จริยธรรมในการรับทุนวิจัย


หน้าที่หนึ่งของสถาบันการศึกษาคือการสร้างความรู้เพื่อสังคม การสร้างความรู้เพื่อสังคมนั้น สมควรที่จะรับทุนจากผู้ที่ทำผิดต่อสังคมหรือไม่ ?

เนื่องจากไม่เคยทำงานอยู่ในแวดวงวิจัย (ในระดับบริหาร) ผมเลยไม่ทราบว่า สถาบันวิจัย และสถาบันการศึกษาที่ทำงานวิจัย โดยเฉพาะในบ้านเรานั้น มีนโนบายเรื่องการรับทุนวิจัยยังไงบ้าง

เช่น ถ้าเกิดว่าโครงการวิจัยนั้นจะนำไปสู่การสร้างอาวุธสงคราม หรือวัตถุอันตรายที่พิจารณาแล้วว่าไม่ได้มีประโยชน์ในทางอื่นเลย นอกจากการทำลายล้้าง หรือผู้ให้ทุนเกี่ยวข้องกับกิจการเหล่านั้น หรือมีประวัติไม่ดีด้านจริยธรรม สิทธิมนุษยชน ไม่รับผิดชอบต่อสังคม มีสถาบันไหนปฏิเสธที่จะรับทุนวิจัยจากผู้ให้ทุนเหล่านั้นรึเปล่า ?

หรือมีนโยบายหรือไม่ว่า การให้ทุนนั้นเป็นไปในลักษณะไหน มีผลกระทบต่อแนวทางการทำวิจัยของสถาบันหรือไม่ ?

อย่างถ้าสมมติกรณีสอบสอนเรื่องกล้ายาง เรื่องปุ๋ยปลอม อะไรพวกนี้ ผลออกมาว่า ผิดจริง มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา ศูนย์วิจัย จะพิจารณาไม่รับโครงการ/ทุนจากบริษัทเหล่านั้นมั๊ย ?

หน้าที่หนึ่งของสถาบันการศึกษา นอกเหนือจากการถ่ายทอดแนะแนวความรู้สู่สังคมแล้ว ก็คือการสร้างความรู้ใหม่ ๆ เพื่อสังคม การสร้างความรู้เพื่อสังคมนั้น สมควรที่จะรับทุนจากผู้ที่ทำผิดต่อสังคมหรือไม่ ? ถ้าเห็นสมควรว่าทำได้ มีนโยบายอย่างไร ที่จะรับประกันว่า ผู้ให้ทุนจะไม่สามารถมามีอิทธิพลเหนือแนวทางการสร้างความรู้นั้นได้ ?(ซึ่งอันตรายต่อการที่ความรู้นั้นจะไม่ได้มีเพื่อสังคม)

พูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าอยากจะรับเงินจากคนไม่ดี จะระวังตนยังไง ให้เราเอาเงินนั้นไปใช้ในทางที่ดีได้ (เช่น ถ้ารู้แน่ชัดว่าสุดท้ายแล้วผลวิจัยจะถูกเอาไปใช้ในเรื่องไม่ดี (หรือคิดแล้วว่า ไม่ว่ายังไงก็ใช้ให้ดีไม่ได้) ยังจะรับทำมั๊ย ? หรือถือว่าเป็นคนละส่วนไม่เกี่ยวกัน คนสร้างความรู้ก็สร้างไป คนจะเอาไปใช้ยังไงก็อีกเรื่อง ไม่ต้องรับผิดชอบ ไม่เกี่ยวกัน .. หรือคิดว่า ถึงเราไม่รับ คนอื่นก็รับอยู่ดี งั้นเราก็รับไว้ละกัน ไม่เห็นจะเป็นอะไร)


ลองไล่ ๆ หาตามเว็บไซต์มหาลัยไทยคร่าว ๆ แล้ว ก็เหมือนจะไม่มีแจ้งนโยบายอะไรไว้

มีพบ "จรรยาบรรณของนักวิชาการ" ที่เว็บ กิจการวิจัย จุฬา "เน้นการรักษาข้อห้ามสำคัญ 2 ข้อ คือ ห้ามลักทรัพย์ และห้ามกล่าวเท็จ" แต่อันนั้นก็ไม่ได้พูดถึงจริยธรรมของการดำเนินงานวิจัย/รับทุนวิจัย

ใครมีความรู้ตรงนี้ ช่วยหน่อยครับ :)

ความคิดเห็นอื่นที่ bact.blogspot.com

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 354เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2005 09:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ทุกวงการมีทั้งคนดีคนไม่ดี  นักวิจัยก็เช่นกัน ที่ทำงานวิจัยเพื่อสนองความอยากรู้ของตัวเองโดยอาศัยเงินคนอื่นก็เยอะ ทำงานวิจัยหวังก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ก็มาก โดยเฉพาะพวกอาจารย์มหาวิทยาลัย ไม่ค่อยมีเวลาสั่งสอนนักเรียนเพราะมัวเอาเวลาไปทำงานวิจัยแถมยังใช้เด็กเป็นลูกมือ  เด็กไทยเลยคิดไม่ค่อยเป็นเพราะมีแบบอย่างไม่ดี

เรื่องจริยธรรมนักวิจัย (ethics) นี่จากประสบการณ์ผมพบว่านานาชาติถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ โดยเฉพาะงานวิจัยที่เกี่ยวกับ "subjects" ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในสถาบันวิจัยที่เป็นที่น่าเชื่อถือนะดับนานาชาติจะมี Institutional Review Board (IRB) ที่เคร่งครัดเอาจริงเอาจัง

แต่ผมพบว่าสถาบันวิจัยของไทยเราไม่มี IRB เป็นหลักเป็นฐาน (หรือผมไม่ทราบก็ไม่แน่ใจ เพราะตัวเองไม่ค่อยได้ทำงานที่ต้องใช้ subjects ได้แต่ฟังมาจากผู้ที่มีงานเกี่ยวข้องกับ subjects ว่าเราไม่มี)

อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าวิชาเกี่ยวกับการวิจัยของเราในระดับบัณฑิตศึกษาก็มีการสอนเกี่ยวกับ ethics อยู่ทุกที่ ก็ดีครับ ... แต่ที่น่าจะเป็นปัญหาก็คือ ethics เป็นเรื่องที่สอนกันไม่ได้เท่านั้นเอง

ถึง "คุณผู้ไม่ประสงค์ออกนาม"

ตามประสบการณ์ผม ในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาในสถาบันที่เป็นที่น่าเชื่อถือนั้น การ lecture แบบที่เราพบในการเรียนในห้องเรียนที่เราคุ้นเคยนั้นค่อนข้างจะหาได้ยากครับ ส่วนใหญ่จะเป็นการเรียนแบบ lab เป็น active learning ที่เรียนรู้จากการปฎิบัติจริงและพยายามแก้ปัญหาของจริงเสียมากกว่า

ดังนั้นอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ทำวิจัยแล้วรับนักศึกษาเป็นลูกมือนั้นเป็นการถ่ายทอดความรู้ที่ถูกต้องแล้วในแนวคิดการเรียนการสอนแบบ lab ครับ แต่ข้อจำกัดของวิธีนี้คือไม่สามารถสอนนักศึกษากลุ่มเยอะๆ ได้ เมื่อนำมาประยุกต์กับ class ที่มีจำนวนนักศึกษามากๆ ก็คงไม่สามารถทำได้

นอกจากนี้ ผมพบว่าการเรียนใน lab จะช่วยกระตุ้นนักศึกษาให้คิดเองได้เยอะกว่าการเรียนแบบ lecture ครับ ผมพบว่าหลายๆ สถาบันการศึกษาพยายามยกเลิกการ lecture เสียด้วยซ้ำ ถ้าจะเจอกันให้ห้องเรียนก็ขอให้เป็นการ "conference" เสียมากกว่า

อย่างไรก็ตาม นั่นก็มุมมองจากประสบการณ์ของผมที่แบ่งปัน คนอื่นอาจจะมีมุมมองที่แตกต่างครับ

ต้องออกตัวเช่นกันว่าเป็นนักวิจัยมือใหม่ เท่าที่ทำวิจัยมา จะยึดตาม "จรรยาบรรณนักวิจัย" ของสภาวิจัยแห่งชาติ ตามไฟล์ในลิงค์

http://eval.nrct.go.th/images/stories/report/appendix-9.pdf

และหากมีการทดลองกับสัตว์ก็จะยึดตาม "จรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์สภาวิจัยแห่งชาติ"

http://eval.nrct.go.th/images/stories/report/appendix-10.pdf

ถ้าพิจารณาตามเอกสาร "จรรยาบรรณนักวิจัย"

ข้อ 7. นักวิจัยพึงนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ

นักวิจัยพึงเผยแพร่ ผลงานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางวิชาการและสังคม ไม่ขยายผลข้อค้นพบจนเกินความเป็นจริ ง และไม่ใช้ผลงานวิจัยไปในทางมิชอบ

ข้อ 9. นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ

นักวิจัยมีจิตสำนึกที่จะอุทิศกำลังสติปัญญาในการทำวิจัย เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ เพื่อความเจริญและประโยชน์สุขของสังคมและมวลมนุษยชาติ

คิดว่าพอจะตอบคำถามที่คุณอาทถามได้ไม่มากก็น้อย ^__^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท