สอนธรรมะเด็กอย่างไรให้ได้ผล


การสอนธรรมะเด็กให้ได้ผล

        บันทึกนี้มาว่าด้วยเรื่องการสอนธรรมะให้เด็ก  ว่าสอนอย่างไร จึงจะได้ผล

 

       ที่ผ่านมา  ก็มักนิยมนำพระมาเทศน์เป็นสูตรสำเร็จของค่ายธรรมะ

 

       เท่าที่สังเกตุดู  พระบางรูปก็เทศน์ได้สนุกดี   บางรูปก็น่าเบื่อ 

 

 

      ที่การสอนธรรมะ นิยมนำพระมาเทศน์  เพราะคิดว่าพระเทศน์  อย่างไรก็ต้องเทศน์ได้ถูกต้องตามพุทธศาสนา  และ  คำสอนที่พระเทศน์   เด็กต้องเชื่อ  ต้องฟัง  ต้องจดจำ  โดยไม่ต้องสนใจว่าเด็กจะเรียนรู้หรือเข้าใจหรือไม่   เป็นเหมือนการบังคับหรือยัดเยียดธรรมะให้เด็ก

 

      จะนำพระมาเทศน์    ต้องปรับการเทศน์ให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็กครับ

 

      การสอนธรรมะให้เด็ก  อย่างไรก็ต้องสอนตามหลักจิตวิทยาครับ  เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้    และ   หลักจิตวิทยาง่ายๆ คือ เด็กเรียนรู้จากรูปธรรมครับ    ดังนั้นจะสอนธรรมะให้ได้ผล ต้องสอนจากรูปธรรม ไปสู่นามธรรม    การเทศน์ด้วยนามธรรม  ไม่ได้ผลครับสำหรับเด็ก

 

      รูปธรรมสำหรับเด็ก  ต้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง และ  เห็นผลจริงครับ    อย่างน้อย  สัก   ๓    จริง

 

      จริงแรก   คนสอนเป็นต้นแบบจริงๆเลยครับ  เป็นต้นแบบจริง และ เห็นผลจริง  เพื่อเป็นตัวอย่างให้เด็กทำตาม

 

      จริงที่สอง   ปฏิบัติจริง   ให้ผู้เรียนปฏิบัติจริงตามคำสอนเลยครับ   ปฏิบัติจริง และ ได้ผลจริง

 

      จริงที่สาม   สถานการณ์จริง   หยิบยกสถานการณ์จริงมาให้เห็นเลยครับ   สถานการณ์จริง  เกิดผลจริง   ว่าเกี่ยวกับหลักธรรมข้อใด และยิ่งเป็นเหตุการณ์ในปัจจุบัน ยิ่งดีใหญ่เลยครับ

 

      จาก ๓  จริงดังกล่าว ผู้เรียนก็จะมารถเรียนรู้ธรรมะได้ครับ เพราะเป็นการเรียนรู้จากรูปธรรม  ที่เป็นจริง เห็นผลจริง  จากรูปธรรม สมองก็จะเรียนรู้และเก็บไว้เป็นข้อมูลในเชิงนามธรรม

 

      ผมว่าแม้แต่วัยรุ่นหรือผู้ใหญ่  ที่เรียนรู้จากนามธรรมได้  บางครั้งก็ต้องน่าจะเรียนรู้จากรูปธรรมบ้างก็จะดีมากนะครับ  เพราะเดี๋ยวนี้  บางที  เราไม่ค่อยเชื่อกันแล้วละครับ ว่า "ทำดี  ได้ดี"

 

หมายเลขบันทึก: 362506เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2010 21:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • ตอนนี้มีละคร ที่ทำเกี่ยวกับกรรมนะคะ วัยรุ่นแสดงด้วย
  • และ อีกหลายที่ ก็นิมนต์พระ ที่มีมุขเยอะๆมาสอน ได้ธรรมะติดฮาด้วย
  • ไม่แน่ใจว่า จริงที่สอง จะทำอย่างไร  และจะเห็นผลได้เร็วเพียงใด
  • ขอบคุณค่ะ

Pป้าแดงครับ

    จริงที่สอง  ปฏิบัติจริง    ที่ผมเคยทำมา  คือ  ให้แบ่งกลุ่มกันหุงข้าวทำอาหารจริงๆ ในค่ายเลยครับ   ให้แบ่งหน้าที่กันเอง  ครูไม่เข้าไปยุ่ง  ตรงนี้จะสอนคุณธรรมได้หลายอย่างครับ ทั้ง ความรับผิดชอบ  วินัย   ประหยัด   การเสียสละ   ภาวะผู้นำ

                ขอบคุณครับ 

สวัสดีค่ะ

หลังจากจัดทัศนศึกษาให้เด็กๆแล้ว มีความคิดว่าจะพาเด็กๆไปปฏิบัติธรรม สถานฑูตไทยนิมนต์พระมาทำพิธีสงฆ์ คราวนี้

หลายวันค่ะ พระจากหลายๆวัด เมื่ออาทิตย์ที่แล้วพระมาจากจ.ร้อยเอ็ด พรุ่งนี้ ๓๑ พ.ค มีตักบาตทำบุญที่สถานฑูตไทย

จำไม่ได้ว่าพระวัดไหน ต้องดูในเมล์ที่ได้รับน่ะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

การปฏิบัติเป็นอย่างสำคัญยิ่งกว่าการสอน  ความรักความศรัทธาของผู้สอนจะเป็นส่วนหนึ่งค่ะ

การปฏิบัติจริง ควรมีการติดตามและฝึกต่อเนื่องด้วยนะคะ  หลายครั้งที่ฝึกแล้วทำให้เด็กรู้และเข้าใจ แต่ระยะเวลาห่างนานไปและขาดความต่อเนื่องเขาจะลืม  คิดว่าไม่สำคัญ

การที่เขาไม่เชื่อว่าทำดีได้ดี  ก้เพราะยังแยกแยะไม่ออกว่าอันไหนดี อันไหนไม่ดี สังคมมีแต่เรื่องสับสนวุ่นวาย

ขอขอบพระคุณค่ะ

Pครูยุครับ

   ดีครับ พาเด็กๆไปปฏิบัติธรรม  ขออนุโมทนาครับ

Pพี่คิมครับ

         ความคิดเห็นถูกใจครับ

 

*  การปฏิบัติเป็นอย่างสำคัญยิ่งกว่าการสอน 

    (แบบดีกว่าบอก นะครับ)

 

*   ความรักความศรัทธาของผู้สอนจะเป็นส่วนหนึ่งค่ะ

     (ความเป็นสัปบุรุษของผู้สอน)

*  การปฏิบัติจริง ควรมีการติดตามและฝึกต่อเนื่องด้วยนะคะ  หลายครั้งที่ฝึกแล้วทำให้เด็กรู้และเข้าใจ แต่ระยะเวลาห่างนานไปและขาดความต่อเนื่องเขาจะลืม  คิดว่าไม่สำคัญ

    (ครับ ธรรมะต้องทำอย่างต่อเนื่องจนเป็นความเคยชินนะครับ)

*  การที่เขาไม่เชื่อว่าทำดีได้ดี  ก้เพราะยังแยกแยะไม่ออกว่าอันไหนดี อันไหนไม่ดี สังคมมีแต่เรื่องสับสนวุ่นวาย

    (เด็กบางคนเชื่อในการทุจริตว่าดีครับ)

                ขอบคุณมากครับที่เข้ามาเสริมเติมเต็ม

 

สวัสดีค่ะ

ท่านรองฯเคสังเกตไหมคะว่า  ครูคุยกันในขณะที่ฟังพระเทศน์หรือกำลังสวดมนต์  แล้วเด็กจะได้แบบอย่างจากที่ไหนคะ

เพราะยังไม่มีโรงเรียนสอนฟัง  มีแต่โรงเรียนสอนพูด  ครูยังสงบไม่ได้แต่ครูต้องการมากคืออยากให้เด็กนิ่ง ซึ่งผิดกับธรรมชาติของเด็ก

เวลาที่พี่คิมสอนเด็กเกเร  ทำไม่พูดกันง่ายมากค่ะ แบตจะหมดค่ะ ส่งก่อน

เด็กๆๆต้องได้ปฏิบัติจริงและมีต้นแบบที่ปฏิบัติธรรมมะจริงๆๆถึงได้ผลครับ มาให้กำลังใจครับ สบายดีไหมครับ

Pอาจารย์ครับ

    ขอบคุณมากครับที่เข้ามาเสริมเติมเต็มและเข้ามาเยี่ยม 

                     สบายดีครับอาจารย์

Pพี่คิมครับ

    ความคิดของพี่คิม  เป็นความจริงที่เป็นประโยชน์มากครับ

   อาจารย์ท่านหนึ่ง (บันทึกถัดมาจากพี่คิมแหละครับ)  ผมพาไปดูค่ายธรรมะของจริง พบ  คุณครูสั่งเด็กว่าให้ทุกคนเงียบ  มัวแต่คุยกัน  ทำไมไม่ฟังครู   อาจารย์ท่านดังกล่าวบอกว่า  ที่เด็กไม่ฟังครู   เพราะครูไม่ฟังเด็ก

   ครับ  มีแต่โรงเรียนสอนพูด  ไม่มีโรงเรียนสอนฟัง   คุณครูก็มักจะให้เด็กฟังครู  โดยครูถนัดพูด   แตคุณครูไม่เคยฟังเด็ก   ไม่เคยฟังความรู้สึกของเด็ก

    ค่ายธรรมะ  เป็นอะไรที่ต้องพัฒนาอีกหลายๆอย่างครับ   ก่อนจะพัฒนาเด็ก  คงจะต้องพัฒนาครูก่อนนะครับ   เด็กเป็นอย่างไร ก็มาจากครูแหละครับ

                         ขอบคุณมากครับ

ธรรมสวัสดีครับท่านอาจารย์

อยากร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ก็ทำงานด้านนี้อยู่ด้วย

คิดว่าคงถึงเวลาที่เราต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้

และกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างจริงๆจังๆสักที

แม้แต่พระสงฆ์เอง ก็ต้องแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ไปประยุกต์ในการสอน อย่างอาจารย์ว่า

อาตมาได้ข้อคิดจากการสอนนักเรียน มีอยู่วันหนึ่ง เด็กบอกว่า ผมเรียนอริยสัจ 4 และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

มาตั้งแต่ประถมจนถึงมัธยม เด็กบอกว่า เขาเรียนซ้ำอย่างนี้ทุกปี

ก็ใช่ของเด็ก อยากจะยกตัวอย่างการอธิบายวันวิสาขบูชา เด็กจะรู้ว่า

1. วันประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน

2. ตอนเย็นไปเวียนเทียน ฯลฯ

แต่ส่วนใหญ่เราไม่เคยถอดรหัสวันวิสาขบูชาให้เด็กได้เรียนรู้ชีวิตว่า

วันวิสาขบูชา เป็นกระบวนการพัฒนาชีวิตอย่างมีคุณค่า

กล่าวคือ สิทธัตถะกุมาร ประสูติแล้วเดินได้ 7 ก้าว แล้วชี้นิ้วขึ้นบนฟ้า กล่าวอภิสวาจา ว่า

"อัคโคหะมัสมิ โลกัสสะ เชฏโฐหะมัสมิ โลกัสสะ เสฏโฐหะมัสมิ โลกัสสะ อะยะมันติมา เม ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ

ในโลกนี้ เราเป็นผู้ยอดที่สุด เป็นผู้เจริญที่สุด เป็นผู้ประเสริฐที่สุด การเกิดของเรานี้ เป็นครั้งสุดท้าย ภพใหม่ต่อไปไม่มี"

นั่นหมายถึง พระองค์ได้ตั้งปณืธานใจ หรืออุปมาว่าเป็นความฝันของเด็กชายคนหนึ่งที่ชื่อสิทธัตถะ จะเป็นพระพุทธเจ้าตั้งแต่เกิด

จะเกิดขึ้นมาเพื่อทำความดี จึงเป็นข้อคิดว่า นักเรียนได้มีปณิธานใจหรือยังตั้งแต่เกิดมา มีความฝันว่าจะเป็นอะไร

นี้เป็นส่วนหนึ่งที่อยากสะท้อนถึงการ "วิเคราะห์" หรือ "ถอดรหัส" ในการสอนธรรมะในปัจจุบัน

ที่จะทำให้นักเรียน หรือ ผู้ใหญ่ ได้เข้าถึงธรรมได้ง่ายขึ้นหรือไม่

แลกเปลี่ยนเรียนรู้มาเยอะ ต้องขออภัย

ธรรมะสวัสดี

  • สวัสดีค่ะ ท่านรอง ฯ
  • เห็นด้วยค่ะ  นำพระมาเทศน์สอนเป็นเรื่องฉาบฉวย..ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป
  • ต้นแบบคือพ่อแม่ ผู้ปกครอง  และครูสำคัญที่สุด 
     "ต้องทำให้ดู  อยู่ให้เห็น  เน้นรูปธรรม"  จึงจะเข้าถึง เข้าใจและเกิดศรัทธา
    เลียนแบบตามนะคะ
  • ขอบพระคุณค่ะ

Pนมัสการท่านบัณฑิตเมธี

*   พระองค์ได้ตั้งปณิธานใจ หรืออุปมาว่าเป็นความฝันของเด็กชายคนหนึ่งที่ชื่อสิทธัตถะ จะเป็นพระพุทธเจ้าตั้งแต่เกิด    จะเกิดขึ้นมาเพื่อทำความดี จึงเป็นข้อคิดว่า นักเรียนได้มีปณิธานใจหรือยังตั้งแต่เกิดมา มีความฝันว่าจะเป็นอะไร

*  นี้เป็นส่วนหนึ่งที่อยากสะท้อนถึงการ "วิเคราะห์" หรือ "ถอดรหัส" ในการสอนธรรมะในปัจจุบัน

 

       เป็นการถอดรหัสจากพุทธประวัติที่สุดยอดเลยครับ   ผมว่าถ้าเทศน์แบบนี้   เด็กจะเรียนรู้ได้ดีมากๆเลยครับ

     จะทำให้นักเรียน หรือ ผู้ใหญ่ ได้เข้าถึงธรรมได้ง่ายขึ้น

               ผมว่าการเทศน์แบบนี้   น่าจะมีมากๆครับ   ผมเชียร์เต็มที่   ทั้วเด็กทั้งผู้ใหญ่   ได้เรียนรู้ธรรมด้วยศรัทธาและปัญญา

                      ขอบคุณท่านมากครับ  ที่เสริมเติมเต็มด้วยความรู้ทางธรรมที่มีคุณค่า

 

     

Pคุณธรรมทิพย์ครับ

*   นำพระมาเทศน์สอนเป็นเรื่องฉาบฉวย..ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป

      (ครับ พระเทศน์ส่วนใหญ่ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป  เพราะไม่สัมพันธฺกับชีวิตจริง)

*   ต้นแบบคือพ่อแม่ ผู้ปกครอง  และครูสำคัญที่สุด

        (เป็นต้นแบบที่สำคัญครับ)

  "ต้องทำให้ดู  อยู่ให้เห็น  เน้นรูปธรรม"  จึงจะเข้าถึง เข้าใจและเกิดศรัทธา
เลียนแบบตามนะคะ

        (แบบดีกว่าบอก มากมายหลายเท่าครับ)

                    ขอบคุณมากครับ

  

ที่ท่านรองฯว่ามา...เห็นด้วยทุกประการ..อบรมให้เด็กไปแล้วแต่ครูไม่ทำเป็นแบบอย่าง..ก็ไร้ผลค่ะ...

Pคุณอ้อยเล็กครับ

   แบบดีกว่าบอกครับ

            ขอบคุณครับ

ได้อ่านแล้ว กด like ครับ

แบบนี้ได้ลองใช้แล้วครับ รับรองเห้นผล ใช้ได้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ confirm ครับ

แต่ผู้สอนต้องเข้าใจเทคนิคนี้ ทดลองทำจริงๆ ทั้งปฏิบัติ คำพูดที่อธิบายถ่ายทอด และที่สำคัญคือด้วยความจริงจากใจ

 

     ท่าน นพ.ประวิทย์ ครับ

 
ขอบคุณมากครับที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
สอนธรรมะ ต้องนำประสบการณ์จริง มาถ่ายทอด ด้วยความจริงใจ นะครับ
อย่างน้อย สอนเรื่องใด ตัวเองก็ต้องมีประสบการณ์ในเรื่องนั้น ทั้งด้านบวกและด้านลบ เพื่อให้เป็นตัวอย่างรูปธรรม ให้เด็กได้รับรู้ เลียนแบบ และ นำไปใช้
 
ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท