สำรวจดอกไม้ของแมลงภู่ที่เกาะช้าง จังหวัดตราด


แมลงภู่เป็นแมลงประจำท้องถิ่นมักกินอยู่ประจำที่เป็นสิ่งสวยงามทำให้ดอกไม้แพร่ขยายพันธุ์ไปทั่งเกาะช้าง

การสำรวจพิจารณาจากพืชที่มีแมลงภู่ ๒ ชนิดเข้าไปตอม อาณาเขตที่ศึกษาประมาณ๑๕ไร่ ของโรงแรมรีโซเทล ตั้งอยู่ เลขที่ ๑๓/๙ ม.๔ ต.เกาะช้าง  กิ่ง อ.เกาะช้าง จ.ตราด ๒๓๑๗๐

วันที่สำรวจ 1และ2เมษายน 2553

เหตุผลที่เลือกสำรวจแมลงภู่ที่เกาะช้างเนื่องจากเป็นเกาะขนาดใหญ่ มีพืชพรรณไม้มากมาย ไม่มีผู้คนไปรบกวนมากนัก แมลงภู่ที่ตรวจพบมี ๒ ชนิด คือ

๑.ชนิดตัวดำใหญ่ลำตัวอ้วนป้อม    มักมีสีดำและมีปีกสีเข้มบางชนิด     มีสีเขียว  แกมน้ำเงิน  เป็นมันวาว   มีขนละเอียดสีเหลือง  สีเทาหรือ สีน้ำตาล  เป็นกระจุกที่บริเวณอกด้านบน ของส่วนท้องเกลี้ยงเป็นมันไม่มีขน  ลำตัวยาวประมาณ 2.0 - 3.5 ซม. บางชนิดมีขนาดเล็กเพียง 6 มม.   ปัจจุบันพบแล้ว ประมาณ  500  ชนิดทั่วโลก   ปากเป็นแบบกัดเลีย(chewing – lapping type)  มีฟันกรามขนาดใหญ่และมีลิ้นยาว  (ด้วยรูปร่างที่คล้ายกันทำให้แยกแมลงภู่ออกจาก ผึ้งหึ่งได้ยาก  แต่สามารถแยกได้โดยลักษณะที่แมลงภู่จะมีส่วนท้องที่เป็นมัน วาว  ไม่มีขน   แต่ส่วนท้องของผึ้งหึ่งจะถูกปกคลุมด้วยขน)
         ด้วย นิสัยขุดรูเป็นอุโมงค์คดเคี้ยวไปมา  บนเนื้อไม้ที่แห้งตาย    โดยการใช้ฟันกรามกัดแทะ เนื้อไม้  เพื่อทำรังจึงถูกเรียกว่า Carpenter  bees (Carpenter แปลว่า  ช่างไม้)Family     Xylocopidae  Order     Hymenoptera

๒.ชนิดตัวดำอกเหลือง

Xylocopa aestauns (Hymenoptera : Xylocopidae) เป็นแมลงภู่ขนาดกลาง ตัวดำ อกมีขนปุยสีเหลือง 

พืช๕ชนิดที่แมลงภู่เข้ามาตอม

  1. ยอ  ชื่อวิทยาศาสตร์ Morinda citrifolia  L. วงศ์ :  Rubiaceae  ชื่อสามัญ : Indian Mulberry ชื่ออื่น :  มะตาเสือ  ยอบ้าน
    ลักษณะ :  ไม้ ยืนต้น สูง 2-6 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างโคนก้านใบ ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ฐานดอกอัดกันแน่นเป็นรูปทรงกลม กลีบดอกสีขาว ผลเป็นผลสด เชื่อมติดกันเป็นผลรวม ผิวเป็นตุ่มพอง

2.โมก ชื่อวิทยาศาสตร์     Wrightia religiosa  ชื่อสามัญ : Kurchi ดอก  ช่อดอกสีขาว ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อละ 2-8 ดอก ช่อดอกห้อย ก้านดอกเรียวเล็ก  กลีบเลี้ยงสั้นมาก สีเขียวอ่อน ปลายแยกเป็น 5 แฉก แต่ละแฉกรูปมน โคนกลีบดอกรูปมนเล็กน้อย ปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบรูปไข่ โมกลามีกลีบดอกชั้นเดียว โมกซ้อนมีกลีบดอกเรียงซ้อนหลายชั้น  กลิ่น หอมเย็น ออกดอกพร้อมกันทั้งต้นตลอดปี ช่วงที่มดอกดกมากในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 
วงศ์                   APOCYNACEAE   ถิ่นกำเนิด             -
ชื่ออื่นๆ    โมก บ้าน, หลักป่า, ปิดจงวา  

3.ปีปอินโดนิเซีย ? (ไม่ทราบชื่อวิทยาศาสตร์) ต้นสูงประมาณ3-3.5เมตร ทรงพุ่มขนาดกลาง ใบเป็นมันเขียวเข้มรูปหอก เส้นใบจมในเนื้อใบ คล้ายใบพุด ดอกเป็นรูปปากแตร สีชมพูอ่อน ไส้ในเป็นกระจุกเกสรตัวผู้สีเหลือง ดอกมี 5 กลีบ ย่นทั้งดอก จะหอมเย็นชื่นใจ ตั้งแต่ 6โมงเช้าถึง5โมงเย็น มีผึ้งมิ้ม ชันโรง ผึ้งป่ามาตอมทั้งวัน

4.สารภี  ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mammea siamensis Kosterm. ชื่อวงศ์ : Guttiferae (Clusiaceae) ชื่อสามัญ : Negkaser  ชื่อพื้นเมือง : สร้อยภี, สารภีป่า ถิ่นกำเนิด : เอเซียตะวันออก เฉียงใต้ ดอก  ช่อดอกสีขาว ออกเป็นช่อหรือกระจุกตามลำต้นและกิ่ง มีกลีบเลี้ยง 2 กลีบ    กลีบดอก 4 กลีบ รูปไข่ กว้าง 0.7 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก เมื่อดอกย่อยบานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร ดอกบานไม่พร้อมกัน เมื่อดอกเริ่มบานสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองก่อนโรย ดอกบานเพียง วันเดียว ดอกออกพร้อมกันทั้งต้น แต่ละต้นมีช่วงดอกบานอยู่ราวหนึ่งสัปดาห์ ส่วนมากบานในกลางเดือนกุมภาพันธ์ 

5.พญาสัตตบรรณ  ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alstonia scholaris R. Br. ถิ่นกำเนิดอยู่ที่หมู่เกาะโซโลมอนและมาเลเซีย และป่าดงดิบภาคใต้ ตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ โตเร็ว ลำต้นตรง สูงราว 15-30 เมตร ผิวลำต้นมีสะเก็ดเล็กๆ สีขาวปนน้ำตาล เปลือกสีเทา มียาง สีขาว เนื้อไม้สีขาวอมเหลือง แตกกิ่งก้านสาขามากตามยอด ใบเป็นใบเดี่ยวมนรี ปลายใบมนโคนใบแหลมก้านใบสั้น แตกใบออกรอบข้อเป็นวง เรียงกันคล้ายตีนเป็ด จึงมักเรียกกันทั่วไปว่า “ต้นตีนเป็ด” ดอกของสัตตบรรณ มีขนาดเล็ก สีขาวอมเขียว มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ซ้อนกันเหมือนฉัตรประมาณ 2-3 ชั้น ช่อหนึ่งๆ จะติดกลุ่มเป็นพุ่มย่อยๆ ช่อละ 7 พุ่มเหมือนกันทุกช่อ มักจะบานพร้อมกัน โดยเริ่มบานประมาณเดือนตุลาคม-ธันวาคม

ช่วงเวลาในการตอมดอก ตั้งแต่ ๐๗.๐๐น. ไปจนถึงประมาณ ๑๗.๐๐น.

ภาพดอกไม้ของแมลงภู่ท่านสามารถดูได้ที่ [email protected] window live รูปถ่าย:ดอกไม้ของแมลงภู่เกาะช้าง

odd-บ้านสมุนไพร

หมายเลขบันทึก: 350350เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2010 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท