หน้าตาแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว


มีคนเขียนคำนิยามไว้หลายที่ ทั้งไทยและเทศ ผมว่าเราอยู่เมืองไทย ฟังอาจารย์คนไทยของเราว่าไว้ก็น่าจะครบถ้วนดี

 ผมมีความภูมิใจที่ได้รับอนุมัติบัตรผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ครอบครัว แม้จะถูกมองด้วยสายตาแปลกๆจากรุ่นน้องที่ผ่านการเรียนเพื่อการสอบแบบวุฒิบัตร หลายครั้งที่มีคนถามว่าเป็นหมอเชี่ยวชาญด้านใด ผมรู้สึกว่าคำตอบมันยาวและ คนฟังก็จะทำหน้างงๆ ในใจผมคิดว่าน่าจะมีชื่อเล่นที่เรียกง่ายๆให้คนทั่วไปเข้าใจ อย่างหมอ Orthopedic เรียกว่าหมอกระดูก เป็นต้น แต่นึกไม่ออกว่าควรเรียกตัวเองว่าอะไรดี

  มีคนเขียนคำนิยามไว้หลายที่ ทั้งไทยและเทศ ผมว่าเราอยู่เมืองไทย ฟังอาจารย์คนไทยของเราว่าไว้ก็น่าจะครบถ้วนดี ตามนี้ครับ http://www.thaifammed.org/article/whatFM.html

  หรือสรุปย่อๆโดย อ้างอิงจากบทความของ พญ.สุพัตรา ศรีวาณิชชากร ในเรื่อง "ความสำคัญของเวชศาสตร์ครอบครัว" ไว้ว่า

Principle of FM in Thailand

1. Doctor-patient Relationship

2. Comprehensive Clinical primary care to all family member

3. Community-oriented/population-oriented care

   ส่วนจะมีอยู่แถวๆบ้านท่านหรือปล่าว อันนี้ผมไม่ทราบจริงๆครับ

หมายเลขบันทึก: 373638เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2010 20:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 15:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ผมว่า ในอนาคตการประเมิน คุณค่า น่าจะอยู่ที่ผลงานมากกว่าครับ

ใบรับรองอะไร พอมี มากๆ เข้า มัน ก็ ดู สับสนได้ครับ

แสดงความยินดีด้วยครับ

ผมว่าสำคัญสุด หมอครอบครัวเป็นที่ใจและพฤติกรรมครับ วว. อว. สำคัยตรงไหน ถ้าไม่ได้ทำงาน primary care ผมมองไปที่ปัจจุบันว่าจะทำอย่างไรให้งานปฐมภูมิของประเทศเจริญแบบไม่ยึดติดตัวตน ผมมองว่า "การเป็นหรือไม่เป็นอะไร(อว. วว.)เป็นเรื่องสมมุติ....ผมมองไปที่คุณสมบัตรภายในมากกว่าหีบห่อครับ"

ผมไม่ได้พิมพืผิดนะครับ สำหรับ "คุณสมบัตร"

แล้วเราจะร่วมสร้างงาน primary care บ้านเราให้พัฒนาอย่างไรได้บ้างหล่ะครับ อาจารย์โรจน์

ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ

การที่มีแพทย์สักหนึ่งคนลงไปอยู่ในตำบลก็ทำให้ประชาอุ่นใจแล้ว

ขอบคุณที่มองเห็นคุณค่าของคนบ้านบ้านค่ะ

มาร่วมกันพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังในเมืองไทยกันเถอะครับ

http://sites.google.com/site/pcunet/

สวัสดีครับ.อาจารย์

เป็นสาขาวิชาใหม่ที่เป็นความหวังของชาวบ้านจริง ๆ ครับ

ขอแสดงความยินดีกับ วุฒิบัตร "หมอชาวบ้าน" ครับ

เอ...!!! มีพื้นที่ไหนต้องการหมอแบบนี้บ้างครับ(หมอประจำครอบครัว....แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว) ช่วยกันแสดงให้รัฐบาลหรือผู้กำหนดนโยบายทราบด้วยครับ

สวัสดีครับพี่หมอสีอิฐ

ผมประชาสัมพันธ์งาน "12 ปีเวชศาสตร์ครอบครัว กับการพัฒนาเวชศาสตร์ครอบครัวไทย ในวันที่ 22-24 ตุลาคม 2553" เป็นงานที่น่าสนใจและอาจตอบคำถามของพี่เรื่องความร่วมมือพัฒนา primary care ประเทศไทย จัดโดย สพช. และชมรมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแผห่งประเทศไทย ถ้าสนใจผมจะส่ง file ไปให้ครับแต่ไม่มี mail ผมส่งผ่าน e-mail ผมไปทาง gotoknowให้พี่ครับ

ขอบคุณอาจารย์หมอโรจน์ สนใจครับ ส่งมาที่ [email protected] หรือฝากไว้ที่ 

http://sites.google.com/site/pcunet ก็ได้ครับ

 

สวัสดีวันแม่ค่ะ  คุณหมอ

สวัสดีครับ คุณหมอสีอิฐ

น่าจะเรียกว่า..แพทย์เพื่อครอบครัว หรือเปล่าครับ?

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ

คุณหมอเพื่อครอบครัว

ชอบคำนี้จังค่ะ

ถ้าอยากได้แพทย์แบบนี้ต้องช่วยกันแสดงความต้องการออกมาดังๆครับ

ความเห็นส่วนตัว..จริงๆ คะ คือ

ไม่ค่อยเห็นด้วยกับการใช้คำว่า "เวชศาสตร์ครอบครัว" !! เราแปลแบบตรงๆ จาก Family medicine แบบอเมริกา (อังกฤษใช้คำว่า General practisioner ซึ่งปรับบทบาทโดยคงคุณค่า primary care แต่เขาไม่เปลี่ยนชื่อ) แต่ "Family" ในนัยยะของอเมริกาก็ ไม่ได้หมายถึง เชี่ยวชาญการดูแลครอบครัว.!! สถาบันที่ Family medicine ติดอันดับต้นๆ เช่น UW at seattle ล้วนมีบทบาทไปถึง Primary care "system" - (คนจะเป็นหมอที่ดีได้ ระบบต้องดีด้วย, ถ้าระบบไปไม่รอด หมอก็ไปไม่รอดเหมือนกัน)

แล้วการเป็น "แพทย์ปฐมภูมิ" (ชอบคำนี้มากกว่าคะ) ในอุดมคติ ควรมี competency อย่างไรนั้น เห็นด้วยกับหลักการสามข้อโดย อ.สุพัตรา ที่เคารพ ทุกประการคะ

1. Doctor-patient Relationship -> ส่วนมากเราจะเน้นตรงนี้อยู่แล้ว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ แต่ควร balance และ pragmatic กับอีกสองข้อถัดไปคะ

2. Comprehensive Clinical primary care to all family member -> comprehensive ควรรวมถึง การมองเชิงระบบ บริหารจัดการองค์กร , cost-effective analysis เพราะเป้าหมายคือสร้างแพทย์ผู้สร้างสรรค์ระบบบริการปฐมภูมิ

3. Community-oriented/population-oriented care -> จุดนี้มีน้อยเกินไป สถาบันโรงเรียนแพทย์มักไม่ถนัด แต่ช่องทางให้มี win-win partnership ระหว่างสถาบันอบรมผู้มี Big head กับ หน่วยบริการปฐมภูมิตัวจริง ผู้มี Big heart (และ Hand) คือ "Primary care/Community engaged research" เป่าหมายคือสร้างแพทย์ที่สามารถทำงานวิจัยที่นำไปสู่ระบบบริการได้ เช่นงานวิจัยเบาหวาน อ.โรจน์ เป็นตัวอย่างที่ดีมากคะ ( มากไปกว่า survey บลาๆๆ)

ขออภัยหากบางส่วนรุนแรงไป แต่ก็มาจากใจจริงนะคะ

เบาไปด้วยซ้ำครับอาจารย์...ขอบคุณอาจารย์มากครับที่ช่วยขยายความ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท