องค์กรแห่งการเรียนรู้ : โรงเรียนบ้านถ้ำพริก (แหล่งเรียนรู้ร้อยไร่) ตอนที่ 1 การบริหารหลักสูตรและการสอน


องค์กรแห่งการเรียนรู้ : โรงเรียนบ้านถ้ำพริก (แหล่งเรียนรู้ร้อยไร่)
ตอนที่ 1 การบริหารหลักสูตรและการสอน

[1]สนาม  เอกวิลัย 

[2]วิชิต  ชาวะหา

        เรื่องเล่าจากโรงเรียนบ้านถ้ำพริก (แหล่งเรียนรู้ร้อยไร่) ตอนที่ 1 ได้จากการได้มีโอกาสรู้จักและร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนพูดคุยกัน โดยใช้เทคนิคการพูดคุยกันแบบ “สุนทรียสนทนา” (dialogue)  กับผู้บริหารของโรงเรียน (อาจารย์พิพัฒน์ พรมโพธิ์) อาจารย์ใหญ่แห่งโรงเรียนบ้านถ้ำพริก อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก เรื่องเล่าที่ถูกถ่ายทอดในครั้งนี้ เป็นมุมมองและแง่คิดที่ได้จากประสบการณ์บริหารโรงเรียน โดยคณะผู้เขียนได้สังเกตและสัมภาษณ์ แล้วนำมาสกัดความรู้ (Capture Knowledge) จากความรู้ที่เป็นแบบฝังลึก (Tacit Knowledge) ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จอีกประการหนึ่งในการบริหารหลักสูตรและการสอนจากแหล่งเรียนรู้ร้อยไร่แห่งนี้ โดยมีข้อค้นพบที่สำคัญหลายประการ เช่น บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบโดยผู้บริหารเป็นผู้เล่นหลัก (Major Player) เป็นผู้ตัดสินใจ (Decision Maker) ในงานที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรต่างๆ  เป็นผู้ที่มีความเป็นผู้นำในการคิดเชิงริเริ่มสร้างสรรค์ในทุกเรื่อง ในบางครั้งอาจพบเห็นได้จากการแสดงบทบาทในหลายลักษณะ เช่น เป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leader)  เป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator)  เป็นผู้ใช้อำนาจร่วม (Share Power) การเป็นผู้รับผิดชอบร่วม (Shared Responsibility)
และการเป็นนักนวัตกรรม เป็นต้น ในการบริหารหลักสูตรและการสอน พบว่า อาจารย์พิพัฒน์ พรมโพธิ์ เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ มีภาวะผู้นำ มีความรู้ในทฤษฎีและปรัชญาของหลักสูตร มีความเข้าใจกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานของหลักสูตรแต่ละประเภท และมีความตระหนักถึงกลุ่มเป้าหมายทางการศึกษา ของโรงเรียนและความต้องการในการเรียนรู้ของผู้เรียน (ทั้งในและนอกชุมชน) ดังภาพ

ภาพตัวอย่าง นักเรียนโรงเรียนบ้านถ้ำพริกกำลังเข้าแถวเพื่อรอรับประทานอาหาร (โครงการข้าวต้มมื้อละ 1 บาท) และทำกิจกรรมหน้าเสาธง

          จากสภาพที่พบโดยทั่วไปแล้ว กิจกรรมหรือหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับในโรงเรียนจะเป็นไปในลักษณะของการวิเคราะห์จากผู้บริหาร ว่าจะเปิดสอนร่วมกับวิชาอะไร ขอบข่ายเนื้อหาอะไร ทักษะอะไร และสมรรถภาพอะไร ที่ควรจะนำมาบูรณาการเพื่อนำมาสอนในโรงเรียน นอกจากนั้นก็จะเป็นการออกแบบ พัฒนาหรือปรับรุงเนื้อหา การเลือกเนื้อหาความรู้ และทักษะนำไปสู่การปฏิบัติที่มีความยืดหยุ่น เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบันซึ่งมีแนวโน้มการบริหารหลักสูตรเป็นแบบ Site-Based Management โดยการบูรณาการหลักสูตรร่วมกันระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน และชุมชน ตามหลัก “บวร”  โดยอาศัยเครือข่าย (CoPs : Community of Practices) ทั้งจากผู้รู้ (Guru) และจากแหล่งความรู้ (Resources) ทั้งนี้ผลงานด้านการจัดการแหล่งเรียนรู้มากมายย่อมเป็นเครื่องบ่งชี้นวัตกรรมและความสำเร็จได้เป็นอย่างดี ดังภาพ


[1] นิสิตปริญญาเอก สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

[2] นิสิตปริญญาเอก สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร



ความเห็น (3)
  • แวะมาให้กำลังใจ ให้ทั้งสองท่าน ให้ประสบความสำเร็จ ตามที่มุ่งหวัง
  • เพื่อจะมาช่วยกัน พัฒนาระบบการศึกษาและสถานศึกษาไทย ต่อไปครับ

กราบขอบพระคุณครับท่านอาจารย์ ดร.อรรณพ

  • วันก่อนโดนหิ้วไปร่วมงาน UKM-17 ที่ ม.ขอนแก่น ท่าน JJ ถามไถ่ ฝากระลึกถึงท่านฯ อยู่เหมือนกัน ครับ

โรงเรียนบ้านถ้ำพริก สอดคล้องกับนโยบายฯ 8 ประการของ ศธ. (รมต.ชินวรณ์ บุณยเกียรติ) ข้อที่ 5 พอดีเลย

นโยบายข้อ 5) โครงการสร้างแหล่งเรียนรู้ราคาถูก

โดยการจัดตั้ง กศน. ตำบลทุกตำบลภายในปีการศึกษาที่จะถึงนี้ (2553) โดยจะขอความร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย และองค์การบริหารส่วนตำบลที่จะร่วมกันประสานที่จะจัด กศน.ตำบล แล้วให้มีศูนย์ ICT ที่จะมีอินเทอร์เน็ต ที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ราคาถูก ตลอดจนเป็นแหล่งฝึกอาชีพ และเป็นแหล่งที่จะพัฒนาความเข้าใจ ความปรองดอง ความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในชาติ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท