โจรงัดบ้าน


ช่วงหน้า ทำนากัน ตนเองและชุมชน จะระวังภัย ใกล้ตัว ได้อย่างไร

เมื่อวานนี้ หลังเลิกงานแล้วได้นั่งทำงานต่อเพื่อเตรียมงานในวันใหม่ เสียงโทรศัพท์ดังขึ้นเวลา 19.00 น. เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.53  เป็นเสียงตามสาย จากพี่สาวคนโต พูดว่า "โจรเข้าบ้าน  " เป็นบ้านตนเองที่อยู่อำเภอกุดรัง  บ้านหลังนี้จะมีพี่สาวมานอนเฝ้าและดูแลให้

ในใจอยากรูว่า ได้รับอันตรายไหม จากนั้นพี่สาวเล่าว่า  วันนี้ไม่ได้อยู่บ้าน  ได้ออกไปดูไร่นา หลังจากที่จ้างเขาหว่านนาข้าวเรียบร้อยแล้ว แต่วันนี้แปลกใจ  ไม่ค่อยอยากรีบกลับบ้านไปทั้งวันอีกต่างหาก  ตามปกติพี่สาวเวลาออกไปดูไร่นา ก็จะกลับบ้าน เข้าบ้านแต่หัวค่ำ 

แต่วันนี้ คิดว่าไม่มีอะไร  ไม่ต้องรีบเข้าบ้าน  กลับบ้านมืดหน่อย  ในขณะที่เดินกลับบ้าน พี่สาวเล่าว่า เสมือนว่ามีคนเดินตามหลังมาตลอด ไม่ทราบว่าเป็นอะไร เมื่อเข้าประตูหน้าบ้านก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น  พอดีเดินไปดูประตูหลังบ้านพบว่า  มีรอยทุบลูกปิดและกลอนประตูรับเสียหาย และเมื่อเข้าไปดูภายในบ้าน ชั้นล่างไม่มีอะไรผิดปกติ

 

แต่บนบ้าน  ห้องนอนของผู้บันทึก ถูกรื้อหัวเตียงข้าวของกระจุยกระจาย  ตู้เสื่อผ้า หรือตู้ใส่ของถูกรื้อเช่นเดียวกัน  เมื่อมาดูที่หน้าห้องตู้โชว์สิ่งของก็ถูกรื้อเช่นเดียวกัน 

 

จากนั้นให้พี่สาวโทรศัพท์ไปหาพี่ชาย เพื่อที่จะไป ท่านกำนัน และไปร้องทุกข์ต่อ ร้อยเวร สภ.กุดรัง ประมาณเวลา 20.00 น.  และร้อยเวรออกมาตรวจที่เกิดเหตุ มาด้วยกัน 3 นาย เวลา 22.00 น.

พี่สาวเล่าว่า โจร น่าจะมีเวลาในการรื้อสิ่งของ เพราะเขารื้อทุกตู้ที่มี น่าจะหาทรัพย์สินของมีค่า และ ต้องการเงิน พวกที่เป็นผ้าไหม หรือ เอกสารสำคัญไม่นาย  ของชิ้นใหญ่ๆ ไม่หาย  

 

ช่วงนี้  เป็นช่วงการทำนา ของชาวอีสาน พบว่าชาวบ้านแต่ละบ้านก็ต้องออกไปไร่นากัน   ทิ้งบ้านไว้กับชุมชน  ตากปกติก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น   และได้ฝากบ้านไว้กับคนแก่ที่ไม่ได้ไปไหน  แต่คนสูงวัยหู ตา ก็ไม่ดี  ถ้าคนเดินผ่าน ไม่ส่งเสียงก็ไม่รู้ว่าเป็นใคร 

จึงเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง แต่ละบ้านก็มีสมาชิกในครอบครัว1-2 คนเท่านั้นเอง ส่วนลูกหลานก็ต้องไปทำงาน หรือไปประกอบอาชีพที่อื่น

 

ปัจจุบัน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินไม่ค่อยมี เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น ถึงแม้ว่า โจร จะได้ของที่มีค่าไปไม่มาก เมื่อขึ้นบ้านไหน ไม่ได้ของมีค่าไปเท่าไร ชาวบ้านก็พูดว่า "ไม่ต้องไปแจ้งความหรอก ทำให้มีเรื่องราวไปเฉยๆ"  คำพูดเหล่านี้แหละ  ทำให้ชุมชนเพิกเฉยต่อความรุนแรง  และทำให้โจรย่ามใจ  กระทำซ้ำแล้วซ้ำอีก

 

จะเห็นได้ว่า รายได้ของผู้คนในสังคม ไม่ค่อยจะสู้ดีนัก  ยุคข้าวยาก หมากแพง  จะทำอย่างไรที่จะให้คนในสังคม ช่วยกันสอดส่องและเป็นหูเป็นตา เฝ้าระวัง กันในชุมชน ความเอื้ออาทรที่เคยมีมาตลอดในชุมชน เมื่อมีคนแปลกหน้า หรือคนที่ไม่ทำงานในชุมชนจะต้องช่วยกันแจ้งเบาะแสให้กับเจ้าหน้าของรัฐในการป้องปราม "ไม่ใช่ธุระไม่ใช่ " ใคร หรือคนแปลกหน้าจะเข้ามาในหมู่บ้าน ไม่สนใจ  ทำให้ไม่ได้ระแวดระไวภัยที่จะเข้ามาถึงตนเอง

 

  อยากฝากว่า ช่วงการทำนานี้  จะมีวิธีการ หรือแนวทางออย่างไร ในการเฝ้าระวังปัญหา โจร ผู้ร้าย ที่เข้ามาก่อเหตุ ในหมู่บ้านของเราได้อย่างไร  ชุมชน จะต้องมีมาตราการร่วมกันหรือเปล่า  หรือจะทำอย่างไรได้บ้าง เมื่อเกิดปัญหาแล้ว ยากจะแก้ไข ได้แต่เสียความรู้สึก หรือ บอก โจร ว่า ไม่ต้องไปขึ้นบ้าน   ให้ทำมาหากิน หรือประกอบอาชีพที่สุจริต   ฉะนั้น อาจจะได้ไม่อยู่ลอยนวลอย่างที่กระทำอยู่  เชื่อว่า ผลการกระทำจะนำไปไปสู่ สิ่งที่เขาควรจะได้รับ

 

อนงค์  ปะนะทัง

1 ก.ค.53

หมายเลขบันทึก: 371038เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2010 08:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับอาจารย์  ชุมชนในชนบทของเราเปลี่ยนไปแล้วนะครับ.......

สวัสดีค่ะท่านPหนุ่ม กร~natadee 

ความสัมพันธ์ใกล้เคียง เริ่มห่างหายไป

แต่ละบ้านก็ต้องมีรั้ว

สมัยก่อน ชุมชนอีสานไม่ได้ทำรั้วบ้าน เพราะใต้ถุนบ้านจะมี วัว ความผูกไว้ใต้ถุน

แต่ปัจจุนเปลี่ยนไป เป็นความเหล็ก และประชากรมีน้อยลง อาจจะด้วยการคุมกำเนิด ต่างๆ

พบว่าทุกวันนี้ มีแต่ผู้สูงอายุ เฝ้าบ้าน  ทำให้มิจฉาชีพเข้าสู่ชุมชนได้ง่าย

ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีคค่ะยาย

มาให้กำลังใจค่ะ สู้ๆ

ของนอกกายไม่ตายหาใหม่ได้เนาะ สู้ๆ

เป็นเพราะโลกร้อนหรือเปล่ายาย อิอิอิ  จิตใจคนเลยเปลี่ยนไป

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณค่ะนุ้ย

ถือว่าเป็นบทเรียนเช่นเดียวกัน  การใส่กุญแจหน้าบ้าน ทำให้โจรรูทันทีว่าไม่อยู่บ้าน

เปิดประตูบ้านไว้ โอกาสจะของไม่หายได้นะ

แต่ก็ประมาทไม่ได้ค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท