แก้ปัญหา ด้วยมุมมองใหม่ๆ กับจิตวิทยาการขอ


Appreciative Inquiry : การขอให้คิดนอกกรอบ ท้าทายตัวเอง และมองปัญหามุมกลับ(ด้านบวก)

สวัสดีครับ... ชาว G2K และผู้อ่านทุกท่าน ^^

วันนี้ผมมาถึงขอนแก่นแต่เช้าครับ... เพื่อที่จะมาประชุม JAM

ซึ่งเป็นงานที่เราส่งแผนธุรกิจเข้าไปประกวดในรายการ SEBP ครับ

ตอนนี้เราเข้ารอบ 15 ทีมสุดท้าย ไว้โอกาสหน้าๆผมจะมาเล่าเรื่อง JAM ให้ฟังครับ

สำหรับเรื่องราวในวันนี้ ผมได้แรงบันดาลใจมาจากบทความของ อ.โย ซึ่งจะลองนำมา

ต่อยอดให้เข้ากับ "จิตวิทยาการขอ" แต่จะเป็นในแง่มุมไหนนั้น ตามผมมาเลยครับ ^^



เมื่อหลายวันก่อนผมได้มีโอกาสอ่านบทความของ ดร.ภิญโญ เรื่อง ...กำจัด "จุดอ่อน" ด้วย "จุดบวก"...

ซึงผมรู้สึก "Click" กับเคสตัวอย่างในบทความนี้เป็นอย่างมากครับ เลยขอนำมาเล่าให้ทุกท่านฟัง

อาจารย์เล่าว่า "โรงงานผลิตแผงวงจรแถวขอนแก่น มีปัญหาเรื่องของเสีย เนื่องจากคนงานเสียบสายไฟผิดสีบ่อย แต่บังเอิญว่า

เจ้าปัญหาของเสียนี้ มันยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของอเมริกัน ที่มีอัตราส่วนของเสียจากอยู่ที่ประมาณ 5,000 ต่อล้านชิ้นครับ

ซึ่งถ้านำมาทำ SWOT มันก็จะไม่ถือเป็น "จุดอ่อน" เพราะมันก็อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน... แต่ทีนี้ ถ้าเราลองท้าทายตัวเอง

ด้วยการตั้งคำถามว่า "ถ้าปัญหานี้คือจุดอ่อนละ เราจะแก้ยังไง???" ทีนี้ก็เริ่มสืบหาครับ ด้วยการถามว่ามีลายผลิตทั้งหมดเท่าไหร่

คำตอบคือ 3... ถามต่อครับ แล้วสายการผลิตไหนที่"เสียน้อยที่สุด" คำตอบก็คือลายที่ 2 ครับ เอาแล้วไงครับเริ่มเจออะไรบ้างอย่างแล้ว



มาสืบกันต่อครับ ทีนี้ลองเช็คดูรายงานของลายที่ 2 ครับ ปรากฎว่ามีคนงานคนหนึ่ง ที่ไม่ทำของเสียเลยมากว่า 2 ปี ซึ่งปกติไม่เสียติดต่อกัน

2 เดือนก็เทพแล้วครับ แต่นี้ทำได้ถึง 2 ปี ทีนี้ก็ลองสังเกตดูครับ ปรากฎว่าเขามีวิธีการจับสายลงบอร์ดในแบบของตัวเอง คือพลิกมือ

ไปคนละทิศกับวิธีที่โรงงานกำหนดมา ซึ่งมัน Work ครับ เป็นวิธีที่วิศวกรก็คิดไม่ถึง ทีนี้เราก็นำมาขยายผลครับ ด้วยการเอาคนงาน

ทั้งโรงงานมาดูแล้วทำตาม ถ่ายวิดีโอ ให้ดูตอนเที่ยง ปรับเอกสารปฏิบัติงานครับ ในที่สุดจากจุดนี้ เราสามารถลดของเสียลงได้กว่า 50%

(ดูเอกสารได้ที่ www.aithailand.org)" ...ขอขอบคุณอาจารย์ภิญโญสำหรับเคสดีๆนี้ด้วยครับ... _/|\_



ตัดมาที่จุดนี้ครับ... มาดูกันครับว่า เคสนี้ถ้ามองในมุมมองของ "จิตวิทยาการขอ" จะเป็นยังไง... ตามผมมาครับ ^^

จะเห็นได้ว่า... เคสนี้ถ้าทำตามกฎตามเกณฑ์เราจะ"ไม่มีทางได้เจอเคล็ดลับที่สุดยอดนี้" เพราะว่ามันไม่ใช่ปัญหา ก็ไม่ได้เป็นจุดอ่อน

อะไรสักหน่อย ทำไมต้องมาใส่ใจ... แต่ถ้าเราลอง "คิดนอกกรอบ" ดูครับ ลองมองว่ามาตรฐานของเสียมันอยู่ที่ 5,000/ล้านแล้ว

ถ้าเราทำให้เหลือ 2,500/ล้านได้ละ มันจะเกิดอะไรขึ้น (ท้าทายตัวเอง) คำตอบก็คือผลกำไรที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลยังไงละครับ

ทีนี้อีกประเด็นหนึ่งที่อยากให้มองก็คือ "กระบวนการแก้ปัญหาครับ" ในเคสนี้จะเห็นได้ว่า เราสืบค้นด้วยประโยคที่ว่า "แล้วสายการผลิตไหนที่

"เสียน้อยที่สุด""มองที่จุดนี้ดีๆครับ นี้คือเทคนิคที่อยากให้คิดใหม่ทำใหม่ ลองมองอะไรใน"มุมกลับ"(ด้านบวก) ดูบ้าง เพราะถ้าเป็นเคสทั่วไป

การสืบปัญหามักจะถามว่า "แล้วสายการผลิตไหนที่เสีย"มาก"ที่สุด" ซึ่งถ้าเราสืบค้นแบบทั่วไปอย่างนี้ เราจะหลงทางครับ แถมจะไม่เจอ

คำตอบที่ Work เพื่อนำมาขยายผล อย่างวิธีการจับสายลงบอร์ดของพนักงานคนนั้นอย่างแน่นอน... จริงไหมครับ ^^



เป็นอย่างไรกับบ้างครับ... กับ "การขอให้คิดนอกกรอบ ท้าทายตัวเอง และมองปัญหามุมกลับ(ด้านบวก)" อย่างในเคสนี้

นี่คือการสืบค้นปัญหาแบบ AI ครับ คือเราจะทำการมองหาสิ่งที่ Work เพื่อมาขยายผลต่อ จนทำให้สิ่งที่ไม่ Work นั้น

น้อยลง/หมดสิ้นไป
ในที่สุด
ลองนำไปปรับใช้กับองค์กรของท่านดูครับ... "การขอให้คิดนอกกรอบ ท้าทายตัวเอง และมองปัญหามุมกลับ"

ด้วยกระบวนการนี้ อาจจะทำให้ท่านพบสุดยอดเคล็ดวิชา ที่ถูกซ่อนอยู่ในสำนักของท่านอย่างไม่รู้ตัวอยู่ก็ได้... ใครจะไปรู้ ^^



แล้วคุณละคิดยังไง ^^

 

ท่านที่สนใจจะอ่านเคส"จิตวิทยาการขอ"ที่เกี่ยวกับ ธุรกิจเพิ่มเติ่ม

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ >>> AI-Positive Psychology For Business ( จิตวิทยาการขอสำหรับธุรกิจ ) <<<

หมายเลขบันทึก: 344383เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2010 00:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สุดยอดคะ.......!!!

เป็นจุดเล็กๆอีกแล้ว แล้วคนเราก็มักจะมองไม่เห็น หรือไม่มองซะด้วยซ้ำ

คนส่วนใหญ่จะชอบคิดว่า พนักงานทำงานคุ้มกับเงินเดือนที่จ่ายหรือยังเท่านั้น

แต่ศักยภาพเป็นสิ่งสำคัญมากนะคะ แก้ไขนิดเดียว....ผลลัพธ์มหาศาลเลย

  *  ผมอยู่ในระบบราชการ ผ่านการทำ SWOT มาหลายครั้ง  ได้มาอ่านกำจัดจุดอ่อนด้วยจุดบวก ของ อ.โย   หูตาสว่างขึ้นมามากเลยครับ

 *  SWOT ระบบราชการ ทำแบบหยาบๆ เร็วๆ และ ตายตัว ไม่ยืดหยุ่น  อย่างที่ อ.โยว่าไว้ คือ จุดอ่อนก็เป็นจุดอ่อนอยู่อย่างนั้น   ความจริง ในจุดอ่อนก็มีจุดแข็งซ่อนอยู่นะครับ

  *  ผมคงนำไปปรับใช้ครับ ในจุดอ่อนมีจุดแข็งซ่อนอยู่ ด้วย AI

*  มองนอกกรอบที่เคยทำกันมา

               ขอบคุณสาระดีๆครับ

อ่านแล้ว ก็ต้องร้อง "โอ้โห" ดัง ๆ ครับ

ผมก็เป็นคนนึงที่ กำลังพยายามมองโลก ให้เป็น บวก มาก ๆ

เป็นพวก Negative Thinking มาก่อนน่ะครับ (ไม่ค่อยพลาด แต่ไม่เคยได้ริเริ่มใด ๆ ในชีวิต T_T)

ขอบคุณเรื่องราวดี ๆ ครับ ^^

เป็นโครงการ AI ของคุณเอกลักษณ์ และคุณผาณิต ครับ เป็นอะไรที่สนุก และสุดขั้วจริงๆ ถือเป็นโครงการโดดเด่นประจำปี 2552 โครงการหนึ่งครับ

ก่อนอื่นขอสวัสดีทุกท่านที่แวะมาครับ ^^

@หนิง >>> มาลองหาศักยภาพที่ซ่อนเร่นอยู่ในองค์กรกันเถอะครับ... ผมว่ามันน่าจะมีอะไรคล่ายๆแบบนี้อยู่ทุกที่แน่นอน ^^

@อาจารย์ small_man >>> กาาคิดนอกกรอบ ทำอะไรฝืนกฎ(ในแง่ดี) ดูบ้าง เราอาจจะเจอสิ่งที่มหัศจรรย์ซ่อนอยู่ก็เป็นได้ครับ ^^

@นุกเกอร์ >>> โดยส่วนตัวผมมองอะไรค่อนข้าง + ครับ นอกจากจะเจอประสบการณ์แย่ๆ ก็มองบวกไม่ไหวเหมือนกัน โดยเฉพาะเรื่องคน แต่พอได้อ่านบทความนี้ของอาจารย์โยแล้ว รู้สึกโดนมากๆครับ บางทีปัญหามันก็เป็นโอกาสของเราได้เหมือนกัน ^^

@อาจารย์โย >>> สุดยอดจริงๆครับอาจารย์... ถึงอาจารย์จะเทียบว่ามันเป็นเคสเพียงแค่ 30% ที่ใช้ AI แล้วเวิร์ค แต่ผมมองว่าถ้าเจออะไรแบบนี้ สัก 1 อย่าง จากการทำ 100 ครั้ง ผมว่ามันก็คุ้มสุดๆแล้วละครับ เคสนี้ทำใฟ้ผมเชื่อว่าในองค์กรน่าจะมีเคล็ดวิชา ที่สุดยอดคล้ายๆกรณีนี้ซ่อนอยู่ไม่น้อยแน่ๆครับ เพียงแต่ยังไม่มีใครสืบหามันเจอก็เท่านั้น ^^

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ขอบคุณทุกท่านที่แวะเข้ามานะครับ แสดงความคิดเห็น/แชร์ประสบการณ์กันได้เต็มที่เลยนะครับ ^^

สวัสดีค่ะเอิร์ท

แหม....บันทึกนี้สุดยอดเลยค่ะ

ถ้าคิดว่า ก็อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่เป็นจุดออ่อน ก็ปล่อยมันไป

ก็คงไม่ได้มองถึงการแก้ปัญหา แต่พอมามองเลยรู้ว่า แค่ทริกนิดเดียว

ก็สามารถลดของเสียได้ครึ่งต่อครึ่ง แจ่มค่ะ

บุญรักษาค่ะ ^^

ขอบคุณที่แบ่งปันเคสนี้ด้วยค่ะ

ถ้าลองคิดอะไรนอกกรอบบ้างบางทีทำให้เราค้นพบอะไรใหม่ๆ นวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นไปได้ เป็นประโยชน์ด้วยนะคะ

สวัสดีทุกท่านที่แวะมานะครับ ^^

@เอิง >>> ใช่แล้วครับ... บางทีการท้าทายตัวเองบ้าง มองนอกกรอบ คิดนอกกรอบบ้าง ก็อาจจะเจอสิ่งที่มหัศจรรย์แบบนี้ ^^

@อร >>> จากเคสนี้ ทำให้เอิร์ทต้องลองคิดอะไรนอกกรอบมาขึ้นแล้วละครับ เพราะโดยปกติ ตัวผมเองค่อนข้างจะยึดถือกฎ ยึดถือหลักเป็นสำคัญ ที่พอรู้จัก AI เราอาจจะต้องมองอะไรในมุมมองใหม่ๆดูบ้าง ^^

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ขอบคุณทุกท่านที่แวะเข้ามานะครับ แสดงความคิดเห็น/แชร์ประสบการณ์กันได้เต็มที่เลยนะครับ ^^

เป็นเคสที่ดีมากเลยนะค่ะ

เมื่ออยากแก้ปัญหา ก็ต้องย้อนไปที่ต้นเหตุของปัญญหา

เมื่อคนเป็นคนผลิต ก็ต้องย้อนมาดูที่คน

ดูว่าคนไหนทำให้ของเสียน้อยสุด แล้วสังเกตุ

เมื่อรู้ก็นำไปปฏิบัติ ---> คล้ายๆการดูที่ต้นตอของสาเหตุเนอะค่ะ

สุดยอดค่ะ ^_^

การมองมุมกลับ ทำให้ทราบถึงการจับถูก

ได้ดีกว่า การจับผิด

คำว่า จับผิด ใครก็กลัว หากจับถูกใครๆ ก็อยากทำ

jw

สวัสดีทุกท่านที่แวะมานะครับ ^^

@แป้ง >>> ใช่แล้วแป้ง... แต่เปลี่ยนจากมองมุมมองที่แย่ที่สุด มาเป็นดูส่วนที่เวิร์คที่สุดแทน เพื่อนหาต้นต่อมาขยายผล ^^

@พี่แจ๋วแหวว >>> อะฮะ... ขอบคุณสำหรับแง่คิดดีๆครับพี่ ^^

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ขอบคุณทุกท่านที่แวะเข้ามานะครับ แสดงความคิดเห็น/แชร์ประสบการณ์กันได้เต็มที่เลยนะครับ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท