มารู้จักเธอ...น่ะ...เยาวชนคนเก่ง


เธอให้อะไรแก่มุสลิมะห์อย่างเราบ้างค่ะ
มัรยัม ญะมีละฮฺ นักคิดมุสลิมะฮฺของโลกมุสลิม
มัรยัม ญะมีละฮฺ มีชื่อก่อนเข้ารับอิสลามว่า  มาร์กาเรตต์ มาคัส เกิดในครอบครัวชาวยิว ในโรเชลลี นิวยอร์ก ในวัยเด็กเธอเป็นคนที่มีผลการเรียนดีเยี่ยม และมีความสามารถทางด้านศิลปะ แต่เธอใช้ชีวิตแตกต่างจากหญิงสาวทั่วไปเพราะเธอไม่ชอบแฟชั่น การแต่งตัวและการเข้าสังคม

เธอเติบโตท่ามกลางสภาพแวดล้อมแบบเซ็คคิลาร์ (นำศาสนามาปฏิบัติเฉพาะเพียงเรื่องส่วนตัวและสังคมบางด้าน) มัรยัม ญะมีละฮฺ พบกับความผิดหวังในสภาวะที่เป็นเธออยู่ ซึ่งไม่สามารถทำให้เธอค้นพบทางนำของชีวิตได้

เมื่อเธออายุ 19 ปี ขณะที่เรียนกำลังเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก เธอเริ่มสนใจอย่างจริงจังในการแสวงหาความจริงของศาสนา เธอจึงเริ่มมองหาความเชื่ออื่นๆ ในการแสวงหานี้ทำให้เธอได้ศึกษาและเข้าร่วมกับขบวนการทางจิตวิญญาณ, ลัทธิความเชื่อ และศาสนาต่างๆในโลกนี้

เธอเริ่มศึกษาอิสลามอย่างจริงจังเมื่อเธออายุ 20 ปี เธอประทับใจ ความหมายของอัลกุรอาน The Meaning of the Glorious Koran ที่แปลโดย มาร์มาดุก พิกทอล(มุสลิมใหม่ชาวอังกฤษ)เป็นอย่างมาก (เป็นคัมภีร์อัลกุรอานที่แปลเป็นภาษาอังกฤษที่มีชื่อเสียง)และเธอประทับใจผลงานของมุฮัมหมัด อะซัด(มุสลิมใหม่ชาวยิวออสเตรีย) นักปราชญ์ยิวที่หันมารับอิสลาม ซึ่งมัรยัม ญะมีละฮฺ กล่าวว่า หนังสือของ มุฮัมหมัด อะซัด The Road to Mecca และ Islam at Crossroads มีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อตัวเธอในการตัดสินใจเข้ารับอิสลาม

เธอศึกษาอิสลามโดยผ่านการอ่านหนังสือเป็นจำนวนมาก ซึ่งทำให้เธอค่อยๆมีความผูกพันกับอิสลามมากขึ้นเธอกลายเป็นกระบอกเสียงให้อิสลามในการอธิบายความศรัทธาของมุสลิม และปกป้องอิสลามจากการวิพากษ์วิจารณ์ของตะวันตก รวมทั้งสนับสนุนมุสลิมในกรณีของปาเลสไตน์โดยคัดค้านไม่เห็นด้วยกับพวกยิวไซออนิสต์ ในช่วงเวลานี้เธอได้เขียนหนังสือแนวนวนิยายเล่มหนึ่งที่สะท้อนความเป็นจริงของชาวปาเลสไตน์ชื่อว่า อะห์มัด คอลีล(แปลเป็นภาษาไทยโดย ดร. กิติมา อมรทัต) ความเห็นของเธอสร้างความตึงเครียดให้กับชีวิตส่วนตัวของเธอ แต่เธอก็มุ่งมั่นและพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อไปสู่จุดมุ่งหมายของเธอ

มัรยัม ญะมีละฮฺ เข้ารับอิสลาม ในนิวยอร์ก และหลังจากนั้นจึงได้เริ่มงานเขียนให้กับวารสาร "มุสลิม ไดเจสท์" ของ ดุรบาน แอฟริกาใต้ เนื้อหาในบทความของเธอเป็นมุมองอิสลามบริสุทธิ์ และพิสูจน์สัจธรรมแห่งอิสลาม รวมทั้งตอบโต้ผู้ที่วิจารณ์อิสลาม และผ่านวารสารแห่งนี้เธอได้รู้จักงานเขียนของ เมาลานา อบุลอะลา เมาดูดี ผู้ก่อตั่ง ญะมาอัตอิสลามีย์แห่งปากิสตาน

เธอประทับใจผลงานและทัศนะของ อบุลอะลา เมาดูดี และเริ่มติดต่อกับท่าน ซึ่งระยะเวลาของการเขียนจดหมายติดต่อระหว่างเธอกับท่านอยู่ในช่วงปี1960-1962 หลังจากนั้น จึงมีการรวบรวมพิมพ์เป็นหนังสือชื่อว่า Correspondences between Maulana Mawdoodi and Maryam Jameelahโดยที่หนังสือเล่มนี้มีการแลกเปลี่ยนมุมมองกันในประเด็นที่หลากหลายของอิสลามกับตะวันตก (เนื้อหาส่วนใหญ่ของหนังสือเล่มนี้ถูกแปลทะยอยลงในวารสารสายสัมพันธ์ และมีการจัดพิมพ์เป็นเล่มต่างหากในชื่อ สาส์นโต้ตอบระหว่งมัรยัม ญะมีละฮฺ และอบุล อะอฺลา อัล เมาดูดียฺ) จดหมายฉบับแรก เดือน มกราคม 1961 ที่อบุล อะอฺลา เมาดูดีย์ มีถึงมัรยัม ญะมีละฮฺ มีใจความว่า

"While i was scanning your essays. I felt as if i were reading my very own ideas. i hope your feeling will be the same when you have the opportunity to learn Urdu and study my books. And that despite the fact there has been no previous acquaintance between you and me, this mutual sympathy and unanimity in thought has resulted directly from the fact that both of us have derived our inspiration from one and the same source-- Islam "

ขณะที่ฉันกำลังอ่านข้อความของคุณ ฉันรู้สึกราวกับว่า ฉันกำลังได้อ่านความคิดของฉันเอง ฉันหวังว่าคุณจะมีรู้สึกเช่นเดียวกันเมื่อคุณมีโอกาสเรียนภาษา อุรดูและศึกษาหนังสือของฉัน แม้ว่าในความเป็นจริงเราไม่เคยรู้จักกันมาก่อน สำหรับความเข้าใจซึ่งกันและกัน และความเห็นพ้องต้องกันในความคิดเห็น เป็นผลโดยตรงจากความจริงที่เราทั้งสองได้รับแรงบันดาลใจ ซึ่งเป็นแหล่งที่มาอันเดียวกัน นั่นคือ " อิสลาม "

มัรยัม ญะมีละฮฺ เดินทางไปปากิสตาน ในปี 1962 ตามคำแนะนำของอบุลอะลา เมาดูดี และเข้าร่วมกับท่านในเมืองละโฮร์ เธอได้แต่งงานกับ มุฮัมหมัด ยุซุฟ คาน โดยเป็นภรรยาคนที่สอง เมื่อเธอได้ตั่งถิ่นฐานในปากิสตาน เธอได้เขียน หนังสือที่น่าประทับใจเป็นจำนวนมาก ซึ่งได้เป็นแนวทางของวิธีการทำงานที่เป็นระบบสมัยใหม่ให้กับญะมาอัต อี อิสลามีย์ แม้ว่าเธอจะไมได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ แต่เธอก็จัดเป็นหนึ่งในนักคิดคนสำคัญของญะมะอัต อี อิสลามีย์

มัรมัรยัม ญะมีละฮฺ มีความเกี่ยวข้องเป็นพิเศษในการตอบโต้ระหว่างอิสลามกับตะวันตก แม้ความคิดของเธอจะไม่ได้เป็นแนวความคิดศูนย์กลางเช่นเมาดูดีย์ แต่อย่างไรก็ตามเธอก็มีอิทธิพลทางความคิดต่อญะมะอัต อี อิสลามีย์เป็นอย่างมาก ซึ่งรูปแบบที่เธอใช้นั้นเป็นตัวอย่างอันแน่นหนาในการปฏิเสธอารยธรรมตะวันตก และอิทธิพลของเธอนั้นได้ก้าวเกินขอบเขต ของญะมะอัต อี อิสลามีย์ โดยที่มันได้มีความสำคัญต่อโลกมุสลิมเลยทีเดียว

งานขียนของเธอแสดงให้เห็นทิศทางในอนาคตและเปิดเผยถึงอิทธิพลของอิสลามแบบบริสุทธิ์ วันนี้ แม้ว่าเธอจะอายุ 70 กว่าปีแล้ว แต่ก็ยังคงทำงานเขียนเกี่ยวกับแนวคิดและวิถีชีวิตอิสลามที่บ้านของเธอในละโฮร์

หนังสือของ มัรยัม ญะมีละฮฺ

1.ISLAM VERSUS THE WEST
2. ISLAM AND MODERNISM
3. ISLAM IN THEORY AND PRACTICE (บางส่วนของหนังสือเล่มนี้ถูกแปลมาเป็นภาษาไทยในชื่อ ขบวนการฟื้นฟูอิสลาม แปลโดยบรรจง บินกาซัน)
4. ISLAM VERSUS AHL AL KITAB PAST AND PRESENT
5. AHMAD KHALIL (แปลเป็นภาษาไทยโดย ดร. กิติมา อมรทัต)
6. ISLAM AND ORIENTALISM
7. WESTERN CIVILIZATION CONDEMNED BY ITSELF
8. CORRESPONDENCE BETWEEN MAULANA MAUDOODI AND MARYUM JAMEELAH
9. ISLAM AND WESTERN SOCIETY
10. A MANIFESTO OF THE ISLAMIC MOVEMENT
11. IS WESTERN CIVILIZATION UNIVERSAL
12 WHO IS MAUDOODI ?
13 WHY I EMBRACED ISLAM
14 ISLAM AND THE MUSLIM WOMAN TODAY
15 ISLAM AND SOCIAL HABITS
16 ISLAMIC CULTURE IN THEORY AND PRACTICE
17 THREE GREAT ISLAMIC MOVEMENTS IN THE ARAB WORLD OF THE RECENT PAST
18 SHAIKH HASAN AL BANNA AND IKHWAN AL MUSLIMUN
19 A GREAT ISLAMIC MOVEMENT IN TURKEY
20 TWO MUJAHIDIN OF THE RECENT PAST AND THEIR STRUGGLE FOR FREEDOM AGAINST FOREIGN RULE
21 THE GENERATION GAP ITS CAUSES AND CONSEQUENCES
22 WESTERNIZATION VERSUS MUSLIMS
23 WESTERNIZATION AND HUMAN WELFARE
24 MODERN TECHNOLOGY AND THE

อบู ริญาล เรียบเรียง
หมายเลขบันทึก: 346012เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2010 15:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ดิฉันยังไม่ได้เข้าไปอ่านมนรายละเอียดอีกค่ะ...แต่นำมาแบ่งปันเพราะเคยรู้จักชื่อนี้มาแล้ว...คิดว่าน่าจะได้แง่คิดสำหรับถามตนเองขึ้นมาบ้าง...ค่ะ

ขอบคุณสำหรับการแบ่งปันบทความนี้มา และที่ให้ถามตนเองบ้างนั้นก็เป็นแนวคิดที่ดีค่ะ เราเกิดมาในศาสนาชองอัลลอฮ์แต่เราทำอะไรเพื่อพระองค์บ้าง การทำให้ศาสนาของพระองค์ได้สูงส่งหรือตกต่ำ การดำเนินชีวิตที่สามารถเป็นแบบอย่างหรือทำให้ผู้อื่นเขาดูถูกเยียดหยาม คิดให้ดีเถอะค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทาย และมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ
  • ขอบคุณบันทึกดี ๆ ที่นำมาแบ่งปันกันค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท