อุบัติภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย : กรณีแก๊สแอมโมเนียรั่ว จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2553 ค่ะ

ช่วงเช้าอบรมให้ความรู้ประชาชนจากชุมชนเทศบาลวัดกลาง ตัวแทนนักเรียนจากโรงเรียนเทศบาลวัดกลาง และเจ้าหน้าที่กู้ภัย กู้ชีพในจังหวัดขอนแก่นที่จะเข้าร่วมกิจกรรมซ้อมแผนในวันนั้น  

โดย ผศ.สุดา วรรณประสาท เป็นวิทยากร บรรยาย อันตรายจากแก๊สแอมโมเนีย 

จากนั้น กลุ่มเป้าหมายแยกกันเรียนรู้

กลุ่มแรก  

กลุ่มผู้ปฏิบัติงานตอบสนองสถานการณ์  ฟังบรรยายการปฏิบัติบทบาทหน้าที่ในตอบสนองสถานการณ์และฝึกซ้อมทำความเข้าใจแผนรับสถานการณ์บนโต๊ะ

กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้ป่วยสมมุติ  ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้เป็นผู้กำกับการแสดงและปล่อยโจทย์ตามสถานการณ์ที่กำหนดค่ะ  ผู้ป่วยกำหนดไว้ประมาณ 150 คน มี 3 กลุ่มที่ต้องเตรียม คือ นักเรียน 100 คน  ประชาชน  40 คน และ คนงานจากโรงงานน้ำแข็ง จุดเกิดเหตุ 4 คน ซึ่งแต่ละกลุ่มอยู่คนละที่ค่ะ 

ทำอย่างไรดี ไม่มีตัวช่วย ต้องทำคนเดียว 

คิดได้รีบปรึกษาอาจารย์ที่ดูแลจัดเด็กฝึกประสบการณ์ครั้งนี้  หาห้องและเครื่องเสียงจัดห้องเรียนรู้ให้เป็นกลุ่มแรก

เริ่มโดย ผู้เขียนแนะนำตัว  บอกวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ และแยกกลุ่มผู้ป่วย  เบา  ปานกลาง หนัก  โดยสมัครใจ 

กลุ่มเบา 60 คน ไม่ได้แต่งตัว  ได้บอกบท และวิธีการป้องกันและดูแลตนเองในการอพยพไปอยู่ที่โล่งเป็นกลุ่ม และมอบหมายผู้นำทีม และมอบหมายรับอาหารกลางวันมาให้เพื่อนที่ต้องแต่งตัว และดูแลทำความสะอาดผิวให้เพื่อนเมื่อซ้อมแผนเสร็จ

กลุ่มบาดเจ็บปานกลาง หนัก ผู้เขียน บอกบทบาทการแสดง Acting  และต้องแต่งบาดแผล แต่งตัวแต่งหน้าผู้ป่วยสมมติ 

ผู้เขียน เริ่มโดย หาตัวแทนนักเรียนมาเรียนรู้วิธีแต่งตัว 5 คน  สอนและสาธิต วิธีแต่งตัวผู้ป่วยหนัก 1 คน  จากนั้น มอบหมายให้เด็กจับคู่ช่วยกันแต่งตัว ช่วยผู้เขียนจนแล้วเสร็จภายใน 1 ชั่วโมง  

ทุกอย่างเป็นไปตามแผน  เด็ก ๆ ให้ความร่วมมือดี มาก ๆ ค่ะ

เด็ก ๆ ยังตามไปช่วยผู้เขียนแต่งตัวให้ผู้สูงวัย ประชาชนในชุมชนที่มาร่วมซ้อมแผนในครั้งนี้ด้วย ช่วงนี้ผู้เขียนขอหม่ำข้าวก่อนนะคะ  ให้เด็กโชว์ฝีมือเต็มที่ 

ผลงานเด็ก ๆ นะคะ  คุณยาย ชอบมากค่ะ 

สุดท้าย  ต้องไปแต่งตัวผู้ป่วยหนักที่โรงงานอีก 4 ราย  ผู้จัดการโรงงานน้ำแข็ง นัดผู้เขียนตอนบ่ายโมง  มีเด็กผู้ช่วยแต่งตัวเดินตามผู้เขียนไปด้วย 2 คน  เดินไปที่โรงงานน้ำแข็ง ห่างประมาณ 200 เมตร  ตากแดด วันนั้นอากาศร้อนมากค่ะ 

ต้องรีบเตรียมผู้ป่วยให้เสร็จก่อนเวลาซ้อม บ่ายสองโมง ตามแผนที่กำหนด

เด็ก ตามช่วยผู้เขียน แต่งตัวผู้ป่วยสมมติที่โรงพยาบาลอีก 4 คน เมื่อเรียบร้อยแล้วเด็กขอตัวกลับไปเตรียมซ้อมที่โรงเรียน   

ผู้เขียนบอกบทให้นักแสดง เข้าไปเตรียมพร้อมในจุดเกิดเหตุ  และสอนวิธียกและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหนักออกจากจุดเกิดเหตุ ให้เจ้าหน้าที่ปลอดภัยของโรงงานฝึกจนเข้าใจ ถึงเวลาซ้อม  ก็ปล่อยโจทย์ตามเวลาที่กำหนด

เตรียมเสร็จ ก็เดินกลับโรงเรียนเพื่อไปกำกับเด็กและประชาชน  แต่ระยะทางห่างกัน ไปไม่ทัน  ทุกคนอพยพหนีไปที่สนามกีฬากลางจังหวัดแล้ว เลยตามไปดูแลการแสดงบทบาทของเด็ก ๆ ตรงจุดคัดกรอง  พบปัญหา เด็ก ๆ เปลี่ยนใจ ไม่อยากถูกส่งไปโรงพยาบาล อาการไม่หนัก  ไม่เป็นไปตามบทที่ให้ไว้ 

ซ้อมเสร็จ  ทีมการแพทย์จากโรงพยาบาลขอนแก่นและโรงพยาบาลศรีนครินทร์ถ่ายภาพร่วมกัน 

และสุดท้ายเข้าร่วมประชุมสรุปประเมินผลการซ้อมแผนในวันนั้น โดยมี อ.บุบผา  ชอบใช้  อดีดผู้ตรวจการพยาบาล หัวหน้าของผู้เขียน เป็นแม่ทัพนำการประชุมสรุปประเมินผลในครั้งนี้ด้วยค่ะ

จากนั้นก็กลับที่ทำงาน 

อยากบอกว่าวันนั้นเหนื่อยสุด ๆ เลยค่ะ

โชคดีที่มีเด็ก ๆ ช่วยแต่งตัวผู้ป่วยสมมุติให้งานสำเร็จ

ขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้นะคะ   

จบรายงานค่ะ

กัญญา

หมายเลขบันทึก: 343170เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2010 00:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับคุณหมอ

  • ครูจ่อยมาดูการซ้อม  "แผนฉุกเฉินแอมโมเนียรั่ว"
  • วันนั้นคงสนุกนะครับ ดูจากภาพแล้ว ทุกคนให้ความร่วมมือดีเยี่ยม
  • ชอบภาพนี้ครับ เหมือนโดนมาจริงๆเลย

  

  • ขอบคุณเรื่องราวและภาพดีๆแบบนี้

สวัสดีค่ะคุณครูจ่อย

ที่แวะมาดูการซ้อม  "แผนฉุกเฉินแอมโมเนียรั่ว"

บันทึกนี้มีเฉพาะเนื้อหาของฝ่ายเตรียมการที่ตัวเองรับผิดชอบเท่านั้นค่ะ

ยังขาดข้อมูลส่วนการซ้อมแผน ต้องรอภาพจาก ปภ. ขอนแก่นอีกครั้งนะคะ

ใช่ค่ะ ทุกคนให้ความร่วมมือดีมาก แม้อากาศจะร้อนมาก แต่ช่วงท้าย ทุกคนไม่อยากถูกส่งไปรักษาที่โรงพยาบาล เลยไม่แสดงอาการตามบทที่รับไว้ เป็นผู้ป่วยเบาช่วยเหลือตนเองได้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

 

ผู้เขียนไปทำหน้าที่กำกับการซ้อมแผนนอกโรงพยาบาล

ส่วนในโรงพยาบาลก็มีการซ้อมแผนรับผู้ป่วยในสถานการณ์ฉุกเฉินนี้ด้วย

ตามไปดูได้ ที่นี่ นะคะ

 

สวัสดีคะพี่ไก่

ไก่ ไม่ได้ซ้อมสอบสวนการเกิดเหตุด้วย เสียดายมาก ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท