I've loved you so long : ความลับวิธีรักษาความจำยืนยาว


เธอคัดชื่อ-นามสกุลของพี่ "ทุกวัน" มาตลอด 15 ปี แล้วก็จดเวลาที่ผ่านไปๆ วันที่ 1 วันที่ 2 ...ตลอด 15 ปี เพื่อจะได้ไม่ลืมชื่อพี่เธอ

หนังเรื่องนี้เป็นหนังฝรั่งเศส มีชื่อเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า Il y a longtemps que je t'aime (อีล-ยา-ลองตง-เกอะ-เฌอ-แตม) (หรือเปล่า?) ได้รางวัลภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม จากเวที BAFTA ฉายเมื่อปี 2008 แต่เพิ่งมีโอกาสได้ดูจนจบ (เคยเปิดดูครั้งหนึ่ง แต่มึนหัวอ่าน subtitle ภาษาอังกฤษ ก็ตัวละครเล่นพูดภาษาฝรั่งเศสทั้งเรื่อง)

เป็นเรื่องเกี่ยวกับ Juliette Fontaine ที่เพิ่งถูกปล่อยออกมาจากคุก ที่เธอถูกขังตั้ง 15 ปี ด้วยคดีร้ายแรง ตอนแรกหนังก็ไม่ได้บอกว่าคดีอะไร แตพอกลางๆ เรื่อง ก็ปรากฏว่า เธอติดคุกด้วย "คดีฆาตกรรมลูกชายตัวเอง"

ตอนที่เธอถูกปล่อยตัว ก็มีน้องสาวมารับไปอยู่ด้วย น้องสาวที่ไม่เคยเจอกันมาเลย เพราะตอนที่ Juliet ติดคุก Léa (น้องสาว) ยังเด็ก แถมพ่อแม่ก็เกลียด Juliet มาก จึงห้ามไม่ให้ติดต่อเธออีกเลย

หนังก็ดำเนินไปเรื่อยๆ กล่าวถึงความลำบากในการใช้ชีวิตของคนที่เพิ่งพ้นโทษ การเข้าสังคมก็ลำบาก จะหางานทำ คนก็ไม่ต้อนรับ ยิ่งพอรู้เรื่องคดี ยิ่งไล่เธออย่างกับหมูกับหมา เธอไม่เป็นคนไม่ค่อยพูด จึงเก็บงำความลับเกี่ยวกับการตายของลูกของเธอไว้ ไม่มีใครรู้

มีฉากหนึ่งอันเป็นที่มาของชื่อเรื่อง คือ Juliette ถาม Léa ประมาณว่า น้องจำพี่ได้ยังไง เพราะตอนนั้นก็เด็กมาก รู้ได้ยังไงว่ายังมีพี่สาวติดคุกอยู่ แล้วทำไมถึงมารับไปอยู่ด้วย Léa ก็ตอบว่า เธอคัดชื่อ-นามสกุลของพี่ "ทุกวัน" มาตลอด 15 ปี แล้วก็จดเวลาที่ผ่านไปๆ วันที่ 1 วันที่ 2 ...ตลอด 15 ปี เพื่อจะได้ไม่ลืมชื่อพี่เธอ แล้วก็เธอก็เอาไดอารี่ที่เ้ธอบันทึกมาให้ดูเป็นหลักฐาน.. ซึ้งมาก "I've loved you so long" "ฉันรักเธอมานานแสนนาน"

อีกตอนหนึ่งที่ประทับใจก็คือตอนจบซึ่งเป็นตอนที่ความจริงมาเฉลยว่าเธอทำไมถึงต้องฆ่าลูกชายตัวเอง มันสะเทือนใจมาก สาเหตุก็คือ ลูกชายเธอมะเร็งขั้นสุดท้าย เธอทรมานมากที่ต้องเห็นลูกเจ็บปวด ก็เลยฉีดยาพิษให้ลูกเธอจากไปอย่างสงบ จริงๆ แล้วเรื่องการุณยฆาต แบบนี้ก็ controversy นะ จะพูดยังไงดี

ดูเหมือนหนังจะจบ happy-ending เมื่อความจริงเปิดเผย :)

*****************************************************************

ศูนย์วิจัยเนสท์เล่ สวิตเซอร์แลนด์ รายงานผลการศึกษาวิจัยของ ดร. สเตฟานี สติวเดนสกี้ แห่งโรงเรียนแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพิสเบิร์ก ในการประชุมวิชาการเรื่อง "ความทรงจำที่ยืน ยาว" ระบุว่าสมองมีพัฒนาการอย่างเต็มที่ในช่วงวัยรุ่น สามารถต้านการเสื่อมของความจำได้ ลักษณะเดียวกับการสร้างมวลกระดูกในช่วงวัยรุ่นที่สามารถช่วยป้องกันกระดูก หักในวัยชรา

ดร. สติวเดนสกี้ กล่าวว่า เซลล์สมองมีพัฒนาการมากในช่วงต้นของชีวิต มีหลักฐานแสดงให้เห็นชัดเจนว่าการสร้างเซลล์สมองขณะที่มีอายุน้อยมีส่วน ป้องกันการเสื่อมของเซลล์สมองที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ละวัน ดังนั้นแม้เมื่อเข้าสู่วัยชราสมองก็ยังสามารถทำงานต่อได้ สำหรับเคล็ดลับใน การรักษาสติปัญญาในวัยชรา คือ

          1. กินอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ เลือกอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำแต่อุดมไปด้วยผักและผลไม้ รวมทั้งกลุ่มวิตามินบีควรกินปลาหลายๆ ครั้งต่อสัปดาห์ โดยเฉพาะปลาที่มีกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า

          2. ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น เดิน เต้นรำ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ ทำสวน อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์

          3. ไปพบแพทย์เป็นประจำ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

          4. นอนหลับให้เพียงพอ หากนอนน้อยกว่าวันละ 7-8 ชั่วโมง ทำให้ความจำและสมาธิไม่ดี

          5. ลดความเครียด ด้วยการออกกำลังกาย สวดมนต์ และทำสมาธิ

          6. คิดและใช้สมอง ยิ่งใช้สมองมากยิ่งทำให้สมองทำงานได้ดีขึ้น ควรหากิจกรรมทำ เช่น อ่านหนังสือ เล่นเกมคอร์สเวิร์ด เข้าร่วมอภิปรายกลุ่ม เข้าเรียนพัฒนาตนเองในคอร์สต่างๆ เรียนเปียโน หรือเรียนภาษา ฯลฯ

          7. เข้าสังคมเพื่อให้สมองตื่นตัว เช่น พบเพื่อนใหม่ เข้าร่วมเป็นสมาชิกหรืออาสาสมัคร หรือทำงานนอกเวลา

หมายเลขบันทึก: 360032เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2010 12:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท