ประกาย~natachoei ที่~natadee
นาง ประกาย ประกาย~natachoei ที่~natadee พิทักษ์

แจ้งข่าว เตือนภัย สุขภาพ


แจ้งข่าวเตือนภัยสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยที่ไม่ได้คาดคิด เช่นขยะในบ้าน โรคมือเท้าปากในเด็กเล็ก ไข้หวัดใหญ่ จะหวนกลับมาอีกรอบ สัญญาณอันตรายที่มากับฤดูฝน

       ในช่วงนี้อากาศกำลังเปลี่ยนไปหน้าฝน และเป็นช่วงเปิดเทอม อยากให้ผู้ปกครองระวังบุตรหลานอาจป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก โดยเฉพาะเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 4 ขวบ 

        โรคมือเท้าปาก (Hand foot mouth disease) จะพบมากในช่วงนี้ กลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษได้แก่ เด็กอนุบาล เด็กเล็ก เนื่องจากยังไม่มีภูมิต้านทานโรค

          จากการเฝ้าระวังสถานการณ์โรครอบ 4 เดือนแรกในปี 2553 ตั้งแต่เดือน ม.ค.-เม.ย.ทั่วประเทศพบผู้ป่วยแล้ว 6,083 คน เกือบร้อยละ 90 เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 4 ขวบ ไม่มีผู้เสียชีวิต โดยในภาคกลางและภาคใต้ พบผู้ป่วยมากที่สุดในกลุ่มอายุ 1 ปี และ 3 ปี ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบมากในเด็กอายุ 2 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2552 ที่มีผู้ป่วยทั้งปีรวม 6,823 คน เสียชีวิต 3 คน ชี้ให้เห็นว่า สถานการณ์โรคมือเท้าปากในปีนี้มีสัญญาณอาจระบาดได้

       “โรคมือเท้า ปากยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่ป้องกันได้โดยการรักษาสุขอนามัย ความสะอาดสถานที่ เครื่องใช้ต่างๆ ผู้ปกครองควรสอนลูกหลานและผู้ดูแลเด็ก ให้ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ ก่อนรับประทานอาหาร ภายหลังขับถ่ายและหลังเปลี่ยนผ้าอ้อม ตัดเล็บให้สั้นเพื่อไม่ให้เชื้อโรคสะสมในเล็บ    หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ขวดนม แก้วน้ำ หลอดดูด ผ้าเช็ดหน้าและผ้าเช็ดมือ ปฏิบัติทั้งเด็กปกติและเด็กป่วยให้ติดเป็นนิสัย

เตือนภัย “ขยะอันตรายตามบ้าน” เสี่ยงมะเร็ง-ไตพัง

ข้อมูลรายละเอียดจากข่าวกระทรวงสาธารณสุข

http://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=32208

 

 
       สธ.เตือน ประชาชนและซาเล๊ง ระวังภัยขยะอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน ซากเครื่องใช้ไฟฟ้า ถ่านไฟฉาย หลอดไฟ ภาชนะบรรจุสารเคมีกำจัดแมลง น้ำยาทำความสะอาดบ้านเรือนเสี่ยงมะเร็ง กระดูกผุ ปอดพัง ไตวาย ทำอันตรายต่อเม็ดเลือดแดง ทำลายสมองเด็ก แนะหน่วยงานเก็บขยะ จัดถังหรือถุงสีส้ม เป็นสีสัญลักษณ์ของขยะอันตราย และมีรถเก็บโดยเฉพาะ เพื่อลดการแพร่กระจายของสารพิษ

        ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ในวันที่ 5 มิถุนายน 2553 เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก กระทรวงสาธารณสุข มีความห่วงใยเรื่องขยะ โดยเฉพาะขยะอันตรายที่เกิดจากครัวเรือน ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัว ที่ใช้กันมากเช่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารเคมีทำความสะอาด ถ่านไฟฉาย หลอดไฟ ซากเครื่องใช้ไฟฟ้า ขยะอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ขยะเหล่านี้มีสารเคมีตกค้าง เป็นอันตรายทั้งต่อสุขภาพคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมทั้งดิน น้ำ อากาศ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
       
       ดร.พรรณสิริกล่าวว่า ในปี 2546 พบขยะอันตรายจากชุมชนปีละประมาณ 4 แสนตัน กว่าครึ่งเกิดใน กทม.ปริมณฑลและภาคกลาง ขยะเหล่านี้ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธีน้อยมาก กระทรวงสาธารณสุขไม่แนะนำให้ประชาชนกำจัดขยะอันตรายด้วยตนเอง แต่แนะนำให้แยกขยะอันตรายออกจากขยะทั่วไป โดยหน่วยงานที่มีหน้าที่กำจัดขยะ ควรจะจัดถังหรือถุงขยะสีส้ม ซึ่งเป็นสีสัญลักษณ์ของขยะอันตราย และรณรงค์ให้ประชาชนแยกใส่ขยะอันตรายออกจากขยะมูลฝอยทั่วไป ซึ่งจะเป็นการลดการแพร่กระจายของสารพิษสู่สิ่งแวดล้อมและประชาชน เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยยังมีการตื่นตัวกับขยะอันตรายน้อยมาก
       
       ด้าน นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขยะอันตรายหมายถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้แล้วแต่ยังมีสารเคมีอันตรายหลงเหลือ อยู่ เช่น กระป๋องสเปรย์ ภาชนะบรรจุสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารเคมีทำสะอาด สารเคลือบเงาต่างๆ ซากถ่านไฟฉาย หลอดไฟ ซากเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยซากขยะเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จะมีสารโบรมีน ทำให้เกิดโรคมะเร็ง ถ่านไฟฉายมีสารแคดเมียม เป็นอันตรายต่อโครงสร้างของกระดูก ปอด ไต อาจเกิดไตวายได้ หลอดไฟฟ้ามีสารปรอท เป็นอันตรายต่อระบบประสาท แบตเตอรี่มีสารตะกั่วทำลายเม็ดเลือดแดง ทำให้พัฒนาการสมองในเด็กช้าลง สติปัญญาด้อยลง
       
       
“กลุ่มที่ เสี่ยงสัมผัสขยะอันตรายได้แก่ กลุ่มที่มีอาชีพเก็บหรือรับซื้อของเก่า หรือที่เรียกว่าซาเล้ง มักนำภาชนะบรรจุสารเคมีไปล้าง แล้วเทสารเคมีที่ยังเหลืออยู่ลงดินหรือลงน้ำ ทำให้ดินและน้ำปนเปื้อนสารพิษ ขอให้งดการกระทำดังกล่าว ให้นำไปทิ้งในที่ที่เทศบาลหรืออบต.จัดไว้ให้ และไม่ควรรับซื้อภาชนะดังกล่าว ขณะคัดแยกขยะควรใส่ถุงมือยางและใส่หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกสารพิษ เพราะสารพิษบางตัวซึมผ่าน
ผิวหนังได้”

       
       นายแพทย์มานิตกล่าวต่อว่า ในการป้องกันขยะอันตรายสำหรับประชาชนทั่วไป ก่อนทิ้งให้แยกขยะอันตรายออกจากขยะทั่วไป ควรเลือกใช้สารจากธรรมชาติแทนสารเคมี เช่นน้ำหมักจุลินทรีย์ ใช้สมุนไพรป้องกันแมลง และช่วยเป็นหูเป็นตาเฝ้าระวังขยะอันตรายในชุมชน เช่นหากมีการนำขยะอันตรายมาทิ้งในชุมชน ให้รีบแจ้งหน่วยงานท้องถิ่นหรือเกี่ยวข้องให้ทราบเพื่อดำเนินการทางกฎหมาย ต่อไป โดยกระทรวงสาธารณสุขจะทำการศึกษาผลกระทบทางสุขภาพและแนวทางการจัดการขยะ อันตรายจากชุมชนในเร็วๆ นี้ เพื่อกำหนดมาตรการแก้ไขป้องกันอันตรายจากขยะเหล่านี้ต่อไป

ขอบคุณข้อมูลข่าวจากงานระบาดวิทยา สสจ ขอนแก่น

Epidemiology Section,
Khon Kaen Provincial Health Office,
A. Muang, Khon Kaen province,
THAILAND
40000

หมายเลขบันทึก: 363712เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2010 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 23:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะคุณประกาย

แวะมาทักทายหลังอาหารเที่ยงค่ะ ขอเรียนรู้ด้วยคนนะคะ

สวัสดี่ค่ะพี่ไก่

สบายดีนะคะพี่ ขอบคุณข้อมูลเตือนสุขภาพ ช่วงนี้ค่ะ เนื้อหาเข้ากับวันสิ่งแวดล้อมด้วยนะคะเนี่ย กำลังเตรียมข้อมูลช่วงทิ้งท้ายโครงการ มีเรื่องสุขภาพเด็กอายุต่ำกว่า ๕ ขวบด้วยเช่นกันค่ะ ;) มี่ความสุขกับการงาน อิ่มอร่อยเที่ยงวันค่ะ

Pสวัสดีคะน้องคุณยาย

ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้คะ เรามาสร้าครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกัน ควบคุมโรค นะคะ

Pสวัสดีคะน้องpoo

ดีใจนะคะ ที่เนื้อหาเป็นประโยชน์ และนำไปใช้ต่อได้ดี

สวัสดีค่ะพี่ไก่

สบายดีนะค่ะ

แวะมารับความรู้ดีๆค่ะ เรื่องใกล้ตัวด้วย

ขอบคุณค่ะ

ไม่ได้แวะมาหลายวัน สวัสดีคะน้องถาวร Pเพื่อนนาง Pพอดีงานมากไปหน่อย   ไก่ทำงานค้างไว้ ถึงเวลาที่จะต้องนำมาใช้เลยหัวปั่น หาปลาใส่บุญ อีกแล้ว บทเรียนที่ไม่เคยจำ

ดีคับ ขอบคุณมากนะคับที่แนะนำมา

เป็นประโยชน์ มากเพราะ นัด ก็มีน้อง ๆ นะ คับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท