การเกิดตัวอ่อนของหนอนปลอกธูปฤษีโดยไม่ต้องผสมพันธุ์


หนอนปลอกวัย๑ของธูปฤษีพิเศษมากๆเกิดมาจากดักแด้โดยไม่ต้องรอแม่ผีเสื้อวางไข่

ตลอดชั่วชีวิตของหนอนปลอกเพศเมียจะกินอยู่หลับนอนพักผ่อนและเจริญเติบโตอยู่ภายในปลอกเล็ก ๆ รูปกรวย ใช้เวลาประมาณ ๑๐ วัน หนอนปลอกจึงเข้าดักแด้อยู่ใต้โคนต้นในกระถางที่ปลูกต้นธูปฤษีโดยปกคลุมด้วยใบแห้ง ๆ ของใบเก่า จากการเก็บดักแด้ของหนอนปลอกมาฟักเพื่อพิจารณาลักษณะของผีเสื้อเป็นระยะเวลา ๒๗ วัน นับตั้งแต่วันที่๑๙เมษายน๒๕๕๓ ถึง ๑๕พฤษภาคม๒๕๕๓ โดยดักแด้อยู่ในกล่องพลาสติกใสขนาด๑๑X๑๘X๗.๕ cm. อุณหภูมิ ๒๘-๓๐ องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์๗๐-๘๐%ความชื้นสัมพัทธ์ ตลอดเวลาระยะดักแด้นั้น ดักแด้เหล่านี้ไม่มีโอกาสพบกับตัวผู้เพื่อผสมพันธุ์เลย ดังนั้นการเกิดหนอนปลอกวัย๑ ครั้งนี้จึงเกิดจากการออกลูกเป็นตัวภายในดักแด้ของแม่หนอนปลอกเท่านั้น หนอนปลอกที่เกิดใหม่มีขนาดเล็กมาก ความยาวเพียง ๑-๒ มิลลิเมตร เท่านั้น มีปลอกเป็นใยขาว ๆ และเศษใบธูปฤษีได้จากปลอกหุ้มของแม่ โดยปลอกหุ้มของแม่แตกออก หนอนวัย๑ อยู่บนตัวของแม่ มีจำนวน ๑๐ตัวคลานช้า ๆ เพื่อหาอาหารต่อไป ส่วนหนอนปลอกตัวแม่ได้สละชีวิตให้ลูกหนอนปลอกแล้วเพราะตัวอ่อนได้กินเลือกของแม่แล้วจนพัฒนาตัวเองเติบโตเต็มที่และกัดถุงหุ้มออกมา เมื่อนำหนอนปลอกตัวอื่น ๆ กลับไปฟักที่กระถางปลูกต้นธูปฤษี ๑ คืน วันวันรุ่งขึ้นตรวจพบหนอนปลอกตัวเล็กถึง ๒๕ ตัว ท่านสามารถดูภาพหนอนปลอกเกิดใหม่ได้ที่[email protected]/รูปภาพ/หนอนปลอกของธูปฤษี

odd-บ้านสมุนไพร

หมายเลขบันทึก: 359139เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2010 16:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 00:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นความรู้ใหม่มากมายเลยครับ

เรื่องนี้แปลกดีนะครับ

อยากให้สังคมไทยเรียนรู้เรื่องรอบตัวเราเยอะๆ กว่าที่จะมาทะเลาะกัน ครับผม

เสียเวลาที่จะทะเลาะกัน

จงสำรวจสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆตัวเรา เรียนรู้ และอยู่ร่วมกันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย

เรื่องใกล้ๆแต่ไม่ธรรมดา ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ จะนำไปเล่าให้นักเรียนฟัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท