๒๓.แบบฝึกเจริญสติ(๓)


๓.การหายใจ

    ๓.๑ หายใจลึก  นอนราบกับพื้น เหมือน ๒.๑ เพ่งความสนใจอยู่ที่การเคลื่อนไหวของท้องเพื่อให้อากาศเข้าสู่ส่วนล่าง ส่วนบนของปอด บริเวณทรวงอกก็จขยายตัว ไม่ควรฝืน หายใจติดต่อกัน ๑๐ ครั้ง ลมหายใจออกจะยาวกว่าลมหายใจเข้าเล็กน้อย

    ๓.๒ ก้าวเท้าวัดความยาวของลมหายใจ  เดินช้า ๆ หายใจธรรมดาวัดลมหายใจเข้าออกด้วยจำนวนก้าว สังเกตลมหายใจอย่างระมัดระวัง หายใจติดต่อกันสัก ๑๐ ครั้ง  เมื่อมีปิติให้ขยายลมหายใจเข้าให้ยาวขึ้นอีก ๑ ก้าว ทำอีก ๑๐ ครั้ง แล้วกลับมาหายใจปกติสัก ๕ นาที  และกลับมาทำแบบเดิมอีก อย่าฝึกหายใจเข้าหายใจออกเท่ากันเกินกว่า ๑๐-๒๐ ครั้ง

    ๓.๓ นับลมหายใจ นั่งขัดสมาธิ หรือจะเดินก็ได้ เมื่อหายใจเข้าก็ให้รู้ว่าหายใจเข้า ๑ หายใจเข้า ๒...หายใจเข้า ๑๐ แล้วกลับมานับใหม่อีก  ถ้าหลงก็ให้เริ่มต้นใหม่

   ๓.๔ ตามลมหายใจขณะฟังดนตรี  หายใจเบาและยาวสม่ำเสมอตามลมหายใจให้ตลอด  ขณะที่มีสติรู้ท่วงทำนองและจังหวะของดนตรีด้วย อย่าปล่อยใจไปที่ดนตรีทั้งหมด  แต่พยายามบังคับบัญชาลมหายใจและตัวเองไปด้วย

   ๓.๕ ตามลมหายใจขณะสนทนา หายใจเบา และสม่ำเสมอ ตามลมหายใจไปขณะที่ฟังคำพูดของเพื่อนและคำพูดของเราเอง ติดต่อกันไปเหมือน ๓.๔ 

  ๓.๖ ตามลมหายใจ  นั่งขัดสมาธิหรือเดินเล่น  เริ่มหายใจเข้าช้า ๆ อย่างปกติ เริ่มจากท้อง มีสติรู้ว่า"กำลังหายใจเข้าออกปกติ" ทำติดต่อกัน ๓ ครั้ง

        ครั้งที่ ๔  ขยายการหายใจเข้าออกให้ยาวขึ้น  มีสติรู้ว่า "ฉันกำลังหายใจเข้าออกยาว "ทำติดต่อกัน ๓ ครั้ง ติดตามลมหายใจอย่างระมัดระวัง  ให้มีสติรู้เท่าทันการเคลื่อนไหวทุก ๆ ระยะของท้องและปอด

        ตามลมหายใจเข้าและตามลมหายใจออกตั้งแต่ต้น มีสติรู้ว่า "กำลังหายใจเข้าออกและกำลังตามลมหายใจเข้าตั้งแต่ต้นจนสุด" 

       หายใจต่อเนื่องกัน ๒๐ ครั้ง  แล้วกลับมาหายใจปกติสัก ๕ นาที ทำซ้ำอีกครั้งหนึ่ง อย่าลืมยิ้มเล็กน้อย เมื่อคล่องแล้วจึงทำขั้นต่อไป

 ๓.๗ ทำจิตและร่างกายรำงับเพื่อนเข้าถึงปิติสุข  นั่งขัดสมาธิ ยิ้มเล็กน้อย ตามลมหายใจเข้าออก เหมือนข้อ ๓.๖ เมื่อร่างกายและจิตสงบแล้ว หายใจเข้าออกอย่างเบา ๆ และมีสติรู้ว่า "กำลังหายใจเข้าออกและทำให้กาย ลมหายใจเบาและสงบ"  ทำติดต่อกัน ๓ ครั้ง

       นึกในใจอย่างมีสติว่า "กำลังหายใจเข้าออกและทำให้กาย ลมหายใจเบาและสงบ"  ทำติดต่อกัน ๓ ครั้ง

       นึกในใจอย่างมีสติว่า "กำลังหายใจเข้าออกและทำให้กาย ลมหายใจเบาและสงบ"  คงความนึกคิดอย่างนี้ด้วยสติตลอด ๕ นาที ๓๐ นาที หรือ ๑ ชั่วโมงแล้วแต่ความสามารถ 

      การเริ่มต้นและการสิ้นสุดของการฝึก ควรเป็นไปอย่างผ่อนคลายและนุ่มนวล  เมื่อจะหยุดควรเอามือลูบหน้าลูบตาอย่างนุ่มนวล ลูบกล้ามเนื้อ แขนขาก่อนที่จะอยู่ในท่านั่งปกติ

http://images.google.co.th/imglanding?q

หมายเลขบันทึก: 351505เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2010 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

สวัสดีครับ ครูคิม

แวะเข้ามาอ่าน ทำให้ได้คิด บางครั้งยุ่งๆ จนลืมคิดว่ายังหายใจดีอยู่หรือ

ขอให้มีความสุขในวันปีใหม่ไทยนะครับ

แวะเข้ามาอ่าน...ลองฝึกดู...ดีค่ะ...ขอบคุณ

สวัสดีครับ พี่ครูคิม

  • มาร่วมแลกเปลี่ยนด้วยนะครับ
  • แต่ก่อนที่ผมฝึก ยังหนีไม่พ้นกับ ความง่วง ความคิดที่วิตกเกินไป ฟุ้งซ่านเกินไป เลยพยายามดึงจิตให้มาจดจ่อกับลมหายใจ ไม่ให้วอกแวกไปตามสิ่งเร้าครับ ยากอยู่เหมือนกัน พอดึงกลับมาได้แล้ว ก็รับรู้ไปเรื่อยๆ เรียนรู้กับลมหายใจเข้าออก แล้วทำให้เราสดชื่น มีสติ มีึความสุขด้วยปิติยินดี เกิดคุณค่า เกิดการค้นพบ ยิ่งทำ ยิ่งดีครับ
  • ขอบพระคุณมากๆ ครับ สำหรับบทความดีๆ

ขอบคุณค่ะพี่ครูคิม มาสวัสดีปีใหม่ไทยค่ะ จะนำไปลองปฏิบัติดูนะคะ

  • แวะมาเยี่ยมด้วยความคิดถึง...สวัสดีปีใหม่ไทย...สุขสันวันสงกรานต์ปี2553นะคะ...ต่อด้วยพรวันเกิดย้อนหลังขอให้ชีวิตพบแต่ความสุขปราศจากโรคภัยและสิ่งไม่ดีมาแผ้วพานให้รำคาญใจตลอดไปนะคะ
  • อ่านแล้วจะลองฝึกดูบ้าง...ไม่ค่อยมีเวลาสำหรับตัวเองมากนัก..
  • ที่ผ่านมาเพิ่งเสร็จจากการรับนักเรียนเข้าเรียน ม.1 และ ม.4  เสร็จไปเมื่อวันที่ 9 เม.ย.นี้วุ่นพอสมควรตอนนี้เลยพักจริงๆสักช่วง...แล้วจะลองฝึกดู..อ่านแล้วชวนให้ลองฝึกค่ะ...

 สุขสันต์วันมหาสงกรานต์ค่ะ  คุณครูคิม

                      

 ภาพส่วนหนึ่ง  จากหนังสือการ์ตูนประกอบคำกลอน "รักษ์คลอง-รักถิ่น" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยและพัฒนาสื่อเพื่อสร้างสำนึกสาธารณะและโลกทัศน์ทางสังคมสำหรับเด็ก โดย อาจารย์ ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ ซึ่งสนับสนุนโดย โครงการวิจัยและพัฒนาประชาคมพุทธมณฑล ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนโดย มหาวิทยาลัยมหิดล ..

สวัสดีค่ะอาจารย์รศ. พงศ์วัชร สิริจันทรวงศ์

  • การฝึกอยู่กับตัวตนเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายค่ะ
  • หากใช้ความพยายามก็จะทำได้
  • ขอขอบพระคุณที่มาแลกเปลี่ยนค่ะ

สวัสดีค่ะน้องปริมปราง

  • พี่คิมอ่านแล้ว และฝึกแล้วจึงย่อมาตามความเข้าใจค่ะ
  • ขอเป็นกำลังใจนะคะ

สวัสดีค่ะน้องณัฐวรรธน์

  • เหมือนกันค่ะ อาการเดียวกัน จิตเตลิดค่ะ
  • แต่ยังดีที่เราฝึก ๆ ไปแล้วรู้ตัวได้เร็วดีนะคะ
  • เรียนรู้และฝึกไปพร้อมๆ กันค่ะ
  • ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์น้องอ.ลูกหว้า

  • ขอขอบคุณค่ะ
  • อาจารย์สบายดีนะคะ  ไปพักผ่อนที่ไหนคะ
  • พี่คิมอยู่กับบ้าน อยากพักผ่อนจริง ๆ ค่ะ
  • พี่คิมอยู่ในขั้นเรียนรู้และพยายามฝึกค่ะ

สวัสดีค่ะคุณพี่Preeda

  • แวะมาเยี่ยมด้วยความคิดถึง...สวัสดีปีใหม่ไทย...สุขสันวันสงกรานต์ปี2553นะคะ...ต่อด้วยพรวันเกิดย้อนหลังขอให้ชีวิตพบแต่ความสุขปราศจากโรคภัยและสิ่งไม่ดีมาแผ้วพานให้รำคาญใจตลอดไปนะคะ
  • น้อมรับด้วยความขอบพระคุณค่ะ
  • อ่านแล้วจะลองฝึกดูบ้าง...ไม่ค่อยมีเวลาสำหรับตัวเองมากนัก..
  • คุณพี่ย้อนไปอ่านตอนแรก ๆ ด้วยนะคะ  ตามลำดับค่ะ เหลืออีก ๑ ตอนจะถ่ายทอดต่อค่ะ
  • คุณพี่แวะมาอ่านนะคะ
  • ที่ผ่านมาเพิ่งเสร็จจากการรับนักเรียนเข้าเรียน ม.1 และ ม.4  เสร็จไปเมื่อวันที่ 9 เม.ย.นี้วุ่นพอสมควรตอนนี้เลยพักจริงๆสักช่วง...แล้วจะลองฝึกดู..อ่านแล้วชวนให้ลองฝึกค่ะ...
  • ขอเป็นกำลังใจค่ะ
  • แรก ๆ จะใช้เวลาค่ะ  เมื่อทำได้แล้วก็ทำได้ทุกเวลาทุกโอกาสค่ะ

สวัสดีค่ะคุณณัฐพัชร์

พี่ครูคิมน้องเอาน้ำปลาหวานมาฝากค่ะ...

สวัสดีค่ะอ้อยเล็ก

  • ช่างใจตรงกันจริงนะคะ  ขนลุกเลย
  • กำลังเตรียมมะม่วง จาน และมีดปอกมาวางไว้ค่ะ
  • ขอขอบคุณค่ะ

ดีครับ ครูคิม ข้อที่ตามลมหายในขณะที่ฟัง พูด สนทนากับเพื่อนด้วย นำมาประยุกต์ใช้กับสุนทรียสนทนา(dialogue การสนทนาเพื่อฆ่าอวิชชา)ได้ดีเลยครับ

ขอบคุณครับครูคิม สำหรับหลักการเจริญสติดีๆ ได้แวะไปเข้าเวปบ้านครูคิมมาด้วย ขอเป็นพลังใจให้ครูผู้มีเมล็ดพันธ์แห่งความดีครับ

สวัสดีค่ะหลานปู่

  • ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ
  • ขอขอบพระคุณที่มาให้กำลังใจค่ะ
  • เวป..บ้านครูคิม  .. ระยะหลังไม่ได้ update ข้อมูลค่ะ
  • มาให้ความสนใจที่ gotoknow เสียเป็นส่วนใหญ่
  • การเขียนบันทึกหลักการเจริญนี้ไวเพื่อสอนใจตัวเองค่ะ
  • พยายามเรียนรู้และฝึกไปเรื่อย ๆ ก็รู้สึกดีค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท