ระบอบการเมืองและสังคมไทย


การเมือง
  1.   ปรัชญาการเมือง

1)     ความหมายของการเมือง

- เป็นอำนาจสูงสุดของแผ่นดิน การจัดการอำนาจเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน  คือ “ความดีงาม”, มีคุณธรรม จริยธรรม

- นักการเมืองที่ดีย่อมนำการเมืองไปสู่ความดีงาม แก้ปัญหาให้แก่ประชาชน สร้างความอยู่ดีกินดี เป็นผู้ออกกฏหมาย ผ่านสภาให้ประชาชนใช้ ทำผิดก็ลงโทษ ประเทศที่ด้อยพัฒนาคนจนมีมาก คนรวยมีน้อย ระบบคอมมิวฯ จะเท่ากัน ส่วนประเทศ ที่พัฒนาแล้ว คนจน/คนรวย น้อย คนชั้นกลางมีมากที่สุด ทำให้สามารถออกกฏหมายที่เป็นจริงได้ ซึ่งดูได้จากเศรษฐศาสตร์ รายได้/คน/ปี (ชนชั้นกลาง)

2)      การเมืองกับวิถีประชา

  - อำนาจทางการเมืองเป็นอำนาจสูงสุดและมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของประชาชน  ประชาชนจะมีชีวิตมั่งคั่งสมบูรณ์ ยากจน ล้าหลัง ขึ้นอยู่กับระบอบการเมือง ระบบการเมืองที่ดีได้ผู้นำที่ดี ใช้อำนาจในการแก้ปัญหาให้ ปชช.อยู่ดีกินดี ระบอบการเมืองไม่ดี  มีคนจนมาก  การศึกษาต่ำ ทางเลือกโอกาสมีน้อย โรงเรียนไม่มีคุณภาพ เพราะมีงบน้อย สส.ของบน้อย ถ้าไม่พัฒนาความรู้ทางเลือกก็มีน้อย ดังนั้นการเมือง จึงมีความสำคัญสูงสุดต่อวิถีชีวิตของประชาชนโดยส่วนรวม

Elected Dictator – เผด็จการจากการเลือกตั้ง มีอำนาจเบ็ดเสร็จ ไม่มีการตรวจสอบ การกระจายรายได้ไม่ดีทำให้รายได้เฉลี่ยสะท้อนภาพที่ไม่จริง(รวยกระจุก จนกระจาย)        

โสเครติส  (Socrates, 469-399  B.C) มีแนวคิดมาประมาณ 2500 ปี มนุษย์เกิดมาต้องการอะไรแนวความคิดที่สำคัญของโสเครติส  มีดังนี้

1)   เป้าหมายแห่งชีวิตมนุษย์ คือ ความสุข และจะยั่งยืนเมื่อได้มาซึ่งความถูกต้อง

2)    ความรู้เกี่ยวกับความดี ความสุขต้องได้มาซึ่งความถูกต้องและความดี

3)    ประเทศที่พัฒนา ปชช.มีความรู้ ปราชญ์เป็นผู้มีความรู้จำแนกได้ว่าดี/ไม่ดี จึงเป็นผู้มีคุณธรรม ผู้ปกครองต้องเป็นปราชญ์เป็นผู้มีความรู้จำแนกได้ว่าดี/ไม่ดี จึงเป็นผู้มีคุณธรรมเป็นแบบอย่างและส่งเสริมให้ ปชช.ยึดมั่นคุณธรรมทางการเมือง  (Political  Virtue)  ที่สำคัญได้แก่

- ปัญญา Wisdom ความรู้เกี่ยวกับความดี  รู้ว่าอะไรดี/ไม่ดี

- ความกล้าหาญ Courage กล้าในสิ่งดีงาม/ถูกต้องของสังคม ถ้าไม่มีคนกล้าก็จะถูกปกครองโดยอธรรม

 - การควบคุมตนเอง  (temperance)ไม่อยู่ในความโลภ โกรธ หลง คนมีความแตกต่างที่การควบคุมตนเอง

- ความยุติธรรม  (justice)การกระทำที่เคารพสิทธิของผู้อื่น

- การกระทำความดี  (piety)  และยกย่องคนดี รู้ว่าอะไรดี/ชั่ว ผู้ปกครองที่ดีต้องมีคุณธรรม

 เพลโต  (Plato, 427-347 B.C.) ยึดมั่นในคุณธรรมมาก แนวความคิดที่สำคัญของเพลโต  มีดังนี้

1)   อุตมรัฐ  (The  Republic) เป็นหนังสือที่อมตะประกอบด้วยแนวความคิดที่สำคัญ  ดังนี้

- อำนาจและความยุติธรรม หรือคุณธรรมเป็นสิ่งที่มีค่า   ผู้ปกครองต้องสร้างความสมานฉันท์

- การศึกษาเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสำหรับสังคมอบรมคนให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้ในการดำรงชีพ

- ราชาปราชญ์   ควรเป็นผู้ทรงคุณธรรม เป็นผู้เสียสละ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนไม่ควรมีทรัพย์สิน(โลภ)และครอบครัว (โซ่ตรวน)มีลูกรับเลี้ยงให้ ผู้ปกครองเป็นปราชญ์ที่ทรงคุณธรรมจึงปกครองโดยปัญญาไม่ต้องมีกฏหมาย ให้ตัดสินได้เลย

2)  นิติรัฐ  (Laws)  รัฐแห่งกฎหมายเนื่องจากอุตมรัฐเกิดยากจึงเขียนหนังสือใหม่

                     - กำหนดให้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายปกครองสูงสุด

                     - กำหนดโครงสร้างอำนาจทางการเมือง

                     -  สภาราษฎรทำหน้าที่นิติบัญญัติ

                     -  สภามนตรีทำหน้าที่บริหาร

                     -  ตุลาการทำหน้าที่พิพากษาอรรถคดี

                     - การบังคับใช้กฎหมายเปลี่ยนจิตใจคนให้เป็นคนดี ไม่เน้นบทลงโทษ

 อริสโตเติล  (Aristotle, 384-322 B.C.)  เน้นคุณธรรม จริยธรรม แนวความคิดที่สำคัญของอริสโตเติล  มีดังนี้

- มนุษย์เป็นสัตว์การเมืองที่อยู่ร่วมกันในชุมชน เป็นรัฐ  รัฐที่ดีต้องส่งเสริมแสดงถึงชีวิตที่ดีทั้งกายและใจของประชาชน

- คุณธรรมทางปัญญาเกิดจากกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับความดีและเพื่อเป้าหมายแห่งความสุขในชีวิต

- คุณธรรมทางศีลธรรมเกิดจากกระบวนการอบรมนิสัยในบุคคลยึดมั่นในการประพฤติดีข้อห้ามไม่ให้ประพฤติชั่ว

- การเมือง  (Politics)  อริสโตเติลได้เขียนผลงานที่เป็นมหาคัมภีร์ทางการเมืองเรียกว่า “Politics”  โดยศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบของรัฐ  และจำแนกออกเป็น 6 รูปแบบ  ได้แก่

จำนวนของผู้ปกครอง

                               วัตถุประสงค์ของการใช้อำนาจ

 

เพื่อส่วนตัว/ รูปแบบที่เลว

เพื่อส่วนรวม/รูปแบบที่ดี

คนเดียว

ทรราชย์( Tyranny)

ราชาธิปไตย Monarchy

กลุ่มบุคคล

คณาธิปไตย Oligachy

อภิชนาธิปไตย Aristocracy

คนจำนวนมาก

ประชาธิปไตย Democracy

โพลิตี้ Polity

 

มาเคียเวลลี  (Nicole  Machiavelli, 1469  1527) แนวความคิดที่สำคัญของมาเคียเวลลี  มีดังนี้

- มุ่งเน้นความสำเร็จในโลกความเป็นจริงและปฏิเสธโลกในอุดมคติโดยสิ้นเชิง

- มุ่งเน้นในเป้าหมายแห่งอำนาจรัฐ  (Ends)  โดยไม่คำนึงถึงกลวิธี  (Means)  ว่าจะมีคุณธรรมหรือจริยธรรมหรือไม่ วิธีการไหนก็ได้ไม่คำนึงความถูกต้อง/คุณธรรมสนใจเป้าหมายคืออำนาจ/คงอำนาจ

- ผู้ปกครองควรปฏิบัติงานเฉกเช่นสุนัขจิ้งจอกและสิงโต แบบอธรรม

-  ผู้ปกครองควรแสดงออกให้บุคคลทั่วไปเห็นว่าเป็นผู้มีเมตตาอารี  มีความซื่อสัตย์  มีน้ำใจ  เป็นคนดีมีคุณธรรม  แต่ไม่ให้ประพฤติปฏิบัติเท่านั้น  เพราะจะเป็นอันตรายต่อตนเอง  เชื่อว่า  การไร้คุณธรรมจะทำให้ผู้ปกครองดำรงอยู่อย่างมีเสรีภาพ  แต่คุณธรรมจะนำมาซึ่งหายนะของผู้ปกครอง

-   ผู้ปกครองควรใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือในการปกครอง  แต่ไม่ควรยุ่งศาสนารัฐใดที่ประชาชนเชื่อมั่นในศาสนาจะปกครองง่าย  และควรหาทางใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือบังหน้าในการกระทำอันโหดร้ายของผู้ปกครองอีกด้วย

-   การเมืองคือเรื่องของการทหาร  อำนาจทางการเมือง  จะรักษาไว้ได้หรือขยายอิทธิพลได้ก็ด้วยอำนาจของกองทัพที่แข็งแกร่ง  การปราศจากกองทัพที่แข็งแกร่ง  คือ การล่มสลายของอำนาจรัฐไม่เห็นด้วยกับทหารรับจ้าง(ไม่ใว้ใจ)

- ประชาชนคือป้อมปราการที่แข็งแกร่งที่สุดของรัฐ  ผู้ปกครองจะต้องระมัดระวังไม่กระทำการใดให้ประชาชนเกลียดชัง  ถ้าประชาชนเกลียดชัง  ผู้ปกครองก็จะล่มสลายต้องเสแสร้งแสดงว่าโอบอ้อมอารี มีคุณธรรม

-   ผู้ปกครองที่มีโชคชะตาดี(ผู้ปกครองทายาท)อาจได้อำนาจมาโดยง่าย  แต่การรักษาอำนาจจะต้องใช้ทั้งความสามารถและโชคชะตา

จอห์น   ล็อค  (John  Locke,ค.ศ.1632-1704) แนวความคิดที่สำคัญของล็อค  มีดังนี้

1)      สภาวะธรรมชาติ  (State  of  Nature)  มนุษย์ทุกคนเป็นสภาวะแห่งเสรีภาพโดยสมบูรณ์  และเป็นสภาวะแห่งความเสมอภาคอยากทำอะไรก็ได้  สภาวะธรรมชาติมีข้อบกพร่อง  3  ประการ  คือ

- ไม่มีกฎหมาย กฏระเบียบ

- ไม่มีตุลาการไม่มีการตัดสินผิด/ถูก

- ไม่มีอำนาจบริหารไม่มีบังคับใช้

2)      มนุษย์ต้องการได้รับความยุติธรรมในการใช้สิทธิทางธรรมชาติ  มีชีวิตที่ดีล็อคจึงเสนอให้ประชาชนทำสัญญาประชาคมร่วมกัน  โดยยอมสละเสรีภาพทางธรรมชาติบางประการเพื่อสร้างประชาคมการเมืองที่สามารถใช้กฎหมายคุ้มครองสิทธิ  เสรีภาพของปวงชนอย่างเสมอภาค  ประชาคมการเมืองที่ตั้งขึ้นมีลักษณะเหมือน  “ทรัสต์” (Trust)

3)      ล็อคแยกให้เห็นว่ารัฐเป็นเรื่องส่วนรวมแบ่งเป็นเขตๆเลือกผู้แทนปกครองกำหนดฝ่ายนิติบัญญัติสร้างกฏหมาย คณะมนตรี-บริหารและตุลาการ-ตัดสิน และกำหนดว่าศาสนาเป็นเรื่องส่วนบุคคล

รุสโซ  (Jean  Jacgues  Rousseau, ค.ศ.1712-1778) แนวความคิดที่สำคัญของรุสโซ  มีดังนี้

1)    มนุษย์เกิดมาพร้อมกับเสรีภาพ  (Man  is  Born  Free)  ธรรมของผู้มีอำนาจ  อำนาจย่อมไม่ก่อให้เกิดธรรม  ยกเว้นผู้ใช้อำนาจจะใช้อำนาจโดยชอบธรรมเท่านั้น

2)     การเป็นทาส  ผู้ใดยอมรับความเป็นทาสผู้นั้นเห็นว่าทาสไม่มีเสรีภาพ

3)  ให้ประชาชนทำสัญญาร่วมกัน  เรียกว่า  “สัญญาประชาคม”  เพื่อสร้างประชาคมการเมืองขึ้น

4)    ผู้ทรงอำนาจอธิปไตย  (The  Sovereign)  ประชาชนประชุมร่วมกันในฐานะผู้ทรงอำนาจอธิปไตย  เพื่อทำหน้าที่บัญญัติกฎหมาย ประชาชนจะต้องบัญญัติกฎหมายให้ตอบสนองเจตจำนงทั่วไปของประชาชนในการปฏิบัติตามกฎหมาย

5)     การเลือกผู้แทนราษฎร  รุสโซเห็นว่าการเลือกผู้แทนราษฎรคือจุดเริ่มต้นของอวสานแห่งเสรีภาพไม่เห็นด้วยการมีผู้แทน ๆขโมยอำนาจจากประชาชน

ทฤษฎีระบบ

(1)    ทฤษฎีระบบ อธิบายขยายองค์ความรู้ปรากฏการณ์ทางการเมืองโดยใช้พฤติกรรมทางสังคมแต่ไม่สามารถตอบได้ว่าสังคมการเมืองที่ดีควรเป็นอย่างไร มีฐานคติที่สำคัญ คือ

-     ระบบการเมือง  (political  system) เป็นระบบพฤติกรรมของชีวิตการเมือง

-     สิ่งแวดล้อม  (environment) ที่อยู่ล้อมรอบระบบการเมืองทั้งภายนอก/ใน

-     การสนับสนุน  (support)  ปัจจัยนำออก  (output)  ผลกระทบ  (feedback)

(2)     ปฏิสัมพันธ์เชิงพลวัตรของระบบการเมือง

-      กระบวนการปรับเปลี่ยนในระบบการเมือง

-      ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับระบบการเมือง

(3)      จุดอ่อนของทฤษฎีระบบ

-       ทฤษฎีระบบมีลักษณะเป็นนามธรรมสูง

-      โครงสร้างของทฤษฎีระบบมิได้แสดงรายละเอียดไว้อย่างชัดเจน

-       องค์ประกอบของโครงสร้างของระบบการเมืองทั้งระบบมิได้บอกแนวความคิดที่จำเป็นต้องใช้ในการวิเคราะห์รูปธรรมของระบบย่อย

-       การสร้างทฤษฎีระบบให้เป็นทฤษฎีสากล  (general  theory)  มิได้ทำการนิยามเชิงประจักษ์อย่างชัดเจน

2.  ระบอบประชาธิปไตย

2.1  ระบอบประชาธิปไตยโดยตรงของนครรัฐเอเธนส์  (Athenian  Direct  Demoeracy) ประชาชนมีบทบาทและอำนาจในการปกครอง เป็นสภาประชาชน  และมีสภาตุลาการมีหน้าที่พิจารรณาคดี สภาบริหาร ซึ่งจับสลากมาจากสภาประชาชน เน้นความเสมอภาค เคร่งครัดหลักกฏหมาย

2.2  ระบอบประชาธิปไตยโดยตัวแทน  (Representative  Democracy) ประชาชนเลือกตัวแทนให้ทำหน้าที่ตัดสินใจการปกครอง โดยการเลือกตั้งตามกฏกติกา

2.3  ปรัชญาของระบอบประชาธิปไตย

-  ธรรมชาติของมนุษย์ มีเหตุมีผล แสวงหาชีวิตที่ดีแก่ตนเอง มีมโนธรรม

- เสรีภาพของมนุษย์  (Liberty) ไม่ละเมิดสิทธิ์ซึ่งกันและกันเคารพเสรีภาพของผู้อื่น

- ความเท่าเทียมกันของมนุษย์  (Equality)เท่าเทียมกันในด้านโอกาสการศึกษา คุณภาพในการดำรงชีวิต

- อำนาจอธิปไตยของปวงชน  (Popular  Sovereignty)มีหลักประกันคือประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจมีหน้าที่ตรวจสอบ ถอดถอน ผู้ปกครองต้องมีคุณธรรม

2.4  หลักการของระบอบประชาธิปไตย ไม่จำเป็นต้องเลือกตั้งก็ได้ ที่เลือกเพราะคนมากต้องเลือกตัวแทนการเลือกต้องยุติธรรม สุจริตและทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดี

1)  หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน  (Popular  Sovereignty) ปชช.เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย เลือกตัวแทน ตรวจสอบ ถ้าไม่ดีก็ถอดถอนจะเป็นหลักประกันได้ว่าจะได้คนดีมาปกครอง หลักของ ปชต.ในประเทศที่พัฒนา ปชช.มีความรู้ในการเลือก ตรวจสอบ ถอดถอน การใช้ ปชต.มี 3 แบบ คือ

- ประเทศก้าวหน้า ปชต.มีประสิทธิภาพ

- ประเทศกำลังพัฒนา ปชต. ไม่มีประสิทธิภาพ แต่มีแรงขับเคลื่อน ชนชั้นกลางสามารถขับเคลื่อนได้

- ประเทศด้อยพัฒนา ปชต. ไม่มีประสิทธิภาพ ปชช.ไร้การศึกษา ยากจน ชนชั้นกลางมีน้อย

2)  หลักเสรีภาพ  (Liberty) เกิดแรงขับให้เจริญ

        - เสรีภาพทางการเมือง ไปเลือกตั้ง ลงประชามติ   ในทรัพย์สิน การนับถือศาสนา การเลือกถิ่นที่อยู่อาศัย การประกอบอาชีพ

3)  หลักความเสมอภาค  (Equality)มนุษย์มีความแตกต่างในเรื่องความสามารถ แต่ควรเสมอภาคในด้านโอกาส

                - ทางการเมือง มีสิทธิเท่าๆกันในการเลือกตั้ง  ทางสังคม ในการได้รับบริการจากรัฐ   ทางเศรษฐกิจ ในการ      เลือกประกอบอาชีพไม่ผูกขาด เกิดการแข่งขัน รัฐไม่ควรทำเอง

4)  หลักกฎหมาย  (Rule  of  Law )  เป็นเสาหลักของการปกครอง ปชต.

- กฎหมายต้องมีที่มาที่ชอบธรรม  การบังคับใช้กฎหมายจะต้องมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน และ ประชาชนจะต้องได้รับความคุ้มครองจากกระบวนการยุติธรรมอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน

5)  หลักเสียงข้างมาก  (Majority  Rule  and  Minority  Right)

- การปกครองโดยเสียงข้างมาก  เพื่อประโยชน์ส่วนรวม คนดีใช้

- การเคารพเสียงข้างน้อย เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น

2.5  รูปแบบทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย

1)  รูปแบบการควบอำนาจ  (Fusion  of  Power  or  Parliamentary  System)  ได้แก่ Eng., ในเครือจักรภพ รัฐบาลไม่เสถียรภาพ แต่ ปชช.มีความรู้ ตรวจสอบได้ ไทยนำมาใช้มีปัญหา (ฝ่ายบริหารทำหน้าที่ทั้งบริหารและนิติบัญญัติ)

- ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งฝ่ายนิติบัญญัติโดยตรง

- ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้จัดตั้งฝ่ายบริหาร มีอำนาจสูงสุดเหนือฝ่ายบริหาร

- ฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจในการยื่นกระทู้และการขออภิปรายไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร

-  ฝ่ายบริหารมีอำนาจในการยุบสภานิติบัญญัติ

- ประมุขของประเทศ(เป็นกษัตริย์/ปธนง ทำหน้าที่ หน.ทางการทูต ไม่มีอำนาจทางการเมืองโดยตรง) และหัวหน้าฝ่ายบริหาร(นายก)จะแยกจากกัน

ข้อดี - ค่าใช้จ่ายเลือกตั้งน้อย (เลือกฝ่ายนิติๆเสียงข้างมากไปทำหน้าที่บริหาร

        - นิติ มีอำนาจไม่ไว้วางใจบริหารๆยุบสภาได้ ประชาชนสามารถเปลี่ยนผู้นำได้ง่าย และควบคุมบริหาร ทำให้บริหารด้วยความรอบคอบเกิดผลดีแก่ประชาชน

        - บริหารมาจากผู้แทน ตอบสนองตามความต้องการของประชาชน

ข้อเสีย – เปลี่ยนรัฐบาลบ่อย

          - ฝ่ายบริหารมาจากผู้แทน อาจไม่มีฝีมือบริหาร  นายกไม่อิสระในการเลือก รมต.

          - ผู้แทนสามารถเป็น รมต.ได้ อาจนำไปสู่การซื้อเสียง แล้วแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน ขาดคุณธรรม นำไปสู่การคอรัปชั่น  โดยเฉพาะประเทศที่ด้อยพัฒนา

2)  รูปแบบแบ่งแยกอำนาจ  (Separation  Power  or  Presidential  System) ได้แก่ USA  , Philip. อยู่ครบเทอม มีการเลือกตั้ง สส.สว.ทุก 2 ปี ไม่มีการเลือตั้งซ่อม

- ประชาชนเป็นผู้เลือกฝ่ายนิติบัญญัติโดยตรง

- ประชาชนเป็นผู้เลือกฝ่ายบริหารโดยตรง

-  ฝ่ายนิติบัญญัติไม่มีอำนาจในการอภิปรายฝ่ายบริหาร

-  ฝ่ายบริหารไม่มีอำนาจยุบสภา

- หัวหน้าฝ่ายบริหาร( ปธน.) และประมุขของประเทศจะเป็นคนเดียวกันหรือแยกจากกันได้

 

 

ข้อดี รัฐบาลเสถียร

        - ฝ่ายบริหารเลือกคนมีความรู้เป็น รมต.เพราะต้องผ่านสภาสูงทำให้ต้องบริหารมีประสิทธิภาพและไม่กังวลถูกอภิปราย

        - ฝ่ายนิติบัญญัติควบคุมฝ่ายบริหาร ๆ ต้องทำงานอย่างรอบคอบ

ข้อเสีย – เลือก หน.ฝ่ายบริหารใช้เวลานาน สิ้นเปลืองมาก(รัฐจ่ายป้องกันครอบอำนาจ)

           - ทั้ง 2 ฝ่ายอิสระ อาจเกิดการขัดแย้ง

           - ฝ่ายบริหารมีอำนาจมาก อาจใช้อิทธิพลในทางที่ไม่ถูกต้อง(ประเทศด้อยพัฒนา ,กำลังพัฒนา)

3)  รูปแบบผสม  (Mixed  System  or  Powerful  Executive)ได้แก่ Fr. มี ปธน.เป็นใหญ่ เป็นประมุขด้วย มีอำนาจสูงสุดทางการบริหาร ถ้า ปธน.และพรรคเสียงข้างมากเป็นคนละพรรค ปธน.จะเลือกนายกจากพรรคเสียงข้างมาก จะCompromiseโดยตกลงต่อรองกันได้ ประเทศเกิดใหม่ใช้แบบที่ 3

(1)  ประชาชนเป็นผู้เลือกประธานาธิบดีโดยตรง

(2)  ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรี, มีอำนาจยุบสภาแห่งชาติได้ทุกกรณีเมื่อสภามีอายุครบหนึ่งปี, มีอำนาจในการนำประเด็นทางการเมืองไปให้ประชาชนลงมติ

(3)  ประชาชนเป็นผู้เลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สภาสูงได้รับการเลือกตั้งทางอ้อม  โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สภาชิกสภาจังหวัด  และสมาชิกสภาเทศบาล  สภาผู้แทนราษฎรและสภาสูง  มีอำนาจเท่ากัน  ยกเว้นอำนาจในการพิจารณางบประมาณและอำนาจในการลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลให้เป็นอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร

ทั้ง 3 แบบ ประสบความสำเร็จการนำไปใช้ต้องประยุกต์ตามความเหมาะสม

3. วัฒนธรรมทางการเมือง ความเจริญก้าวหน้า

3.1  วัฒนธรรมทางสังคม  (Social  Culture)

                คำว่า  “วัฒนธรรม” (culture)  ในทางสังคมศาสตร์  หมายถึง  แบบแผนพฤติกรรมการดำรงชีวิตของกลุ่มคน  เรียนรู้และถ่ายทอดสือต่อกันไปโดยการปลูกฝังและอบรมสั่งสอนทั้งทางตรงและทางอ้อมในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แบบแผนพฤติกรรมของกลุ่มคนดังกล่าวเป็นมาจาก“ระบบความเชื่อ” (Belief)  ค่านิยม (Value)  ทัศนคติ (Attitude)  ซึ่งถ่ายทอดกันมาด้วย กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม (Socialization  Process)  หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นผลของกระบวนการกระทำที่ผ่านมา  และเป็นเงื่อนไขสำหรับการกระทำต่อไปในอนาคตของชนกลุ่มหนึ่ง( เกิดความรู้ความเชื่อทัศนคติเกิดพฤติกรรม)

1)  กระบวนการเกิดวัฒนธรรม

-  Socialization  Process ปลูกฝัง อบรม หล่อหลอม

-  Knowledge -     เกิดความรู้

                         -     Perception รับรู้ ยอมรับ

-  Beliefs, Value, Attitudes

-  Behaviors

                         - Pattern ทำเป็นแบบแผน

-  Cultures

2)  คุณสมบัติทางวัฒนธรรม วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้ ศึกษา  เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมมากกว่าการถ่ายทอดทางสายเลือด  มีการเปลี่ยนแปลงได้  (dynamic)ต้อง Approach ให้ถูก

3)  คุณสมบัติของระบบความเชื่อ  ค่านิยม  และทัศนคติ

(1)  ระบบความเชื่อ เกี่ยวกับสิ่งที่ดำรงอยู่ว่าเป็นสิ่งที่ถูกหรือผิด ประเมินคุณค่าว่าเป็นสิ่งที่ดีหรือเลว

วิธีการ  หรือเป้าหมายของการกระทำเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาหรือไม่พึงปรารถนา

(2)  ค่านิยม  (value) มีลักษณะเป็นความเชื่ออย่างหนึ่ง  คือเป็นความเชื่อเกี่ยวกับวิถีการกระทำ  หรือเป้าหมายการกระทำ   มีลักษณะเปรียบเทียบความสำคัญ

(3)  ทัศนคติ  (attitude) ความรู้สึก เป็นความเชื่อของบุคคลที่สั่งสมมาเป็นเวลานาน  มีผลต่อการตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ด้วยลักษณะของความรู้สึกและความพอใจของบุคคล

3.2  วัฒนธรรมทางการเมือง  (Political  Culture) วัฒนธรรมของสังคมที่พูดเฉพาะการเมือง

1)  ความหมายของวัฒนธรรมทางการเมือง

(1)  Almond  :  แบบแผนความเชื่อ  ค่านิยม  ทัศนคติของบุคคลที่มีต่อระบบการเมือง

สามารถพิจารณาได้จากความโน้มเอียง  3  ลักษณะ  คือ  เกี่ยวกับการรับรู้  (Cognitive  Orientation)ความรู้ความเข้าใจ  เกี่ยวกับความรู้สึก  (Affective  Orientation) และเกี่ยวกับการประเมินค่า  (Evaluative  Orientation)เกิดพฤติกรรม

(2)  Almond  และ  verba   ได้ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทางวัฒนธรรมทางการเมือง

ของกลุ่มคนในสังคม  และพบว่ามีลักษณะแตกต่างกัน  3  ลักษณะ  คือ

-  วัฒนธรรมทางการเมืองแบบคับแคบ  (The  Parochial  Political  culture)ด้อยพัฒนา ไม่สนใจไม่เข้าใจ

-  วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า  (The  Subject  Political  Culture)มีความรู้แต่ไม่สนใจ

-   วัฒนธรรมการเมืองแบบมีส่วนร่วม  (The  Participant  Political  Culture)พัฒนา มีความรู้ สนใจ

(3)  Pye :

แบบแผนของทัศนคติ  ความเชื่อ  ความรู้สึก  ซึ่งก่อให้เกิดระเบียบและความหมายต่อ

กระบวนการทางการเมืองทั้งยังช่วงวางรากฐาน  และข้อบังคับซึ่งควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในระบบการเมือง

(4)  Manheim  :  แบบแผนของความเชื่อและทัศนคติร่วมกันของบุคคลในสังคม

เกี่ยวกับเป้าหมายทางการเมืองอย่างเดียวกันตลอดจนการเห็นพ้องต้องกันจากการได้รับประสบการณ์  ทางประวัติศาสตร์อย่างเดียวกัน มีผลต่อพฤติกรรม

2)  รูปแบบของวัฒนธรรมทางการเมือง

(1)  วัฒนธรรมทางการเมืองแบบอำนาจนิยม  (Authoritative  Political  Culture)

-        นิยมอำนาจเด็ดขาด

-        มอบความรับผิดชอบทุกอย่างไว้ที่ผู้นำ  นิยมตัวบุคคลมากกว่าเหตุผล เชื่อผู้นำคนเดียว

-        นับถือระบบอาวุโส  ระบบเจ้าขุนมูลนาย  ไม่ยอมรับความเสมอภาคของผู้อื่น

-        กิจกรรมของบ้านเมืองเป็นเรื่องของรัฐบาล  ประชาชนไม่เกี่ยว

2)  วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย  (Democratic  Political  Culture)

-      ต้องมีความเชื่อมั่นและศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย 5 หลัก

-      ต้องมีใจกว้าง  ยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่างของบุคคลอื่นรับฟังความเห็นผู้อื่น

-      มีความไว้วางใจและยอมรับในความสามารถของผู้อื่น

-      เห็นคุณค่าของการมีส่วนร่วมทางการเมือง  เป็นหน้าที่ของ  ปชช.

-      ให้ความสนใจและติดตามกิจกรรมทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง

-      การวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองด้วยความคิดสร้างสรรค์เสมอภาคเท่าเทียมกัน

3.3  วัฒนธรรมทางการเมืองของคนในสังคมไทย

-      วัฒนธรรมทางการเมืองของไทย  สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ประชาชนปฏิบัติตามที่กำหนด ถือประโยชน์ทางราชการเป็นหลัก

-     วัฒนธรรมทางการเมืองของไทยในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เปลี่ยนจากกษัตริย์มาเป็นคณะราษฏร์ ประชาชนยังไม่เป็นเจ้าของ ปชต. เปลี่ยนแต่โครงสร้าง  ปชช.มีการศึกษาน้อย วัฒนธรรมการเมืองแบบจารีตประเพณี อำนาจนิยม

-     วัฒนธรรมทางการเมืองของไทยในปัจจุบันและอนาคต มีชนชั้นกลางที่มีความรู้ ปชต.

4.  การพัฒนาทางการเมือง  มีเฉพาะ ปชต.ให้มีส่วนร่วมทางการเมือง

4.1  แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาทางการเมือง

Pye  ได้พยายามรวบรวมแนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาทางการเมืองไว้ดังต่อไปนี้

1)      การพัฒนาทางการเมือง  คือ  การทำให้ระบบการเมืองเป็นรากฐานของการพัฒนา

เศรษฐกิจ  (Political  Development  as  the  Political  Prerequisite  of  Economic  Development)ต้องก้าวหน้าเศรษฐกิจยั่งยืน

2)      การพัฒนาทางการเมือง  คือระบบบการเมืองของสังคมอุตสาหกรรม  (Political 

Development  as  the  Political  Typical  of  Industrial  Societies)ประเทศที่ปกครองแบบ ปชต.ไม่มีปฏิวัติ การเมืองก้าวหน้า อุตสาฯเจริญ

3)       การพัฒนาทางการเมือง  คือการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองให้ทันสมัย 

(Political Development  as  Political  Modernization)

1)       ความสามารถในการปรับตัวของระบบการเมือง  (Adaptability)

2)       การมีองค์กรที่ซับซ้อน  (Complexity)

3)       ความเป็นกลุ่มก้อนขององค์กร  (Coherence)เอกภาพ

4)       ความเป็นอิสระ  (Autonomy)ส่วนร่วมทางการเมือง

4)  การพัฒนาทางการเมือง  คือการสร้างเสริมรัฐชาติ  (Political   Development  as   the 

Operation  of  a  Nation-State)ขับเคลื่อนการพัฒนา

5)  การพัฒนาทางการเมือง  คือการพัฒนาระบบบริหารและกฎหมาย  (Political  Development as  Administrative  and  Legal   Development)

6)  การพัฒนาทางการเมือง  คือการระดมมวลชน  และการส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน (Political  Development  as  Mars  Mobilization   and  Participation)ส่งเสริมมีส่วนร่วมด้วยความรู้ความเข้าใจไม่ใช่จ้าง

7)  การพัฒนาทางการเมือง  คือการสร้างสรรค์ระบอบประชาธิปไตย  (Political  Development as  the  Building  of  Democracy)

8)  การพัฒนาทางการเมือง  คือการสร้างเสถียรภาพและการเปลี่ยนแปลงตามกฎกติกา  (Political Development  as  Stability  and  Orderly  Change)ถ้าเปลี่ยนบ่อยไม่เสถียร

9)  การพัฒนาทางการเมือง  คือการระดมสรรพกำลังและอำนาจ  (Political  Development  as Mobilization  and  Power)ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพการใช้กฏหมายเข้มข้น

10)  การพัฒนาทางการเมือง  คือมิติหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  (Political  Development as  One  Aspect  of  a  Multi  Dimensional  Process  of  Social  Change) การเมือง เศรษฐกิจ สังคม มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน               

4.2  องค์ประกอบของการพัฒนาทางการเมือง

1)  ความเสมอภาค  (Equality)ทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ

2)  ความสามารถของระบบการเมือง  (Capacity)ตอบสนองความต้องการของประชาชน

3)  การแบ่งโครงสร้างทางการเมืองให้มีความแตกต่างและมีความชำนาญเฉพาะ 

(Differentration  and  Specialization)ต้องการกลไกซับซ้อนมีสมรรถนะตอบสนองความต้องการของประชาชน

4)  การเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีเหตุมีผล  (Secularization  of  Political  Culture)การตัดสินใจด้วยความยุติธรรม

5)  เสริมสร้างความเป็นอิสระของระบบย่อย  (Subsystem  Antomony)บริหารมีประสิทธิภาพ

4.3  การพัฒนาสถาบันการเมือง  (Institutionalization)

     (1)  ความสามารถในการปรับตัวของสถาบันทางการเมือง  (Adaptation)

     (2)  การแบ่งโครงสร้างทางการเมืองให้มีความแตกต่างซับซ้อนมากขึ้น  (Structural  Differentiation)มีองค์กรที่ซับซ้อน Complexity

     (3)  การเสริมสร้างอำนาจการปกครองให้มีเอกภพ   (Nationalization  of  Authority)มีความเป็นกลุ่มก้อนขององค์กร Coherence

     (4)  การมีส่วมร่วมทางการเมืองของประชาชน  (Political  Participation)ความเป็นอิสระ Autonomy  

5.  การมีส่วนร่วมทางการเมือง  (Political  Participation)สำคัญมากในการพัฒนา ปฏิรูปทางการเมือง

                5.1  ลักษณะของการมีส่วนร่วมทางการเมือง

                                1)  การกำหนดตัวผู้ปกครอง เลือกตั้ง/ถอดถอน ประชาวิจารณ์

                                2)  การผลักดันการตัดสินใจของรุฐบาล ตั้งสมาคม ชมรม

                                3)  การวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล เห็นด้วย? ผ่านสื่อ

                                4)  การชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยสันติ

                5.2  ลำดับขั้นของการมีส่วนร่วมทางการเมือง

                1)  ลำดับขั้นของการเกี่ยวพันทางการเมือง

                การมีส่วนร่วมทางการเมือง  ประกอบด้วยฐานคติสำคัญ  2  ประการ  คือ

                             - ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกระทำทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่ง

                             - ความเกี่ยวพันทางการเมือง  (Political  Involvement)  จะมีลักษณะเป็นลำดับขั้น

                2)  บทบาทของปัจเจกบุคคลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง

                                (1)  บุคคลที่มีความสนใจหรือความผูกพันกับการเลือกตั้ง  จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากกว่าผู้ที่ไม่สนใจการเลือกตั้ง

                                (2)  บุคคลที่มีจิตใจเกี่ยวข้องผูกพันกับการเมืองจะมีแนวโน้มในการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองและการรณรงค์ทางการเมืองนอกเหนือจากการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

                                (3)  บุคคลที่ประกาศตัวสังกัดพรรคการเมืองอย่างชัดเจนจะมีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมอย่างสำคัญในกระบวนการทางการเมือง

                                (4)  ผู้อาวุโสมีแนวโน้มที่จะสังกัดพรรคการเมืองมากกว่าคนหนุ่มสาว

                                (5)  บุคคลที่มีความนิยมคู่แข่งขันทางการเมือง  หรือมีความสนใจต่อประเด็นการโต้เถียง  หรือการต่อสู้ทางการเมืองใดเป็นการเฉพาะ  จะมีแนวโน้มเป็นผู้ที่กระตือรือร้นทางการเ

หมายเลขบันทึก: 368450เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2010 12:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 23:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท