สร้างพลังใจให้ผู้ป่วยเบาหวาน


สร้างพลังใจ สถานีอนามัย รพ.สมุทรสาคร เบาหวาน

สรุปผลการดำเนินงานการสร้างพลังใจ (Empowerment) 

ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานและภาวะความดันโลหิตสูง 

 

หลักการ

                กลุ่มงานเวชกรรมสังคมร่วมกับฝ่ายสวัสดิการสังคม  จัดกิจกรรมสร้างพลังใจ (Empowerment) ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานและภาวะความดันโลหิตสูง  ร่วมกับกิจกรรม   ในการให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการ  การออกกำลังกาย  และยา  ในการดูแลตนเอง  โดยเน้นผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายในชุมชนที่เข้ารับการรักษาตัวในสถานีอนามัยเขตอำเภอเมืองสมุทรสาคร  จังหวัดสมุทรสาคร      

               วัตถุประสงค์

                1.  เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้ตระหนักถึงการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานและภาวะความดันโลหิตสูง

                2.  เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การดูแลตนเอง

 

กลุ่มเป้าหมาย

                ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (เบาหวาน  ภาวะความดันโลหิตสูงและโรคอ้วน)  ที่เข้ารับการรักษาโรคที่สถานีอนามัยเขตอำเภอเมืองสมุทรสาคร  5  แห่ง  จำนวน  96  ราย   อายุระหว่าง  14 – 82 ปี

 

สรุปผลการดำเนินงาน

                ผู้ป่วยโดยส่วนใหญ่ทราบถึงวิธีการดูแลตนเอง  จากการเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางสถานีอนามัยเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกาย  การรับประทานอาหาร  และยา  และบางรายทราบจากสื่อที่ทางสถานีอนามัยปิดแผ่นป้ายความรู้หรือแผ่นพับ  แต่ไม่ได้ดูแลตนเองเป็นประจำ  เช่น  การออกกำลังกาย  ส่วนใหญ่คิดว่าการเดินไป – มาในชุมชนหรือการทำงานบ้านเป็นการออกกำลังกายที่ดีอยู่แล้ว  บางรายชราภาพและมีปัญหาสุขภาพ  ปวดเข่า  เหนื่อยง่าย  ทำให้เป็นอุปสรรคในการออกกำลังกาย  เป็นต้น  สำหรับเรื่องการรับประทานผัก  ผลไม้มากขึ้น  อาหารประเภทแป้งน้อยลง  ส่วนใหญ่ทำอาหารเองจึงไม่มีความกังวลเรื่องอาหารที่อาจมีผลต่อภาวะสุขภาพ  สำหรับยารักษาโรคเป็นเรื่องที่ผู้ป่วยให้ความสำคัญในการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งและคิดว่าเป็นวิธีการรักษาที่เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

                การสร้างเสริมพลัง (Empowerment)ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานและภาวะความดันโลหิตสูงเน้นการดูแลตนเองด้านอาหารและการออกกำลังกายและยา  เพื่อลดภาวการณ์แทรกซ้อนของโรค  ซึ่งได้กระตุ้นให้ผู้ป่วยเห็นถึงศักยภาพภายในของตนเอง  ได้แก่  อารมณ์ความรู้สึกทุกข์จากการเจ็บป่วยต้องการหายจากโรคภัยไข้เจ็บหรือสามารถป้องกันโรคได้ด้วยตนเอง  ระบบการคิดวิเคราะห์ความรู้ที่ได้รับ  เช่น  การออกกำลังกาย  การโภชนาการและยา  และที่สำคัญเกิดการตัดสินใจทำในสิ่งที่เห็นว่าควรทำ  ดี  เหมาะสม  เป็นการประมวลความคิด  พลังใจ  พลังสมอง  พลังปฏิบัติ  เกิดพลังสร้างสรรค์นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีด้วยตนเอง

 

 

หมายเลขบันทึก: 373192เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2010 08:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 12:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มาชม

กำลังใจให้ผู้ป่วยเป็นยาวิเศษอย่างดีนะครับผม...

ขอบคุณค่ะที่แวะมาชม

กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคนเลยค่ะ

น้องแหม่มลืมเข้าระบบอีกแล้วค่ะ

ผู้ป่วยเบาเบาหวานส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่หายขาด

จึงหมดกำลังใจที่จะรักษา อันที่จริงแล้วแม้เป็นเบาหวานก็สามารถมีชีวิตอย่างปกติสุขได้

จะเป็นการดีเสียอีกที่ได้หันมาดูแลตนเอง ระวังเรื่องการรับประทานอาหาร

ที่เกินความจำเป็น และไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อีกทั้งตระหนักถึงการอออกกำลังกาย

ที่สำคัญการบริหารจิตก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะจิตที่มีสมาธินั้นนำความสุขใจ

และเป็นพลังใจให้เรามากยิ่งขึ้นพรุ่งนี้พบกันที่โรงเรียนวัดบ้านไร่นะคะ

ขอบคุณค่ะ

มารองานเรื่องของเด็กน้อยวัดบ้านไร่ ค่ะ

พรุ่งนี้จะไปเยี่ยมบ้านเด็กๆแถวสหกรณ์

จะแวะหาน้องเพ้ย

เอาความภูมิใจของป้าแหม่ม

ที่มีต่อน้องเพ้ยไปฝากด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท