การดำเนินงานโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาปลอดบุหรี่100%


โรงพยาบาลปลอดบุหรี่ การให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่

การดำเนินงานโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาปลอดบุหรี่100%

สมคิด   ตรีราภี*  พย.ม. (การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช)

คณะกรรมการโรงพยาบาลปลอดบุหรี่

บทคัดย่อ                    

    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนา(Research and Development) มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเพื่อโรงพยาบาลปลอดบุหรี่ 100% 2) เพื่อเปรียบเทียบจำนวนครั้งของการสูบบุหรี่ในโรงพยาบาลก่อนและหลังดำเนินโครงการ 3) เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรของโรงพยาบาลที่ติดบุหรี่สามารถเลิกบุหรี่ได้ กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรของโรงพยาบาลพรนครศรีอยุธยาที่สูบบุหรี่และผู้รับบริการ (ผู้ป่วยและญาติ) ที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา กิจกรรมที่ดำเนินงานโรงพยาบาลปลอดบุหรี่ ประกอบด้วย 1) การจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการไม่สูบบุหรี่ในโรงพยาบาล 2) จัดนิทรรศการให้ความรู้เรื่องโรคและพิษของบุหรี่ 3) การเพิ่มพูนความรู้และทักษะการให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่กับพยาบาลให้คำปรึกษาประจำหน่วยงาน 4) การประกาศนโยบายโรงพยาบาลปลอดบุหรี่กับบุคลากรที่สูบบุหรี่ 5) สำรวจและช่วยเหลือบุคลากรที่สูบบุหรี่ให้เลิกบุหรี่ เก็บข้อมูลโดยการเดินสำรวจทั้งโรงพยาบาลและนับจำนวนครั้งของการสูบบุหรี่ในโรงพยาบาลวันละ3 ครั้ง จำนวน 22 วันทำการราชการ เดือนกันยายน 2551 ก่อนเริ่มโครงการ และ หลังเสร็จโครงการ เดือนกันยายน 2552 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิต ร้อยละ

ผลการศึกษาพบว่า

  1. บุคลากรสูบบุหรี่ทั้งหมด 79 คน เข้าร่วมโครงการ 40 คน เลิกบุหรี่ ได้ 2 คน
  2. จำนวนการสูบบุหรี่ทั้งหมดก่อนเริ่มโครงการจำนวน 499 ครั้ง ผู้สูบเป็น คนงาน 88 ครั้ง พนังงานเปล 47 ครั้ง เจ้าหน้าที่อื่นๆ 7 ครั้ง ผู้ป่วยและญาติ 357 ครั้ง หลังการดำเนินโครงการโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาปลอดบุหรี่100 % พบการสูบบุหรี่ทั้งหมด 258 ครั้ง ผู้สูบเป็น คนงาน 16 ครั้ง พนักงานเปล 2 ครั้ง เจ้าหน้าที่อื่นๆ 2 ครั้ง ผู้ป่วยและญาติ 238 ครั้ง
  3. การดำเนินงานโรงพยาบาลปลอดบุหรี่ พบว่า ผู้เข้าร่วมประชุม มีคะแนนความพึงพอใจภาพรวมร้อยละ84.11 และ คะแนนเฉลี่ยความสามารถของพยาบาลให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่ หลังการประชุมมากกว่าก่อนการประชุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)

จากผลการศึกษาการดำเนินโครงการโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาปลอดบุหรี่ 100% สามารถลดจำนวนครั้งของการสูบบุหรี่ในโรงพยาบาลลงได้ จาก 499 ครั้ง เหลือ 258 ครั้ง คิดเป็นจำนวนครั้งของการสูบบุหรี่ลดลง ร้อยละ 51.7 และบุคลากรสามารถเลิกบุหรี่ได้ 2 คน การดำเนินการโครงการโรงพยาบาลปลอดบุหรี่บุคลากรมีความพึงพอใจและพยาบาลมีความสามารถเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่เพิ่มมากขึ้น จึงควรมีการดำเนินงานโรงพยาบาลปลอดบุหรี่อย่างต่อเนื่อง

*  พยาบาลวิชาชีพระดับชำนาญการ  แผนกผู้ป่วยนอก  โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ  :  โรงพยาบาลปลอดบุหรี่ การให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่ 

หมายเลขบันทึก: 365205เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2010 11:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 18:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท