นิวรณ์ และกรรมฐานสำหรับแก้


 

พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดบวรนิเวศ วิหาร กรุงเทพมหานคร

จิตที่ไม่มีสมาธิก็เพราะมี นิวรณ์ ทำให้ไม่ได้มีความสงบ ไม่ใช้ปัญญา จึงได้แสดง นิวรณ์ ๕ และกัมมัฏฐานสำหรับแก้เพิ่มเติม ดังต่อนี้
๑. ความพอใจใฝ่ถึงด้วยอำนาจของกิเลสกาม เรียกว่า “กามฉันทะ”
แก้ด้วยเจริญ อสุภกัมมัฏฐาน พิจารณาซากศพ หรือเจริญ กายคตาสติ พิจารณา ร่างกายอันยังเป็นให้เป็นของน่าเกลียด
๒. ความงุ่นง่านด้วยกำลังโทสะ เรียกรวมว่า “พยาบาท”
แก้ด้วยเจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หัดจิตให้เกิดในทางหัดคิดให้เรียเกิดเมตตา สงสาร กรุณา ช่วยเหลือเมื่อมีความสามารถ เกิดความพลอยยินดีไม่มีริษยา เกิดความปล่อยวาง หยุดใจที่คิดโกรธได้

๓. ความท้อแท้ หรือคร้าน หรือความหดหู่ง่วงงุน เรียกว่า “ถีนมิทธะ”
แก้ด้วยเจริญ อนุสติ กัมมัฏฐาน พิจารณาคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บ้าง พิจารณาความดีของตนบ้าง เพื่อให้จิตเบิกบาน และมีแก่ใจหวนอุตสาหะ หรือทำอาโลก สัญญา(หมายเหตุ คือ อาโลกกสิน) กำหนดหมายแสงสว่าง ให้จิตสว่าง
๔. ความฟุ้งซ่าน หรือคิดพล่าน และความจืดจางเร็ว หรือความรำคาญ เรียกว่า “อุทัจจกุกกุ จจะ”
แก้ด้วย เพ่งกสิณ กำหนดลมหายใจเข้าออก หัดผูกใจไว้ในอารมณ์เดียว หรือเจริญมรณสติ อันจะทำให้ใจสงบด้วยสังเวช
๕. ความลังเลไม่แน่ลงได้ เรียกว่า “วิจิกิจฉา”
แก้ด้วยเจริญ ธาตุกัมมัฏฐาน หรือ วิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อ กำหนดรู้สภาวที่เป็นอยู่ตามเป็นจริง

อีกอย่างหนึ่ง ทำ ความกำหนดรู้จิตที่มีนิวรณ์ และนิวรณ์ที่มีในจิตเมื่อ เกิดปัญญาความรู้จักนิวรณ์ และโทษของนิวรณ์ขึ้น นิวรณ์ก็จะสงบ หายไป

(ที่มา : “รวม ธรรมะ” ; พิมพ์เผยแพร่เนื่องในงานฉลอง ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี วันที่ ๑ มกราคม - ๓๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๓. หน้า ๒๒๒-๒๒๓)

หมายเหตุ :
ธรรม บรรยายบทนี้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงนิพนธ์ไว้เมื่อครั้งที่ยังทรง สมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ (สุวฑฺฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อเรียบเรียงถวายวิสัชนาแด่ สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ที่ทรงปรารถธรรมบางข้อเกี่ยวกับเรื่องวิธีปฏิบัติตนให้ถูก ต้องทางธรรมะ

 

ภาพจากอินเทอร์เนต

หมายเลขบันทึก: 348099เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2010 21:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท