การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ลว 6 พ.ค. 2553


การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ลว 6 พ.ค. 2553

 

 

 

"การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ลูกจ้างประจำ

ของส่วนราชการ   ลว 6 พ.ค. 2553"

 

             บันทึกนี้เป็นหนังสือจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0508/ว (ท) 2640 ลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2553  เรื่อง  การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ  แจ้งว่า...

              จากที่มีส่วนราชการหารือเกี่ยวกับการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์  ประจำปี 2553 ให้แก่ลูกจ้างประจำตามบัญชี  15  ท้ายระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. 2536  ซึ่งสำนักงาน ก.พ. ได้เปลี่ยนแปลงการจัดระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำของส่วนราชการในสังกัดฝ่ายบริหารจากระบบเดิมที่แบ่งเป็น 5 หมวด ได้แก่

               1.  หมวดแรงงาน

               2.  หมวดกึ่งฝีมือ

               3.  หมวดฝีมือ

               4.  หมวดฝีมือพิเศษ

               5.  หมวดฝีมือพิเศษเฉพาะ

เป็นการจัดตามลักษณะงาน  แบ่งเป็น  4  กลุ่มงาน  ได้แก่...

                 กลุ่มงานบริการพื้นฐาน

                 กลุ่มงานสนับสนุน

                 กลุ่มงานช่าง

                 กลุ่มงานเทคนิคพิเศษ

โดยให้มีผลบังคับ  ตั้งแต่วันที่  1  เมษายน  2553  เป็นต้นไป  

ทางสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วเห็นควรแจ้งแนวทางปฏิบัติสำหรับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยากรณ์  ประจำปี 2553  ดังนี้...

             1.  ตามระเบียบฯ พ.ศ. 2536  บัญชี  15  ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ลูกจ้างประจำว่าต้องเป็นลูกจ้างประจำหมวดฝีมือหรือลูกจ้างประจำที่มีชื่อและลักษณะเหมือนข้าราชการนั้น  อนุโบมให้ลูกจ้างประจำตามลักษณะงานทั้ง  4  กลุ่มงาน  คือ  กลุ่มบริการพื้นฐาน  กลุ่มงานสนับสนุน  กลุ่มงานช่างและกล่มงานเทคนิคพิเศษ  ที่เดิมเคยดำรงตำแหน่งในหมวดฝีมือหรือที่มีชื่อและลักษณะเหมือนข้าราชการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้ตามเดิม  โดยให้หมายเหตุในเอกสารประกอบการเสนอขอพระราชทาน (บัญชีคุณสมบัติ)  ว่าเดิมดำรงตำแหน่งในหมวดใด

             2.  หลักเกณฑ์การได้รับค่าจ้าง  ซึ่งระเบียบ ฯ พ.ศ. 2536  บัญชี  15  กำหนดเป็น  2  กรณี  คือ

                     กรณีได้รับค่าจ้างตั้งแต่อัตราเงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการพลเรือน  ระดับ  3  แต่ไม่ถึงขั้นต่ำของอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน  ระดับ  6 

                     กรณีได้รับค่าจ้างตั้งแต่อัตราเงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการพลเรือน  ระดับ  6  ขึ้นไปนั้น  เนื่องจากปัจจุบันประเภทตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนได้เปลี่ยนแปลงไปตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551  จึงให้เทียบเคียงเงินค่าจ้างของลูกจ้างดังกล่าวกับเงินเดือนข้าราชการพลเรือน  ประเภทวิชาการ  ดังนี้...

                              ลูกจ้างประจำซึ่งตามหลักเกณฑ์เดิมกำหนดให้ได้รับค่าจ้างตั้งแต่อัตราเงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการพลเรือน ระดับ 3  แต่ไม่ถึงขั้นต่ำของอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน  ระดับ 6 ให้เทียบเคียงกับอัตราเงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการพลเรือนระดับปฏิบัติการ (7,940  บาท)  แต่ไม่ถึงขั้นต่ำของอัตราเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนระดับชำนาญการ (14,330  บาท)  โดยเริ่มต้นขอพระราชทาน บ.ม.  เลื่อนได้จนถึง  จ.ม.

                              ลูกจ้างประจำซึ่งตามหลักเกณฑ์เดิมกำหนดให้ได้รับค่าจ้างตั้งแต่อัตราเงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการพลเรือน ระดับ 6 ขึ้นไป  ให้เทียบเคียงกับอัตราเงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการพลเรือนระดับชำนาญการ (14,330 บาท) ขึ้นไป  โดยเริ่มต้นขอพระราชทาน บ.ช.  เลื่อนได้จนถึง  จ.ช.

                            หลักเกณฑ์ระยะเวลาการปฏิบัติงานสำหรับการเริ่มต้นขอพระราชทานและระยะเวลาเลื่อนชั้นตรา  คงเดิม

              ผู้เขียนเห็นว่าตามบันทึกดังกล่าวข้างต้นมีประโยชน์ต่อ      ผู้อ่าน, ผู้ปฏิบัติงานด้านงานการเจ้าหน้าที่หรืองานบุคคล              และลูกจ้างประจำเป็นอย่างมาก  จึงนำมาเผยแพร่ให้ทราบกันค่ะ...

 

ที่มาของหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี 

ที่ นร 0508/ว (ท) 2640  ...ตามไฟล์ด้านล่างนี้ค่ะ...

http://gotoknow.org/file/bussayamas/bbb211.pdf

 

 

หมายเลขบันทึก: 369099เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2010 09:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียน  ลูกจ้างประจำทุกท่าน...

ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เรื่อง "การแต่งตั้งลูกจ้างประจำไปดำรงตำแหน่งใหม่" ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0428/ว 83 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2553 ตามบล็อกด้านล่างนี้ค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/390373

อนันต์สิทธิ์ สิงห์เครือ

ผมได้อ่านบทความเรื่องการขอรับเครื่องราชฯแล้วเกิดความสงสัยว่า ผมมีสิทธิ์ได้รับเสนอชื่อเพื่อขอรับเครื่องราชฯหรือไม่

ผมเป็น พนักงานราชการ ตำแหน่ง พนักงานบริการ เป็นพนักงานราชการเมื่อ ตุลาคม ๒๕๕๑(หากระยะเวลาการทำงานยังไม่ถึง ก็ขอให้ตอบข้อสงสัยด้วยครับ)

ผมมีข้อที่ผมมีความสงสัยมาก คือ มีอยู่ข้อหนึ่ง ที่เขียนว่า พนักงานราชการที่จะขอเครื่องราชฯ จะต้องมีตำแหน่งเทียบเท่าลูกจ้างประจำระดับฝีมือขึ้นไป (ทำไมต้องเป็นอย่างนี้ หรือว่าที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่า ไม่มีระเบียบแบบแผนเป็นของตนเอง จึงต้องไปใช้ระเบียบแบบแผนของคนอื่น)

ผมลองไปดูหมวดหมู่ ลูกจ้างประจำแล้ว ผมคิดว่า ผมน่าจะอยู่ หมวด บริการพื้นฐาน  รหัสตำแหน่ง ๑๐๑๑๗ ตำแหน่ง พนักงานบริการ

พนักงานบริการ ระดับ๑ และ ระดับ๒   เป็น พนักงานหมวดกึ่งฝีมือ

หัวหน้าพนักงานบริการ เป็น พนักงานหมวดฝีมือ (ผมเข้าใจเองว่า ระดับ ๓ ขึ้นไปมั้ง )

มาถึงคำถามที่จะให้อาจารย์ตอบก็คือ ตำแหน่งของผมไม่ได้เป็นหัวหน้าพนักงานบริการครับ เพราะว่าพนักงานราชการเป็นตำแหน่งเดียวกันทั้งหมดเลยครับ ไม่มีหัวหน้าครับ (ตอนนี้ผมกินเดือนอยู่ที่ ๙๗๖๐ บาท ประมาณอยู่ที่ชั้น ๑๐ พอจะเทียบเคียงได้หรือเปล่าครับ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท