โรคนิ้วล็อกเป็นความผิดปรกติของนิ้วมือที่พบบ่อยที่สุดในบรรดาความผิดปรกติที่เกิดขึ้นกับมือ


ผู้หญิงใช้มือทำงานที่ซ้ำๆ บ่อยๆ มากกว่าผู้ชาย
โรคนิ้วล็อก

 
.
.
ความรู้สู่ประชาชน มือเป็นอวัยวะสำคัญที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ มากมาย มนุษย์นับว่าเป็นสิ่งมีชีวิตบนโลกเพียงชนิดเดียวที่มีนิ้วสมบูรณ์พร้อมและสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในแต่ละวันมนุษย์เราใช้มือประกอบกิจกรรมมากมายจนแทบไม่ได้หยุดหย่อน ดังนั้นหากเกิดความผิดปรกติใดๆ ขึ้นกับมือแล้ว ย่อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตตามมาอีกด้วย ความแตกต่างของอาชีพ เพศ และวัย เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กิจกรรมการใช้มือนั้นแตกต่างกันออกไป ผู้ที่ใช้มือประกอบกิจกรรมที่ซ้ำๆ และรุนแรง จนเกิดอาการบาดเจ็บขึ้นกับมือซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดความผิดปรกติของมือที่พบได้บ่อยที่สุดที่เรียกว่า โรคนิ้วล็อกหรือ Trigger Finger

การนำเสนอโรคนิ้วล็อกและวิธีการรักษานิ้วล็อกด้วยวิธีการเจาะผ่านผิวหนัง โดยได้รับเกียรติจาก นายแพทย์ วิชัย วิจิตรพรกุล จากโรงพยาบาลเลิดสิน ผู้ประยุกต์อุปกรณ์ทำฟัน 2 รูปแบบ มาใช้ในการรักษาโรคนิ้วล็อกด้วยวิธีการเจาะผ่านผิวหนังมาให้ความรู้แก่เรา

พยาธิสภาพของโรคนิ้วล็อก

Trigger Finger เป็นความผิดปรกติของมือที่พบบ่อยที่สุด พยาธิสภาพของโรคนี้เกิดขึ้นเนื่องจากอาการเสียสัดส่วนของ flexor digitorum superficialis flexordigitorum profundus tendons ซึ่งเป็นเอ็นที่ใช้งอนิ้วมือ และเข็มขัดรัดเส้นเอ็นที่อยู่รอบๆ ในตำแหน่งเข็มขัดรัดเส้นเอ็น first annular pulley (A1 Pulley) โดยปรกติแล้วเข็มขัดรัดเส้นเอ็น มีหน้าที่รัดเส้นเอ็นให้อยู่ติดกับกระดูก ในขณะที่นิ้วของเราเคลื่อนไหว เส้นเอ็นที่นิ้วมือก็จะถูกดึงเสียดสีไปมากับปลอกเอ็นหรือเข็มขัดรัดเส้นเอ็น การให้มือทำงานหนักๆ อยู่ซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานทำให้เกิดการเสียดสี จนทำให้เส้นเอ็นหนาแข็งตัวเสียความยืดหยุ่น ทำให้เอ็นไม่สามารถลอดผ่านเข็มขัดรัดเอ็นได้ หากปมเล็กอยู่บริเวณต้นทางของเข็มขัดรัดเอ็นก็จะทำให้นิ้วงอ เหยียดไม่ออก หากปมที่ผ่านไม่ได้อยู่บริเวณปลายของเข็มขัดรัดเอ็นก็จะทำให้นิ้วเหยียออยู่ในท่าเหยียดงอไม่เข้า เนื่องจาก A1 Pulley เสียความยืดหยุ่นหนาตัว เกิด fibrocartilagenous degeneration
       

 

โรคนิ้วล็อกเป็นความผิดปรกติของนิ้วมือที่พบบ่อยที่สุดในบรรดาความผิดปรกติที่เกิดขึ้นกับมือ โรคนี้พบในผู้หญิงร้อยละ 80 พบในผู้ชายร้อยละ 20 โดยพบในผู้หญิงวัยกลางคนมากที่สุด ในกลุ่มอายุ 50 - 60 ปี ส่วนในผู้ชายพบในกลุ่มอายุ 40 - 70 ปี สาเหตุที่พบโรคนิ้วล็อกในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย สันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะผู้หญิงให้มือทำงานที่ซ้ำๆ มากกว่าผู้ชาย ผู้ชายอาจให้มือทำงานที่รุนแรงแต่ไม่ซ้ำซาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป ถ้ามีประวัติการใช้งานที่รุนแรง เช่น หิ้วถุงหนักๆ การบิดผ้า ซักผ้า การกวาดบ้าน ถูบ้าน สับหมู สับไก่ อาชีพบางอย่างมีความเสี่ยงต่อโรคนิ้วล็อกอย่างมาก เช่น คนทำซาลาเปา ต้องนวดแป้ง ทุกนิ้วต้องบีบขยำแป้ง ช่างไฟฟ้า ช่างโทรศัพท์ ที่ต้องใช้คีม ไขควงขันเจาะเนื้อไม้ แม่ครัวโรงเรียนที่ต้องยกหม้อหนัก คนสวนต้องตัดกิ่งไม้ ขุดดิน ดายหญ้า ฯลฯ การทำงานเหล่านี้เป็นระยะเวลานาน ทำให้เอ็นนิ้วมือเสียดสีกับเข็มรัดเอ็นทำให้เกิดการหนาตัวขึ้นของเส้นเอ็น หรือการหนาตัวขึ้นของเข็มขัดรัดเอ็น เกิดการเสียสัดส่วนของอุโมงค์ ทำให้เอ็นไม่สามารถลอดผ่านได้ ส่งผลให้เกิด การฝืด การตึง สะดุด กระเด้ง จนถึงนิ้วล็อกในที่สุด โรคนิ้วล็อกสามารถพบได้ในเด็กซึ่งเป็นนิ้วล็อกตั้งแต่กำเนิด (congenital trigger finger) กลุ่มเด็กที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด ส่วนใหญ่จะเป็นที่นิ้วหัวแม่มือ (trigger thumb) ซึ่งเกิดจากที่ปลอกเอ็นหนา จนทำให้เอ็นผ่านไปไม่ได้ ผู้ป่วยบางรายมีอาการนิ้วล็อกทั้งสองมือ ซึ่งพบได้ร้อยละ 20 - 30 ในบางรายสามารถหายเองได้หากปมไม่ใหญ่มากนัก ประกอบกับการที่พ่อแม่ช่วยนวดคลึงบริเวณฐานนิ้วบริเวณปลอกเอ็นให้เกิดความยืดหยุ่น "คนไข้นิ้วล็อกตั้งแต่กำเนิดที่ผมพบรายแรกเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ขณะนั้นผมได้ผ่าตัดในผู้ใหญ่ได้ประมาณ 80 ราย คนไข้เด็กรายนี้มีอายุได้ประมาณ 6 เดือน เนื่องจากเด็กที่อายุน้อยอยู่ และผมเองก็ยังไม่มีประสบการณ์ในการรักษานิ้วล็อกในเด็ก จึงได้ส่งไปหาผู้เชี่ยวชาญทางมือ แนะนำให้รักษาทางกายภาพบำบัด และรอเด็กโตขึ้นหน่อย เมื่อเด็กอายุได้ประมาณ 2 ขวบครึ่ง พ่อเด็กก็พาเด็กมาหาอีกครั้งเพื่อรักษา ก่อนเข้าเรียนชั้นอนุบาล ขณะนั้นผมมีประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วยเกือบ 200 รายแล้ว จึงตัดสินใจทำการรักษาด้วยวิธีการเจาะผ่านผิวหนัง พบว่าได้ผลดีอาการนิ้วล็อกหายไป จากนั้นก็มีคนไข้เด็ก อายุ 3 ขวบ ถึง 10 ขวบ ซึ่งทั้งหมดประมาณ 12 คนมารักษา "วิธีการเจาะรักษาง่ายเปรียบเสมือนการเจาะผ่าฝี หากฝึกสัมผัสรู้ถึงความแตกต่างของเส้นเอ็นและเข็มขัดรัดเส้นเอ็น" นายแพทย์วิชัยกล่าว ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่เป็นโรครูมาตอยด์ มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากขึ้น และโรคนี้มักจะพบร่วมกับโรค carpal tunnel syndrome และ De Quervain tenosynovitis

อาการและอาการแสดง

เนื่องจากพยาธิสถาพของนิ้วล็อกคือการที่เส้นเอ็นลอดผ่านปลอกเอ็นไม่ได้ ก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บที่ฐานนิ้ว เพราะจะต้องมีการฝึกให้เอ็นลอดผ่าน ทำให้การยืดงอนิ้วเป็นไปด้วยความลำบาก ต่อจากนั้นการเคลื่อนไหวนิ้วเริ่มมีการสะดุด โดยเฉพาะเมื่อตื่นนอนตอนเช้า นิ้วจะอยู่ในท่าเกร็งงอ หรือเหยียดตรง แล้วกำไม่ลง จะต้องใช้มือช่วยง้างออก หรืองอเข้าผ่านปมจะเกิดเสียงดังคลิกและต่อไปก็จะเกิดการล็อกหรือขยับไม่ได้ ถ้าล็อกอยู่ในท่างอ (flexion) ก็จะเหยียดไม่ออก ถ้าล็อกอยู่ในท่าเหยียดตรง (extension) จะกำมือไม่ได้ นอกจากกลุ่มอาการที่นิ้วล็อกแล้วจะมีอาการบวมของนิ้ว เมื่อนิ้วบวมจะเกิดแรงอัด ทำให้นิ้วชา นิ้วโก่งงอมากขึ้นเรื่อยๆ หรือนิ้วอยู่ในท่าที่เกยกัน

ระดับความรุนแรงของโรค

1. mild (unever movement during flexion/extension) 2. moderate (active correctable, interfere with normal hand function) 3. severe (passive correctable) 4. lock (fixed in flexion) or extension

วิธีการรักษา

การรักษาโรคนิ้วล็อกมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค การรักษาในระยะแรกคือ การพักการใช้งานของมือ ไม่ใช้งานรุนแรง การรับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น Diclofenac, Ibuprofen, Celecoxib เป็นต้น การทำกายภาพบำบัด เช่น การแช่พาราฟิน การทำอัลตราซาวนด์ก็อาจช่วยลดการอักเสบและการติดยึดของเส้นเอ็นกับปลอกเอ็น แต่ในกรณีที่เป็นรุนแรงขึ้นอาจจะให้การรักษาด้วยการใช้ยาต้านการอักเสบ ร่วมกับการฉีดสเตียรอยด์เข้าไปบริเวณปลอกเอ็น ซึ่งสเตียรอยด์มีคุณสมบัติในการลดการอักเสบ ลดการบวมของเส้นเอ็น และปลอกเอ็นทำให้อาการดีขึ้นได้ แต่การฉีดยาอาจทำให้อาการดีขึ้นได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน สามารถกลับมาเป็นซ้ำอีกได้ในระยะเวลาไม่นานประมาณร้อยละ 50 ของผู้ป่วยจะหายจากอาการนิ้วล็อก ส่วนอีกร้อยละ 25 จะหายหลังจากการฉีดยาเข็มที่สองไม่ควรฉีดยาเกิน 2 ครั้ง เพราะอาจทำให้เกิด tendon rupture ได้ ในกรณีที่มีการล็อกติดรุนแรงหรือพังผืดหนามาก ฉีดยาก็ไม่ได้ผล การผ่าตัดจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพราะจะเปิดลงไปตัดเข็มขัดรัดเส้นเอ็นและปลอกเอ็นที่ติดยึดขวางทางผ่านของเอ็นให้ผ่านไปได้


 






Note: ที่มา http://www.lockfinger.com/indexTh.html
โรคนิ้วล็อก

 
.
.
ความรู้สู่ประชาชน มือเป็นอวัยวะสำคัญที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ มากมาย มนุษย์นับว่าเป็นสิ่งมีชีวิตบนโลกเพียงชนิดเดียวที่มีนิ้วสมบูรณ์พร้อมและสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในแต่ละวันมนุษย์เราใช้มือประกอบกิจกรรมมากมายจนแทบไม่ได้หยุดหย่อน ดังนั้นหากเกิดความผิดปรกติใดๆ ขึ้นกับมือแล้ว ย่อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตตามมาอีกด้วย ความแตกต่างของอาชีพ เพศ และวัย เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กิจกรรมการใช้มือนั้นแตกต่างกันออกไป ผู้ที่ใช้มือประกอบกิจกรรมที่ซ้ำๆ และรุนแรง จนเกิดอาการบาดเจ็บขึ้นกับมือซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดความผิดปรกติของมือที่พบได้บ่อยที่สุดที่เรียกว่า โรคนิ้วล็อกหรือ Trigger Finger

การนำเสนอโรคนิ้วล็อกและวิธีการรักษานิ้วล็อกด้วยวิธีการเจาะผ่านผิวหนัง โดยได้รับเกียรติจาก นายแพทย์ วิชัย วิจิตรพรกุล จากโรงพยาบาลเลิดสิน ผู้ประยุกต์อุปกรณ์ทำฟัน 2 รูปแบบ มาใช้ในการรักษาโรคนิ้วล็อกด้วยวิธีการเจาะผ่านผิวหนังมาให้ความรู้แก่เรา

พยาธิสภาพของโรคนิ้วล็อก

Trigger Finger เป็นความผิดปรกติของมือที่พบบ่อยที่สุด พยาธิสภาพของโรคนี้เกิดขึ้นเนื่องจากอาการเสียสัดส่วนของ flexor digitorum superficialis flexordigitorum profundus tendons ซึ่งเป็นเอ็นที่ใช้งอนิ้วมือ และเข็มขัดรัดเส้นเอ็นที่อยู่รอบๆ ในตำแหน่งเข็มขัดรัดเส้นเอ็น first annular pulley (A1 Pulley) โดยปรกติแล้วเข็มขัดรัดเส้นเอ็น มีหน้าที่รัดเส้นเอ็นให้อยู่ติดกับกระดูก ในขณะที่นิ้วของเราเคลื่อนไหว เส้นเอ็นที่นิ้วมือก็จะถูกดึงเสียดสีไปมากับปลอกเอ็นหรือเข็มขัดรัดเส้นเอ็น การให้มือทำงานหนักๆ อยู่ซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานทำให้เกิดการเสียดสี จนทำให้เส้นเอ็นหนาแข็งตัวเสียความยืดหยุ่น ทำให้เอ็นไม่สามารถลอดผ่านเข็มขัดรัดเอ็นได้ หากปมเล็กอยู่บริเวณต้นทางของเข็มขัดรัดเอ็นก็จะทำให้นิ้วงอ เหยียดไม่ออก หากปมที่ผ่านไม่ได้อยู่บริเวณปลายของเข็มขัดรัดเอ็นก็จะทำให้นิ้วเหยียออยู่ในท่าเหยียดงอไม่เข้า เนื่องจาก A1 Pulley เสียความยืดหยุ่นหนาตัว เกิด fibrocartilagenous degeneration
       

 

โรคนิ้วล็อกเป็นความผิดปรกติของนิ้วมือที่พบบ่อยที่สุดในบรรดาความผิดปรกติที่เกิดขึ้นกับมือ โรคนี้พบในผู้หญิงร้อยละ 80 พบในผู้ชายร้อยละ 20 โดยพบในผู้หญิงวัยกลางคนมากที่สุด ในกลุ่มอายุ 50 - 60 ปี ส่วนในผู้ชายพบในกลุ่มอายุ 40 - 70 ปี สาเหตุที่พบโรคนิ้วล็อกในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย สันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะผู้หญิงให้มือทำงานที่ซ้ำๆ มากกว่าผู้ชาย ผู้ชายอาจให้มือทำงานที่รุนแรงแต่ไม่ซ้ำซาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป ถ้ามีประวัติการใช้งานที่รุนแรง เช่น หิ้วถุงหนักๆ การบิดผ้า ซักผ้า การกวาดบ้าน ถูบ้าน สับหมู สับไก่ อาชีพบางอย่างมีความเสี่ยงต่อโรคนิ้วล็อกอย่างมาก เช่น คนทำซาลาเปา ต้องนวดแป้ง ทุกนิ้วต้องบีบขยำแป้ง ช่างไฟฟ้า ช่างโทรศัพท์ ที่ต้องใช้คีม ไขควงขันเจาะเนื้อไม้ แม่ครัวโรงเรียนที่ต้องยกหม้อหนัก คนสวนต้องตัดกิ่งไม้ ขุดดิน ดายหญ้า ฯลฯ การทำงานเหล่านี้เป็นระยะเวลานาน ทำให้เอ็นนิ้วมือเสียดสีกับเข็มรัดเอ็นทำให้เกิดการหนาตัวขึ้นของเส้นเอ็น หรือการหนาตัวขึ้นของเข็มขัดรัดเอ็น เกิดการเสียสัดส่วนของอุโมงค์ ทำให้เอ็นไม่สามารถลอดผ่านได้ ส่งผลให้เกิด การฝืด การตึง สะดุด กระเด้ง จนถึงนิ้วล็อกในที่สุด โรคนิ้วล็อกสามารถพบได้ในเด็กซึ่งเป็นนิ้วล็อกตั้งแต่กำเนิด (congenital trigger finger) กลุ่มเด็กที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด ส่วนใหญ่จะเป็นที่นิ้วหัวแม่มือ (trigger thumb) ซึ่งเกิดจากที่ปลอกเอ็นหนา จนทำให้เอ็นผ่านไปไม่ได้ ผู้ป่วยบางรายมีอาการนิ้วล็อกทั้งสองมือ ซึ่งพบได้ร้อยละ 20 - 30 ในบางรายสามารถหายเองได้หากปมไม่ใหญ่มากนัก ประกอบกับการที่พ่อแม่ช่วยนวดคลึงบริเวณฐานนิ้วบริเวณปลอกเอ็นให้เกิดความยืดหยุ่น "คนไข้นิ้วล็อกตั้งแต่กำเนิดที่ผมพบรายแรกเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ขณะนั้นผมได้ผ่าตัดในผู้ใหญ่ได้ประมาณ 80 ราย คนไข้เด็กรายนี้มีอายุได้ประมาณ 6 เดือน เนื่องจากเด็กที่อายุน้อยอยู่ และผมเองก็ยังไม่มีประสบการณ์ในการรักษานิ้วล็อกในเด็ก จึงได้ส่งไปหาผู้เชี่ยวชาญทางมือ แนะนำให้รักษาทางกายภาพบำบัด และรอเด็กโตขึ้นหน่อย เมื่อเด็กอายุได้ประมาณ 2 ขวบครึ่ง พ่อเด็กก็พาเด็กมาหาอีกครั้งเพื่อรักษา ก่อนเข้าเรียนชั้นอนุบาล ขณะนั้นผมมีประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วยเกือบ 200 รายแล้ว จึงตัดสินใจทำการรักษาด้วยวิธีการเจาะผ่านผิวหนัง พบว่าได้ผลดีอาการนิ้วล็อกหายไป จากนั้นก็มีคนไข้เด็ก อายุ 3 ขวบ ถึง 10 ขวบ ซึ่งทั้งหมดประมาณ 12 คนมารักษา "วิธีการเจาะรักษาง่ายเปรียบเสมือนการเจาะผ่าฝี หากฝึกสัมผัสรู้ถึงความแตกต่างของเส้นเอ็นและเข็มขัดรัดเส้นเอ็น" นายแพทย์วิชัยกล่าว ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่เป็นโรครูมาตอยด์ มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากขึ้น และโรคนี้มักจะพบร่วมกับโรค carpal tunnel syndrome และ De Quervain tenosynovitis

อาการและอาการแสดง

เนื่องจากพยาธิสถาพของนิ้วล็อกคือการที่เส้นเอ็นลอดผ่านปลอกเอ็นไม่ได้ ก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บที่ฐานนิ้ว เพราะจะต้องมีการฝึกให้เอ็นลอดผ่าน ทำให้การยืดงอนิ้วเป็นไปด้วยความลำบาก ต่อจากนั้นการเคลื่อนไหวนิ้วเริ่มมีการสะดุด โดยเฉพาะเมื่อตื่นนอนตอนเช้า นิ้วจะอยู่ในท่าเกร็งงอ หรือเหยียดตรง แล้วกำไม่ลง จะต้องใช้มือช่วยง้างออก หรืองอเข้าผ่านปมจะเกิดเสียงดังคลิกและต่อไปก็จะเกิดการล็อกหรือขยับไม่ได้ ถ้าล็อกอยู่ในท่างอ (flexion) ก็จะเหยียดไม่ออก ถ้าล็อกอยู่ในท่าเหยียดตรง (extension) จะกำมือไม่ได้ นอกจากกลุ่มอาการที่นิ้วล็อกแล้วจะมีอาการบวมของนิ้ว เมื่อนิ้วบวมจะเกิดแรงอัด ทำให้นิ้วชา นิ้วโก่งงอมากขึ้นเรื่อยๆ หรือนิ้วอยู่ในท่าที่เกยกัน

ระดับความรุนแรงของโรค

1. mild (unever movement during flexion/extension) 2. moderate (active correctable, interfere with normal hand function) 3. severe (passive correctable) 4. lock (fixed in flexion) or extension

วิธีการรักษา

การรักษาโรคนิ้วล็อกมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค การรักษาในระยะแรกคือ การพักการใช้งานของมือ ไม่ใช้งานรุนแรง การรับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น Diclofenac, Ibuprofen, Celecoxib เป็นต้น การทำกายภาพบำบัด เช่น การแช่พาราฟิน การทำอัลตราซาวนด์ก็อาจช่วยลดการอักเสบและการติดยึดของเส้นเอ็นกับปลอกเอ็น แต่ในกรณีที่เป็นรุนแรงขึ้นอาจจะให้การรักษาด้วยการใช้ยาต้านการอักเสบ ร่วมกับการฉีดสเตียรอยด์เข้าไปบริเวณปลอกเอ็น ซึ่งสเตียรอยด์มีคุณสมบัติในการลดการอักเสบ ลดการบวมของเส้นเอ็น และปลอกเอ็นทำให้อาการดีขึ้นได้ แต่การฉีดยาอาจทำให้อาการดีขึ้นได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน สามารถกลับมาเป็นซ้ำอีกได้ในระยะเวลาไม่นานประมาณร้อยละ 50 ของผู้ป่วยจะหายจากอาการนิ้วล็อก ส่วนอีกร้อยละ 25 จะหายหลังจากการฉีดยาเข็มที่สองไม่ควรฉีดยาเกิน 2 ครั้ง เพราะอาจทำให้เกิด tendon rupture ได้ ในกรณีที่มีการล็อกติดรุนแรงหรือพังผืดหนามาก ฉีดยาก็ไม่ได้ผล การผ่าตัดจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพราะจะเปิดลงไปตัดเข็มขัดรัดเส้นเอ็นและปลอกเอ็นที่ติดยึดขวางทางผ่านของเอ็นให้ผ่านไปได้


 






Note: ที่มา http://www.lockfinger.com/indexTh.html
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3695เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2005 00:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 14:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท