นกยูง
นางสาววิภาดา ขุนทองจันทร์

สมรรถนะของผุ้บริหารสถานศึกษา


ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีคุณภาพ

รองผู้อำนวยการสถานศึกษา

ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษามีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสถานศึกษา ในการช่วยบริหาร กิจการของสถานศึกษา การวางแผนการปฏิบัติงาน การกำกับ  ควบคุม ดูแล เกี่ยวกับการบริหารงาน วิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล การบริหารทั่วไปและงานอื่นที่ได้รับมอบหมายและ ในการบริหารสถานศึกษาให้ประสบความสำเร็จ บรรลุตามวัตถุประสงค์ขององค์การ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ผู้บริหารในฐานะผู้นำขององค์การหรือหน่วยงาน เป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งที่สนับสนุน ส่งเสริมในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อประโยชน์ในการทำงานทำให้การดำเนินงานไปสู่ความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพในแต่ละองค์การและ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยผู้บริหารที่เป็นมืออาชีพ ตำแหน่งรองผู้บริหารสถานศึกษาเองก็เช่นเดียวกันที่จะต้องเป็นผู้นำที่ทรงประสิทธิภาพ เป็นมืออาชีพทางด้านการบริหารจัดการสถานศึกษามีความ สามารถในการนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายได้ 

คุณลักษณะของรองผู้อำนวยการที่พึงประสงค์ 

สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดทําหลักสูตร “ผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ”กําหนดคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพไว้ 6 ประการ คือ

1. การเป็นผู้นําที่มีคุณธรรม จริยธรรม ในเรื่องต่อไปนี้

1.1 คุณธรรม จริยธรรมสําหรับผู้บริหารมืออาชีพ

1.2 การบริหารบุคคลตามแนวคิดของศาสนา

1.3 การบริหารจัดการภูมิปัญญาไทย เพื่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม

2. การเป็นผู้นำด้านการจัดระบบ ในเรื่องต่อไปนี้

2.1 การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้

2.2 การจัดและใช้ระบบสารสนเทศและการสื่อสาร

2.3 การจัดระบบเครือข่าย เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

2.4 การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งระบบ

3. การเป็นผู้นําด้านวิชาการ ในเรื่องต่อไปนี้

3.1 การพัฒนาหลักสูตรเพื่อความเป็นเลิศ

3.2 การพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้

3.3 การพัฒนาครูตามแนวปฏิบัติการศึกษา

3.4 การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพ

3.5 การประเมินผลเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

4. การเป็นผู้นําด้านการบริหารจัดการ ในเรื่องต่อไปนี้

   4.1 การวางแผนกลยุทธ์ เป็นการวางแผนเพื่อนำองค์การไปสู่ภาพลักษณ์ใหม่ ก้าวสู่

วิสัยทัศน์ที่ต้องการในอนาคต การวางแผนกลยุทธ์จึงเป็นการวางแผนในภาพรวมขององค์การ ทุกกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นเป็นปัจจัยที่ชี้อนาคตขององค์การนั้น

4.2 การบริหารแบบมีส่วนรวม

4.3 ผู้บริหาร : ผู้นําการเปลี่ยนแปลง

4.4 การบริหารความขัดแย้ง

4.5 การบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

4.6 เทคนิคการบริหารจัดการแนวใหม่

5. การเป็นผู้นําด้านสังคมและชุมชน ในเรื่องต่อไปนี้

5.1 การบริหารจัดการโรงเรียน เพื่อชุมชนและสังคม

5.2 การบริหารในบริบทที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคม

6. การเป็นผู้นําการพัฒนาตนเองในเชิงบริหาร ในเรื่องการพัฒนาตนเอง เพื่อเป็นผู้บริหารมืออาชีพ    

                ในการบริหารจัดการในสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานมีหลักการคือ โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของการคิด การกำหนดแนวทางและการดำเนินงานที่ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน บริบทต่างๆ โดยเน้นการบริหารจัดการที่ตอบสนองปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น สังคม และตัวผู้เรียนโดยกระทรวงศึกษาธิการได้ กระจายอำนาจการบริหาร จัดการศึกษา ทั้งทางด้านวิชาการ งบประมาณการบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป  ไปยังเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาโดยตรง

2. ปรัชญาการศึกษาและหลักการจัดการเรียนรู้

ในการใช้ปรัชญาและหลักการจัดการศึกษา  สถานศึกษาได้จัดการศึกษา  ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.๒๕๔๒  แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕  โดยยึดหลักการศึกษา หมายถึงกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ  การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการการจัดสภาพแวดล้อมสังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต    โดยมีแนวการจัดการศึกษาตามมาตราที่ ๒๒  การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ  โดยใช้ปรัชญาทางการศึกษา คือ สารัตถะนิยม ปรัชญาพัฒนาการนิยม ปรัชญาปฏิรูปนิยมและพุทธปรัชญา

สรุป ปรัชญาการศึกษาเป็นฐานความรู้ในการนำมาประยุกต์ใช้ เป็นศาสตร์ของศาสตร์ทั้งหลาย  เป็นการนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา  ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ สถานศึกษานอกจากจัดหลักสูตรได้เหมาะสมกับช่วงวัยของผู้เรียนแล้ว การจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล บางครั้งอาจต้องให้รู้สาระเนื้อหาตามสารัตถะ  แต่บางครั้งต้องมีการฝึกทักษะ  กระบวนการคิด  การจัดการ การเผชิญสถานการณ์  และการประยุกต์ใช้ตามปรัชญาปฏิรูปนิยม หรือพุทธปรัชญา   ในการจัดการเรียนการสอนจึงต้องผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่าได้สัดส่วนสมดุลกัน  รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา

 

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การกระจายอำนาจการจัดการศึกษาให้ท้องถิ่น ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  เป็นการเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการจัดการศึกษา  ให้สนองตอบต่อความต้องการของชุมชนและผู้เรียนมากขึ้น การจัดการเรียนรู้จึงควรมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ

๑.    เรียนรู้เพื่อรู้ตนเอง

๒.  เรียนรู้เพื่อรู้สิ่งนอกตัวที่สัมพันธ์กับตัวเองทั้งที่ใกล้และไกล

๓.   เรียนรู้เพื่อรู้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสิ่งนอกตัว และสามารถจัด

ความสัมพันธ์ให้เกื้อกูลกัน

ในการจัดการศึกษาในมาตรา ๒๒  ในการจัดการศึกษาต้องยึดหลักผู้เรียนเรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เอาชีวิตจริง  และเงื่อนไขการรับรู้ของผู้เรียนเป็นตัวตั้ง  ผู้เรียนมีอิสรภาพ ได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาเต็มตามศักยภาพของความเป็นมนุษย์  ทั้งจิตใจ ร่างกาย สติปัญญา  อารมณ์  และสังคม  ผู้เรียนได้รับการพัฒนาแบบองค์รวม  ได้รับการฝึกให้มีศักยภาพในการสร้างรูปแบบการคิด  ผู้เรียนเป็นผู้กระทำกิจกรรมการเรียนรู้ ได้ถูกต้องแม่นยำ ด้วยความรู้สึกที่ดีงาม  อันเป็นการสร้างบุคลิกภาพที่ดีงามเรียนรู้วิธีการเรียนรู้ เรียนรู้จากการปฏิบัติของตนเอง คิดอย่างมีระบบ และมีวิจารณญาณ อยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข  เรียนรู้ตลอดชีวิต และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

 

องค์กรแห่งการเรียนรู้

องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning  Organization) เป็นองค์กรที่สามารถเรียนรู้สร้างองค์ความรู้เพื่อ  เพิ่มพูนสมรรถนะที่จะก่อเกิดความก้าวหน้าในการดำเนินกิจการไปสู่เป้าหมายร่วมขององค์การ  องค์การแห่งการเรียนรู้ คือ การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของคนทำงานบนพื้นฐานของการเรียนรู้ (Learning Base) โดยมีกระบวนการกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมในเชิงปฏิบัติการ คือ 
                ๑. กลยุทธ์ชี้นำ (Surge Strategy) โดยคณะผู้บริหารระดับสูงร่วมรับผิดชอบและสนับสนุน 
                                ๒. กลยุทธ์ปลูกฝัง(Cultivate Strategy) โดยให้คณะทำงานในสายงานด้านทรัพยากรบุคคลเป็นผู้รับผิดชอบ 
                           ๓. กลยุทธ์ปฏิรูป (Transform Strategy) โดยคณะทำงานพิเศษจากทุก ๆ หน่วยงานในองค์การมาร่วมกันรับผิดชอบดำเนินการ

 

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาใช้ในการศึกษา

การศึกษาเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์  จึงได้มีการพัฒนาการศึกษามาอย่างต่อเนื่องโดยการพัฒนาองค์ประกอบและวิธีการต่าง ๆ  ทำให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคแต่ละสมัยและเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่อง  ในปัจจุบัน  สถานศึกษาทุกแห่งต่างก็ให้ความสำคัญของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน  โดยการนำคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเข้าไปใช้ในสถานศึกษา   สถานศึกษาใดที่ขาดแคลนสิ่งเหล่านี้ก็จำเป็นต้องขวนขวายจัดหามา  แต่การใช้ให้เกิดประโยชน์คุณค่านั้นจำเป็นต้องศึกษาเรียนรู้และมีวิธีบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ  จึงจะเกิดคุณค่าอย่างแท้จริงได้

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการศึกษาในสถานศึกษาไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ (Knowledge based society)  ที่ต้องใช้ข้อมูลและข่าวสารเป็นตัวเร่งในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคมกับนานาประเทศ   เทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นหนทางที่จะเข้ามาช่วยปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผลอย่างรวดเร็ว  จึงเกิดความตื่นตัวในการพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาในทุกระดับการศึกษาโดยมุ่งเน้นเป้าหมายให้เกิดขึ้นที่ผู้เรียน   ให้เรียนรู้ตามความสนใจและความสามารถ  ให้เกิดความคิดและศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ  เช่น  การเรียนรู้โดยค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต  การแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ ด้วยกันในห้องเรียนเสมือน  (Virtual classroom)  และกำลังมุ่งสู่การเรียนรู้แบบ e-Learning    ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่  ทุกเวลา  และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตต่อไป

การส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

แนวการจัดการศึกษา ต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพดังนั้นการที่ครูจะรู้จักนักเรียน รู้ข้อบกพร่องของการจัดการเรียนรู้ ครูจะต้องมี กระบวนการค้นคว้าหาข้อมูล หาคำตอบ การแก้ปัญหา โดยวิธีการที่เป็นระบบ หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือวิธีการที่เชื่อถือได้

                การทำวิจัยในชั้นเรียน เป็น กิจกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างครูและนักเรียน และบทบาทครู คือ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรให้กับนักเรียนทั้งชั้น  การสอนในชั้นเรียนไม่ใช่การบอกหนังสือ หรือการบอกให้จดหนังสืออย่างเดียว การสอนในชั้นเรียนครูจะต้องจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนทั้งชั้นซึ่งมีความสามารถพื้นฐานแตกต่างกันออกไป ทำให้บางครั้งเกิดปัญหากับผู้สอนที่ต้องจัดกิจกรรมหลากหลายสนองตอบต่อผู้เรียนแต่ละคน การสอนควบคู่กับการสังเกต เก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียนในชั้นมาวิเคราะห์ ศึกษาสภาพ จึงเป็นสิ่งจำเป็นต้องดำเนินการตลอดเวลา การวิจัยในชั้นเรียนจะเกิดขึ้นหลังจากครูสรุปได้ว่าปัญหาคืออะไร เกิดที่ไหนและมีแนวทางจะแก้ปัญหานั้นได้อย่างไร กล่าวคือ ครูคิดหาวิธีการแก้ปัญหาแล้วได้นำไปทดลองใช้จนได้ผลแล้วพัฒนาเป็นนวัตกรรม สามารถนำไปเผยแพร่ได้ต่อไป

 

ในการบริหารสถานศึกษาให้ประสบความสำเร็จ บรรลุตามวัตถุประสงค์ขององค์การ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ผู้บริหารในฐานะผู้นำขององค์การหรือหน่วยงาน เป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งที่สนับสนุน ส่งเสริมในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อประโยชน์ในการทำงานทำให้การดำเนินงานไปสู่ความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพในแต่ละองค์การและ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยผู้บริหารที่เป็นมืออาชีพโดยต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการบริหารจัดการ ตำแหน่งรองผู้บริหารสถานศึกษาเองก็เช่นเดียวกันที่จะต้องเป็นผู้นำที่ทรงประสิทธิภาพ เป็นมืออาชีพทางด้านการบริหารจัดการสถานศึกษามีความ สามารถในการนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายได้

 

หมายเลขบันทึก: 345488เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2010 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท