การค้ำประกันเงินกู้ บทพิสูจน์ความจริงใจของเพื่อนกับความสุขของครอบครัว ?



       
            คนทุกคนย่อมมีเพื่อนฝูง เมื่อเพื่อนเดือดร้อน เพื่อนก็มักจะช่วยเพื่อน เพื่อให้พ้นจากความเดือดร้อนนั้น ตั้งแต่สมัยที่เรียนหนังสือมาด้วยกัน จนถึงวัยทำงาน คบหากันมาหลายปีจนรู้ใจและไว้ใจเพื่อนทุกอย่าง

            เพื่อนแต่ละคนมีอาชีพที่ต่างกันไป บางคนทำธุรกิจส่วนตัวจนร่ำรวย บางคนอาศัยความช่วยเหลือจากเพื่อนเรื่องการกู้ยืมเงินมาลงทุน โดยมีเพื่อนเป็นผู้ค้ำประกันให้

            เคยมีคนมาขอให้เป็นผู้ค้ำประกัน แต่หลายคนมักตอบปฏิเสธไป ถ้าเกิดเป็นเพื่อนรัก ขอให้เป็นผู้ค้ำประกัน หลายคน..ตกลงด้วยความเต็มใจ

            เพื่อนหลายคนเมื่อกู้เงินได้ ขยันทำงานและอาศัยโชคช่วย สามารถทำธุรกิจมีกำไรจนสามารถใช้หนี้ได้หมด แต่มีหลายกรณีที่ผู้ค้ำประกันต้องเดือดร้อน เพราะเพื่อนหนีหนี้ไปก่อน โชคไม่ช่วย ..กิจการไม่ดี

            มีเพื่อนคนหนึ่ง จะเป็นผู้ค้ำประกันให้เพื่อนที่จะซื้อรถมาใช้ทำมาหากิน แต่เมียของเพื่อนไม่เห็นด้วย ถ้าเขาหนีหนี้แล้ว  ผู้ที่ค้ำประกันก็ต้องใช้หนี้แทน แต่เพื่อนคนนั้นบอกว่า เพื่อนกัน คงไม่ทำอย่างนั้นแน่ๆ รู้จักกันมาตั้ง 15 ปี เพื่อนไม่หักหลังหรอก เมียพยายามเตือนแล้วเตือนอีก เพราะหนี้สินของครอบครัวก็ยังมีอยู่ ไม่ควรไปค้ำประกันให้ใคร ผู้เป็นสามีบอกว่า นี่เป็นบทพิสูจน์ความจริงใจระหว่างเพื่อน  ตั้งแต่หลายปีมาแล้ว ทั้งเขาและเพื่อน ก็คอยช่วยเหลือกันมาตลอด

            แล้วเขาก็เป็นผู้ค้ำประกันให้เพื่อน...

            ผ่านไป 1 ปีครึ่ง เจ้าหนี้ติดต่อมา ขอให้เขาใช้หนี้แทนเพื่อน เพราะเพื่อนรักของเขาหนีหนี้ไปแล้ว ธุรกิจส่วนตัวขาดทุนหนักมากๆ จนไม่รู้จะแก้ไขยังไง ..หนีดีกว่า

            เขาในฐานะผู้ค้ำประกัน ต้องใช้หนี้แทนเพื่อน ทรัพย์สมบัติหลายอย่างถูกยึดไปเพื่อนใช้หนี้ จากครอบครัวที่อบอุ่น อยู่กันสุขสบาย สถานการณ์เปลี่ยนไปทันที
            เพื่อนผู้ค้ำประกันได้แต่เสียใจ ที่เชื่อใจเพื่อนมากกว่าฟังคำเตือนของภรรยา

            ความจริงแล้วเพื่อนที่ต้องการกู้เงินคงไม่อยากทำแบบนี้ แต่เมื่อธุรกิจไม่ไหวแล้ว หนี้สินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนต้องหนีไป

            เมื่อต้องใช้หนี้แทนเพื่อน เขาซึ่งเป็นคนค้ำประกันเลยได้ข้อเตือนสติ ส่งมาให้ช่วยเผยแพร่

            1. ถ้าจะเป็นผู้ค้ำประกันใคร ให้คิดเผื่อไว้ทั้ง 2 ด้าน ด้านบวกและด้านลบ ควรคิดเผื่อไว้ด้วยว่า หากไม่เป็นอย่างที่หวัง และต้องใช้หนี้แทนเพื่อน ให้ดูก่อนว่า ทรัพย์สิน รายได้ รายรับ เงินสำรองที่มีอยู่ สามารถใช้หนี้สินได้แค่ไหน ถ้าต้องใช้หนี จะทำให้คนในครอบครัวเดือดร้อนมากแค่ไหน (คิดเผื่อไว้)
            2. ถึงไว้ใจเพื่อน แต่ก็ต้องคอยติดตาม ตรวจสอบ การทำงาน การลงทุน การใช้เงินของเพื่อน ซึ่งหลายอย่างมีความไม่แน่นอน เช่น การทำธุรกิจต่างๆ มีทั้งกระแสขาขึ้น - ขาลง เศรษฐกิจดี - ไม่ดี ติดตาม ตรวจสอบ หาข้อมูลดูว่า เพื่อนของเราเชื่อใจได้จริงไหม ธุรกิจที่ทำมีแนวโน้มเป็นอย่างไร เพื่อสังเกตดูสัญญาณบางอย่าง จะได้รู้ทันสถานการณ์แต่เนิ่นๆ หากเห็นว่า ธุรกิจที่เพื่อนทำอยู่ ดูท่าจะมีปัญหา จะได้เตรียมตัว เตรียมใจ หาทางช่วยเหลือแก้ไข  ถ้าเกิดมีการหนีหนี้ ผู้ค้ำประกันจะได้จ่ายหนี้น้อยลง
            3.เรื่องเงิน-ทอง การตัดสินใจต่างๆ ควรคิดให้รอบคอบ หลายแง่มุม ไม่ใช่คิดถึงแต่ฝ่ายเพื่อนที่ต้องการกู้เงินฝ่ายเดียว คนในครอบครัว  เมีย ลูก ก็มีความสำคัญเช่นกัน คนในครอบครัวไม่ควรจะต้องเดือดร้อน หรือ ความอบอุ่น ความสงบสุขภายในบ้านที่เคยมีต้องหายไป เพียงเพราะคุณสงสารเพื่อน อยากช่วยเพื่อนเท่านั้น




หมายเลขบันทึก: 365734เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2010 11:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 23:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท