swot_Analysis


swot_Analysis

 

positive

Negative

 

Strength

มิติที่  1  ด้านประสิทธิภาพ

1.เป็นสถาบันที่ตั้งมานานเมภาพลักษณ์ที่ดีเป็นที่ย่อมรับของสังคม และชุมชนในการผลิตบันฑิตและการพัฒนาครู

2.มีส่วนร่วมกับชุมชนในการดำเนินการด้านศิลปวัฒนธรรมประเพณืท้องถิ่นและมีประสบการณ์ในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมมายาวนาน

3.ผลงานที่ผ่านมาเป็นที่ยอมรับของสังคมและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มิติที่  2 ด้านคุณภาพการให้บริการ

1.มีความสัมพันธ์และความร่วมมือกับองค์กรท้องถิ่นเป็นอย่างดียิ่ง เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยมากขึ้น  เปิดโอกาสให้ชุมชน/ท้องถิ่นมาใช้บริการแหล่งเรียนรู้และทรัพยากรของมหาวิทยาลัย

2.มีศิษย์เก่าที่เป็นหัวหน้าหน่วยงานระดับท้องถิ่นและเป็นเครือข่ายอยู่ในพื้นที่เป็นจำนวนมาก

3. มีนโยบายร่วมมือกับองค์กรท้องถิ่นภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาการศึกษา ผลิตบัณฑิตพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในรูปแบบต่างๆ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มิติที่ 3 ด้านประสิทธภาพของการปฏิบัติราชการ

1.สามารถออกระเบียบและข้อบังคับของมหาวิทยาลัยได้เอง ทำให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ

2.สามารถจัดหารายได้และสามารถใช้จ่ายได้เองภายใต้ระเบียบข้อบังคับของสภามหาวิทยาลัย

3.การกำหนดนโยบายทิศทางและนโยบายเป็น “สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” นั้นเป็นความชัดเจนของเป้าหมายที่จะเป็นประโยชน์ในการกำหนดยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการการพัฒนากลไกพื้นฐานด้านวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี่ อาทิ ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มีส่วนสำคัญที่จะผลักดันและส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จในการเข้าสู่การเป็น “สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” อย่างแท้จริง

 

 

 

 

 

 

 

 

 มิติที่ 4 ด้านการพัฒนาองค์การ

1.ส่งเสริมการพัฒนาบุคคลทุกระดับในการสนับสนุนทั้งงบประมาณ และเทคโนโลยี่

2.มีนโยบายที่สร้างความมั่นคงและขวัญกำลังใจในการทำงานของบุคลากร

3.มีสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ ร่มรื่นมีสถานที่เพื่อการออกกำลังกาย  ช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของบุคลากรและนักศึกษา

4.มีระบบสวัสดิการ  ด้านที่พักอาศัย ด้านการศึกษาบุตร และด้านการรักษาพยาบาลที่ดีต่อบุคลากรของมหาวิทยาลัย

5. ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นที่มีการคมนาคมสะดวก

Weaknesses

มิติที่ 1 ด้านประสิทธิภาพ

1.คุณภาพบันฑิตยังไม่เป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บัณฑิตและมีอัตราการทำงานต่ำโดยได้การประเมินในความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตสูงต่ำกว่าร้อยละ  80

2.บัณฑิตปริญญาตรียังมีจุดอ่อนในด้านภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) และคอมพิวเตอร์  ความมั่นใจ และความสามารถในการแก้ปัญหา

3.การดำเนินการพัฒนาหลักสูตรใหม่ที่เปิดรับนักศึกษายังดำเนินการได้ไม่เต็มศักยภาพเนื่องจากขาดแคลนบุคลากรสายวิชาการที่มีประสบการณ์และยังต้องพึ่งพอบุคลากรจากภายนอก

4.มีปัญหาด้านการจูงใจอาจารย์ที่มีคุณวุฒิและประสบการณ์มาปฏิบัตินหน้าที่ในมหาวิทยาลัยเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยในส่วนกลาง

5.ขาดผลงานวิจัยที่เป็นชุดโครงการการผลิตผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัยมีจำนวนน้อยและการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยมีน้อย

6.ขาดระบบ  กลไก  การศึกษาปัญหาและประเด็นการวิจัยที่เป็นปัญหาและความต้องการของชุมชน สังคม และประเทศชาติ ยังมีไม่มากนักส่วนใหญ่เป็นการวิจัยที่อยู่บนพื้นฐานความสนใจของอาจารย์

7.ผลงานวิจัยที่นำไปใช้ระโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรมสามารพสร้างนวัตกรรมใหม่ที่นำไปสู่การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา

8.บัณฑิตระดับปริญญาโท – เอก  มีจุดอ่อนในเรื่องผลงานวิทยานิพนธ์ยังไม่โดดเด่น  และยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าที่ควรจะเป็นซึ่งจะเห็นได้จาก

9.คณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยรวม 5 คณะ มีศักยภาพแตกต่างกันค่อนข้างมากจากผลของการประเมินโดย  สมศ.  กพร.  และ สกอ. สะท้อนความแตกต่างจึงเป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยต้องแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน

มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการ

1.การเปิด/ขยายโอกาสการศึกษาให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่อยู่นอกระบบและการเชื่อมโยงหลักสูตรนอกระบบกับในระบบยังมีน้อย

2.การดำเนินกิจกรรมด้านศิลปะวัฒนธรรม/ภูมิปัญญท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยยังมี การแสวงหาการทีส่วนร่วม และการใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นน้อย และมหาวิทยาลัยมีบทบาทหรือผลงานในการอนุรักษ์และพัฒนางานด้านศิลปะวัฒนธรรม/ภูมิปัญญาพื้นบ้านน้อยมาก

3.มหาวิทยาลัยยังขาดการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าไปในกระบวนการเรียนการสอนการวิจัยและกิจกรรมการบริการวิชาการ

4.การให้บริการด้านศิลปะวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยยังไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง หลายหน่วยงานที่ร่วมดำเนินการยังมีจุดอ่อนในด้านความเชื่อมโยงและความซ้ำซ้อนของการให้บริการ ส่งผลต่อภาระงบประมาณและปัญหาของการจัดสรรทรัพยากรคุณภาพของการให้บริการ และความสับสนของผู้มารับบริการซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย

5.ผลงานด้านบริการวิชาการขึ้นกับโครงสร้างและภารกิจของหน่วยงานในมหาวิทยาลัยที่มีภารกิจโดยตรง อาทิ หน่วยงานที่มีหน้าที่ผลิตบัณฑิต  (เช่น คณะ)  มีข้อจำกัดในการสร้างผลงานบริการวิชาการ เนื่องจากต้องให้ความสำคัญกับการผลิตบัณฑิตและการวิจัยเป็นภารกิจหลักก่อนประกอบกับระยะเวลาการให้บริการ งบประมาณ และกลไกสนับสนุนยังไม่เอื้อและจูงใจต่อการให้บริการวิชาการ

6. การจัดบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยยังมีจุดอ่อนในกระบวนการให้ชุมชนมีส่วนร่วมและการทำงานเชิงรุกเพื่อเข้าถึงชุมชน

7.การดำเนินกิจกรรมบริการวิชาการในมหาวิทยาลัยมีไม่มากและเท่าที่มีก็กระจัดกระจายแต่ยังไม่สะท้อนผลกระทบที่เกิดผลในเชิงพัฒนาท้องถิ่นตามปณิธานของมหาวิทยาลัย

8.คณาจารย์ที่เป็นนักวิจัยศักยภาพสูงระดับภูมิภาค  ระดับชาติยังมีน้อยมาก ตลอดจนการวิจัยร่วมกับนักวิจัยจากภูมิภาคอื่นๆ หรือในประเทศของคณาจารย์ยังมีน้อยมาก

มิติที่ 3 ด้านประสิทธิภาพขอการปฏิบัติราชการ

1.ระบบบริหารจัดการขาดความชัดเจนในแนวทางปฏิบัติโดยเฉพาะการบริหารแบบส่วนร่วมโดยผู้บริหารร่วมกับผู้แทนของบุคลากรและผู้แทนหน่วยงานในรูปคณะกรรมการต่างๆ ยังมีน้อยมาก  อาทิ สภามหาวิทยาลัย ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย คณะกรรมการประจำคณะ/สถาบัน/สำนัก

2.ขาดแคลนบุคลากรสายวิชาการในบางสาขาวิชา ในขณะที่อาจารย์มีภาระงานสอนมาก จึงส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านอื่นๆ  ไม่สามารถปฏิบัติได้เต็มที่

3.สิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอนและสภาพห้องเรียนยังไม่เพียงพอต่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ

4.ขาดระบบฐานข้อมูลสารสนเทศที่ดี  ที่เอื้อต่อต่อการดำเนินการตามภารกิจของมหาวิทยาลัย

5.ระบบการจัดการด้านการเงินยังไม่สามารถสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ได้

6.มีระบบการประเมินมหาวิทยาลัยหลากหลายระบบซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย จุดอ่อนคือความเข้าใจ  การให้ความสำคัญ และความร่วมมือของทุกระดับในมหาวิทยาลัยยังมีน้อย

7. ขาดแคลนหอพัก อาคารเรียน แหล่งสาธารณูปโภค และสถานที่จอดรถของนักศึกษาและบุคลากร

8.ระบบบริหารบุคลากรไม่เอื้อให้มหาวิทยาลัยสามารถดึงดูดผู้มีศักยภาพสูงมาเป็นอาจารย์และรักษาทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าเอาไว้ได้

9.ขาดระบบการเตรียมบุคคลที่เข้าสู่ตำแหน่งบริหารอย่างเป็นรูปธรรม

10.ระบบการบริหารบุคคลที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของผลงานยังไม่เชื่อมโยงภารกิจระดับบุคคลไปสู่เป้าหมายของมหาวิทยาลัย

11.ความเข้าใจและความสามารถในการบูรณาการภารกิจ ด้านการเรียนการสอน การวิจัย  การบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้ผสมผสานเป็นกิจกรรมเดียวกันยังมีน้อย

มิติที่ 4 ด้านการพัฒนาองค์การ

1.การพัฒนาระบบเทคโนโลยี่สารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนและการบริการจัดการยังไม่มีความพร้อม ความทันสมัย และมีประสิทธิภาพเพียงพอ

2.บุคลากรไม่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยตามโครงสร้างใหม่

3.ระบบการจัดการความปลอดภัย การจัดระเบียบสังคม และสิ่งแวดล้อมรอบมหาวิทยาลัยยังมีข้อจำกัดอยู่มาก

4.การสื่อสารในองค์กรยังไม่สามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ทุกระดับทั่วทั้งองค์กรและระบบการประชาสัมพันธ์ยังไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

5.การพัฒนาระบบเทคโนโลยี่สารสนเทศ แม้ว่าในด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะได้รับการพัฒนาและสนับสนุนอย่างต่อเนื่องแต่ยังไม่เพียงพอและระบบซอฟต์แวร์เพื่อการบริหาร การจัดการเรียนการสอนส่วนกลางจะได้รับการพัฒนาและใช้งานได้แล้ว แต่ยังมีจุดอ่อนจากการนำไปใช้งานระบบฐานข้อมูลในภาพรวมและในแต่ละหน่วยงานมีการพัฒนาดีขึ้น แต่ยังมีจุดอ่อนในด้านความถูกต้องความทันสมัย ความทันเวลาต่อการใช้งาน ความร่วมมือของผู้ให้ข้อมูลและความเชื่อมโยงของฐานข้อมูล

6.โครงสร้างและระบบการบริหารองค์กรทั้งระดับมหาวิทยาลัยและระดับคณะยังไม่เอื้อต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เป็นภาวะคุกคามจากสิ่งแวดล้อมภายนอก

7.บุคลากรทั้งสายผู้สอนและสายสนับสนุนส่วนใหญ่ยังมีศักยภาพไม่พร้อมในการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง และยังยึดติดในกระบวนทัศน์การทำงานแบบเดิม

8.วัฒนธรรมการทำงานของบุคลากร คณะและหน่วยงานยังไม่มองภาพรวมของมหาวิทยาลัยเป็นหลักส่วนใหญ่ยังยึดติดกับผลประโยชน์ของตนและหน่วยงานเท่านั้น

9.หลักสูตรของมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่พัฒนาขึ้นภายใต้การริเริมของโปรแกรมวิชา/ภาควิชาจึงมีลักษณะแคบและขาดการบูรณาการของสาขาวิชาการอื่นๆ นอกภาควิชาหรือนอกคณะโดยเฉพาะขาดการนำความต้องการจริงของผู้ใช้บัณฑิตมาใช้ในการกำหนดหลักสูตรอย่างจริงจัง การกำหนดวิชาที่มีในหลักสุตรอยู่ในพื้นฐานของความเชี่ยวชาญ/ความต้องการของอาจารย์ในภาควิชานั้นๆ เท่านั้น ดังนั้น การเกิดหลักสูตรที่มีลักษณะบูรณาการหลายสาขาวิชาในคณะหนึ่งๆ จึงเกิดได้ยากมาก ส่วนการเกิดหลักสูตรในระดับปริญญาตรีที่มีการบูรณาการระหว่างคณะไม่มีเลยและในระดับบัณฑิตมีค่อนข้างน้อย

 

 

Opportunities

มิติที่ 1.ด้านประสิทธิผล

1.นโยบายและการดำเนินการปฏิรูปการศึกษาและระบบราชการของรัฐบาลเป็นโอกาสที่มหาวิทยาลัยจะกำหนดทิศทาง นโยบาย  และการผลักดันสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตและศิลปะ และวัฒนธรรมได้ง่ายขึ้นและมีโอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนงบประมาณหรือการสนับสนุนในรูปแบบอื่นๆ มากขึ้น

2.การขยายโอกาสทางการศึกษาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศง2550 รัฐบาลมีนโยบายกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเปป็นโอกาสให้มหาวิทยาลัยได้จัดการศึกษาได้หลากหลายรูปแบบมีกลุ่มเป้าหมายที่มากขึ้น

3.ความต้องการในการศึกษาระดับอุดมศึกษามีมากขึ้นทั้งจากจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาในชั้นมัธยมเพิ่มสูงขึ้น จารบุคลากรในวัยทำงานที่ต้องการศึกษาต่อเพื่อเพิ่มวุฒิและจากความต้องการของส่วนราชการที่ต้องการพัฒนาบุคลากรของตนเป็นการเฉพาะทำให้การผลิตบัณฑิตและการบริการวิชาการในมหาวิทยาลัยยังขยายตัวได้

4.นโยบายการขยายกองทุนกู้ยิมเพื่อการศึกษาของนักศึกษาที่มีฐานะยากจนได้กู้ยืมเรียนจนจบการศึกษาเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการเรียนในระดับอุดมศึกษามากขึ้น

5.รัฐบาลสนับสนุนโครงการสหกิจศึกษาโดยการสร้างโอกาสให้บัณฑิตได้เรียนรู้และปฏิบัติการในสถานประกอบการ

มิติที่ 2 ด้านการคุณภาพการให้บริการ

1.ความร่วมมือ การสนับสนุนจากท้องถิ่น ชุมชน องค์กรต่างๆ โดยผ่านกระบวนการความร่วมมือในรูปแบบต่างๆ มีมากขึ้น

2.ความหวังของท้องถิ่นที่มีต่อมหาวิทยาลัยสูงมาก และมีความใกล้ชิดและสัมพันธ์กับท้องถิ่นมายาวนาน

3.นโยบายของรัฐบาลยุคปัจจุบันมุ่งเน้นพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากหญ้า เปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยในภูมิภาคได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในรูปแบบต่างๆ มากยิ่งขึ้น

มิติที่ 3 ด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ

1.พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2547 มหาวิทยาลัยที่เป็นนิติบุคคลมีอิสระและความคล่องตัวในการบริหารจัดการ

2.นโยบายการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลเพื่อสนับสนุนมหาวิทยาลัยมีมากขึ้น

3.กระแสการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ (ก.พ.ร) และการประเมินคุณภาพภายนอก จากสมศ.  และการกำกับติดตามประเมินผลเป็นไปอย่างรัดกุมและชัดเจน

4.นโยบายด้านต่างประเทศของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาเปิดโอกาสให้

มหาวิทยาลัยสามารถสร้างความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมกับประเทศในภูมิภาคอาเซียนกับประเทศอื่น ส่งผลให้เกิดกิจกรรมแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา และการจัดการหลักสูตรร่วมกันในอนาคต และที่สำคัญสร้างโอกาสให้มหาวิทยาลัยเป็นที่รู้จักกว้างขึ้นในเวทีโลก

มิติที่ 4 ด้านการพัฒนาองค์กร

1.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และนโยบายการปฎิรูปการศึกษาของรัฐบาลให้สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุคคล

2.รัฐบาลส่งเสริมและสนับสนุนในการพัฒนาระบบเทคโนโลยี่สารสนเทศ

3.กระแสการแข่งขันขององค์กรผลักดันให้ทุกองค์กรเร่งพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

4.นโยบายของรัฐบาลในการบริหารงานแบบบูรณาการเปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยมีบทบาทในการพัฒนาภูมิภาคมากยิ่งขึ้น

5.การประเมินตามคำรับรองการปฏิบัติราชการโดย กพร.  เปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยได้พัฒนาองค์กร และพัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของ Outside in  และในมิติของการมีส่วนร่วมของประชาชนรวมทั้งเปิดโอกาสให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยได้รับเงินรางวัลอันเป็นผลจากการผ่านการประเมิน

6.การประเมินและการรับรองโดยสมศ.  เป็นกลไกที่เปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยได้รับทราบข้อดี และข้อด้อย กระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวที่จะไปสู่การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงการประเมินโดยจำแนกเป็นกลุ่มสาขาวิชาต่างๆ  เอื้อให้มีโอกาสให้คณะต่างๆ ในกลุ่มสาขาวิชาเดียวกันข่วยเหลือกันได้มากขึ้น

7.การจัดอันดับของมหาวิทยาลัยไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษามีผลกระทบในวงกว้างต่อภาพลักษณ์ชื่อเสียงของสถาบันจึงเป็นปัจจัยเชิงบวกหากได้รับการจัดอันดับที่ดีและเป็นปัจจัยเชิงลบหากได้รับการจัดอันดับต่ำแต่เป็นโอกาสที่มหาวิทยาลัยจะได้ปรับปรุงและพัฒนาให้ได้ค่าคะแนนที่ดีขึ้นตามตัวชี้วัด การที่มหาวิทยาลัย หากได้รับการจัดอันดับในกลุ่มดีเลิศ ที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตและการทำนุบำรุงศิลปะ และวัฒนธรรมเป็นโอกาสที่สำคัญที่จะส่งผลต่อความเชื่อถือของผู้เรียนและจะส่งผลต่อจำนวนนักศึกษาที่จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยด้วย

 

Threats

มิติที่ 1.ด้านประสิทธิผล

1.แนวโน้มการเปิดเสรีทางการค้าและบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการศึกษา และด้านอื่นๆ ระหว่างประเทศไทยและต่างประเทศ อาจส่งผลให้มีมหาวิทยาลัยต่างประเทศมาตั้งในประเทศไทย ทำให้การแข่งขันรุนแรงยิ่งขึ้น มหาวิทยาลัยทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคมีนโยบายในการเปิดรับนักศึกษาจำนวนมากขึ้นและประชาสัมพันธ์เชิงรุกรับนักศึกษาในพื้นที่

2.การปฏิรูประบบการเงินอุดมศึกษาและกองทุนเงินให้กู้ยิมที่ผูกติดกับรายได้ในอนาคตมีแนวโน้มที่อาจทำให้มหาวิทยาลัยต้องพึ่งตนเองมากขึ้นและอาจส่งผลกระทบต่อภารกิจของมหาวิทยาลัย ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่ในพื้นที่มีค่านิยมในการส่งบุตร หลานเข้าศึกษาที่ส่วนกลาง

3.ผู้เรียนมีทางเลือกมากขึ้นในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ขณะที่แนวโน้มจำนวนนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายลดลง

4.ตลาดแรงงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีอัตราและความต้องการแรงงานลดน้อยลง เกิดภาวะการตกงานสูงมาก

 

 

 

 

 

 

 

 

มิติที่ 2 ด้านการคุณภาพการให้บริการ

1.ภาวะเศรษฐกิจและรายได้ของประชาชนในพื้นที่ต่ำลง ไม่มีเงินทุนเพื่อการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย

2.มหาวิทยาลัยทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคมีนโยบายในการเปิดรับนักศึกษาจำนวนมากขึ้นและประชาสัมพันธ์เชิงรุกรับนักศึกษาในพื้นที่ต่างจังหวัดมากขึ้น

 

 

 

 

มิติที่ 3 ด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ

 

1.นโยบายของรัฐบาลผลักดันให้มหาวิทยาลัยรับนักศึกษาที่จลมัธยมปลายเข้าศึกษาในสถาบันโดยไม่ได้คำนึงถึงความพร้อมและการจัดงบประมาณสนับสนุนที่เพียงพอ

2.นโยบายของรัฐบาลในเรื่องการลดอัตราข้าราชการลงทำให้มหาวิทยาลัยขาดแคลนอาจารย์ผู้สอนและการจ้างอาจารย์ทดแทนบางครั้งได้อาจารย์ที่ขาดประสบการณ์และการทำงานที่ต่อเนื่อง

3.นโยบายรัฐบาลในด้านอัตรากำลังประเภทบุคลากรมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาเป็นอุปสรรคในการวางแผนอัตรากำลัง

 

 

 

 

 มิติที่ 4 ด้านการพัฒนาองค์กร

1.ระบบเทคโนโลยี่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นอุปสรรคในการดำเนินการพัฒนาของมหาวิทยาลัยให้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลง

2.มหาวิทยาลัย และองค์กรต่างๆ มีการแสวงหาคนดี คนเก่ง โดยการดึงบุคลากรจากหน่วยงานดื่นมากขึ้น

3.ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยของรัฐจำนวนมาก ภายใต้ทรัพยากรและการสนับสนุนที่จำกัด โอกาสที่มหาวิทยาลัยจะได้รับการสนับสนุนจะลดลง

4. การบริหารภายใต้ระบบราชการแบบเดิม ซึ่งยังคงไม่คล่องตัว และระบบการบริหารงานบุคคลยังมีบุคลากรหลายประเภทซึ่งมีสถานะและสิทธิแตกต่างกัน เป็สสภาวะที่เป็นข้อจำกัดอย่างมากในปัจจุบันและถือเป็นภาวะคุกคามอย่างหนึ่ง

หมายเลขบันทึก: 355277เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2010 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท