Case Study เรื่องคนอพยพ : ในประเทศญี่ปุ่่น


 

            วันนนี้ได้คุยกับดร.ซาริ อาจารย์มหาวิทยาลัยนาโกยา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีหลายประเด็นที่หารือกัน และอาจารย์ซาริก็ได้เล่าเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย เกี่ยกวับประวัติศาสตร์ของคนในประเทศญี่ปุ่น 2 เรื่อง คือ

 

  1. เรื่องการที่ให้คนญี่ปุ่นที่เคยไปทำงานนอกประเทศกลับเข้ามาทำงานในประเทศญี่ปุ่น

     เมื่อประมาณปีค.ศ. 1940 ประเทศญี่ปุ่นยากจนมาก ไม่มีเงินเลี้ยงประชาชนในรัฐได้ จึงส่งคนออกไปทำงานนอกประเทศมากมาย โดยเฉพาะประเทศแถบทางอเมริกาใต้ และในสมัยต่อมาประเทศญี่ปุ่นเจริญแล้ว อัตราการเกิดของประชากรมีน้อย จึงขาดแคลนแรงงาน ทำให้อยากได้แรงงานกลับประเทศ เพราะว่าคนญี่ปุ่นในประเทศมีน้อยลง ดังนั้น จึงให้สิทธิคนญี่ปุ่นที่ไปทำงานต่างประเทศตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลก เหล่านั้นกลับมาได้ ให้ VISA ถาวร มีโอกาสได้สัญชาติญี่ปุ่นถ้าหากว่าอยู่ญี่ปุ่นมากกว่า 10-15 ปี และคนพวกนี้ถือว่าเป็นคนเชื้อสายญี่ปุ่น เคยอยู่ในญี่ปุ่น มีเชื้อสายญี่ปุ่น กฎหมายสัญชาติญี่ปุ่นก็ให้สัญชาติญี่ปุ่น

 

  2. เรื่องคนเกาหลีในประเทศญี่ปุ่น

      เมื่อประมาณปีค.ศ.1910-1945 สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลญี่ปุ่นเชื่อว่าเกาหลีเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น และดินแดนทั้งหมดบนคาบสมุทรเกาหลีก็คือดินแดนของประเทศญี่ปุ่น ไม่มีประเทศเกาหลีตามความคิดของรัฐบาลญี่ปุ่นในสมัยนั้น จึงทำให้คนเกาหลีได้สัญชาติญี่ปุ่นหมดทั้งประเทศ เท่ากับว่าไม่มีสัญชาติเกาหลี คนเกาหลีทุกคนเป็นคนสัญชาติญี่ปุ่น

      ต่อมาเมื่อปีค.ศ.1945 ประเทศญี่ปุ่นแพ้สงครามก็ปล่อยอาณานิคม มีคนเกาหลีเกิดในประเทศญี่ปุ่นก็สามารถเลือกสัญชาติญี่ปุ่นหรือเกาหลีก็ได้

      แต่เมื่อถึง 1952-1954 ในประเทศเกาหลีเกิดสงครามเกาหลี ซึ่งทำให้คนเกาหลีบางคนเปลี่ยนสัญชาติเป็นญี่ปุ่น ซึ่งมีประมาณ 200,000 คน แต่จริง ๆ แล้ว พวกเขาไม่อยากเป็นคนญี่ปุ่น แต่ก็ไม่กลับดินแดนประเทศเกาหลี คนเกาหลีในประเทศญี่ปุ่นนั้น ญี่ปุ่นก็ให้ VISA ถาวรให้ และศาลญี่ปุ่น เห็นว่าพวกเขาจริง ๆ แล้วไม่อยากมาอยู่ในดินแดนของประเทศญี่ปุ่น แต่รัฐบาลญี่ปุ่นบังคับให้เขามาญี่ปุ่น เพราะสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นต้องการแรงงาน ทหาร และคนงานในเหมือง เมื่อคนเกาหลีในญี่ปุ่นมีลูก ก็ต้องไปขอสัญชาติ ต้องทิ้งสัญชาติเกาหลี

 

 

หมายเลขบันทึก: 376757เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2010 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท