โสภณ เปียสนิท
นาย โสภณ เปียสนิท ตึ๋ง เปียสนิท

หลักธรรมคำคมข้อคิดชีวิตรักจากแดจังกึม9


จังกึมกลับดูสงบนิ่งยิ่งนัก เมื่อพยายามสุดความสามารถแล้ว จึงมิต้องสำนึกเสียใจกระไร

หลักธรรมคำคมข้อคิดจากแดจังกึม 9

โสภณ เปียสนิท

........................................

จังกึมกลับดูสงบนิ่งยิ่งนัก เมื่อพยายามสุดความสามารถแล้ว จึงมิต้องสำนึกเสียใจกระไรอีก จะมีก็เพียงความฝันที่ไม่บรรลุได้ แต่อย่างไรก็ยังสามรถฝันต่อไปได้อีกมิใช่หรือ? เหมือนกับครั้งเป็นเด็กกำพร้า เหมือนกับครั้งที่ถูกขับไปอยู่ที่ทาเจฮอน หากมีจิตใจไม่หวั่นไหว อย่างไรก็ต้องหาทางเดินต่อไปอีกจนได้” (แดจังกึม/หน้า38/เล่ม2)

เป็นข้อคิดที่ควรเอาอย่าง เป็นแนวคิดที่ถูกต้อง คนเราเมื่อมีความหวัง พยายามทำในสิ่งที่หวังให้ถึงที่สุด ผลเป็นอย่างไร เป็นสิ่งที่ต้องทำใจ ไม่ได้ต้องไปวิตกกังวลอีกต่อไป หากทำดังนี้ได้ ความทุกข์ในชีวิตของคนก็น้อยลงมาก

ข้าน้อยได้ยินว่า เครื่องเสวยวังหลวงนั้นเป็นพื้นฐานสู่อาหารของปวงประชาราษฎร์ เวลานี้ ซุงเชแม้เป็นสมุนไพรหายาก แต่หากได้ขยายพันธุ์ไปทั่วแผ่นดิน คงต้องหยั่งรากลึกเป็นแน่แท้ ผิดกับแป้งสาลี เพราะเป็นสิ่งที่ราษฏรยากจะซื้อหามาได้เพคะ” (แดจังกึม/หน้า41/เล่ม2)

                คุณค่าแห่งชีวิตอีกประการหนึ่งของจังกึม คือ ปฏิปทาสาธารณประโยชน์ นอกจากการทำหน้าที่โดยปกติอย่างสุดความสามารถ เมื่อรู้ว่าแป้งสาลีเป็นอาหารที่ชาวบ้านหามาได้ยาก จังกึมจึงคิดหาทางหาสิ่งอื่นมาทดแทน สิ่งนั้นต้องมีคุณภาพที่ดีกว่า หรือเสมอกันแต่ราคาถูกกว่า

ถ้าอาหารทังเลิศรส ทั้งบำรุงร่ายกาย และทั้งหาทานได้ง่าย จะมีสิ่งใดประเสริฐกว่านี้อีก เด็กผู้นี้มีทั้งปัญญาและไหวพริบ หากขับคนเช่นนี้ออก แล้วยังมีใครสมควรหลงเหลือต่อไปอีก? จงบรรจุเด็กผู้นี้ลงตำหนักแทจอน เพื่อคิดค้นอาหารดี ๆ ให้แก่ฮ่องเต้และปวงประชาต่อไป” (แดจังกึม/หน้า42/เล่ม2)

                คำกล่าวนี้ให้ประโยชน์แก่ทุกคน ในด้านการรับประทานอาหาร “เลิศรสและบำรุงร่างกาย” เป็นเป้าหมายหลักของอาหาร จังกึมเกาะกุมหัวใจของการเป็นนางวังชั้นดีไว้ในตัวของเธอเรียบร้อยแล้ว คนไม่มีการศึกษาเอาลิ้นเป็นประมาณในการรับประทาน คนฉลาดเอาลิ้นและสุขภาพเป็นประมาณ ส่วนคนที่ต้องการพ้นทุกข์รับประทานให้พออยู่รอดก็เพียงพอ

เป็นมีด จากนี้ เจ้าก็เป็นนางวังเปี่ยมด้วยศักดิ์และศรีจำต้องมีมีดของเจ้าเองไว้แล้ว” (แดจังกึม/หน้า49/เล่ม2)

                นักมวยมีนวมเป็นของสำคัญในการประกอบอาชีพ นักเทนนิสมีไม้ตีเทนนิสคู่มือ เวลาเลิกประกอบอาชีพจึงเรียกว่า แขวนนวม และแขวนแร็กเก็ต (ไม้ตีเทนนิส) นางวังห้องเครื่องก็มีมีดเป็นเครื่องมือประกอบอาชีพเช่นกัน มีดที่มุ่งใช้ประโยชน์เพื่อรสชาติของอาหาร และเพื่อสุขภาพของผู้รับประทาน

ผู้ที่ล่วงรู้นั้นมิอาจสู้ผู้ที่รักชอบ ส่วนผู้ที่รักชอบมิสู้ผู้ที่เพลิดเพลิน” (แดจังกึม/หน้า449/เล่ม2)

                นี่คือหลักแห่งการประสบความสำเร็จ (อิทธิบาท) ทุกอย่างในชีวิตของคน หากจะประสบความสำเร็จในสิ่งใด ต้องมีความรู้ในสิ่งนั้น ต้องมีความรักในสิ่งนั้น รักชอบในสิ่งนั้น ก็ยังไม่พอ ต้องทำสิ่งนั้นด้วยความเพลิดเพลิน จึงจะประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม แต่ทั้งสามขั้นตอน คือ ล่วงรู้ รักชอบ และเพลิดเพลิน มีความเกี่ยวข้องกันเหมือนเชือกสามเส้นควั่นเป็นเกลียว กลายเป็นเส้นเดียวกัน

ถูกต้อง ต่อให้ร่ำเรียนมากเพียงใด ก็มิอาจเทียบได้กับผู้ที่เพลินเพลินกับตนเอง ที่เจ้าได้เรียนรู้ถึงเวลานี้เป็นศาสตร์แห่งรส แต่หากมิอาจก้าวจากศาสตร์ข้ามสู่ศิลป์แห่งรสแล้ว แม้เป็นซังกูงสูงสุดก็เป็นมิผิดไปจากนางวังห้องเครื่องทั่วไป ศิลป์แห่งรสนั้นอยู่ที่จิตใจ มิใช่ที่สมอง สิ่งที่เจ้าต้องเอาชนะมิใช่อื่นใด นอกจากตัวตนของเจ้าเอง” (แดจังกึม/หน้า449/เล่ม2)

                ข้อความนี้แสดงความเป็นศาสตร์และศิลป์แห่งอาหารไว้อย่างชัดเจน ศาสตร์อยู่ที่การเรียนรู้ ส่วนศิลป์อยู่ที่จิตวิญญาณ นั่นคือการบูรณาการทุกอย่างเข้าเป็นองค์ประกอบแห่งการปรุงอาหาร

เป็นสหายที่อยากเป็นซังกุงสูงสุด นางช่างเปี่ยมด้วยความอยากรู้อยากเห็น จิตใจเปี่ยมด้วยคุณธรรม สหายผู้เต็มไปด้วยมิตรไมตรีเช่นเจ้า จังกึม ต่อไปจงบรรลุถึงศิลป์แห่งรส จงทำความฝันของสหายเราให้เป็นจริงให้ได้” (แดจังกึม/หน้า51/เล่ม2)

                ซังกุงฮันยังคงรำลึกถึงเพื่อนรัก และใช้เพื่อนรัก คือ พาร์คเมียงอี เป็นอุปกรณ์ในการสอนจังกึม และกล่าวได้ว่า ซังกุงฮันสอนมุ่งเน้นพัฒนาจิตใจด้วยคุณธรรม เรียกว่าสอนครั้งเดียวได้ผลสองด้าน ด้านวิชาการมุ่งให้จังกึมบรรลุถึงศิลป์แห่งรส นี่คืออาชีพ ส่วนการปรุงอาหารด้วยคุณธรรมเป็นการสอนให้บรรลุถึงความสงบแห่งจิตใจ ซึ่งมุ่งแก้ปัญหาความวุ่นวายด้วยอำนาจแห่งกิเลสภายในวังหลวง

แม้มิได้สัมพันธ์สายโลหิต แต่กลับสัมผัสด้วยจิตวิญญาณ การได้พบพานนับเป็นพรที่ฟ้าประทานมาโดยแท้ ต่อให้สูญเสียทุกสิ่งในชีวิต แต่จังกึมยังมีนางเพื่อเป็นเหตุผลในการอยู่รอดต่อไป” (แดจังกึม/หน้า52/เล่ม2)

                มีพุทธภาษิตว่า “ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง” จึงกึมผูกพันกับซังกุงฮันผู้เปรียบเสมือนทั้งมารดาและอาจารย์ เพื่อทดแทนความรู้สึกที่ตนขาดบุพการีคอยดูแลสั่งสอน และนอกวังมีครอบครัวคังตอกกุ (คังดึกกู) เป็นญาติ จึงกึมจึงไม่โดดเดี่ยวจนเกินไป เพราะยังมีที่พักใจหลงเหลืออยู่

นับแต่อดีต สตรีนั้นกำหนดมาให้อยู่ในอ้อมอกของบุรุษเจ็บท้องก็คลอดบุตร แล้วจึงโอบกอดบุตร นี่เป็นชะตาที่ลิขิตไว้สำหรับสตรีเช่นพวกเรา วัยที่ต้องเจ็บคันเยื่อพรหมสารีเช่นนี้ กลับต้องมาเน่าเปื่อยในวังหลวงเสียนี่ ช่างน่าเสียดาย” (แดจังกึม/หน้า54/เล่ม2)

                คำกล่าวของภรรยาตอกกุนับว่าเป็นอีกหนึ่งมุมมองของความเป็นปุถุชนคนธรรมดาทั่วไป เธอมองเห็นวงจรชีวิตของสตรีว่า เกิดแล้วอยู่กับครอบครัว เติบโตอยู่กับสามี เลี้ยงดูบุตร แล้วตายจากไป แต่เสียดายจังกึมในวัยสาวต้องอยู่คนเดียวปล่อยความสาวให้ร่วงโรยไปอย่างน่าเสียดาย  แต่จังกึมกลับมีมุมมองที่เหนือไปกว่านี้ คือมองเห็นว่าการทำอาหาร เรียนรู้ได้ไม่สิ้นสุด และสามารถทำประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง

เน่าเปื่อยหรือ แม้สามารถเป็นซังกุงสูงสุดที่ถวายเครื่องเสวยแก่องค์ฝ่าบาทได้ อย่างไรคงไม่ด้อยกว่าเป็นสตรีในอ้อมอกบุรุษเป็นแน่” (แดจังกึม/หน้า54/เล่ม2)

                เป้าหมายที่แตกต่างกันทำให้การดำเนินชีวิตของคนแตกต่างกัน สอดคล้องกับพุทธภาษิตว่า “สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม” เมื่อเสียดายความสาว ย่อมต้องหาทางออกไปนอกวัง ชีวิตก็ไม่ได้เป็นนางวังต่อไป ส่วนอีกคน กลับเห็นว่า การได้มีโอกาสทำอาหารถวายเจ้าอยู่หัวได้เป็นสิ่งมีค่า ก็ต้องหาทางทำอาหารให้ดี ชีวิตก็ก้าวหน้าด้วยการทำอาหาร

นี่อย่างไร แม่กำลังสอนว่าโลกนี้ไม่มีสิ่งใดได้มาเปล่า ๆ การอยู่รอดในวังหลวง นอกจากแข็งแกร่งแล้ว ยังต้องโหดร้ายอีกด้วย” (แดจังกึม/หน้า58/เล่ม2)

                ภรรยาตอกกุมีแง่คิดมุมมองต่อการดำเนินชีวิตที่เที่ยงตรง แต่ขาดหลักธรรม ยามกล่าวสอนจังกึมจึงมีแง่คิดที่ควรสอนเพิ่ม หลงเหลืออยู่ เธอรู้ว่าการต่อสู้ในวังหลวงนั้นมีมาก การดำรงชีวิตอยู่ได้เป็นเรื่องยาก คนในวังจึงต้องเข้มแข็ง การต่อสู้ที่หวังชัยชนะคือต้องทำร้ายผู้อื่น จึงเป็นความโหดร้าย แต่ผลสุดท้ายของความโหดร้ายนั้น ส่งผลให้ผู้ประพฤติตกต่ำ เช่นชีวิตของคึมยอง

สตรีตรงหน้าเป็นทั้งภรรยาที่งดงาม และมารดาผู้ปรานีแม้ต้องละทิ้งความฝันการเป็นนางวัง แต่ยังได้ให้กำเนิดชีวิตใหม่ เป็นบุตรีที่ยืนอยู่ตรงหน้านางเวลานี้ เฉกเช่นหญ้าแพรกที่เลี้ยงดูผีเสื้อโมชี สิ่งมีชีวิตย่อมก่อกำเนิดสิ่งมีชีวิตใหม่ขึ้นเสมอ เช่นนั้น การเป็นนางวังจึงมิต่างไปจากการฝ่าฝืนลิขิตแห่งธรรมชาติ” (แดจังกึม/หน้า59/เล่ม2)

                จังกึมคิดเปรียบเทียบการดำเนินชีวิตตามธรรมชาติ มองเห็นว่า ผีเสื้อโมชี (ผีเสื้อที่มีจุดสีแดง) อาศัยเติบโตบนใบหญ้าแพรก ผีเสื้อโตแล้วหญ้าแพรกตายจากไป เหมือนแม่ของเธอที่ให้กำเนิดเธอแล้วตายจากไป และเธอรู้ว่าการดำเนินชีวิตเป็นนางวังไม่อาจให้กำเนิดแก่ใครได้ เป็นชีวิตที่ฝืนธรรมชาติ

 

หมายเลขบันทึก: 370875เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2010 19:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มาชม

มาเชียร์

นำเสนอในมุมมองเกาหลีมีอิทธิพลพุทธมหายานอยู่ด้วยนะครับผม...

  • ตามอาจารย์ยูมิมา
  • ตอนไปงานวิสาขบูชาโลก
  • พบพระมหายานหลานรูป
  • เอาภาพมาให้ดูครับ
  • ไปยืมรูปอาจารย์มา
  • ภาพนี้สวยจัง
  • ถ้าอยากทำภาพเคลื่อนไหวเลือก
  • ข้างล่างที่เขียนว่า AniGif ครับ
  • รอดูนะครับ
  • ภาพดอกลั่นทมหรือลีลาวดีสีขาว
  • ที่ไม่ขึ้นเพราะว่า อาจารย์ต้องบันทึกไฟล์ให้เป็น .jpg ก่อนครับ
  • แต่ผม download ภาพดอกไม้อาจารย์ได้

ขอเข้ามาแวะเก็บเกร็ด จากบันทึก ดีดีสักข้อค่ะก่อนเย็นนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท