ความสัมพันธ์ในห้องเรียน


การใช้เทคโนโลยีในห้องเรียน

            นอกเหนือจากเรื่องสื่อและกระบวนการเรียนรู้แล้ว  ยังมีอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องให้ความสนใจ  สิ่งนี้เป็นเรื่องในห้องเรียนและไม่เกี่ยวกับเทคโนโลยี  นั่นก็คือเรื่องการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น  นักการศึกษาหลายคนเห็นตรงกันว่า  โรงเรียนแบบเก่ามักเน้นการแสดงออกรายบุคคลและการแข่งขัน  อันเป็นการกีดกันเด็กจากความร่วมมือกันนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่เหินห่างระหว่างเด็ก  

          007

                      ประเทศสหรัฐอเมริกา  ญี่ปุ่น  อังกฤษ  ฝรั่งเศส  ออสเตรเลีย  ซึ่งผ่านการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาระยะหนึ่ง  ต่างก็มีประสบการณ์คล้ายคลึงกัน  นั่นก็คือ  คอมพิวเตอร์อาจมีแนวโน้มลดทอนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ลงไป  หากว่าไม่ตระหนักถึงปัญหานี้

ห้องเรียนก่อนปี  2000  ในโลกตะวันตก

            เพื่อให้ภาพการเรียนและการใช้เทคโนโลยีในห้องเรียนชัดเจนขึ้น  เราอาจดูสิ่งที่กำลังดำเนินอยู่    พื้นที่บางแห่ง  ในสหรัฐอเมริกาเมื่ออย่างเข้าปี  2000  โดยคำนึงถึงว่า  การจัดการศึกษาของสหรัฐอเมริกา  เกิดจากความพร้อมด้านทุนและเทคโนโลยีเป็นฐาน           

              ในรัฐนอร์ทแคโรไลนา  ห้องเรียนกำลังก้าวเข้าสู่ระบบไม่ใช้ห้องเรียนหรือเพียงแต่เหมือนมีห้องเรียน  ( virtual  classroom )  กล่าวคือ  การเรียนรู้กำลังเปลี่ยนไปเป็นระบบทางไกล  ( long distance )  นักเรียน  นักศึกษาใช้ระบบเครือข่ายวีดิทัศน์ที่เชื่อมโยงด้วยสัญญาณดิจิตอลความเร็วสูง  เลือกบทเรียนหัวข้อใดก็ได้ทุกเวลา  ระบบนี้เชื่อมโยงห้องเรียน  3400  ห้องเรียนเข้าด้วยกันกับวิทยาลัย  ห้องสมุด  โรงพยาบาล  และข้อมูลภาครัฐ  เด็ก ๆ จะได้เรียนภาษาต่างประเทศ  คณิตศาสตร์  และวิทยาศาสตร์กับครูซึ่งอาจอยู่ไกลออกไปหลายร้อยไมล์  คาดหมายกันว่าอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาจะคอยกำกับดูแลนักเรียนโดยผ่านระบบเครือข่าย  ครูในห้องเรียนมัธยมจะจัดการทดลองและอภิปรายถกเถียงร่วมกับนักเรียนหลายห้องพร้อม ๆ กัน โดยครูจะอยู่ที่แม่ข่ายศูนย์กลางของระบบ  และนักเรียนหลายโรงเรียนก็สามารถจะแลกเปลี่ยน  ผลการเรียนรู้  ทัศนะและข้อคิดเห็นระหว่างกันได้  รวมทั้งตั้งขึ้นเป็นกลุ่มชมรม  สมาคม  โดยเพียงแต่ติดต่อผ่านระบบสื่อสารเครือข่ายนี้โดยไม่ต้องเดินทางไปพบกัน

Jason4

Jason1<div style="text-align: center"> Jason5 </div><div align="left"><address style="text-align: center">   Jason3              ภาพโครงการ  Jason  Project  นี้  นักสมุทรศาสตร์คือ  โรเบิร์ต  บัลลาร์ด  จะสื่อสารโต้ตอบกับเด็ก ๆ นับร้อยนับพันโดยระบบ real  time ( ในขณะที่กำลังทำงานจริงๆ)  และในขณะที่บรรดานักสมุทรศาสตร์กำลังสำรวจโลกใต้มหาสมุทรอยู่นั้น เด็ก ๆ ก็ได้ดูภาพการสำรวจโลกที่เกิดขึ้นจริง ๆ ใต้มหาสมุทรนั้นนับว่าเป็นการเรียนรู้ที่น่าตื่นเต้นมากทีเดียว </address></div><p align="left"></p><p align="left">
            การใช้เทคโนโลยีวิธีนี้สามารถกระตุ้นให้การเรียนรู้มีความหมายกว้างขวางกว่าเดิม  การเรียนโดยการค้นพบด้วยตนเอง ( discover-oriented learning )  เกิดขึ้นได้เพราะว่าระบบคอมพิวเตอร์ทำให้เราสามารถอภิปรายถกเถียงกันในระบบเครือข่ายนั่นเอง  นักเรียนอาจจะทำงานเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อแก้ปัญหาโจทย์ต่าง ๆ และใช้คอมพิวเตอร์นำผลการศึกษามาเปรียบเทียบกันโดยข้อมูลของแต่ละคนถูกเก็บไว้พร้อมใช้ในระบบดิจิตอลบนคอมพิวเตอร์            </p><p>            เทคโนโลยีระบบเครือข่ายที่ก้าวหน้าแบบนี้ยังอาจเป็นไปไม่ได้ในประเทศไทยระบบการสอนทางไกลแบบที่เห็นตัวอย่างจากโรงเรียนในรัฐแคโรไลนานั้นเป็นระบบสื่อสารสองทางซึ่งต้องลงทุนสูงอยู่เหมือนกัน  ปัญหาไม่ได้อยู่เพียงการเชื่อมโยงเครือข่ายเข้ากับพื้นที่ชนบทเท่านั้นแต่ยังอยู่ที่ความสามารถของบุคลากรในการใช้งานและที่สำคัญคือการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรอื่น ๆ ที่จะเข้าเชื่อมโยงในเครือข่ายและนำทรัพยากรข้อมูลและองค์ความรู้ต่าง ๆ มาบรรจุลงไว้  อันจะเป็นเนื้อหาจุดประกายความสนใจและการค้นหาเพื่อการเรียนรู้จากเครือข่ายนี้            </p><p>            ในกรณีของประเทศไทยเรามีระบบการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม  ( ETV )  แต่ยังไม่ได้ก้าวสู่ระบบสื่อสารสองทาง  และน่าสังเกตว่าการสอนทางไกลของเราจำกัดอยู่ในพื้นที่ชนบทอีกทั้งซอฟต์แวร์หรือเนื้อหาและวิธีการที่ใช้ในการสอนในระบบนี้  ยังคงเน้นวิธีการสอนแบบบรรยายและจดเล็คเชอร์  หรือเป็นรายการเชิงสารคดี  ทั้งลักษณะของรายการโทรทัศน์ก็เป็นการเน้นให้ข้อมูล  ( informative  base )  เป็นส่วนมาก  ทั้งนี้ก็อาจเป็นเพราะข้อจำกัดด้านงบประมาณ  อันมีผลต่อการวางแผนการเรียนการสอนและการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้</p><p>ห้องเรียนไทยในศตวรรษที่  21               </p><p>                     เมื่อนึกว่าห้องเรียนไทยจะเป็นอย่างไรในทศวรรษใหม่นี้  ก่อนอื่นเราต้องยอมรับว่าประเทศไทยมีสังคมลักษณะทวิลักษณ์  จึงมีสังคม 2  ภาพอยู่ด้วยกัน  โรงเรียนห่างไกลในภาคชนบทจะยังมีการเปลี่ยนแปลงน้อย  ความจำกัดของบุคลากรและงบประมาณจะกลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการแพร่ขยายอิทธิพลของเทคโนโลยีเองโดยอัตโนมัติ  แต่ในภาคเมืองและเมืองใหญ่สภาพการณ์อาจตรงกันข้าม  นั่นคือ  ห้องเรียนจะเปลี่ยนไปใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายมากขึ้น            </p><p>              รายงานของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติได้พบว่า  ในปี  พ.ศ. 2543  ประเทศไทยมีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์  18.19  เครื่องต่อประชากร  1000  คน  มีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น  1,127,500  เครื่อง  และมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต  1.25  เครื่องต่อประชากร  1,000  คน  หรือเป็นจำนวนคอมพิวเตอร์  76,000  เครื่อง               </p><p>                   ตัวเลขข้างต้นนี้สะท้อนให้เห็นว่า  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยยังอยู่ในระยะเริ่มต้น  และพอจะมองเห็นภาพว่า  ยังกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่  และเมืองหลวงคือกรุงเทพฯ</p><p>ห้องเรียนไทยในปี  2000              </p><p>                       แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าโรงเรียนจะตั้งอยู่ในเมืองหรือในชนบท  ก็มักจะหนีคอมพิวเตอร์ไปไม่พ้นในที่สุดมันก็มักจะมาตั้งอยู่ในโรงเรียนจนได้  อย่างน้อยก็หลายเครื่อง  บางโรงเรียนก็ได้บริหารจัดการอย่างเต็มที่และได้รับผลสำเร็จบางประการจากการมีและใช้ประโยชน์จากเครื่องมือทันสมัยนี้  แต่บางโรงเรียนอาจมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งไว้เฉย ๆ ไม่มีงบประมาณจะดูแล  ไม่มีงบประมาณจะจัดซื้อและอัพเกรด( upgrade )  ซอฟต์แวร์  ตลอดจนไม่มีใครใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่างจริงจังพอที่จะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้               </p><p>                 <div style="text-align: center">%e0%b8%ab%e0%b9%88%e0%b8%ad</div></p><p>                    คอมพิวเตอร์อาจถูกวางอยู่แบบไร้ความหมายในห้องปฏิบัติการไม่มีทรัพยากรที่อบรมครู  ผู้คนไม่รู้จะเอามาใช้ประสานกับหลักสูตรได้อย่างไร  ไม่มีมาตรฐานหลักสูตรที่จะใช้  หรือคอมพิวเตอร์อาจถูกใช้เพื่อการฝึกทักษะซ้ำ ๆ  มากกว่าจะใช้เพื่อขยายความคิดและแก้ปัญหาต่าง ๆ </p><p></p><p>ที่มา :  พรพิไล  เลิศวิชา.มัลติมีเดียกับโรงเรียนในศตวรรษที่  21,พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ:2544</p><p> </p>

คำสำคัญ (Tags): #education
หมายเลขบันทึก: 34769เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2006 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

รูปแบบเอ็กทำได้ดีนะ ในคิดเห็นเราเราว่าน่าจะใช้สีเดียวหรือไม่ก็ไม่ต้องใช้สีสลับกันไปมา มันดูแล้วอ่านอยากลายตา 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท