สิ่งใหม่ในสังคมโลกสมัยนี้มิใช่สิ่งใหม่แค่คำ,ชุดวาทกรรมชุดใหม่ที่ให้ตื่นตัวแค่นั้นหรือ


        มีโอกาสได้ไปเป็นวิทยากรวันก่อนให้แก่เยาวชนในพื้นที่ไม่นึกว่าจะมีคนเอาคำพูดที่พูดให้เยาวชนฟังไปเป็นเนื้อหาคุตบะฮฺให้ได้ฟังกันในคุตบะฮฺที่ ม.อ. เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา  อัลฮัมดุลิลละฮฺครับที่มีคนเห็นความสำคัญ เพราะหลายครั้งเราละเลยมองข้ามเรื่องใกล้ตัวไปเลยตื่นตัวกับมันเสมือนเป็นเรื่องใหม่

       สิ่งที่ผมพูดในวันนั้นก่อนทำหน้าที่คือกระตุ้นให้เยาวชนตระหนักในหน้าที่ โดยเฉพาะสังคมโลกในปัจจุบันที่เรามักไหลไปตามกระแสโดยเฉพาะความเป็นวาทกรรมต่างๆที่ผ่านพบเข้ามาในชีวิตประจำของเรา เพราะทุกวันนี้เราไหลเราเชื่อไปกับวาทกรรมใหม่ๆให้เราเชื่อให้เราทำตามอยู่เป็นนิจ ไม่เคยพินิจพิเคราะห์เสาะหาที่มาที่ไปว่ามันเป็นเหตุผลอันใด หรือเป็นเพียงวิถีทางวิทยาของวาทกรรมที่ยังผลประโยชน์ให้แก่คนบางกลุ่มไม่ว่าจะเป็นวงการใดๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งวงการการศึกษา ที่เห็นจะหนักหน่อยก็วงการสังคมโดยเฉพาะพื้นที่สามจังหวัด(ชายแดน)ภาคใต้

         ผมขอยกตัวอย่างคำหนึ่งครับคำว่า "สมานฉันท์" คำนี้มักถูกนำมาผูกโยงกับพื้นที่สามจังหวัดฯ เสียส่วนใหญ่วันเวลาผ่านไปกลับกลายเป็นวาทกรรมใหม่คือคำว่า "ปรองดอง" ตามแต่สถานการณ์จะเปลี่ยนไป ขอย้อนกลับมาตรงคำว่า "สมานฉันท์" ที่เป็นวาทกรรมในพื้นที่สามจังหวัดฯ มาอย่างยาวนานครับชวนคิดอย่างนี้ครับว่า ถามว่าคำนี้เป็นคำใหม่หรือไม่หรือเป็นอะไรที่มีมาแต่เดิมนานนมแล้ว ลองเปิดพจนานุกรมดูนะครับว่าคำว่าสมานฉันท์หมายถึงอะไร คำตอบก็คือหมายถึง "ความเห็นพ้องต้องกัน"  เมื่อความหมายแท้จริงเป็นอย่างนี้ ผมอยากให้ลองมองไปที่คำว่า "ปอเนาะ" ครับว่า "ปอเนาะกับพื้นที่สามจังหวัด(ชายแดน)ภาคใต้" อยู่คู่กันมานานเพียงใด สิ่งที่กำลังจะสื่อต่อไปก็คือว่า หากปอเนาะอยู่คู่กับพื้นที่มาอย่างยาวนานคำว่าสมานฉันท์มิใช่สิ่งใหม่ในสังคมพื้นที่แห่งนี้เมื่อเปรียเทียบกับความตื่นตัวของคำนี้กับความเป็นมาที่แท้จริงของรากศัพท์ในความหมายเดิมที่ว่า "เห็นพ้องต้องกัน"

         กล่าวคือ เมื่อเรามองไปที่ปอเนาะสมัยอดีตที่ผ่านพ้นมา เด็กปอเนาะ(โต๊ะปาเก) การเป็นอยู่จะอยู่ด้วยกันในปอเนาะเป็นหลังๆเพราะฉะนั้นเวลาจะทำอะไรสักอย่างของเด็กปอเนาะสมัยอดีต เช่น การทำกับข้าวทานกัน ก็จะตกลงร่วมกันก่อนว่าเย็นนี้ วันนี้จะทำอะไรทานกัน เพราะฉะนั้นความเห็นพ้องต้องกันมันก่อเกิดขึ้นมานมนานจากการเป็นอยู่ในปอเนาะมานานแล้ว มันก็คือคำว่า "สมานฉันท์" ในปัจจุบันนี่แหละครับ

            เพราะฉะนั้นสิ่งใหม่ในสังคมโลกสมัยนี้สำหรับผมแล้วหากศึกษาดีๆไม่ใช่สิ่งใหม่เลยเป็นเพียงชุดคำหรือวาทกรรมให้เราตื่นตัวจริงหรือ แต่ที่แน่ๆเราก็อยู่กับมันมาตลอดในสังคมปัจจุบัน สิ่งสำคัญที่เขียนบันทึกนี้ก็คือว่า เมื่อเป็นเช่นนี้เราจะอยู่กับสังคม ณ ปัจจุบันที่วาทกรรมก่อเกิดขึ้นมากมายอย่างไรต่างหากครับ เพื่อรับมือสิ่งใหม่ที่ใกล้ตัวเรา เพื่อไม่ตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มทุนทางวาทกรรม โดยเฉพาะพื้นที่แห่งนี้ "สามจังหวัด(ชายแดน)ภาคใต้"

            วัลลอฮฺอะลัม...

หมายเลขบันทึก: 372847เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2010 20:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

"วาทกรรม" ถูกสร้างขึ้นเป็นเครื่องมือหรือสัญลักษณ์ของการพัฒนา...

สร้าง "กระแส" และความฮือฮาได้เป็นพัก ๆ นะครับ...

แต่ "ทางออก" ของการแก้ปัญหาที่แท้จริง...

 

                         

 

ก็หนีไม่พ้นการทำความเข้าใจ "รากเหง้า" ของชุมชนนะครับ...

เพราะเป็นหนทางที่จะ "เข้าถึง" ต้นตอของปัญหาที่แท้จริงนะครับ...

ขอบคุณมากครับบังว่าที่ ดร.

P

Mr.Direct

เข้าใจ เข้าถึง (จริงๆ) ถึงจะพัฒนาได้ครับ

มาชม

อ่านแล้วนึกถึงคำที่ว่า...อันลมปากหากหวานก็หวานเด็ด...บรเพ็ดก็ไม่มากเท่าปากขม

คือคำของคนเรานี้ถ้าหลั่งไหลออกมาจากจิตใจมีหลักธรรมทางศาสนาจะเป็นวาจาสวนกระแสสังคมโลกได้แล...และมักจะไม่สลายไปกับกาลเวลา...อิ อิ อิ

กายกรรมอาจจำเป็นกว่า วาทกรรมในสถานการณ์ปัจจุบันนะครับอาจารย์

ขอบคุณมากครับอาจารย์

P

จารุวัจน์ شافعى

เป็นกำลังใจให้ครับ กายกรรมวันนี้เพื่อสบายวันหน้าครับ

ดูแลสุขภาพด้วยครับ

แวะมาเยี่ยมครับ
สารภาพว่า ไม่ได้เข้ามาบล็อกนานมาแล้ว..
กระนั้น ก็สารภาพเช่นกันว่า ระลึกถึงมิตรภาพเสมอมา
และเป็นกำลังใจให้อย่างไม่จากจาง..

 

ขอบคุณมากครับอาจารย์

P

แผ่นดิน

สำหรับมิตรภาพที่มีมาเสมอและเสมอมาครับ

  • สลามครับ
  • ไม่ได้เข้ามานานมาก เฉียวไปเฉียวมา
  • สบายดีนะครับ

ขอบคุณมากครับบัง

P

เบดูอิน

อัลฮัมดุลิลละฮฺครับช่วงนี้ เหนื่อยหน่อยแต่ก็มีความสุขครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท