ประสบการณ์ชีวิตจากหมู่บ้านคลองเรือ


ความสุขนั้นหมุนอยู่รอบตัวเรา สามารถสัมผัสได้ตลอดเวลาอยู่ที่ว่าเราจะเลือกหยิบฉวยหรือผลักใส...

      ผู้อำนวยการ และ ทีมนำ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเรื่องการตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการตลอดมา จึงได้มีแนวคิดใหม่ ๆ มาปรับใช้เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ทุกปีก็มีการจัดปฐมนิเทศน้องใหม่  แต่จะปฐมนิเทศกันเฉพาะในห้องประชุมเท่านั้น แต่เมื่อ 2 ปี ที่ผ่านมาต้องการให้เจ้าหน้าที่ใหม่ทุกคนได้ออกไปหาประสบการณ์ด้วยตัวเอง เรียนรู้วิถีชีวิตชาวบ้าน จะได้เข้าใจและเข้าถึงความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่แท้จริง ณ.หมู่บ้านคลองเรือ

      โดยการนำทีมของท่านผู้อำนวยการ คณะผู้ติดตามประกอบไปด้วย หัวหน้าฝ่ายบริหาร , หัวหน้าฝ่ายเภสัช  หมอฟัน และผู้ร่วมเดินทางอีก 4-5 คน กำหนดการ 2 วัน 1 คืน พร้อมกับการทิ้งโจทย์? ต่าง ๆ ให้ขบคิด กับการไปปฐมนิเทศในครั้งนี้ แล้วนำประสบการณ์ที่ได้พบเจอในช่วงระยะเวลาอันจำกัดมาเล่าสู่กันฟัง ดังเรื่อง ประสบการที่ได้รับจากการไปปฐมนิเทศ  นางสาวนรีวรรณ  คงแก้ว  นักเทคนิคการแพทย์

ในการปฐมนิเทศเจ้าหน้าที่ใหม่โรงพยาบาลพะโต๊ะ เพื่อทำความเข้าใจและเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา,การบริหารจัดการ ทีมคุณภาพของโรงพยาบาล รวมถึงการเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนในอำเภอพะโต๊ะ ซึ่งครั้งนี้ดิฉันได้ไปหมู่บ้านคลองเรือ ซึ่งตลอดเส้นทางการเดินทางมีแต่ความตื่นเต้น และภาพที่ประทับใจนั่นคือ สองข้างทางจะมีแต่ต้นไม้ เหว ภูเขา และเส้นทางการไปถึงหมู่บ้านคลองเรือ ดิฉันสัมผัสได้ถึงการเดินทางข้ามป่า ข้ามภูเขาหลายลูก ซึ่งค่อนข้างที่จะลำบากด้านการคมนาคม และตลอดเส้นทางที่อยู่ในรถจะสังเกตได้ว่าเพื่อน ๆ ที่ไปด้วยกันมีความตื่นเต้น และจิตนาการว่าเรากำลังจะขึ้นนครเวหา ซึ่งประตูเมืองกำลังจะเปิดทุกคนดูท่าทางมีความสุขสนุกสนานกับการเดินทาง ซึ่งดิฉันคิดว่าเราจะต้องไปอยู่ในหมู่บ้านที่ห่างไกลขนาดนี้หรือ จะมีห้องน้ำ,ไฟฟ้าให้เราใช้หรือเปล่าแต่ที่รู้ตอนนั้นคือ สัญญาณโทรศัพท์ไม่มีแน่ ๆ แต่เมื่อไปถึงหมู่บ้านคลองเรือ ภาพที่เห็นคือ ชาวบ้านรอต้อนรับคณะจากโรงพยาบาลพะโต๊ะเป็นอย่างดี และจัดเตรียมอาหารไว้ให้ ซึ่งที่ศูนย์เวทีชุมชนที่หมู่บ้านคลองเรือ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลกับชาวบ้านก็ได้พูดคุยเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพว่าถ้าเจ็บป่วย ไม่สบาย แล้วชาวบ้านจะไปรักษาตัวอย่างไร ,ใช้สมุนไพร , ไปหาหมอที่ไหน ซึ่งส่วนใหญ่คนในหมู่บ้านจะซื้อยาสามัญประจำบ้านมาเก็บไว้ที่บ้าน หรือนักท่องเที่ยวซื้อมาฝาก แต่ถ้าเจ็บไข้ไม่สบายรุนแรงก็จะไปอนามัยหรือโรงพยาบาลพะโต๊ะและทัศนคติของชาวบ้านเกี่ยวกับโรงพยาบาลพะโต๊ะก็มีทั้งส่วนที่ดี และไม่ดี ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนที่มีคุณค่าและประโยชน์เป็นอย่างมากที่โรงพยาบาลจะได้มีการพัฒนาปรับปรุงด้านที่ยังไม่ดี และจะได้เข้าใจชีวิตชาวบ้านอีกชุมชนหนึ่ง

         ต่อโรงพยาบาลเมื่อพูดคุยกันแล้วก็มีการรับประทานอาหารเย็นร่วมกันซึ่งเป็นภาพบรรยากาศที่ดูแล้ว ทุกคนมีความสุขที่จะได้รับประทานอาหารท่ามกลางแสงเทียน และกับข้าวที่เป็นรูปแบบของชาวบ้านมีน้ำพริกผักลวก ผักต่าง ๆ ผัดผัก ซึ่งเป็นที่ชาวบ้านปลูกเองปลอดจากสารพิษ ซึ่งหากินได้ยากมาก เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้วก็มีการแจกยาสามัญประจำบ้านให้กับชาวบ้านซึ่งดิฉันมีความสุขและประทับใจเหมือนกับว่าเรากำลังแบ่งปันความสุข ได้ช่วยเหลือเพื่อมนุษย์ด้วยกัน หลังจากนั้นก็ได้แยกย้ายกันไปที่พักที่โฮมสตย์ซึ่งจะแยกชาย – หญิง ซึ่งพวกเราจะต้องพักนอนกับชาวบ้าน ซึ่งโฮมสเตย์ที่ดิฉันไปอยู่กับคุณลุง คุณป้า และพี่ใจดี มาก พูดเก่ง น่ารัก และมีความเป็นกันเอง ซึ่งที่นั่นบรรยากาศดีมาก ๆ เงียบ สงบและเย็นสบาย สามารถนอนหลับได้โดยไม่ต้องพึ่งพัดลมหรือแอร์ และเป็นบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติจริง ๆ จะสังเกตได้ว่าชาวบ้านในหมู่บ้านจะอยู่กันอย่างเรียบง่าย การทำมาหากินส่วนใหญ่ก็จะปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ไว้สำหรับดำรงชีวิตอยู่กันแบบเศรษฐกิจพอเพียง วันรุ่งเช้าต่อมาก็ได้ไปพบปะเยี่ยมชาวบ้านผู้ป่วยที่ไปรักษาที่โรงพยาบาลพะโต๊ะ ซึ่งชาวบ้านจะไปโรงพยาบาลในแต่ละครั้งด้วยการเหมารถไปส่งซึ่งมีความลำบากมาก หลังจากนั้นก็ได้ไปเดินป่า ไปดูน้ำตกเหวตาจันทร์ ซึ่งเป็นต้นน้ำที่ชาวบ้านอำเภอพะโต๊ะและอำเภอใกล้เคียงอื่นๆ ใช้ ตลอดระยะเส้นทางกว่า 3 กิโลเมตรที่ดิฉันต้องเดินในป่าขึ้นภูเขา ดิฉันก็พบเจอกับธรรมชาติผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นสภาพป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ พรรณไม้ขึ้นอย่างหนาแน่น มีความชุ่มชื่นของน้ำตก เสียงกิ่งไม้เสียดสี เสียงนก และเสียงชะนีร้องโหยหวน น่าตื่นเต้นทีเดียว อีกทั้งการเดินป่าครั้งนี้ยังได้ของแถมนอกจากประสบการณ์ที่หาได้ยากและประทับใจจนยากที่จะลืมเลือน นั้นก็คือถูกทากดูดเลือด ดิฉันตกใจและตื่นเต้นมาก เมื่อรู้ว่าทากอยู่ที่ขา กรี๊ด! จนทุกคนตกใจ และอยากร้องให้ ซึ่งมันเป็นเรื่องที่น่าตลก

     กับความยากลำบาก และความเหน็ดเหนื่อยบวกกับความอ่อนล้าของร่างกายที่แทบจะไม่มีแรง เมื่อได้เห็นน้ำตก และจุดหมายปลายทางที่แฝงด้วยความรู้สึกดี ๆ ตลอดระยะการเดินทาง ความเหนื่อยทั้งหมดก็จางหายไป มีแรงสู้ที่จะเดินทางต่อไป การไปเรียนรู้ชุมชนครั้งนี้ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้อะไรหลาย ๆ อย่าง คิดถึงความเหนื่อยยากลำบากที่เกิดขึ้น ในวิถีการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน  ซึ่งแตกต่างจากชุมชนเมืองอย่างเห็นได้ชัดเจน แต่ชาวบ้านก็มีการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีการทำลายป่าไม้ และธรรมชาติที่พวกเค้าอาศัยอยู่ มีการใช้น้ำประปาจากภูเขาที่ต่อมาจากน้ำตกเหวตาจันทร์ อีกทั้งวิถีชีวิตของชุมชนก็มีความโดดเด่นด้วยอุปสรรคในเรื่องทำเลที่ตั้ง สาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่ยังเข้าไม่ถึงหมู่บ้านคลองเรือ ชาวบ้านอาศัยพลังงานไฟฟ้าจากแผงพลังงานแสงอาทิตย์ จะเห็นได้ว่าชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านคลองเรือเป็นตัวอย่างหนึ่งของการพึ่งพาอาศัยกันอย่างกลมกลืนของคนกับป่าที่คนสามารถอยู่ร่วมกับป่าด้วยการจัดการชุมชน ทรัพยากรดิน  , ป่าไม้ , น้ำ ได้อย่างลงตัว ไม่มีการทำลายป่าไม้ธรรมชาติ ดังคำว่าที่ “คนอยู่ ป่ายัง”

ประสบการณ์ที่คนในชุมชนได้รับจากโรงพยาบาลพะโต๊ะ

            เกิดคำถามมากมายว่า “ทำไม” ทำไมไปรักษาที่โรงพยาบาลแล้วได้รับแต่ยาพาราเซตามอล? ทำไม? ตรวจแล้วไม่รู้ว่าเด็ก Twin Pregnancy?  ทำไมไม่ Refer Case เร็วกว่านี้? เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่น่าประทับใจเกี่ยวกับโรงพยาบาล ก็ทำให้คนในชุมชนไม่อยากเข้ารับการรักษาโดยที่ไม่รู้ และไม่เข้าใจในระบบบริการของทางโรงพยาบาลเลย ทำให้ภาพพจน์ของโรงพยาบาลเสียไป และคนส่วนใหญ่ยอมสิ้นเปลืองเงินทองในการไปรักษาที่คลินิก เพื่อจะให้หายจากโรคและตนปลอดภัยจากการรักษาในแต่ละครั้ง 

ข้อเสนอแนะ

         การปฐมนิเทศครั้งนี้อาจจะได้ข้อคิดหลายอย่าง แต่เวลาในการศึกษาคนใจชุมชนมีน้อย ควรจะเพิ่มระยะเวลาให้มากกว่านี้

ข้อคิด / บทเรียนที่ได้

         จุดดำบนกระดาษขาว และจะลบจุดดำนี้ได้อย่างไร?

                                         นางสาววาสนา  ดวงจันทร์ พยาบาลวิชาชีพ

       ทีมนำจะนำข้อเสนอแนะ / ปัญหาความต้องการเชิงลึก  ที่รับรู้จากชาวบ้าน มาพัฒนาระบบงานของโรงพยาบาลให้จุดดำที่มีค่อย ๆ เลือนหายไป ได้อย่างไร  ก็เป็นอีกโจทย์หนึ่งที่ทิ้งไว้ให้ทีมงานโรงพยาบาลพะโต๊ะได้ค้นหา และคาดหวังว่าไม่ช้าไม่เร็วเกินไปปฐมนิเทศครั้งหน้า ทางทีมงานเราจะนำคำตอบที่สามารถสร้างความกระจ่างให้กับชาวบ้านมาเล่าสู่กันฟังในโอกาสต่อไปค่ะ

      วันนี้เราอยู่ท่ามกลางคนที่รักเรา และเราก็รักเขา เป็นความสุขที่มีค่ายิ่งกว่าทรัพย์สินเงินทองมากมายนัก เราพบว่าความสุขนั้นหมุนอยู่รอบตัวเรา สามารถสัมผัสได้ตลอดเวลาอยู่ที่ว่าเราจะเลือกหยิบฉวยหรือผลักใสความสุขนั้นให้ผ่านเลยไปหรือไม่ ถ้าอยากได้ความรักเราต้องให้ความรักแก่ผู้อื่นก่อน และถ้าอยากได้ความสุขเราต้องให้ความสุขแก่ผู้อื่นก่อนเช่นกัน ในฐานะของผู้ให้บริการต้องให้ใจกับผู้มารับบริการทุก ๆ คน โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติไม่ว่าจะมีความแตกต่างด้านฐานะ เชื้อชาติ ศาสนา เพศ และอายุ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน “มือของผู้ให้ ย่อมอยู่เหนือกว่ามือของผู้รับ” เสมอไป       

        

                                กีฬาสี(รับน้อง)                                                         

               

                              สุดท้าย....พวกเราทุกคนก็มาถึงที่หมายจนได้

           อิ่มอร่อยกับกับเมนูผักปลอดสารพิษ พร้อมกับแจกจ่ายยาให้กับชาวบ้าน

                                    (งานนี้ชื่นมื่นไปตาม ๆ กัน)

หมายเลขบันทึก: 370099เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2010 11:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • สวัสดีค่ะ
  • ครั้งหนึ่งในชีวิตของน้อง ๆ กับ "ประสบการณ์ชีวิตจากหมู่บ้านคลองเรือ" พึงระลึกเสมอว่า "คนไข้ทุก ๆ คน เปรียบเสมือนกับญาติสนิทมิตรสหายกับพวกเรา วันนี้ที่เขามาหาเราด้วยความยากลำบาก พอมาถึง แค่รอยยิ้มหวาน ๆ บวกกับคำพูดเพียงไม่กี่คำ สามารถปรับเปลี่ยนความรู้สึกที่ไม่ดี หรือ ที่ไม่เข้าใจไปได้มากทีเดียว
  • เปรียบเหมือนผู้มาใช้บริการกับเรา คือลูกค้า เพราะฉะนั้น ลูกค้า คือพระเจ้าเสมอ วันนี้ลูกค้ายังแวะเวียนมาหาเรา แสดงว่า เรายังมีศักยภาพที่จะดูแลเขาได้อยู่ ทำให้เขาไว้วางใจให้ได้ "โรงพยาบาลอยู่ได้ , เจ้าหน้าที่ทุกคนอยู่ได้ , ชาวบ้านอยู่ได้" เราต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน เพื่อความอยู่รอดของสังคม
  • ขอบคุณค่ะ 

ยังมีอีกหลายที่ ที่ยากลำบาก กว่าเค้าจะมาหาเราได้

 ...................................

ใช้ใจทำงานนะคะ ใจดี ใจบุญ ใจเมตตา ...................................

 โชคดีเหลือหลาย ที่งานที่เราทำ กับความดี คืออย่างเดียวกัน ชนิดที่แยกกันไม่ออก

...............................

 มาเชียร์และให้กำลังใจน้องใหม่ทุกๆคนค่ะ

ยังมีอีกหลายที่ ที่ยากลำบาก กว่าเค้าจะมาหาเราได้

 ...................................

ใช้ใจทำงานนะคะ ใจดี ใจบุญ ใจเมตตา ...................................

 โชคดีเหลือหลาย ที่งานที่เราทำ กับความดี คืออย่างเดียวกัน ชนิดที่แยกกันไม่ออก

...............................

 มาเชียร์และให้กำลังใจน้องใหม่ทุกๆคนค่ะ

ยันทึกนี้ มีคุณค่า มากมายค่ะ

พอลล่าได้ข้อมูลเพิ่มอีกเยอะเลย การฟูมฟัก หล่อเลี้ยงอย่างวิถีพะโต๊ะ แบบพอเพียง....เอาการบ้านไปส่งอาจารย์ดีกว่า

ขอบคุณพี่อัจ ค่ะ ขอบคุณท่านผอ. ละขอบคุณชาวพะโต๊ะค่ะ

  • แวะมาเยี่ยม...ชาวพะโต๊ะ
  • น่าสนุกดีครับ ...น้องจบใหม่จะได้เข้าใจ วิถีชุมชน เข้าถึงชุมชน และเข้าใจชุมชนในการทำงานบริการสุขภาพชาวพะโต๊ะครับ
  • เป็นกำลังใจให้ ผอ. /และทีมงานครับ เป็นการพัฒนาคุณภาพที่ยั่งยืน

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท