กฎหมายคนเข้าเมืองกับกรณีจากแจ้งเกิดที่ฝั่งพม่า ไม่ผ่านสถานทูต


หากรัฐไทยไม่ยอมแก้กฎหมายอนุญาตให้เด็กที่เกิดในประเทศไทยเดินทางกลับประเทศ การแจ้งเกิดที่ประเทศพม่าถึงแม้จะประสบผลสำเร็จในการแจ้งเกิดได้ ก็เปล่าประโยชน์ทางกฎหมาย เพราะมิอาจเดินทางข้ามประเทศไปใช้สิทธิและปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้

          เมื่อเราทำงานเรื่องการแจ้งการเกิดให้กับเด็กต่างด้าวผ่านไประยะหนึ่ง จำนวนของเด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่มีเชื้อสายพม่า และยังไม่ได้แจ้งการเกิดเข้าทะเบียนราษฎรที่ฝั่งพม่าก็จะมีจำนวนมากขึ้น เด็กเหล่านี้กลายเป็นเด็กไร้สัญชาติ อันเนื่องมาจากกฎหมายสัญชาติไทยไม่ให้สัญชาติแก่พวกเขาตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 พ.ศ.2551 มาตรา 7 ทวิ วรรค 3 และอันเนื่องมาจากการไม่ได้รับการแจ้งการเกิดที่ฝั่งพม่าที่ซึ่งสันนิษฐานว่าพ่อแม่เป็นพลเมืองพม่า

          ผมจึงคิดจะช่วยเหลือให้เขาไม่ต้องตกอยู่ในสภาวะไร้สัญชาติ ให้ได้รับการบันทึกเป็นพลเมืองพม่าตามพ่อแม่ และเมื่อพิจารณาตามกฎหมายคนเข้าเมือง ซึ่งเป็นกฎหมายควบคุมการเข้าออกนอกประเทศของมนุษย์ ผมกลับพบว่าในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 11 ของเราเอง ก็บัญญัติว่าให้ทุกคน (ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือไม่) ต้องเข้าออกประเทศไทยตามช่องทางที่กำหนดไว้ และจะต้องยื่นแบบรายงานการเข้าออกต่อเจ้าหน้าที่ ตามกฎหมายนี้ด้วย (มาตรา 18)

          นั้นหมายถึงว่าเด็กต่างด้าวเชื้อสายพม่าที่เกิดในประเทศไทยหากพ่อแม่จะไปทำการแจ้งการเกิดนอกประเทศ ที่ฝั่งเกาะสอง ประเทศพม่าจะต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายไทย ให้ออกไปนอกประเทศเสียก่อน ไม่ว่าพ่อแม่นั้นจะมีหนังสือเดินทางหรือเอกสารที่ใช้ในการเดินทาง หรือไม่มีเอกสารเข้าเมืองใด ๆ เลยก็ตาม

          แต่จะมีแรงงานพม่าสักกี่คนที่มีหนังสือเดินทาง (Passport) หรือหนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) หรือหนังสือผ่านแดน (Border Pass) หรือไม่มีเอกสารเดินทางใด ๆ แต่เป็นบุคคลที่มีท.ร.38/1 และมีใบรับคำขออนุญาตทำงาน หรือไม่มีเอกสารเดินทางใด ๆ รวมทั้งไม่มีใบอนุญาตทำงาน ที่จะไปขออนุญาตออกนอกประเทศเพื่อแจ้งเกิดให้เด็กตามวิธีการปกติทั่วไป และได้รับอนุญาต

          เพราะหากเราพิจารณาจากกรณีของน้องหม่อง ทองดี คนต่างด้าวสามารถเดินทางออกนอกประเทศไทยได้ตามมาตรา 17 พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง ได้คนต่างด้าวก็ย่อมที่จะเดินทางออกไปเพื่อแจ้งเกิดเด็กได้เช่นกัน แต่ทว่าเด็กต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทยมีจำนวนมากนัก เกินกว่าที่จะใช้มาตรา 17 กับพ่อแม่ของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ หนทางเดียวคือการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายคนเข้าเมืองใหม่

          หากบอกว่ารัฐไทยจะรอการพิสูจน์สัญชาติ เพื่อให้เขาใช้ Temporary Passport โดยไม่ต้องแก้ไขกฎหมาย นอกจากผมจะบอกว่า เราไม่อาจทราบว่าจะมีแรงงานต่างด้าวสักกี่มากน้อยที่จะผ่านการพิสูจน์สัญชาติ และได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าออกประเทศไทย โดยใช้ Temporary Passport เพราะพลเมืองพม่ามีทั้งพลเมืองพม่า(Myanmar Citizen), ภาคีพลเมือง (Associate Citizen) และพลเมืองแปลงชาติ (Naturalized Citizen) แล้ว

          รัฐไทยอย่าลืมว่ากระบวนการแจ้งเกิดทั้งของรัฐไทยและรัฐพม่าไม่ใช่ทุกกรณีต้องพาเด็กไปให้เจ้าหน้าที่ดูตัว ตรวจสอบความจริง แต่ขั้นตอนการใช้สิทธิในการทำบัตรประจำตัวต่างหากที่จะต้องใช้ตัวตนที่เห็นได้จริง สัมผัสได้จริง ขั้นตอนนี้แหละที่เด็กที่เกิดในประเทศไทย ที่ได้รับการแจ้งเกิดแล้วทั้งทางฝั่งไทยและฝั่งพม่า จะต้องกลับประเทศพม่าซึ่งจำเป็นต้องมีหนังสือเดินทางที่ออกให้โดยรัฐไทย

          เพราะว่าพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองของพม่า (ข้อกำหนดฉุกเฉิน) ค.ศ.1947 (พ.ศ.2490) มาตรา 3(2) ห้ามมิให้พลเมืองพม่าเข้าประเทศโดยไม่มีหนังสือเดินทางพม่า, หรือเอกสารที่ใช้แทนการเดินทางที่ออกโดยเจ้าหน้าที่[i]

          หากรัฐไทยไม่ยอมแก้กฎหมายอนุญาตให้เด็กที่เกิดในประเทศไทยเดินทางกลับประเทศ การแจ้งเกิดที่ประเทศพม่าถึงแม้จะประสบผลสำเร็จในการแจ้งเกิดได้ ก็เปล่าประโยชน์ทางกฎหมาย เพราะมิอาจเดินทางข้ามประเทศไปใช้สิทธิและปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้ นั้นเอง

          รัฐไทยจำต้องแบกรับภาระในส่วนนี้ เพราะอย่าลืมว่าการที่รัฐไทยได้จัดทำแบบรับรองรายการทะเบียนประวัติของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ท.ร.38/1) รัฐไทยได้ทำให้พวกเขากลายเป็นคนต่างด้าวในประเทศของเขา เช่นประเทศพม่า เพราะเรามิอาจพิสูจน์ได้ว่าเขาเป็นพลเมืองพม่าจริงหรือไม่ เราได้แต่ทึกทักเอาว่าเมื่อคนเหล่านั้นมาจากพม่า ย่อมเป็นคนพม่า

          ทำไมรัฐไทยไม่ออกเอกสารในการเดินทางให้แก่แรงงานต่างด้าวชาวพม่า เพื่อให้พวกเขาสามารถเดินทางกลับประเทศพม่า และไปพิสูจน์ตัวเองว่าเป็นพลเมืองพม่า นอกจากกระบวนการพิสูจน์สัญชาติโดยตัวเขาเองจะสำเร็จได้เร็วแล้ว การพิสูจน์สัญชาติให้แก่ลูกที่เกิดในไทยแล้วชื่อพ่อแม่เป็นชื่อในไทยจะสำเร็จบนความสมัครใจอย่างยิ่งยวดแล้ว เด็ก ๆ ก็จะไม่ตกเป็นคนไร้รัฐสัญชาติด้วย

          อย่าลืมว่าในกฎหมายคนเข้าเมืองพม่าดังกล่าวข้างต้นในบทนิยามมาตรา 2(e)[ii] ได้นิยามคนต่างชาติว่าคือบุคคลที่ไม่ใช่พลเมืองพม่า ดังนั้นแรงงานต่างด้าวชาวพม่าย่อมเป็นคนต่างชาติในรัฐพม่าเมื่อเป็นเช่นนี้ทำไมรัฐไทยไม่ออกหนังสือเดินทางให้ เพื่อให้เขาสามารถข้ามไปยังประเทศพม่าได้ เนื่องจากในมาตรา 3(1)[iii] ได้ห้ามคนต่างชาติเข้าเมืองโดยปราศจากได้รับอนุญาตให้เข้าและพักอาศัยในประเทศ หากรัฐไทยออกเอกสารเดินทางผ่านแดนข้ามจากจังหวัดชายแดนไทยไปยังจังหวัดชายแดนพม่าให้แก่แรงงานต่างด้าวชาวพม่า พวกเขาก็สามารถเข้าประเทศพม่าอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้

          เรามาช่วยกันคิดดูลำพังปิดตามข้างเดียว คงจะใช้ได้ผลไม่นานหรอก เพราะเด็กต่างด้าวที่เกิดบนแผ่น


[i] Burma Immigration (Emergency Provisions) Act, 1947, Section 3(2) No citizen of the Union of Burma shall enter the Union without a valid Union of Burma passport, or a certificate in lieu thereof, issued by a competent authority.

[ii] Burma Immigration (Emergency Provisions) Act, 1947, Section 2(e) “foreigner” means a person who is not a citizen of the Union of Burma. 

[iii] Burma Immigration (Emergency Provisions) Act, 1947, Section 3(1) No foreigner shall enter the Union of Burma without an immigration permit issued by the Controller or by any Official authorized to issue such permits or a valid passport duly visaed or endorsed by or on behalf of the President.

หมายเลขบันทึก: 357531เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2010 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท