หนอนปลอกของธูปฤษี


หนอนปลอกตัวเล็ก ๆ ที่อยู่ในปลอกรูปกรวยที่สร้างจากใบไม้ที่มันกัดมาทำเป็นบ้านช่วยให้มันปลอดภัยจากความร้อน แสงยูวี ยาฆ่าแมลง และศัตรูพวกจิ้งจกได้ด้วย

หนอนปลอกเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กที่นำใบไม้ที่มันกัดมาสร้างเป็นเกราะป้องกันตัวเองได้อย่างดีเยี่ยม ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Nymphula sp.วงศ์ Pyralidae

ลักษณะการทำลายสามารถแทะผิวชั้นนอกของใบธูปฤษี (Typha angustifolia L.) ชื่อท้องถิ่นของพืชคือ กกธูป กกช้าง เฟือ ปรือ หญ้าสลาบหลวง

รูปร่างลักษณะของพืช เป็นพืชล้มลุกที่มีเหง้าแข็ง ใบเป็นใบเดี่ยวแตกสลับกันเป็นสองเเถว ด้านข้างลักษณะเป็นใบรูปแถบแบน กว้าง ๑-๒ เมตร แผ่นใบบนนูนโค้งขึ้นเล็กน้อย ดอกสีน้ำตาลออกเป็นช่อ แยกเพศก้านเดียวกัน ก้านช่อดอกเรียวแข็งสูงเกือบเท่าใบ ดอกเพศผู้เป็นกลุ่ม หลวม ๆ ที่ปลายช่อยาว ๑๕-๓๐ ซม. ดอกย่อยมีเกสรเพศผู้ ๒-๓ อัน และมีขนรูปช้อน ๓ เส้น ดอกเพศเมียอยู่ด้านล่าง ดอกย่อยอัดแน่นเป็นรูปทรงกระบอก ยาว ๒๘ ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒ ซม. รังไข่มีก้านยาวและขนสีขาวจำนวนมาก ผลเมื่อแก่แตกตามยาว มีขนาดเล็กมาก

(อ้างอิง:http://www.thaibiodiversity.org/LifeDetail)

ลักษณะการทำลายของหนอนปลอก :แม่ผีเสื้อจะมาไข่ที่ใบอ่อนในเวลากลางคืน ไข่เล็กมากมอกเกือบไม่เห็น ต่อมาไม่นานไข่จะฟักออกมาเป็นตัวหนอน จากนั้นไม่นานหนอนจะกัดเยื่อใบธูปฤษีมาหุ้มตัว ระยะนี้จะมองเห็นเป็นเยื่อขาว ๆ หุ้มตัว ภายใน ๓ วันหนอนจะโตขึ้นเป็น ๒ เท่าของตอนแรก จะมองเห็นหัวกระโหลกมีลายเหลืองสลับดำและเห็นขาคู่หน้าและคู่กลาง ทำหน้าที่เดิน เกาะ สัมผัสอาหาร และที่เห็นเด่นชัดมากคือมีกรามหรือฟันที่เเข็งแรงสามารถตัดผิวใบธูปฤษีออกเป็นแผ่นกลม ๆ รี ๆได้ และมองเห็นแผ่นใบที่ตัดมาใหม่นี้ติดกับส่วนของปลอกที่กว้างที่สุด การทำเช่นนี้ เป็นลักษณะประจำพันธุ์ที่ชัดเจนสามารถแยกชนิดของหนอนปลอกได้ด้วย เมื่อมีศัตรูมารบกวน หนอนจะหดตัวเข้าไปในปลอก ทำให้ชิ้นส่วนของใบนี้แปะติดไว้นี้กางออกเหมือนกระโปรงบาน จะนิ่งนานหลายนาทีจนแน่ใจว่าไม่มีศัตรูแล้ว จึงโผล่ออกมากินอาหารต่อไป ตัวหนอนจะใช้เวลา ๗-๑๐ วัน ก็จะโตเต็มที่ ไม่กินอาหารอีกต่อไป และจะคลานไปหาที่ปลอดภัยเพื่อเข้าดักแด้ โดยมากจะเลือกเข้าดักแด้ใต้ใบแต่ที่ล้ม การสังเกตุการเจริญเติบโตของผมนี้ให้ต้นธูปฤษีเจริญเติบโตอยู่ในอ่างดินเผาเคลือบขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๕๐ ซม. ดังนั้นจะพบว่าหนอนจะคลานมาเข้าดักแด้ที่บริเวณใกล้ปากขอบของอ่างเป็นส่วนมาก ก่อนเข้าดักแด้นี้เองเป็นช่วงอันตรายของหนอนที่ยังไม่เข้าดักแด้ เนื่องจากมีจิ้งจกบ้านหางหนาม(ชื่อวิทยาศาสตร์Hemidactylus frenatus วงศ์Gekkonidae) มารอเหยื่ออย่างใจเย็น และจิ้งจกจะจับหนอนปลอกกินก่อนที่จะเข้าดักแด้ ขณะนี้เก็บดัดแด้ได้ ๕-๖ ดักแด้เพื่อฟักออกมาเป็นตัวเต็มวัยอยู่ ๑๐ วันแล้วดักแด้ก็ยังไม่ออกมาเป็นตัวเต็มวัยสักที เมื่อออกมาเป็นตัวเต็มวัยแล้วจึงจะสามารถจำแนกชื่อวิทยาศาสตร์ได้แน่ชัด หนอนปลอกชนิดนี้ไม่กินโมกแคระ และต้นรวยไม่เลิกที่อยู่ใกล้กัน

ท่านสามารถดูรูปจากการสำรวจนี้ได้จาก [email protected]/รูปถ่าย/หนอนปลอกของธูปฤษี

odd-บ้านสมุนไพร

หมายเลขบันทึก: 357431เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2010 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 13:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • อยากเห็นภาพมันนะครับอาจารย์
  • ที่บ้านมีกกฤษ๊มากเลย
  • 20-21 พค ไป กศน อยุธยา ที่ทำงานอาจารย์อยู่ไกลจากแยกพระญาติไหมครับ

ที่ทำงานผมอยู่ มทร.สุวรรณภูมิ หันตรา ติดถนนสายเอเซียครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท