(สิ่งที่น่าจะทำ) ก่อนลงทุนทางฮาร์ดแวร์


(สิ่งที่น่าจะทำ) ก่อนลงทุนทางฮาร์ดแวร์

(สิ่งที่น่าจะทำ) ก่อนลงทุนทางฮาร์ดแวร์      

          

                   ปัจจัยที่ทำให้เกิดการความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีใหม่ในการศึกษาก็คือ  การทำงานหนักของรัฐบาล ครู  ผู้บริหาร  รวมทั้งนักเรียนด้วย  มัลติมีเดียและเทคโนโลยีสารสนเทศเองก็เป็นได้แต่เพียงเครื่องมือ  เครื่องมือจะทำงานได้ผลต้องมีแผนสนับสนุนที่ดีจากรัฐบาล  รวมทั้งมีโรงเรียน  ครูและนักเรียนที่พร้อมด้วย                งบประมาณและการลงทุนด้านฮาร์ดแวร์หรือเครื่องมือและอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆนั้นเป็นภาระของทุกคนในชาติ  เป็นเงินงบประมาณ  มาจากการเก็บภาษีอากรจากประชาชน ดังนั้น การลงทุนในรายการเทคโนโลยีที่มีราคาแพงควรจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ก่อนที่โรงเรียนจะนำเทคโนโลยีนี้เข้าไปใช้ในโรงเรียนควรมองเห็นภาพเสียก่อนว่า จะใช้เทคโนโลยีสำหรับทำอะไร และแน่ใจว่า การลงทุนนั้นคุ้มค่ากับผลที่จะเกิดขึ้นตามมา     

          

               มีการประมาณกันว่าเงินที่ใช้ซื้อตัวเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเป็นเพียงร้อยละ 25 ของต้นทุนหรืองบประมาณทั้งหมดที่ต้องเตรียมไว้ ในการเตรียมระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ การเตรียมงบประมาณสำหรับเทคโนโลยีนี้ยังต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ตามมาพร้อมกันด้วย ได้แก่   1.       ค่าอุปกรณ์และการติดตั้ง ( Hardware and Installation )  2.       ค่าซอฟแวร์ ( Software 3.       ค่าฝึกอบรมและบริการช่วยเหลือผู้ใช้ ( Training and Support )   4.       คาบริหารระบบ ( System inistration 5.       ค่าวัสดุอุปกรณ์สิ้นเปลืองและค่าซ่อมบำรุง ( Supplies and Maintenance )    ลองคำนวณดูเล่นๆว่าถ้าลงทุนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ 50 ล้านบาท ควรจะต้องเตรียมงบประมาณสำหรับอีก 5 รายการข้างต้นอีกสักเท่าใด

ก่อนลงทุนในเครื่องมือและอุปกรณ์ทางเทคโนโลยี

                วางแผนร่วมกันควรมรการระดมความคิดจากการนักการศึกษา  นักเทคนิค ผู้สนับสนุนด้านการเงิน และที่สำคัญคือองค์กรและตัวแทนของชุมชน วางแผนร่วมกันว่าเราจะเข้าสู่การใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดียแบบไหน ระดับใดเป็นสิ่งจำเป็น <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt">วางแผนเรื่องเงิน</h2>ไม่ควรซื้อในงบประมาณปีต่อปี ควรมีการวางแผนระยะยาวว่าจะจัดการกับระบบใช้เครื่องมือสำหรับการเรียนการสอนอย่างไร และจะต้องให้ภาพของการเรียนการสอนเป็นอย่างไร  โรงเรียนและหน่วยงานการศึกษาควรมีการวางแผนเทคโนโลยีทั้งระบบในระยะยาวกว่า วงเงินงบประมาณเช่นนั้นอยู่ในความสามรถที่โรงเรียน หรือประเทศจะจ่ายได้หรือไม่ <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt">เตรียมคนและระบบจัดการดูแลเครื่องมือและอุปกรณ์</h2>ควรมีการจัดการตระเตรียมครูและช่างเทคนิคที่จะดูและระบบเทคโนโลยี <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt">วางแผนเรื่องซอฟต์แวร์</h2>งานมัลติมีเดียเพื่อการศึกษานั้นเท่ากับเป็นการรวมตัวกันของศาสตร์ การออกแบบเนื้อหาและวิธีสอนทั้งภาพและเสียนที่จำทำภให้เกิดการเรียนรู้อย่างดี ประเทศไทยยังไม่ได้มีการเตรียมบุคลากรด้านนี้ไว้พียงพอ ทั้งที่ยังไม่ได้มีการประเมินการลงทุนให้แน่ชัดว่า เราต้องลงทุนสักเท่าใดในการพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการศึกษา สภาวะเช่นนี้ทำให้การลงในฮาร์แวร์อาจสูญเปล่าหรือใช้ประโยชน์น่อยกว่ามูลค่าที่ลงทุนไปไม่ใช่ฮาร์ดแวร์หรือเครื่องมือละอุปกรณ์เทคโนโลยีเท่านั้นที่มีความสำคัญ สิ่งที่เป็นหลักของการจัดการศึกษา คือ เนื้อหาในวิธีการและรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน ไม่ใช่ปล่อยเทคโนโลยีให้บงการการศึกษา การศึกษาจักต้องจัดการคัดท้ายให้เทคโนโ,ยีนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่า ให้มีการใช้และนำศักยภาพของเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคม <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt">การเตรียมพร้อมด้านการศึกษาเพื่อนำเทคโนโลยีมัลติมีเดียมาใช้</h2><p>:      เน้นการเรียนโดยอาศัยศักยภาพของเทคโนโลยี ไม่ใช่เน้นการเรียนเทคโนโลยี:      แสวงหาเนื้อหาและวิธีการสอนใหม่ๆ ไม่ใช่แสวงหาแต่เทคโนโลยี:      เตรียมแผนการใช้เทคโนโลยีเป็นรายชั่วโมง:      วิจัยและทดลองรูปแบบการเรียนการสอน:      วิจัยเพื่อหาต้นแบบการใช้มัลติมีเดียในสถาบันการศึกษา          </p><p>เอกสารอ้างอิง : พรวิไล  เลิศวิชา.มัลติมีเดียเทคโนโลยีกับโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 . กรุงเทพฯ สวทช., 2544</p>

หมายเลขบันทึก: 36070เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2006 12:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท