นกยูง
นางสาววิภาดา ขุนทองจันทร์

สมรรถนะทางการบริหารสถานศึกษา


การบริหารโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ

                        การบริหารโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ

โลกในปัจจุบันมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการพัฒนา ระบบสื่อสารมวลชน ทำให้กระแสข้อสนเทศแผ่กระจายครอบคลุมพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของโลกอย่างรวดเร็วจนได้ชื่อว่า “โลกไร้พรหมแดน” ผลของการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดกระแสสำคัญๆที่เข้าสู่ความเป็นสากลรวมทั้งการจัดการศึกษา ขณะเดียวกันก็อาจก่อให้เกิดปัญหาต่างๆหลายประการ เช่น ความสับสนในข้อสนเทศ ข้อจำกัดด้านการใช้เทคโนโลยี รวมทั้งการรับกระแสวัฒนธรรมโดยขาดการกลั่นกรอง และการยั้งคิด
จนกระทั่งวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ดีงาม เอกลักษณ์ไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ได้รับการอนุรักษ์ไว้เท่าที่ควร ในขณะที่สังคมโลกต้องการด้านคุณภาพและมีคุณลักษณะที่
พึงประสงค์ต่างไปจากเดิม ดังนั้นระบบการศึกษาจึงเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพที่ยั่งยืนและสามารถรักษาเอกลักษณ์ไทยไว้ ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นผู้สอน สาขาวิชาการบริหารการศึกษาได้คำนึงถึงสภาพปัญหาจากบริบทของสังคมที่เกิดขึ้น จึงได้นำเสนอแนวทางธรรมาภิบาลในการบริหารและจัดการศึกษา
โรงเรียนนิติบุคลโดยเฉพาะ 2 ด้านที่เป็นสิ่งสำคัญมากในขณะนี้คือด้านการบริหารบุคคล บุคคลทั่วไป และที่เป็นบุคลากรในโรงเรียนซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า “บุคลากรในโรงเรียนมีความสำคัญต่อการบริหารฯ” เพราะบุคลากรฯเป็นผู้รับผิดชอบฯและดำเนินการเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ทั้ง วัสดุ อุปกรณ์ และการจัดการต่างๆ เพื่อการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนให้ประสบกับความสำเร็จได้นั้น
ผู้บริหารฯต้องสร้างภาวะผู้นำและควรยึดหลักวิชาที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาบูรณาการไปสุ่การปฏิบัติที่เน้นการมีส่วนร่วมอย่างมุ่งมั่นและจริงจัง ดังนี้

  1. มีความซื่อสัตย์สุจริต ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดของการบริหาร เพราะจะ

ต้องทำเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อให้เกิดความศรัทธาและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคลากร
ผู้ใต้บังคับบัญชา ดังคำกล่าวที่ว่า “แบบอย่างที่ดีย่อมอยู่เหนือคำสอนอื่นใด”

2. มีความยุติธรรม การบริหารงานด้วยความเสมอภาค เป็นกลาง และยุติธรรมกับทุกคน ซึ่งทำให้ลดความขัดแย้งภายในโรงเรียนได้

            3. มีความมุ่งมั่น ขยัน อดทน และเป็นคนสู้งาน บุคลากรฯ จะเห็นการทำงานและจะนำไปเป็นแบบอย่าง โดยยึดหลักว่า “สอนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น” (ท่านได้ทำในสิ่งเหล่านี้หรือยัง)

4. มีความรับผิดชอบสูง “ ความรับผิดชอบ” เป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่ง เพราะ ความรับผิดชอบทำให้งานประสบความสำเร็จ แม้ในบางครั้งงานที่สำคัญของโรงเรียนเกิดความผิดพลาด ในฐานะผู้บริหารฯ จำเป็นต้องยอมรับและรับผิดชอบโดยไม่โยนความผิดไปให้ผู้อื่น

5. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นำแนวคิดและวิธีการใหม่ๆมาปฏิบัติในโรงเรียนบ้างเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงสร้างสรรค์ แสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้นำแห่ง
การเปลี่ยนแปลง

6. มีภาวะผู้นำสูง ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนเชิงการพัฒนาที่ดีขึ้นใน 4 ด้าน กล่าวคือ ด้านบริหารงานบุคคล ด้านวิชาการด้านงบประมาณ และด้านการบริหารงานทั่วไป

            7. กล้าที่จะคิด กล้าที่จะพูด กล้าที่จะนำ กล้าที่จะทำ กล้าที่จะตัดสินใจ และ

กล้าที่จะรับผิดชอบ ในฐานะผู้บริหารฯ

8. มีคุณธรรม และจริยธรรม ยึด พรหมวิหาร 4 เป็นธรรมะในการบริหารบุคลากร ได้แก่

- เมตตา ให้ความรัก ความปรารถนาดีแก่ทุกคนด้วยความเสมอภาคไม่ลำเอียง

 - กรุณา ให้ความช่วยเหลือแก่บุคลากรฯ ที่มีทุกข์ตามโอกาสและความเหมาะสมอย่างเท่าเทียมกันหรือกรณีมีปัญหาในหน้าที่การงานและปัญหาส่วนตัว

 - มุฑิตา ยินดีให้กำลังใจแก่บุคลากรทุกคนเมื่อประสบความสำเร็จในชีวิต หรือในหน้าที่ การงานตามความเหมาะสม พิจารณาความดีความชอบที่ใช้หลักความดี/ เก่ง ส่งเสริม และสบับสนุนให้ทำผลงานเพื่อการพัฒนาวิชาชีพที่สูงขึ้น การจัดทำการ์ดอวยพรและของที่ระลึกมอบให้ ในวันคล้ายวันเกิด ฯลฯ

         - อุเบกขา ทำงานโดยปราศจากอคติ วางตัวเป็นกลาง ให้ความยุติธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ลำเอียง ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่แสดงความดีใจจนเกินควร หรือทับถมผู้อื่นเมื่อประสบเคราะห์กรรม

            9. มีวุฒิภาวะทางอารมณ์สูง สามารถเก็บความรู้สึกต่างๆ ได้ สุขุม รอบคอบนุ่มนวล มีความอดทนต่อความรู้สึกที่ไม่ถูกต้อง หรือการปฎิบัติที่ขัดต่อกฎระเบียบ และวัฒนธรรม

10. เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคลากรใน
โรงเรียนและ ครอบครัว มีนิสัยรักการอ่าน การใช้เวลาว่างในวันหยุด โดยการวางแผนและบริหารเวลาให้คุ้มค่าที่สุดสำหรับการปฏิบัติงาน และการศึกษาเพื่อการพัฒนา
ตนเองเสมอ

11. มีความจริงใจ ยึดอุดมการณ์ในการทำงานให้ความเป็นกันเองแก่ผู้ร่วมงาน ทุกคนด้วยความเสมอภาค ด้านการบริหารงาน การบริหารงานในด้านต่างๆ ของโรงเรียน ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ และด้านบริหารงานทั่วไป ควรใช้วิธีการบริหารรูปแบบใหม่ “รูปแบบที่ทุกคนมีส่วนร่วม” ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ และร่วมรับผิดชอบโดยพิจารณาจัดทำภารกิจให้ชัดเจน ครอบคลุมงานทั้งหมดและมีการกำหนดกลุ่มงานที่มีความสอดคล้องกัน จัดโครงสร้างบริหารที่เป็นนิติบุคคล มีการบริหารเป็นระบบ มีสายบังคับบัญชา และการประสานคน /งาน เพื่อให้เกิดความคล่องตัว มีการกำหนดขอบเขต อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ ในทุกระดับของตำแหน่ง ตามความรู้ความสามารถและประสบการณ์ ทุกขั้นตอน ไว้อย่างชัดเจนและโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องฝึกการสร้างจิตสำนึกในเรื่องของความรักและภักดี ความหวงแหน และความเป็นเจ้าของร่วมกัน (Sense of Belonging)

       การบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร ดังนั้นผู้บริหารโรงเรียนเป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งของโรงเรียนในการเป็นแบบอย่างที่ดีที่จะนำโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพสู่ความสำเร็จ ต้องมีคุณลักษณะของผู้นำที่สำคัญ ได้แก่ มีความซื่อสัตย์ มีความยุติธรรม มีความ
มุ่งมั่น ขยัน อดทน มีความรับผิดชอบสูง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีภาวะผู้นำสูง เป็นคนกล้าคิด กล้าเปลี่ยนแปลง กล้าตัดสินใจ มีคุณธรรมจริยธรรม มีวุฒิภาวะทางอารมณ์สูง เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และมีความจริงใจ จากประสบการณ์ที่ข้าพเจ้าได้สอนสาขาการบริหารการศึกษามาเป็นเวลา 35 ปีเศษ มีโอกาสไปศึกษา ดูงานด้าน
การบริหารจัดการโรงเรียน ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา ทั้งในประเทศ และต่างประเทศในหลายๆ ประเทศ จากการสังเกตและพบปะแลกเปลี่ยนกันจะมีความแตกต่างกันบ้างตามบริบทของแต่ละประเทศ มีปัญหาอุปสรรคต่างกัน
แต่ที่ คล้ายๆ กัน คือ การบริหารเชิงคุณภาพ กับการประกันคุณภาพการศึกษา
คุณภาพผู้เรียนมุ่งน้นสู่ความเป็นสากล โดยใช้การบริหารที่เน้นแบบการมีส่วนร่วม
การบริหารโดยยึดประชาธิปไตย การสร้างทีมงาน หลัก 5 ส. เทคนิคการวิเคราะห์แบบ SWOT. การบริหารแบบ TQM. การบริหารระบบคุณภาพ ISO 9002 จนสามารถบริหารโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับการจัดการศึกษาในประเทศไทย มี พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2 )พ.ศ. 2545 มีการปฎิรูปการเรียนรู้ แต่การจัดการศึกษาไทยก็ยังพัฒนาไปได้ไม่ถึงเท่าที่ควรจะเป็น.....

    ในการบริหารโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ และประสบกับความสำเร็จได้นั้นไม่มีทฤษฎี และหลักการใดที่เหมาะสมที่สุด ที่สามารถนำมาใช้บริหารได้กับทุก
โรงเรียน แต่ถ้าโรงเรียนนั้นๆ มีผู้บริหารที่เป็นมืออาชีพ ใช้หลักธรรมาภิบาลใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญในการนำเทคนิควิธีทฤษฎีและหลักการต่างๆที่หลากหลายมา
บูรณาการ/เพื่อปรับใช้กับการบริหารจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับสภาพเหตุการณ์ สถานที่ ระยะเวลา และปัจจัยแวดล้อม จึงจะประสบกับความสำเร็จและมีประสิทธิภาพในที่สุด

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 345489เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2010 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นการนำเสนอที่ดี เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ครับ อยากทราบความคิดเห็นเพิ่มเติมครับ

1.สมรรถนะ ที่แท้จริง คือ อะไรครับ

2.สมรรถนะผู้บริหารกับสมรรถนะทางการบริหาร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

3.มีวิธีรู้ได้อย่างไรว่า อะไรเป็นสมรรถนะ อะไรไม่เป็นสมรรถนะ

4.สมรรถนะ ของผู้บริหารที่กล่าวมานั้น จะรู้ได้อย่างไรว่า ผู้บริหารคนนี้มีและคนนั้นไม่มี โดยเฉพาะสมรรถนะเดียวกัน เช่น เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ผู้บริหาร A และผู้บริหาร B มีอะไรที่แสดงความแตกต่างของผู้บริหารทั้งสองคนนี้

5.ถ้าผู้บริหารมีสมรรถนะของผู้บริหาร แต่ไม่มีสมรรถนะทางการบริหาร หรือทำนองกลับกัน คนนี้จะเป็นผู้บริหารได้หรือไม่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท