256 : ชวนไปชม 'รอยยิ้มสีรุ้ง' หรือการทรงกลดแบบ CZA


 

ในที่สุด สมาชิกชมรมคนรักมวลเมฆ ก็มีโอกาสได้เห็นการทรงกลดอีกรูปแบบหนึ่ง

อ.อัฐ ณ หางดง (พงศธร กิชเวช) ได้นำภาพ & คลิปวิดีโอมาฝากไว้ที่ ชมรมคนรักมวลเมฆ สาขา FaceBook

[ตามไปชมภาพ] [ตามไปชมคลิป]

ในภาพ & คลิปนี้ จะเห็นการทรงกลดแบบวงกลมที่เราคุ้นเคย

แต่เมื่อมองสูงขึ้นไป ก็จะเห็นเส้นโค้งสวยงามชวนฉงน

เรียกว่า

เส้นโค้งเซอร์คัมซีนิทัล (CircumZenithal Arc)

 

ดูตัวอย่างจาก Wikipedia นี่ซะก่อน


ที่มาของภาพ

ถ้าดูเทียบกับ การทรงกลดแบบวงกลม ก็จะเห็นแบบนี้ครับ


ที่มา 

 

หนังสือ The Cloud Collector's Handbook หน้า 96 ระบุว่า

ถ้าเห็นรอยยิ้ม CZA ก็รับไปเลย 45 แต้ม

และถ้าเห็นซันด็อก (sundogs) ร่วมด้วย ก็รับเพิ่มอีก 25 แต้ม

 

การทรงกลดแบบนี้ดูละม้ายคล้ายรอยยิ้ม (ขนาดยักษ์) สีรุ้งบนท้องฟ้า

นับเป็นรูปแบบที่เกิดถี่อันดับต้นๆ ในบรรดาการทรงกลดกว่า 30 รูปแบบ

 


ภาพดัดแปลงจากเว็บนี้

 

จากแผนภาพจะเห็นว่า รอยยิ้ม CZA นี้เกิดจากผลึกน้ำแข็งหกเหลี่ยมแบบแผ่นแบน

เส้นทางเดินของแสงเป็นอย่างนี้นะครับ


ที่มา

แสงขาววิ่งเข้าหน้าบนของผลึก หักเหแตกเป็นสีรุ้งภายใน จากนั้นก็ทะลุออกทางด้านข้าง

 

แง่มุมที่น่าสนใจก็คือ รอยยิ้มสีรุ้ง CZA นี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามมุมเงยของดวงอาทิตย์

ในภาพนี้ Zenith หรือ จุดยอดฟ้า เป็นจุดที่อยู่เหนือศีรษะเราโดยตรง

ส่วนตัวเลขที่มีองศา คือ มุมเงยของดวงอาทิตย์นะครับ


ที่มาของภาพ

 

ในการเกิดรอยยิ้มสีรุ้ง CZA ดวงอาทิตย์จะต้องมีมุมเงยเหนือขอบฟ้าไม่เกิน 32.3 องศา

เพราะหากดวงอาทิตย์สูงกว่านี้ เส้นรอยยิ้มจะมีขนาดเล็กและจางลงจนมองเห็นได้ยาก

 ในทางปฏิบัติ เราจะเห็นรอยยิ้มสีรุ้งนี้เมื่อดวงอาทิตย์มีมุมเงยในช่วง 15-25 องศา  

และเห็นได้ชัดเจนที่สุดที่มุมเงย 22 องศา

 

 เมื่อได้ทราบข้อมูลพื้นฐานแล้ว ก็ขอส่งท้ายด้วยภาพรอยยิ้ม CZA เหนือมหานครนิวยอร์ค


ที่มา (รอตรวจสอบ)

 

เมื่อไรกรุงเทพจะมีรอยยิ้มนี้บ้างหนอ?

[เชียงใหม่ได้รอยยิ้มประทับใจไปแล้วหนึ่ง :-P เอ้ย! :-)]

 


สนใจข้อมูลเพิ่มเติม? นี่เลย...

 


หมายเลขบันทึก: 374585เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2010 13:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:13 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

มาชมภาพ รุ้งยิ้ม ฝั่งเวียงเจียงใหม่ นี่เค้าเจอเมฆ ฟ้างามๆ นะคะ อ.ฉ. เล็กน้อยถึงปานกลาง ;) 

ท่านอ.หมอเมฆค่ะ รอชมภาพฟ้าที่อ.อุบอิบไว้ บอกว่าจะเอามาโพสต์ให้ชมกันอีกค่ะ ;)

คุณปู ณ อันดามัน

         คุณปูยังดีครับ ผมนี่ อ.ฉ. มาก ถึง มากที่ซู้ดดดดด....อิอิ

         เดี๋ยวแวะมาชมใหม่ครับ + รอภาพคุณปูด้วยนะเออ ;-)

มาอ.ฉ.บ้าง เคยเห็นที่นครปฐม แต่เวรกรรมมีจริง ดันไม่ได้เอากล้องมา ช่วงนี้เลยมีกล้องติดตัวเสมอ ยกเว้นตอนเข้าห้องน้ำก๊ากๆๆๆๆๆ

ขอบคุณค่ะ..สวยงามมากค่ะ...อยากเห็นปรากฏการณ์เช่นนี้บ้าง...

                           ภาพนี้เพื่อนส่งมาให้ดูเล่นค่ะ...

สวยนะคะ รอยยิ้มสีรุ้ง ชมแล้วก็อยากได้ชมจริงๆบ้างค่ะ ของคุณพี่ใหญ่ก็น่าชมมาก ขอบคุณการอธิบายให้เข้าใจนะคะ

          

อ.แอ๊ด 014

          อ.ฉ. วันละนิด...จิตแจ่มใส ครับ ;-)

          ไม่เอากล้องเข้าห้องน้ำดีแล้วครับ เดี๋ยว...เลอะ...อิอิ

พี่นงนาทครับ

          ภาพที่นำมาฝากนี่ เรียกว่า Glory (วงสีรุ้ง) และ Brocken spectre (เงาข้างในวง) ครับ เป็นปรากฏการณ์ทางแสงรูปแบบหนึ่ง

         ไว้จะหาโอกาสขยายความอีกทีครับ ถ้านสนใจ ลองแวะไปดูข้อมูลที่นี่ก่อนครับ : http://atoptics.co.uk/droplets/globrock.htm

                  

 

พี่ดา สวัสดีครับ

           ที่เชียงใหม่นี่ เห็นคุณอัฐ (อยู่ที่ หางดง) & น้องลูกเกด (อยู่ที่ แม่ริม) บอกว่าช่วงนี้เกิดอาทิตย์ทรงกลดแทบทุกวันเลยครับ บางวันเกิดนานถึง 3 ชั่วโมงทีเดียว

พี่ไก่ สวัสดีครับ

         ผมก็ยังไม่เคยเห็นด้วยตาตัวเองครับ ส่วนคุณอัฐนี่ก็เห็นครั้งแรกโดยบังเอิญเหมือนกันครับ พวกเราต้อง 'หยิ่ง' กันให้มากกว่านี้ซะแล้ว...

ขอบคุณค่ะที่ link website ข้อมูลเรื่อง The Brocken Spectre ได้เข้าไปดูประกอบบันทึกนี้ค่ะ :

http://gotoknow.org/blog/nongnarts/375037

     

ขอบคุณมากครับพี่นงนาท

        จะตามไปชมครับ ^__^

วันนี้มีออกทีวี คุณครูเขาสงสัยว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร?...........ขออนุญาต printout ไปฝากครูวิทย์นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท