สบายกาย สบายใจ เมื่อออกค่ายหมอเขียว สวนป่านาบุญ ตอนที่ 4


กระเพาะ ลำไส้ คงขอบคุณเราเป็นแน่

 

      ต้องขออภัยที่ค่ายนี้ ไม่มีรูปมาให้ชม ตั้งใจว่าจะไม่เอากล้องถ่ายรูปไป เพราะ

ของที่เอาไปค่ายเยอะมาก เช่น มุ้ง ถ้วยอาหาร ช้อน ถุงนอน ถังน้ำ หมอน เสื่อ

 ของใช้ส่วนตัว   เสื้อผ้า7 วัน ( กะไม่ซัก )  เป็นต้น

 

       เป็นการลดภาระการจัดการของเจ้าของบ้าน ส่วนกล้องถ่ายรูป  เราก็คิดว่า

 ค่ายนี้คงมีทั้งผู้ป่วย ไม่ป่วย การถ่ายรูปอาจจะไม่ค่อยดีเท่าไหร่ และพยายาม

ลดของมีค่า สมบัติให้น้อยลง จะได้ไม่ต้องแบกเยอะ  แต่ทุกวันก็มีกระเป๋าที่

หนักพอสมควร

 

     ทุกคนจะมี ถาดอาหาร  ช้อน ประจำคัว ล้างเอง เก็บเอง นำมาทุกวัน 

อุปกรณ์กัวซา 2 ชุด  น้ำมัน 2 ขวด   สมุดจดงาน  หนังสือเอกสารต่างๆ 

  ผ้าสำหรับปูนั่ง (ส่วนตัว/ นั่งพื้นทั้งวัน เจ็บตาตุ่มนิดหน่อย และ เข่า ด้วย

แต่ไม่เท่าไหร่  )  ร่มกันฝนอันเล็กๆ  ผ้าขนหนู 1 ผืน เอาไว้ชุบน้ำ พันหัว

เช็ดหน้า ( อากาศร้อน สลับกับฝน บางทีตัวเรานั่งนานๆก็ร้อน หรือเมื่อย

 หรือปวดหัว ก็เอาผ้าชุบน้ำโพกหัวเอาไว้ เกือบทุกวัน  )   ขวดน้ำดื่ม

ประจำตัว   สมบัติแค่นี้ก็หนักพอดู  แต่ถ้ามืออาชีพมากกว่าเราก็คงมีของ

น้อยกว่านี้เป็นแน่

 

   แล้วก็ปิดมือถือ ไม่โทรออก โทรหาใครเลย  คิดซะว่าเราอยู่ในโลกอีก

โลกหนึ่ง ใจให้เป็นสมาธิ ไม่ต้องคิดถึงอะไร และใคร  แหะๆ  เป็นการฝึก

ตัวเองอย่างหนึ่งใน 7 วัน

 

   เรื่อง อาหาร เป็นเรื่องพิเศษมาก  อาหารฤทธิ์เย็น  และจืด  จืดกว่าตอน

ที่กิน ตอนเราฟอกเลือด ด้วยโรคไตวายอีก 

 

   ด้วยอานิสงค์จากการเป็นโรคไตที่เคยทานจืดๆ ทานไม่เผ็ด ไม่หวาน

มาเข้าค่ายนี้ ก็เลยไม่เป็นปัญหา ให้ทุกข์ใจ เรื่องอาหาร ชอบอีก  อยาก

ให้มีคนทำให้ทานที่บ้านทุกวัน แหะๆ ( แต่หมอบอกให้พึ่งตน )

 

   อาหารนี้ น่าสนใจมาก การปรุงง่ายๆ ไม่มีเครื่องปรุงอื่นเลย นอกจากเกลือ

ไปเดินดูๆตามเตาที่แม่ครัวกำลังปรุง ต้มน้ำแกง มีแกนข้าวโพดด้วย แม่ครัวว่า

มันจะทำให้หวาน    

 

   เวลาผัด ไม่ต้องใช้น้ำมันเลย ใช้น้ำ

 

   ตอนกลางวัน มีเมนู ส้มตำ ด้วย อร่อยมาก เปรี้ยวด้วยมะขาม รสจากเกลือ

เหมือนทานสสัด

 

   บางมื้อก็มี น้ำนมธัญพืช ร้อนๆ รสชาดมันเข้มข้น จาก ลูกเดือย ถั่วเหลือง

คือเราจะรู้สึกว่ามาจาก ธัญพืชนั้นๆ และกลิ่นที่หอมมากๆ

 

   ท่านวิทยากร บอกเทคนิค การทานอาหารธรรมชาติให้อร่อยว่า ต้องทาน

เวลาหิวมากๆ สำหรับผู้ที่ทานไม่ค่อยลง แล้วเราจะทานได้ดี อร่อยทุกอย่าง

 

   เวลาเราอยู่บ้าน อยู่ในเมือง เราจะมีอาหารว่าง ทานโน่นนี่ แต่ที่ค่าย

เราไม่มี อาหารว่าง หรือทานบ่อยๆ จุบจิบ ก็ทำให้ กระเพาะเราทำงาน

สบายๆ ไม่มีงานหนักมากเกินไป กระเพาะ ลำไส้ คงขอบคุณเราเป็นแน่

 

  ในค่าย มีเด็กๆ มากับครอบครัวด้วย ตั้งแต่ ป.2 ไปเรื่อยๆ มัธยม ก็มี

ไปพูดคุยดู  เด็กๆไม่มีปัญหาอะไรเลย ทานได้ อยู่ได้ แปลกมาก เก่ง

มากจริงๆ

 

  ค่ายยังสอนให้เรา เห็นความสำคัญของการทานอาหาร ตามลำดับ

เพื่อช่วยการทำงานของ กระเพาะ และน้ำย่อยที่จะหลั่งมาย่อยตาม

ประเภทของอาหาร  แรกๆก็ลืมบ้าง ทานอะไรก่อน หลัง บางที

เพื่อนๆก็เตือนก็บอก  เริ่มตามลำดับ ได้แก่   ดื่มน้ำคลอโรฟิลล์ 

 ผลไม้  ผักสด   ข้าวและกับ  ธัญพืช  น้ำซุบ    อาหารทุกคำต้อง

เคี้ยวให้ละเอียด เคี้ยวไป ๆ และอดใจยังไม่กลืน เอากลับมาเคี้ยว

ใหม่  บดไปบดมา เพราะที่กระเพาะเราไม่มีฟัน มีแต่น้ำย่อยและ

บีบไป  บีบมาเท่านั้น

 

   ที่สำคัญ อาหารที่ไม่มีไขมัน อาหารรสจืด ทานผัก  ตอนแรก

ไปด้วย น้ำหนัก 60 ก.ก  แหะๆ  ลดลง  2 ก.ก.

 

   ภูมิใจมากเลย

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 362361เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2010 07:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2012 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะคุณดอกแก้ว

แวะมาทักทายและเป็นกำลังใจให้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท