สำนึกพลเมือง ทางเลือกที่สามท่ามกลางความขัดแย้ง


ผมอยากสร้างวัฒนธรรมปัจเจก (culture of individualism) ให้กับพลเมือง ผมไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องให้คนหันหลังให้กัน แย่งกันกิน แย่งกันอยู่ แต่หมายถึงการสร้างคนให้รู้จักเคารพตัวเอง รู้จักหน้าที่ อยู่ร่วมกับคนที่คิดต่างจากตัวเอง ฟังคนอื่นเป็น นึกถึงคนอื่น มีความสามารถในการเรียนรู้ และเคารพกฎระเบียบฯลฯ (ฝันมากไปหรือเปล่าเนี่ย) และผมหวังว่าคนเหล่านี้ จะไปสร้างสังคมใหม่ของตนเองได้ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องให้ใครมาปลูกฝังความเป็นโน่นความเป็นนี่ให้ไม่จบสิ้น

 

ใบไม้ย้อนแสงได้อ่านบทความการวิเคราะห์ร ะบบการปกครองไทย และความเห็นเรื่องการสร้างว ัฒนธรรมปัจเจกจากอีกกลุ่มคน ที่ได้แลกเปลี่ยน นำบางส่วนมาแบ่งปันให้อ่านกันค่ะ

....................................................

สำนึกพลเมือง (Version ของผม) 

เมื่อปี 2541 ผมเริ่มเห็นรอยปริบางอย่าง หลังจากกำนันแห่งพื้นที่ไกลปืนเที่ยงอย่างทุ่งสานสะเทือน อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ไว้วางใจ มองตาผม ก่อนถามกลับอย่างซื่อๆว่า “ลูกผมจะตาย ลูกบ้านผมจะตาย นักการเมืองช่วยผมในเวลาที่ผมต้องการ ผมจะทดแทนเขาบ้าง มันผิดหรือ...?” 

เราเคยมีมายาภาพเดียวมาตลอดกว่า 700 ปี นั่นคือ พ่อปกครองลูก

มายาภาพนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ก่อตัวมาเป็นระบบการปกครองและถูกพัฒนาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ระบบนี้เป็นระบบผูกขาด ไม่เคยถูกเปรียบเทียบ หากไปไม่ไหวจริงๆ ก็มีการปัดฝุ่น เช่น สมัยสมเด็จพระบรมไตร-โลกนาถ (จตุสดมภ์: เวียง, วัง, คลัง, นา) สมัย ร.1 (กฏหมายตราสามดวง) สมัย ร.7 (รัฐธรรมนูญฉบับแรก) 

ระบบนี้ทำงานโดยโครงสร้างกลไกขุนนาง ต่อมาเรียกว่า ข้าราชการ เป็นสายอำนาจเดี่ยว

แต่หลังจากมีรัฐธรรมนูญฉบับแรกนี่เอง ที่มีระบบใหม่ก่อตัวอย่างเงียบเชียบ โดยมีนักการเมืองเป็นแกนนำ แต่ยังคงอาศัยโครงสร้างกลไกเดิมในการทำงานแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย เมื่อมีสองระบบคู่ขนานกัน ก็ทำให้ชาวบ้านเริ่มเปรียบเทียบและเลือกใช้บริการ ขณะที่นักการเมืองเองก็เริ่มตั้งคุ้มของตนในแต่ละจังหวัดและจับมือเป็นเครือข่ายโยงใย เมื่ออำนาจกระจายออกนอกสายอำนาจเดี่ยวมาจนถึงจุดหนึ่งที่อั้นไม่อยู่จริงๆ จึงคลอดรัฐธรรมนูญปี 2540 ออกมา รธน.ฉบับนี้มีหัวใจสำคัญคือ การกระจายอำนาจ หลังจากนั้นเครือข่ายนักการเมืองก็เติบโตอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ระดับประเทศยันระดับหมู่บ้าน  

ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าเป็นเพราะระบบเดิมนั้น อุ้ยอ้าย ตอบสนองช้า ไม่ทันใจและไปไม่ค่อยถึงชาวบ้าน ทำให้แกนนำชาวบ้านเริ่มย้ายสังกัดอย่างเป็นที่รู้กัน แม้ภายนอกยังดูเหมือนว่ายังอยู่ในสังกัดเดิม 

หากลองนำสมมุติฐานนี้มาอธิบายสถานการณ์ร้อนแรงทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้น ก็คือ ปรากฏการณ์ช่วงชิงอำนาจรัฐระหว่างผู้คนที่พอใจระบบเดิมกับผู้คนที่พอใจระบบใหม่ ที่ดูเหมือนขณะนี้จะมีพละกำลังพอๆ กัน ผมทำนายว่า การตีคู่กันไปเช่นนี้ของทั้งสองฝ่ายจะกินเวลาไม่ต่ำกว่าสิบปี  แม้จะมีบางปัจจัยเป็นตัวชี้ขาด แต่คงไม่มีฝ่ายใดยอมกันง่ายๆ ต่างอ้างความถูกต้องของฝ่ายตนและกล่าวร้ายอีกฝ่ายว่าเป็นคนผิด โดยช่วงชิงพื้นที่สื่อเป็นช่องทางการต่อสู้  

ที่กล่าวมาทั้งหมดเพื่อจะบอกเพียงว่า ทั้งสองฝ่ายยังคงสะท้อนถึงการมี สำนึกพึ่งพา (ไพร่) อย่างเหนียวแน่นเหมือนเดิม เพียงแต่มีพัฒนาการเป็นไพร่รุ่นใหม่ที่เลือกสังกัดได้, ต่อรองได้, เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้, ลงล่างขึ้นบนได้ ซึ่งสร้างความปวดหัวให้มูลนายเจ้าสังกัดได้ไม่น้อย 

สำนึกพึ่งพา ช่วยให้ปลอดภัย มั่นคง มีชื่อเสียงเกียรติยศและรู้สึกว่าตนมีอำนาจ  ช่วยให้ดูเป็นคนดีที่ได้ช่วยเหลือแบ่งปันความสุขเล็กๆ น้อยๆ ให้คนที่ด้อยกว่า สำนึกพึ่งพารับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในภาวะปกติได้พอสมควร แต่ทว่ามันกลับล้มเหลวไม่เป็นท่า เมื่ออยู่ในภาวะผิดปกติเช่นใน พศ.ปัจจุบัน!   

แต่ในความล้มเหลว กลับมีบางอย่างที่ก่อตัวขึ้นอย่างเงียบๆ... 

เมื่อเกิดสึนามิที่ภาคใต้  ระบบทั้งสองล้มเหลวสนิท คนที่เข้าไปในพื้นที่เป็นกลุ่มแรกและออกมาเป็นกลุ่มสุดท้าย กลายเป็นพวกผู้รากมากดีและนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย ต่อมารู้จักในนาม “กลุ่มจิตอาสา”  

เมื่อเกิดการไม่เข้าใจกันระหว่างชาวบ้านกับระบบ ระบบทั้งสองล้มเหลวสนิท การเข้าไปประสานความเข้าใจและพาออกจากสถานการณ์ กลายเป็นข้าราชการระดับรองๆ จากบางองค์กรที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องใดๆ ที่ต่อมารู้จักในนาม “ประชาคม” 

เมื่อเกิดการไม่ลงรอยทางผลประโยชน์ระหว่างชาวบ้านกับระบบ  ระบบทั้งสองล้มเหลวสนิท ต่างฝ่ายต่างไม่ไว้วางใจกัน กลายเป็นนักธุรกิจบางคนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆ กลับได้รับการยอมรับให้นั่งเป็นประธานที่หัวโต๊ะ คุยกันไม่กี่คำ ทุกฝ่ายก็ Happy Ending ที่ต่อมารู้จักในนาม “ CSR หรือ นักธุรกิจเพื่อสังคม” 

เมื่อเกิดปัญหาหยุมหยิมในชุมชน เกินกว่าคนภายนอกจะเข้าใจและคนในชุมชนก็ปิดปากเงียบ ระบบทั้งสองล้มเหลวสนิท ชาวบ้านบางคน เช่น คนหนุ่มสาวหรือผู้สูงวัยบางคน ที่ไม่มีตำแหน่งทางการใดๆ แต่กลายเป็นคนที่ทุกฝ่ายนึกถึงก่อนและเชิญมาไกล่เกลี่ยหรือหาทางออก ต่อมารู้จักในนาม “แกนนำชุมชน” 

เมื่อเกิดปัญหาร้อนๆ เกินไป เช่น ยาเสพติด หรือปัญหาเย็นๆ เกินไป เช่น สิ่งแวดล้อม ระบบทั้งสองล้มเหลวสนิท ดูเหมือนผู้ที่รับผิดชอบจะยุ่งเกินกว่าจะเหลียวแล กลายเป็นคนแต่งกายแปลกๆปอนๆ เข้าไปซอกแซกอย่างไม่เป็นเวล่ำเวลา ไม่สนหน้าอินทร์หน้าพรหม เกาะติดปัญหายิ่งกว่าแตงเม แม้หลายฝ่ายจะไม่ค่อยชอบนัก แต่ผลงานของพวกเขาก็การันตีตัวเอง ต่อมารู้จักในนาม “NGOs” 

  

พวกเขาเหล่านั้น ไม่ว่า จิตอาสา, ประชาคม, CSR, แกนนำชุมชน, NGOs (ในไม่นาน อาจมีรูปแบบอื่นๆอีก) จะมีจริตต่างกัน ทำงานด้วยกันได้บ้าง ทะเลาะกันบ้าง แต่ในภาพรวมก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นยาดำสอดแทรกอยู่ทุกแห่งหน บางครั้งจะแสดงตัวก็ต่อเมื่อมีสถานการณ์ เมื่อหมดสถานการณ์ก็หลบฉากคล้ายล่องหน พวกเขาจะเปลี่ยนรูปไปตามสถานการณ์ จับต้องไม่ค่อยได้ ธรรมชาติของพวกนี้คล้ายหิ่งห้อย หากถูกจับ จะเป็นเพียงหนอนตัวหนึ่ง จัดเป็นพวกปิดทองหลังพระ ที่ถูกเรียกรวมๆ ว่า “ภาคประชาสังคม”   

พวกนี้ไม่ยี่หระชื่อเสียง มากเท่ากับ การได้ทำกับมือ เห็นกับตา และสรุปด้วยตัวเอง

พวกนี้ไม่ยึดขอบเขต ไม่ยึดติดประเด็น ไม่ยึดติดตัวบุคคล มากเท่ากับ การได้รับโอกาสให้ทำในสิ่งที่คิดไว้ในหัว

พวกนี้เกิดมาเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ข้อเสียคือ เบื่อง่าย เมื่อทำอะไรซ้ำๆ หรือได้ข้อสรุปแล้ว จะเริ่มสอดส่ายมองหาคนมารับช่วงต่อ เพื่อจะได้โบยบินไปหาสิ่งที่ท้าทายใหม่กว่า

พวกนี้มีสำนึกอีกแบบ อาจเป็นแบบที่ผู้รู้หลายคนเรียกว่า “สำนึกพลเมือง”  

กล่าวโดยสรุป...

ระบบคู่ขนานยังคงตีคู่กันต่อไปอีกนานแสนนาน โดยมีภาคประชาสังคมทำหน้าที่ลดการกระทบกระทั่งในระยะต้นและหาทางพาออกจากทางตันในระยะยาว (หวังว่าจะเป็นแบบนี้ แต่ไม่แน่ใจว่าภาคนี้จะเติบโตทัน...หรือท่านคิดว่าทัน?) 

(หมายเหตุ บทความนี้ลำเอียงและเข้าข้างตัวผู้เขียนมากทีเดียวครับ)

                                                ปกรณ์ สุวรรณประภา

                                                             15 เมษายน 2553

 

.....................................

ส่วนด้านล่างนี้เป็นความเห็นของ อ.โสฬส ม.มหิดล ต่อบทความข้างบนค่ะ 

"อ่านแล้วเห็นภาพทันที ผมก็คลุกคลีอยู่กับชนบทมาทั้งชีวิต เพราะเกิดและโตอยู่กับไอดินกลิ่นหญ้า จึงเข้าใจความรู้สึกของคนธรรมดาๆดี เท่าที่ผมคิดได้ตอนนี้เป็นอย่างนี้ครับ 

สังคมไทยก่อร่างสร้างตัวมาจากระบบความสัมพันธ์เชิงอำนาจแบบนายกับไพร่ (ขอโทษที่ต้องใช้คำนี้ และไม่เกี่ยวอะไรกับวาทกรรมผ่านฟ้า) และพัวพันกันมาตลอด นายผูกใจไพร่ฟ้าด้วยคุณธรรม ไพร่ผูกใจนายด้วยความซื่อสัตย์กตัญญู และระบบความสัมพันธ์นี้ยังอยู่ในจินตนาการของคนแม้รูปแบบ (form) ความสัมพันธ์จะเปลี่ยนไป แต่เนื้อหายังอยู่ สังเกตวิธีการให้ความหมายของคำว่า "ปลอดภัย" ของคนไทยกับของชาวตะวันตก (ที่พัฒนาประชาธิปไตยไปไกลแล้ว) ให้ดีนะครับ คนไทยโดยทั่วไปจะรู้สึกว่าตนเองปลอดภัย เมื่อสามารถพึ่งคนอื่นได้ แต่ฝรั่งจะคิดตรงข้าม เขาจะรู้สึกว่าตนเองปลอดภัยเมื่อไม่จำเป็นต้องพึ่งคนอื่น เขาจึงให้ความสำคัญกับกฎเกณฑ์ทางสังคมที่เป็นหลักประกันความปลอดภัยของทุกคน แต่ดูเหมือนว่าคนไทยเพิ่งมาคิดเองนี้กัน หลังจากที่เอาความปลอดภัยไปแขวนไว้กับคนอื่นมานาน แต่ความคิดแบบพึ่งพาคนอื่น กับความคิดที่จะสร้างระบบ กฏเกณฑ์เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงปลอดภัยของทุกคน คงขัดแย้งกันไปอีกระยะหนึ่ง

 ผมคิดว่า ภาคพลเมืองเราคงไม่ไปร่วมต่อสู้กับความคิดสองกระแสนี้ เพราะจะทำให้เหนื่อยแรง ในความเห็นส่วนตัวของผม คือ ผมอยากสร้างวัฒนธรรมปัจเจก (culture of individualism) ให้กับพลเมือง ผมไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องให้คนหันหลังให้กัน แย่งกันกิน แย่งกันอยู่ แต่หมายถึงการสร้างคนให้รู้จักเคารพตัวเอง รู้จักหน้าที่ อยู่ร่วมกับคนที่คิดต่างจากตัวเอง ฟังคนอื่นเป็น นึกถึงคนอื่น มีความสามารถในการเรียนรู้ และเคารพกฎระเบียบ ฯลฯ (ฝันมากไปหรือเปล่าเนี่ย) และผมหวังว่าคนเหล่านี้ จะไปสร้างสังคมใหม่ของตนเองได้ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องให้ใครมาปลูกฝังความเป็นโน่นความเป็นนี่ให้ไม่จบสิ้น"

.................................

ป.ล. อ่านแล้วไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบันทึกนี้นะคะ เป็นเพียงความเห็นหนึ่งที่นำมาแบ่งปันค่ะ ไม่ใช่คำตอบสำเร็จรูปใด ๆ

หากอ่านแล้ว มีอารมณ์ร่วม ก็กรุณาติชม แลกเปลี่ยน ต่อยอดไอเดีย ก็ยิ่งดี จะได้ช่วยกันมอง ช่วยกันหาประตูกลที่ซ่อนอยู่  พากันออกไปจากความมัวซัวซะที

บางทีพวกเราอาจเป็นคนถือกุญแจดอกที่สังคมกำลังหาอยู่ก็ได้นะคะ

...^__^...

หมายเลขบันทึก: 351921เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2010 13:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

คนเราสามารถคิดต่างกันได้
แต่เราต้องยอมรับในความเป็นจริง

คนเราสามารถจะใช้วาทกรรมอย่างไรก็ได้
แต่คนเราต้องยอมรับความเป็นจริง

ไม่มีระบบการปกครองใดที่สมบูรณ์แบบถูกใจคนทุกคนได้
ระบบประชาธิปไตยก็ถูกออกแบบโดยการอุปภัมน์ของกลุ่มทุนนิยม

ไม่ว่าจะใช้การปกครองระบบไหน
สังคมก็ย่อมมีคนรวยคนจน คนขี้เกียจกับคนขยัน
คนคดโกงกับคนซื่อสัตย์

ทำอย่างไรจะทำให้คนสติธรรมอยู่ร่วมกันในสังคมที่แตกต่างอย่างปกติสุขต่างหาก

ตะโกนกับท้องฟ้าต่อไปเถิดนะคะ เผื่อสักวันยุคพระศรีอายร์อาจมีจริง

 

 

สวัสดี ครับ คุณใบไม้ย้อนแสง

เข้ามาอ่านบันทึกที่ให้แง่คิด มุมมอง ที่ผมคงต้องมองอะไรบางอย่างให้ลึกขึ้น

...

ขอบพระคุณ ครับ

เห็นด้วยค่ะ คุณรพี ป้อมเพชร ว่าคนเราต้องยอมรับความจริง แต่ไม่ได้แปลว่าต้องยอมจำนนค่ะ...

อยากให้โลกเป็นเช่นไร เราก็ต้องเริ่มลงมือทำ โดยเริ่มต้นที่ตัวเองก่อนค่ะ..^__^.. 

สวัสดีค่ คุณแสงแห่งความดี

มีมุมมองอะไรจะนำเสนอหรือแสดงความคิดเห็นก็เชิญเลยนะคะ  บันทึกนี้นำเสนอมุมมองเรื่องการเมืองภาคพลเมืองและการสร้างวัฒนธรรมปัจเจกชนค่ะ

เรื่องโครงสร้างทางการเมืองที่กำลังมีการต่อสู้กันอยู่เป็นเรื่องสำคัญ แต่การเมืองภาคพลเมืองที่สร้างให้พลเมืองมีสำนึกในการพึ่งพาตนเอง เป็นการเริ่มต้นที่ตัวเองก่อน หากสามารถพึ่งพาตนเองได้ และมีโครงสร้างทางการเมืองที่สอดรับ น่าจะช่วยส่งเสริมกันค่ะ

ใบไม้ฯ เองไม่ได้มีความรู้อะไรนักในเรื่องทางการเมือง แต่มีความเชื่อว่า เราเริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ ได้ค่ะ ...^__^...

สวัสดีครับ

    วัฒนธรรมปัจเจก เป็นวัฒนธรรมที่เหมาะสมในท่ามกลางความขัดแย้งครับ

    วัฒนธรรมปัจเจก  ไม่จำเป็นต้องต้านกระแส  แต่เป็นวัฒนธรรมที่ทวนกระแส  คือ อยู่ในท่ามกลางกระแสต่างๆได้ โดยเป็นตัวของตัวเอง   อยู่กับความแตกต่างได้โดยไม่แตกแยก

     วัฒนธรรมปัจเจก  ถึงแม้จะเป็นเรื่องยาก  เป็นเรื่องสวนกระแส   แต่ก็คงต้องเริ่มครับ  โดยเริ่มจากจุดเล็กๆ และ อย่าไปคาดหวังอะไรมาก ค่อยเป็นค่อยไป

                                 ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ คุณ small man

ใช่แล้วค่ะ ..แม้จะเป็นเรื่องยาก เป็นเืรื่องสวนกระแส แต่ก็ต้องเริ่มจากจุดเล็ก ๆ และอย่าไปคาดหวังอะไรมาก..

ทางไกลพันลี้เริ่มจากการเดินหนึ่งก้าว..

แค่ก้าวไปเรื่อย ๆ ตามกำลังของตนค่ะ

ขอบคุณมากค่ะที่แวะมาแสดงความคิดเห็น ..^__^..

คุณใบไม้ที่รัก

อ่านมา 2 รอบแล้ว...แต่ก็ยังไม่อยากคอมเม้นท์...

เอาเป็นว่า หากเราทำอะไรไม่ได้ในภาพรวม ก็ขอให้เราได้ทำในส่วนของหน้าที่และภาระที่เราจะทำได้...อย่างดีที่สุดก็แล้วกันนะคะ

ด้วยความรักและระลึกถึงเพื่อนเสมอ ๆ ค่ะ

สู้ต่อไป...เหล่าทาเคชิ!!!!!

(^___^)

คุณคนไม่มีรากที่รัก

อ่านความเห็นแล้วเข้าใจในอารมณ์ค่ะ..

..เอาเป็นว่า หากเราทำอะไรไม่ได้ในภาพรวม ก็ขอให้เราได้ทำในส่วนของหน้าที่และภาระที่เราจะทำได้...อย่างดีที่สุดก็แล้วกันนะคะ..

เอาอย่างนั้นแหละเนอะ...

เอ้า...ทาเคชิssss สู้ ๆ 

เป็นกำลังใจให้เหล่าทาเคชิทุก ๆ คนค่ะ...^__^...

สวัสดีค่ะคุณใบไม้ที่รัก

สงสัยงานคงกำลังเดินหน้าไปด้วยดี....

สนุก ๆ เล่น ๆ เสียบ้าง เขาว่าจะทำให้ได้งานมากกว่าปกติ...ค่ะ

คิดถึงค่ะ

(^___^)

แฮ่ ๆ อยากให้งานเดินหน้าไปด้วยดีอย่างที่คุณคนไม่มีรากว่าเหมือนกันค่ะ

แต่สงสัยว่า จะสนุก ๆ เล่น ๆ มากไปหน่อย.. งานเลยเดินหน้าน้อยไป..

ใบไม้ฯ สติยังไม่แข็งแรงนัก มีเรื่องเข้ามาให้ขบคิดอยู่เรื่อย ไม่หยุดหย่อน เบรคเราก็ไม่ค่อยดี หยุดความคิดก็ไม่ค่อยทัน..

แต่ว่าตอนนี้ไม่เครียดนะคะ.. ทั้ง ๆ ที่โดยสถานการณ์ควรจะเครียดน่ะ แหม...ก็เครียดแล้วยิ่งทำงานไม่ได้นี่คะ ก็สนุก ๆ เล่น ๆ บ้างไง...   :P

คิดถึงมากค่ะ..^__^..

ก่อนฝันดีค่ะพี่ใบไม้ ขออภัยห่างหายไปจากเมลเลยนะคะช่วงนี้

หากแต่ยังระลึกถึงค่ะ งานพี่ใบไม้คงดีวันดีคืน เรื่อยๆ สมใจนึกนะคะ

พวกนี้ไม่ยี่หระชื่อเสียง มากเท่ากับ การได้ทำกับมือ เห็นกับตา และสรุปด้วยตัวเอง

พวกนี้ไม่ยึดขอบเขต ไม่ยึดติดประเด็น ไม่ยึดติดตัวบุคคล มากเท่ากับ การได้รับโอกาสให้ทำในสิ่งที่คิดไว้ในหัว

“ภาคประชาสังคม”   

ขอบพระคุณสำหรับ ข้อมูลดีๆ ละเอียด และวิเคราะห์ได้อย่างลุ่มลึกจริงๆค่ะ

สวัสดีค่ะน้องปู

ไม่ได้คุยกันนานเลย แต่ยังระลึกถึงเสมอนะคะ พี่ใบไม้แอบไปอ่านบันทึกที่มีความหวังของน้องปูอยู่บ้างค่ะ 

ห่างหายกันไปบ้างเพราะติดภารกิจก็ไม่เป็นไรหรอกค่ะ ตามสะดวกและสบายใจกันดีกว่าเนอะ เราเข้าใจกันอยู่แล้ว

บันทึกนี้ก็นำความคิดที่น่าสนใจของท่านอื่น ๆ มาให้แลกเปลี่ยนกันค่ะ เป็นอีกมุมที่ไม่ค่อยได้เห็นค่ะ ..สำนึกพลเมืองที่นำไปสู่การพึ่งตนเองได้ น่าจะเป็นรากฐานให้สังคมแข็งแรง..   

ตัวพี่ใบไม้ก็กำลังทำการบ้านกับตัวเองค่ะ พยายามให้การพูดคุยภายนอกกับการพูดคุยภายในตัวเองไปด้วยกันค่ะ ซึ่งส่งผลต่อเส้นทางชีวิตและการงานต่อไปในอนาคต รู้ว่าไม่ง่ายและยังต้องฝึกฝนอีกมากค่ะ..^__^..

อรุณสวัสดิ์ค่ะพี่ใบไม้

อย่าลืมแบ่งปันกลยุทธดีๆ น่าสนใจกันบ้างนะคะพี่

พยายามให้การพูดคุยภายนอกกับการพูดคุยภายในตัวเองไปด้วยกันค่ะ

ปูมองว่าเราทุกคนภาคภูมิในความเป็นปัจเจก เวลาจะทำอะไรก็จะนึกลักษณ์ตรงนี้ และยังคิดถึงผลกระทบอื่นๆ ปัจเจกชนที่ไม่เป็นภาระ จะก่อให้เกิดความเข้มแข็งในสังคมค่ะ

 

น้องปู คะ

ที่พี่ใบไม้บอกว่า "..พยายามให้การพูดคุยภายนอกกับการพูดคุยภายในตัวเองไปด้วยกัน.." หมายถึงความสมดุลภายในกับภายนอกของเราค่ะ

บางครั้งเราก็มัวแต่สนทนาแลกเปลี่ยนกับผู้คนภายนอก แต่กลับละเลยที่จะจัดการสิ่งที่อยู่ตรงหน้าเรา

บางครั้งเราแนะนำอะไรต่ออะไรให้ใคร ๆ มากมาย แต่เราเองก็ยังไม่มีปัญญาทำให้ตัวเองเป็นอย่างที่แนะนำใครต่อใคร  ถ้าคนอื่นได้ประโยชน์จากคำแนะนำก็ดีไป ..ที่สำคัญเราต้องทำการบ้านกับตัวเอง ซึ่งแต่ละคนมีจุดอ่อนที่ต่างกันไป แต่ละเรื่องยากง่ายต่างกันไปในแต่ละคน

บางครั้งเราก็มัวแต่อยู่กับตัวเอง จนลืมใส่ใจคนรอบข้าง หรือแม้แต่ความเป็นไปของสังคม นี่ก็เป็นอีกมุมที่กลับกันค่ะ

บางเรื่องบางงาน.. แม้ใครจะเห็นว่าเราทำได้ดี แต่เราก็รู้ว่าจุดบกพร่องคืออะไร เราก็ต้องปรับปรุง บางงานแม้คนอื่นจะเห็นว่าเราทำไม่เวิร์ค แต่เราเชื่อมั่น เราก็เดินหน้าต่อไป นั่นหมายความว่า ได้ทบทวนในสิ่งที่คนอื่นพูดแล้ว แต่ยืนยันที่จะเดินหน้าต่อ และพร้อมจะเผชิญกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น

จัดการตัวเองได้แค่ไหน ย่อมส่งผลต่อการงานที่เราเลือกจะทำ บางงานเราอาจจะอยากทำ และคนอื่นก็คาดหวังให้เราทำ แต่เรายังจัดการตัวเองไม่ได้ในบางเรื่องราว ก็ต้องทำการบ้านกับตัวเองเพื่อเดินไปในเส้นทางนั้น

หากได้บทสรุปว่าไม่พร้อมก็อย่ารีบบุ่มบ่ามเดินหน้าไป มิฉะนั้น จะสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น แต่ให้ยอมรับสิ่งที่ตัวเองเป็นและค่อย ๆ เดินไปตามจังหวะของตัวเอง ซึ่งอาจไม่เหมือนคนอื่น

แฮ่ ๆ ที่แบ่งปันมานี่พอจะมีประโยชน์บ้างไหมคะ

มีความสุขกับเส้นทางชีวิตที่เลือกนะคะ...^__^... 

บางทีก็ออกมายืนนอกกรอบบ้างจะได้เห็นข้อบกพร่องภายในกรอบ

ภูมิปัญญาชาวบ้านส่วนใหญ่จะคิดนอกกรอบ จนถูกมองว่าบ้า แต่ต่อมาผลการกระทำส่งผลดีต่อโดยรวมจึงยอมรับ

ดังนั้นหากยอมไม่เป็น ก็เย็นไม่ลงแน่นอน

อ่านบทความนี้ทำให้เห็นความหลากหลายทางความคิด บางทีปัญหาใหญ่ๆ อาจจะแก้ได้จากจุดเล็กๆดังเช่นท่านเขียน

ขอบคุณค่ะ ผ.อ.พรชัย ที่มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ปราชญ์ชาวบ้านที่ลุกขึ้นมาริเริ่มทำอะไรใหม่ ๆ ที่ดูแปลกในสายตาคนอื่น ในช่วงแรกมักถูกกล่าวหาว่า บ้า เพื้ยน หรือ อื่น ๆ  แต่เขาก็ไม่หยุด แล้วเวลาก็เป็นเครื่องพิสูจน์จนทำให้ผู้คนยอมรับ

คนเล็ก ๆ ที่มีศักยภาพเช่นนี้ อาจช่วยแก้ปัญหาใหญ่ ๆ ได้ ด้วยวิธีที่เริ่มจากการลงมือทำด้วยตนเองค่ะ...^__^...

สวัสดีค่ะ คุณใบไม้ย้อนแสง

  • เหมือนคุณคนไม่มีรากเลยว่า บันทึกนี้อ่านอยู่หลายรอบค่ะ แต่ยังไม่ได้คอมเมนต์ ตอนนี้กำลังทำภาระหน้าที่ของตัวเอง ไปตามศักยภาพที่พอจะทำได้ งานหลวง งานราษฎร มากันให้คึกเลย ....
  • คิดถึงจังค่ะ ต้องขออภัยที่ไม่ได้ตอบเมล์ของเหล่าสมาชิกชมรมฯ เลยค่ะ มึน งง กะชีวิตจริงๆ
  • ขอกำลังใจโหน่ยยยยยยยยยยย
  • กอด กอด .......

เอาไปเลย ๆ ใจเราเอาไปได้เลย...

เอาไปเลย ๆ กำลังใจเราให้เธอ...

เป็นไง... พอไหวไหมคุณณัฐพัชร์ ใบไม้ฯ แปลงเนื้อเพลงไมโครเป็นกำลังใจให้เลยนะเนี่ย..

..ทำภาระหน้าที่ของตัวเองไปตามศักยภาพที่พอจะทำได้.. นั่นก็เป็นเรื่องที่ดีแล้วค่ะ

เรื่องไม่ได้ตอบเมล์ของชมรมฯ ไม่เป็นไรค่ะ ประธานเขาตั้งใจที่จะคอยให้กำลังใจให้สมาิชิกทุกคนผ่านสถานการณ์ไปด้วยกันเท่านั้นเอง ไม่มีใครน้อยใจหรอกน่า..

ใบไม้ฯ ก็เพิ่งสตาร์ทเครื่องติดเมื่อเช้ามืดวันนี้เอง หลังจากพยายามอยู่หลายวัน หลายวิธี.. เวลาจะทำได้ ก็ได้ซะอย่างนั้น แปลกดี..  ก็หวังว่าสมาชิกจะหาจังหวะที่ทำให้เกิดภาวะที่ต้องการของตัวเองเจอ.. มีเทคนิคอะไรดี ๆ มีเวลาก็มาแบ่งปันกันค่ะ

ช่วงนี้ใจแข็งค่ะ.. เมื่อวานก็เพิ่งปฏิเสธไปอีกงาน  จากทีมที่เคยทำสารคดีวีดีโอด้วยกัน... ฮ่า ๆ

เอ้า...กอด ๆ ๆๆๆๆ  เพิ่มพลังใจให้แก่กัน

สู้ ๆ นะจ๊ะ...^__^... 

ผมอยากสร้างวัฒนธรรมปัจเจก (culture of individualism) ให้กับพลเมือง ผมไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องให้คนหันหลังให้กัน แย่งกันกิน แย่งกันอยู่ แต่หมายถึงการสร้างคนให้รู้จักเคารพตัวเอง รู้จักหน้าที่ อยู่ร่วมกับคนที่คิดต่างจากตัวเอง ฟังคนอื่นเป็น นึกถึงคนอื่น มีความสามารถในการเรียนรู้ และเคารพกฎระเบียบฯลฯ (ฝันมากไปหรือเปล่าเนี่ย) และผมหวังว่าคนเหล่านี้ จะไปสร้างสังคมใหม่ของตนเองได้ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องให้ใครมาปลูกฝังความเป็นโน่นความเป็นนี่ให้ไม่จบสิ้น

อ่านแค่นี้เองค่ะ  ก็ขอบคุณมาก ๆ แล้วค่ะที่ฝันมากไปแบบนี้ อย่างน้อยก็อยากให้ทุกคนฝันแบบนี้จะได้ทำกันทุกคน

ขอบคุณค่ะ คุณไผ่ไม่มีกอ ที่แวะมาอ่านสั้น ๆ และให้ความเห็นไว้

แม้ข้อความที่คุณไผ่ไม่มีกอได้อ่านไม่ใช่ความคิดเห็นของใบไม้ย้อนแสง แต่ใบไม้ฯ เห็นด้วยกับความคิดเห็นนี้ และกำลังปฏิบัติตามกำลังสติของตนค่ะ ยืนยัน...^__^...

มาฝันแล้วลงมือทำด้วยกันไหมคะ..

คุณใบไม้ที่รัก

แวะมาเดินเล่นเรื่อยเปี่อย ... ทำเป็นใหม่น่องโต เพราะชอบเดินเรื่อยเปี่อยเลยค่ะ

ระยะนี้อดไปเดินเล่นตามที่ตัวเองชอบ เพราะพื้นที่ที่เดินบ่อย ๆ โดนยึดไปแล้ว...

เดินวน ๆ เวียน ๆ บนดาดฟ้าทุกวัน จนตัวดำเลย...ชอบ ๆ ...

หย่อนกำลังใจไว้ให้นะคะ

มีความสุข ผ่อนคลาย ท่ามกลางความร้อน วุ่นวายนี่...ยากเหมือนกัน

เอ้า...นอนเล่นใต้ต้นไม้ ดูท้องฟ้า ยิ้มกับนก และจิบชากับความเงียบกันดีกว่านะคะ

(^___^)

คุณคนไม่มีรากคะ

เราต้องเป็นวัยรุ่นรุ่นเดียวกันแน่ ๆ เลยค่ะ..

ยุคนั้นจะมีคำถามว่า ทำไมใหม่ถึงน่องโต?

คำตอบก็คือว่า เดินเรื่อยเปื่อย ไง.. อิ..อิ..

เดินตากแดดตัวดำบนดาดฟ้า.. เพราะโดนยึดที่ แต่ยังอุตส่าห์มาหย่อนกำลังใจให้เพื่อนอีก น่ารักจริง ๆ เยย..ย..

มาปูเสื่อบนดาดฟ้า แล้วเอนกายลงนอนใต้ต้นไม้ ชมฟ้า ชมนก ชมไม้ จิบชาสนทนากับความเงียบกัน อ้อ..แถมขนมเปี๊ยะด้วยก็ดี อิ..อิ..

การมีความสุข ผ่อนคลาย ท่ามกลางความร้อนและวุ่นวาย มันยาก.. แต่มันก็เป็นแบบฝึกหัดฝึกใจที่ดีนะคะ..

อืม..ใบไม้ฯ ยังไม่ได้ส่งอีเมล์ถึงคุณคนไม่มีรากเลย มัวแต่คิดว่าจะร่างจดหมายรักยังไงดี อิ..อิ.. รับรองไม่ชวนทำอะไรที่ฝืนใจและยุ่งยากหรอกค่ะ แต่คิดว่าเป็นสิ่งที่เพื่อนทำได้ดี และสามารถช่วยให้คนอื่น ๆ รู้สึกดีได้ แล้วก็ถ้าไม่สะดวกใจ ก็ปฏิเสธได้ค่ะ

จะส่งจดหมายรักไปหาเร็ว ๆ นี้นะคะ เพื่อนรัก ...^__^... 

คุณใบไม้ที่รัก

ไม่ได้แวะมานานเชียวค่ะ เพราะจำกัดเวลาตัวเอง และบางครั้งก็ถูกเทคโนโลยีจำกัดเสียบ้าง....55555.....

มาทักทายและส่งความคิดถึงไว้เหมือนเดิมค่ะ

รอจดหมายรักจากคุณใบไม้ค่ะ

ด้วยความระลึกถึงเช่นเคย

(^___^)

นั่งเล่น นอนเล่น กินลม ชมวิวใต้ต้นโมกกันนะ

Pb1700600

ตามพี่หญิงปิง มาอิงแอบ แนบใบหญ้า ฟังใบไม้ร้องเพลง ดีกว่าค่ะ คิดถึงพี่ใบไม้ค่ะ

คุณคนไม่มีรากคะ

เช้านี้อากาศร้อนอบอ้าวมาก ๆ หายใจไม่ค่อยโล่งเลย  

และแล้วหยาดฝนก็โปรยปราย.. อากาศเริ่มเย็นชื่นใจ ใบไม้ฯ ก็คิดถึงเพื่อนผู้รักการเดินท่ามกลางสายฝนขึ้นมาทันใด..

คิดถึงเพื่อนอย่างมีความสุขค่ะ..

ฝนตกทำให้รู้สึกเย็นใจ และมีพลังฝ่าฟันกับภารกิจการงานตรงหน้าที่เข้าขั้นวิกฤติ และทำใจกับสถานการณ์บ้านเมืองที่ดูวิกฤติยิ่งกว่า..

ขออภัยนะคะที่ยังไม่ได้ส่งจดหมายรักเสียที ไม่ได้ลืมหรอกค่ะ นึกถึงอยู่ตลอด พอดีมัวแต่รบกับตัวเองให้พิชิตงานในมือให้สำเร็จ ก็เลยรอเวลาอยู่นั่นแหละ..

เป็นอย่างนี้แหละค่ะ อะไรที่ยิ่งตั้งใจ ก็มัวแต่รั้งรอ เพราะอยากจะทำให้ดี และอยากให้เพื่อนมาร่วมด้วยช่วยกัน..

ตอนนี้ก็นั่งเล่น นอนเล่น กินลม ชมวิวใต้ต้นโมกด้วยกันไปพลางก่อนนะคะ

...............^___^..................

น้องปูคะ

มานอนใต้ต้นไม้ด้วยกันเลยค่ะ กินลม ชมวิว ฟังใบไม้ร้องเพลงด้วยสามคนพี่น้อง

คิดถึงน้องปูนะคะ แวะไปอ่านบันทึกของน้องบ้าง แต่ไม่ได้ทิ้งร่องรอยเอาไว้..

หลายวันก่อนคุยกับครูอ๋อย.. ยังพูดถึงคุณคนไม่มีรากและน้องปูเลยค่ะ

แล้วจะส่งจดหมายรักไปหาเช่นกันค่ะ ชวนกันทำอะไรดี ๆ ให้มีพลังใจเพิ่มพูนงอกงาม..

รักษาตัว รักษาใจนะคะ ...^__^...

ขอบคุณค่ะ

การติดระบบ ยึดสังกัด หากลุ่มพวกโดยคำนึงถึงประโยชน์ของตนเป็นที่ตั้ง

โอกาสเกิดความเสียหายตามมาจึงมีให้เห็นเสมอๆ

มนุษย์เรียนรู้การได้เหนือผู้อื่น จากการสังกัดมาแต่โบราณ

ขอเพียงได้ใช้สติ ทุกอย่างในโลกนี้มีสมดุล หากขาดสมดุล

มากเกินพอดี ย่อมเกิดหายนะ อยู่ที่สำนึกของความเป็นคน

ว่ามีมากน้อยเพียงไร ระหว่างเป็นผู้ให้ หรือผู้รับ

จะมีชีวิตอยู่อย่างไรให้สุข สงบ และไม่รบกวนผู้อื่น

ตระหนักคิดและทำความดีในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมมนุษย์

 

ขอบคุณค่ะคุณครูต้อยติ่งที่เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น...^__^...

"การติดระบบ ยึดสังกัด หากลุ่มพวกโดยคำนึงถึงประโยชน์ของตนเป็นที่ตั้ง

โอกาสเกิดความเสียหายตามมาจึงมีให้เห็นเสมอๆ ...

จะมีชีวิตอยู่อย่างไรให้สุข สงบ และไม่รบกวนผู้อื่น

ตระหนักคิดและทำความดีในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมมนุษย์" 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท