อุทยานหลวงราชพฤกษ์จัดงานสงกรานต์แบบย้อนยุค


พิเศษสำหรับผู้เข้าชมบล็อกนี้ท่านที่สนใจเข้าร่วมงานสงกรานต์แบบย้อนยุคมีบัตรเชิญให้เข้าอุทยานฯฟรี สำหรับ 20 ท่าน

อุทยานหลวงราชพฤกษ์จัดงาน “ส่งเสริมวัฒนธรรมปี๋ใหม่เมือง”หรืองานสงกรานต์แบบย้อนยุคขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ณ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ในระหว่างวันที่ 12 -16 เมษายน 2553

                   ในสมัยโบราณ ประชาชนชาวล้านนา ถือเอาเดือนเมษายน หรือเดือน 7 เหนือ ตรงกับเดือน 5 ใต้ เป็นวันเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างหนึ่ง คือถือเป็นเดือนเปลี่ยนศักราชใหม่ เรียกกันด้วยคำว่า “ปีใหม่” ในเทศกาลฉลองวันปีใหม่ ทุกบ้านเรือนประชาชนชาวล้านนา จะมีความสนุกสนาน รื่นเริง เพราะเป็นการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ หรือเรียกกันว่าวันสงกรานต์ ประเพณีสงกรานต์ของทุกปี ในวันแรกเรียกว่า วันสังขานต์ล่อง วันที่สองเรียกว่าวันเนาว์ ซึ่งชาวล้านนาเรียกเพี้ยนเป็นวันเน่า และวันที่สาม เป็นวันเถลิงศก หรือที่เรียกกันว่า วันพญาวัน วันนี้เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชปีใหม่ และเปลี่ยนพุทธศักราชด้วย โดยกิจกรรมในวันขึ้นปีใหม่ล้วนมีความสำคัญและมีความหมายต่อวิถีชีวิตของชาวล้านนาได้แก่

วันสังขานต์ล่อง  ตรงกับวันที่ 13 เมษายนเป็นวันที่ดวงอาทิตย์อย่างเข้าสู่ราศีเมษ หมายถึงวันสิ้นสุดของศักราชเก่าในวันนี้จะมีการยิงปืนตั้งแต่เช้ามืด เพื่อขับไล่เสนียดจัญไรต่างๆ พอเช้าตรู่ ก็จะกวาดแผ้วลานบ้าน ครั้นตกสายก็ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาดหมดจด แล้วซักเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน  นำที่นอน หมอนและอุปกรณ์ในการนอนออกผึ่งแดด ในวันนี้ชาวล้านนาทุกคน จะทำอารมณ์ให้แจ่มใส ไม่มีขุ่นมัวในจิตใจ เพราะเป็นวันที่จะเริ่มชีวิตใหม่ จะต้องเตรียมจิตใจให้เข้มแข็งและพร้อมที่จะสู้กับชีวิตในปีต่อไป พอถึงตอนบ่ายจะมีการสระเกล้าดำหัว ชำระร่างกายให้สะอาดแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าใหม่ ผู้หญิง ก็จะทัดดอกไม้อันเป็นนามปี เช่นปีชวด ทัดดอกจำปา แล้วปัดกวาดเช็ดถูหิ้งพระทำความสะอาดพระพุทธรูป เปลี่ยนดอกไม้บูชาพระ  มีการจัดขบวนแห่พระพุทธรูปสำคัญประจำเมือง ไปตามถนนสายต่างๆ และ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้านมัสการสรงน้ำพระ

วันเนาว์ หรือ วันเน่าถือว่าเป็นวันสำคัญคนล้านนาจะไม่ทำอะไรที่ไม่เป็นมงคล ต้องไม่ทำผิดศีลห้า ไม่ด่าทอหรือทะเลาะวิวาทกัน เพราะหากมีการทะเลาะวิวาทกันในวันนี้ จะไม่เป็นมงคลเลยตลอดปี เชื่อกันว่าหากผู้ใดด่าทอกันวันนี้ปากของบุคคลนั้นจะเน่า เพราะเป็นวันเน่า ในวันนี้หากมีอะไรเป็นการล่วงเกินกันก็มักจะไม่ถือสาหาโทษกัน ในวันนี้ตอนเช้าทุกครอบครัวจะไปตลาดเพื่อจ่ายซื้ออาหารและข้าวของไว้ทำบุญถือว่าเป็นวันดาเครื่องไทยทาน คำว่า “วันดา” หมายถึง วันเตรียมข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่จะทำบุญ เช่น จัดการจ่ายซื้อข้าวของหรือข้าวของอื่นๆ ที่เตรียมไว้เช่น อาหาร ขนม สำหรับทำบุญ และรับประทานอาหารหรือไว้ต้อนรับอาคันตุกะผู้มาเยือน ตอนบ่ายก็จะช่วยกันขนทรายเข้าวัด แล้วก่อเจดีย์ทราย การถวาย เจดีย์ทรายนั้นถือเป็นการทดแทนวัดในการที่เข้าไปในวัดแล้วอาจเหยียบเอาเม็ดทรายติดเท้ามาด้วย  จากนั้นก็จัดเตรียม ตัดกระดาษสีต่างๆ มาทำเป็นธง หรือ ตุง ฉลุให้มีลวดลายสวยงามใช้ไม้ไผ่มาทำคันธง หรือใช้ต้นเขืองติดตุงเตรียมไว้ สำหรับนำไปปักไว้ที่กองเจดีย์ทรายในวันรุ่งขึ้น

วันพญาวัน   เป็นวันเริ่มศักราชใหม่ มีการทำบุญทางศาสนาและไป “ดำหัว” ผู้ที่ตนเคารพนับถือ   ตั้งแต่เวลาเช้าตรู่ จะได้เห็นผู้คนถือสำรับอาหารคาวหวาน ไปทำบุญถวายพระตามวัดเรียกว่า “การทานขันข้าว” เป็นการทำทานและกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษหรือญาติมิตร บิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นการแสดงออกถึงความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และมีความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษของตนหลังจากนั้นจะนำช่อตุงหรือธงที่เตรียมไว้และน้ำขมิ้นส้มป่อยซึ่งปรุงด้วยดอกสารภีตากแห้ง ไปตกแต่งเจดีย์ทรายและปล่อยนกปลาสะเดาะเคราะห์ ในวันนี้ มีพิธีค้ำค้ำต้นโพธิ์ โดยใช้ง่ามที่แข็งแรงสำหรับ มีกระบอกเล็กๆ บรรจุน้ำและทรายและกรวยดอกไม้ธูปเทียนผูกติดด้วย นำไปค้ำต้นโพธิ์ที่อยู่ในวัด  การค้ำโพธิ์ถือคตินิยมว่า เป็นการค้ำจุนพระพุทธศาสนาให้มียั่งยืนยาวนานตลอดไป เพราะต้นโพธิ์นั้นเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา   ในวันพญาวันมีการแสดงพระธรรมเทศนาจนถึงเวลาถวายอาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ เสร็จแล้วมีการสรงน้ำพระพุทธรูป พระประธานในโบสถ์วิหาร หรือพระสถูปเจดีย์และสรงน้ำเจ้าอาวาสในวัดนั้น  ตอนบ่ายก็มีการไป “ดำหัว” หรือไปสมาคารวะผู้เฒ่าผู้แก่ บิดามารดา ญาติพี่น้อง ผู้อาวุโส ในพิธีดำหัว ต้องเตรียมเครื่องสำหรับดำหัว มีขันข้าวตอกดอกไม้ ธูปเทียน น้ำขมิ้นส้มป่อยและของใช้หรืออาหารและผลไม้ เช่น มะม่วง มะปราง แตงกวา มะพร้าวอ่อน กล้วยอ้อย ขนม ข้าวต้ม หมากพลู เมี่ยง บุหรี่ หรือจะมีเงินทองใส่ไปด้วยก็ได้ นอกจากนี้จะมี เสื้อผ้า กางเกง ผ้าซิ่น ผ้าขนหนูหรือของที่ระลึกอื่นๆ โดยจัดตกแต่งใส่พานหรือภาชนะให้เรียบร้อยสวยงาม หรือจะจัดให้มีขันบายศรี พุ่มดอกไม้ทำนองเดียวกันกับการแห่ครัวทานก็ได้ ขบวนที่ยกไปดำหัวนี้ จะไปในตอนบ่าย ใกล้ค่ำ เพราะเป็นเวลาที่เย็นสบาย เมื่อขบวนดำหัวไปถึง ผู้เป็นหัวหน้าก็จะเอาพานข้าวตอกดอกไม้ ธูปเทียน และน้ำขมิ้นส้มป่อยประเคน รวมทั้งของที่นำไปดำหัวด้วยนั้น และจะขอขมาลาโทษ และผู้ที่รับดำหัวก็จะให้พร ประเพณีดำหัวนี้ เป็นประเพณีที่ชาวเหนือถือกันมาแต่โบราณกาลแล้ว การดำหัวเป็นการแสดงออกถึงการขออภัย การให้อภัย การเคารพนับถือกันในหมู่บ้านหรือในหมู่คณะ และในวงสังคมเดียวกันและเป็นการแสดงถึงจิตใจความรักใคร่สามัคคีในระหว่างหมู่คณะอีกด้วย 

ในช่วงเวลาทั้งสามนี้ จะมีการเล่นรดน้ำกันโดย ชาวล้านนาถือว่า น้ำเป็นของเย็น การรดน้ำเป็นการอวยพรให้มีความสดชื่นเย็นกายสบายใจ  เช่นเดียวกับน้ำที่ใช้รดกันนั่นเอง การรดน้ำนี้แม้จะเป็นประเพณีแต่ก็เล่นกันอย่างมีขอบเขตมิใช่เล่นกันอย่างทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น การเล่นรดน้ำ เป็นประเพณีที่แสดงออกถึงจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยไมตรี ประดุจ เช่น น้ำบริสุทธิ์ที่เราหลั่งรดกันในการเล่นน้ำวันสงกรานต์จะเล่นกันอย่างสุภาพ โดยค่อยๆรดจากต้นคอลงไป และรดด้วยน้ำบริสุทธิ์ที่ปรุงด้วยน้ำหอมซึ่งจะยังคงความสดชื่นใจให้แก่ผู้ที่ถูกรด ไม่ใช้น้ำสกปรกหรือใช้กระบอกฉีดน้ำใส่ตามหน้าตาและศีรษะหรือเอาน้ำสาดรถยนต์ที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

ปัจจุบันความสำคัญของประเพณีสงกรานต์ที่ยึดถือกันมาแต่โบราณได้ลบเลือนหายไปงานสงกรานต์ที่คนทั่วไปรู้จักเหลือเพียงการรดน้ำ เล่นน้ำสงกรานต์กันอย่างรุนแรงบ้าคลั่ง ความงดงามและรุ่มรวยแห่งวัฒนธรรมล้านนาซึ่งเป็นอู่อารยะธรรมที่หลากหลาย เป็นแหล่งรวมของชนชาวล้านนาดั้งเดิม ทั้งไทยวน ไทยอง ไทลื้อ ไทเขิน  ที่ต่างมีวัฒนธรรมประเพณี ที่สวยงามและมีความหมาย  อุทยานหลวงราชพฤกษ์ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่  สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและเครือข่ายวัฒนธรรมล้านนา จึงได้ร่วมกันจัดงานสงกรานต์ล้านนาในอุทยานหลวงราชพฤกษ์ขึ้น เพื่อฟื้นฟูประเพณีสงกรานต์ล้านนาให้เป็นที่รู้จักและชื่นชมกันอีกครั้งโดยมีวัตถุประสงค์  คือ

  1. เพื่อจัดพิธีสวดมหาสันติงหลวงของชาวล้านนา เพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  2. เพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูวัฒนธรรมปี๋ใหม่เมืองของชาวล้านนา
  3. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนล้านนาในการถ่ายทอดอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น
  4. เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมปี๋ใหม่อันดีงามของล้านนาให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
  5. เพื่อฟื้นฟูและเผยแพร่วัฒนธรรมการเล่นน้ำปี๋ใหม่ของชาวล้านนาในอดีต

      สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ประกอบด้วย การจัดพิธีกรรมและกิจกรรมต่างๆ แบบโบราณของล้านนาตามวันสำคัญคือ

                  วันที่ 12 เมษายน 2553 มีพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่ พิธีเปิดป้ายชื่อ “อุทยานหลวงราชพฤกษ์” และพิธีเปิดงาน “ส่งเสริมวัฒนธรรมปี๋ใหม่เมือง”

                  วันที่ 13 เมษายน 2553 วันสังขานต์ล่อง มีการยิงปืนตั้งแต่เช้ามืดเพื่อขับไล่เสนียดจัญไรต่างๆ การจัดขบวนแห่พระพุทธรูปสำคัญและเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้านมัสการพระพุทธรูปประจำอุทยานหลวงราชพฤกษ์

                   วันที่ 14   เมษายน 2553  วันเนาว์ หรือ วันเน่า มีการสาธิตและฝึกสอนการทำอาหารพื้นเมืองและการทำตุง หรือธง  การทำเรื่องสักการะแบบต่างๆของล้านนา  และการก่อเจดีย์ทราย บริเวณลานราชพฤกษ์

                  วันที่ 15   เมษายน  2553  วันพญาวัน    มีการทำบุญทางศาสนา  การทานขันข้าวเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษหรือญาติมิตร บิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้วการทานช่อตุงหรือธงที่เจดีย์ทราย การแห่ไม้ที่ใช้ค้ำต้นโพธิ์  และพิธีดำหัว คือการคารวะกราบไหว้ผู้อาวุโส คือ บิดามารดา ครูบาอาจารย์เจ้าเมือง ผู้ปกครองท้องถิ่นซึ่งตนเคารพนับถือได้แก่คน 3 ประเภทคือผู้ที่สูงด้วยชาติวุฒิ คือ คนที่มีชาติตระกูลอันสูง เช่นพระราชา มหากษัตริย์ เป็นต้น ผู้สูงด้วยคุณวุฒิ คือ คนเจริญด้วยความรู้ เช่น ครูบาอาจารย์ ผู้ประสิทธิประศาสน์วิชาแก่ลูกศิษย์ทั้งหลายผู้สูงด้วยวัยวุฒิ คือ คนเจริญด้วยวัย คือมีอายุยืน มีประสบการณ์มากเป็นต้น

 

กำหนดการ “งานส่งเสริมวัฒนธรรมปี๋ใหม่เมือง” วันที่  12 – 16 เมษายน 2553

 ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่มีดังนี้

 วันที่  12   เมษายน 2553

09.00 น.                            - พิธีขึ้นท้าวทั้งสี่ บริเวณสวนไม้หอม หลังอาคาร 

                                         นิทรรศการถาวร

16.30 น.                            - หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง

                                          และแขกรับเชิญถึงบริเวณงาน    หน้าประตูอุทยาน

                                         แจกแผ่นพับ สูจิบัตรกำหนดการงานส่งเสริมวัฒนธรรม

                                         ปี๋ใหม่เมือง และบทสวดมหาสันติงหลวง

17.00 น.                        - พิธีเปิดป้ายชื่อ อุทยานหลวงราชพฤกษ์

                                      โดยหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง

                                  ขบวนเครื่องสักการะแห่ออกจากข้างหอคำหลวงทั้งสองข้าง

                                  เข้าสู่ทางเดิน    หน้าหอคำหลวง ในขบวนประกอบด้วย

                                 หมากสุ่ม หมากเบ็ง ต้นผึ้ง ต้นดอก     บังแทรก บังสูรย์ ขัน

                                  ดอก  พระบท  ช่ออรรถเคราะห์ สะหลุงน้ำขมิ้น

                                  ส้มป่อย   กลองบูชา 1 ชุด กลองตึ่งโนง 1 ชุด

                                ประธานและแขกผู้มีเกียรติเดินนำขบวนแห่เข้าสู่บริเวณหน้า

                               หอคำหลวงขณะที่ขบวนแห่เริ่มออกเดิน ช่างฟ้อนเล็บจำนวน 

                             60 คน ฟ้อนต้อนรับ 

  • ประธานเดินขึ้นไปบนหอคำหลวงเพื่อวางเครื่องสักการะ หน้าพระบรม

        สาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และจุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัย

18.19 – 20.19 น.             - พิธีสวดมหาสันติงหลวง ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

       โดยคณะสงฆ์ จังหวัดเชียงใหม่จำนวน 99 รูป ด้านในหอคำหลวง

  • ศรัทธาจากวัดต่างๆ 1,000 คน ร่วมสวดบนลานชั้นสองของหอคำหลวง

วันที่   13 เมษายน 2553

10.00 - 17.00 น.              - การสอนปั้นแป้งตามปีเกิดให้กับประชาชนผู้มาในงาน เพื่อใช้ในพิธีสังขานต์ล่อง

                                           - การทำอาหารและเครื่องใช้ในประเพณีปี๋ใหม่เมือง โดยชุมชนต่างๆ อาทิ

  • การถักข้าว

ชุมชนบ้านศรีปันครัว

  • การทำเครื่องจักสานสำหรับใช้ในเทศกาลปี๋ใหม่เมือง

ชุมชนบ้านยางหลวง

  • การทำเครื่องดำหัว

ชุมชนบ้านแม่วาง

  • การทำเครื่องสักการะ

ชุมชนบ้านเมืองสาตร

  • การต้องลายกระดาษ

ชุมชนบ้านยางเนิ้ง

  • การทำดอกไม้ไหว

ชุมชนบ้านฟ้าฮ่าม

  • การทำอาหาร

ชุมชนบ้านพระนอน

10.00 – 19.00 น.             - กาดหมั้วคัวกิ๋น คัวใจ๊ (ของกินของใช้พื้นบ้าน) บริเวณเรือนไทยสี่ภาค

10.00 – 12.00 น.             - การแสดงซอพื้นบ้าน จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณเวทีเล็ก ข้างเรือนไทยสี่ภาค

13.00 – 16.00 น.             - การเล่นน้ำปี๋ใหม่เมืองแบบดั้งเดิม โดยกลุ่มหนุ่มสาวบ้านวัวลาย และหนองป่าครั่ง

16.00 – 18.00 น.             - การแสดงพื้นบ้าน บริเวณเวทีเล็ก ข้างเรือนไทยสี่ภาค

17.00 – 18.00 น.             - พิธีแห่แพต้นกล้วยล่องสังขานต์ โดยชุมชนอำเภอแม่แจ่ม และอำเภอจอมทอง

18.00 – 20.00 น.             - การแสดงพื้นบ้าน บริเวณเวทีใหญ่หน้าหอคำหลวง

 

14 เมษายน 2553

10. 00 – 17.00 น.            - การตัดตุงไส้หมู เพื่อใช้ถวายเจดีย์ทราย

                                           - การทำอาหาร และเครื่องใช้ในพิธีกรรมปี๋ใหม่เมือง โดยชุมชนต่างๆ อาทิ

  • การถักข้าว

ชุมชนบ้านศรีปันครัว

  • การทำเครื่องจักสานสำหรับใช้ในเทศกาลปี๋ใหม่เมือง

ชุมชนบ้านยางหลวง

  • การทำเครื่องดำหัว

ชุมชนบ้านแม่วาง

  • การทำเครื่องสักการะ

ชุมชนบ้านเมืองสาตร

  • การต้องลายกระดาษ

ชุมชนบ้านยางเนิ้ง

  • การทำดอกไม้ไหว

ชุมชนบ้านฟ้าฮ่าม

  • การทำอาหาร

ชุมชนบ้านพระนอน

 

 

10.00 – 19.00 น.             - กาดหมั้วคัวกิ๋น คัวใจ๊ (ของกินของใช้พื้นบ้าน) บริเวณเรือนไทยสี่ภาค

10.00 – 12.00 น.           - การแสดงซอพื้นบ้าน จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณเวทีเล็ก ข้างเรือนไทยสี่ภาค

13.00 – 16.00 น.             - การเล่นน้ำปี๋ใหม่เมืองแบบดั้งเดิม โดยกลุ่มหนุ่มสาวบ้านธาตุคำ

16.00 - 17.00 น.              - ขบวนขนทราย

17.00 – 20.00 น.             - ประเพณีขนทราย และก่อเจดีย์ทราย

16.00 – 18.00 น              - การแสดงพื้นบ้าน บริเวณเวทีเล็ก ข้างเรือนไทยสี่ภาค

18.00 – 20.00 น.             - การแสดงพื้นบ้าน บริเวณเวทีใหญ่หน้าหอคำหลวง

 

วันที่ 15 เมษายน 2553

10.00 – 16.00 น.             - พิธีแกะสลักไม้ค้ำสะหลีหลวง

10. 00 – 17.00 น.            - การทำอาหาร และเครื่องใช้ในประเพณีปี๋ใหม่เมือง โดยชุมชนต่างๆ อาทิ 

  • การถักข้าว

ชุมชนบ้านศรีปันครัว

  • การทำเครื่องจักสานสำหรับใช้ในเทศกาลปี๋ใหม่เมือง

ชุมชนบ้านยางหลวง

  • การทำเครื่องดำหัว

ชุมชนบ้านแม่วาง

  • การทำเครื่องสักการะ

ชุมชนบ้านเมืองสาตร

  • การต้องลายกระดาษ

ชุมชนบ้านยางเนิ้ง

  • การทำดอกไม้ไหว

ชุมชนบ้านฟ้าฮ่าม

  • การทำอาหาร

ชุมชนบ้านพระนอน

10.00 - 19.00 น.              - กาดหมั้วคัวกิ๋น คัวใจ๊ (ของกินของใช้พื้นบ้าน) บริเวณเรือนไทยสี่ภาค

10.00 น.                            - การแสดงซอพื้นบ้าน จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณเวทีเล็ก ข้างเรือนไทยสี่ภาค

13.00 – 16.00 น.             - การเล่นน้ำปี๋ใหม่เมืองแบบดั้งเดิม โดยกลุ่มหนุ่มสาว ตำบลแม่เหียะ

16.00 – 17.00 น.             - พิธีแห่ไม้ค้ำสะหลีหลวง โดยเทศบาลตำบลแม่เหียะ 5 ชุมชน ได้แก่ บ้านห้วยทราย        บ้านสันพระนอน บ้านดอนปิน บ้านท่าข้าม บ้านป่าจี้

16.00 – 18.00 น.             - การแสดงพื้นบ้าน บริเวณเวทีเล็ก ข้างเรือนไทยสี่ภาค

18.00 – 20.00 น.             - การแสดงพื้นบ้าน บริเวณเวทีใหญ่หน้าหอคำหลวง

 

วันที่ 16 เมษายน 2553

10.00 – 11.00 น.             - พิธีสืบชะตาหลวง อุทยานหลวงราชพฤกษ์

 

พิเศษสำหรับผู้เข้าชมบล็อกนี้ท่านที่สนใจเข้าร่วมงานสงกรานต์แบบย้อนยุคมีบัตรเชิญให้เข้าอุทยานฯฟรี สำหรับ 20 ท่าน สนใจขอรับบัตรฟรีได้ที่[email protected]นะคะ เฉพาะ 20 ท่านแรกค่ะ

หมายเลขบันทึก: 349557เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2010 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2012 12:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

โอโหท่าน ผอ. มีกิจกรรมหลากหลายมากเลยครับ

ขอบคุณค่ะ

อย่าลืมมาเที่ยวสงกราต์นะคะ

ทัศนีย์

ขอสนับสนุนด้วยคนค่ะ!!!!!

และขออนุญาตนำลิงค์ไปเผยแพร่ด้วยนะคะ.....

อยากให้คนมาแอ่วเจียงใหม่มากๆค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ ดีใจจังเลย

อย่าลืมมาเที่ยวด้วยนะคะ

ทัศนีย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท