สิ่งที่ผมเขียนในแนวหน้า 2 เรื่อง เรื่องการรักษาการอธิบดีตำรวจ และเรื่องการเรียนรู้ที่ จ.เลย เป็นความจริงแล้ว


        ผมขออนุญาตให้ข้อมูลเกี่ยวกับบทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้าที่ผมเขียนในคอลัมน์ของผม และได้ทายเหตุการณ์ล่วงหน้าไว้ ซึ่งปัจจุบันเป็นความจริง

1. รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งปัจจุบัน คือ พล.ต.อ.ประทีป  ตันประเสริฐ ได้รับตำแหน่งเป็นรักษาการ ผบ.ตร. มาเป็นระยะเวลา 8 เดือน และสมัยที่ผมเป็นรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อ.นงเยาว์ ชัยเสรี ให้เป็นเป็นรักษาการถึง 2 ปี

2.  เมื่อการเรียนรู้ของ เลยโมเดล ก่อนที่รัฐบาลได้ไปจัดการประชุมปรองดองที่จังหวัดเลย เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา  ผมได้พบกับท่านผู้ว่าฯพรศักดิ์และไปเยี่ยมที่ราชภัฏ ผมได้นำคณะไปสร้างสังคมการเรียนรู้ที่จังหวัดเลย และผมยังได้เรียนรู้ที่จ.เลย ได้เห็นความปรองดองระหว่างผู้ว่าฯการกับการปรองดอง

                                                  จีระ  หงส์ลดารมภ์

 

บทความแนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม 2552

ติดตาม Blog ย้อนหลังได้ที่ http://www.naewna.com/allnews.asp?ID=97&HL=0&no=4 

 
วิกฤติ กตช.:ตั้งรักษาการอาจเป็นทางออก (บทเรียนจากความจริง กับ ดร.จีระ)
 
สัปดาห์นี้ ประเทศไทยน่าเรียนรู้มากๆ ลอกกับการเรียนรู้ไม่เหมือนกัน เด็กไทยต้องไม่ลอกเกิน 20% ผู้ใหญ่ก็ต้องคิดเป็นด้วย

นายกฯอภิสิทธิ์ กำลังหาทางออกเพื่อตั้ง พลตำรวจเอกปทีป ตันประเสริฐ ตามที่ต้องการ ผู้คัดค้านก็ยังยันเหมือนเดิม คือไม่เอา คนข้างนอกจึงงง

* รัฐบาลชุดเดียวกัน

* ประชุม 2 ครั้ง แล้วยังไม่ได้ ผบ.ตร.

* ปัญหา เบื้องหลังจริงๆ คืออะไร

* ประเทศไทย ได้ประโยชน์อะไร

พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ, พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย

ผมก็เลยต้องช่วยแนะนำหาทางออก ซึ่งอาจจะเป็นช่องทางหนึ่ง คือตั้งพลตำรวจเอก ปทีป ตันประเสริฐ รักษาการ ก็แค่ 1 ปีเท่านั้น ทำไม?และมีตัวอย่างไหม?

* ตัวอย่างก็คือผมเอง ในขณะที่ ศ.คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี เป็นอธิการบดี วาระที่ 2 20 กว่าปีแล้ว ท่านโทรศัพท์มาให้ผมไปเป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ในช่วงนั้นผมเป็นผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วาระที่ 1 จึงปฏิเสธท่านไปว่า ขอไม่รับตำแหน่งนั้น เพราะในธรรมศาสตร์ เป็นองค์กรที่เน้นธรรมาภิบาลสูงมาก ไม่ให้ใครควบ 2 ตำแหน่ง เพราะตำแหน่งผู้อำนวยการก็เทียบเท่ากับคณบดีหรือรองอธิการบดีอยู่แล้ว

ซึ่งผมคิดว่าอาจารย์คุณหญิงนงเยาว์หาคนอื่นแทน แต่ท่านก็คงคิดคล้ายนายกฯอภิสิทธิ์ คือมีความมุ่งมั่นสูงและไม่ยอมแพ้ อีก 2-3 วัน มีคำสั่งของท่าน (โดยไม่ต้องผ่านสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ให้ผมรักษาการ ซึ่งผมก็รักษาการตำแหน่งรองอธิการอย่างเต็มที่ครบ 2 ปี ตามวาระของอาจารย์คุณหญิงนงเยาว์

กรณีของพลตำรวจเอก ปทีป ตันประเสริฐ แค่ปีเดียวจึงคิดว่าเป็นทางออกหนึ่ง การต่อสู้กันในครั้งนี้ คล้ายเป็นเกม คุณเดินมาอย่าง ฉันก็เดินตอบโต้อีกอย่าง ก็ต้องเป็นหน้าที่ของท่านนายกฯต้องโต้ตอบสู้ต่อไป
งานเลี้ยงต้อนรับ Mr. Joseph Blatter ประธานสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ(ฟีฟ่า) โดยมี ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ เข้าร่วมงานด้วย ณ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันอังคารที่ 15 กันยายน 2552

ผมรักษาการรองอธิการบดีที่ธรรมศาสตร์ก็ได้รับความร่วมมือจากทุกๆ คนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังไม่มีใครเรียกว่า รักษาการศักยภาพการทำงานของผมก็ถือว่าอยู่ครบถ้วน ช่วงนั้น อาจารย์คุณหญิงนงเยาว์มอบให้ผมประสานงานกับคุณถาวร พรประภา เพื่อรับมอบที่ดิน 500 ไร่ ที่พัทยา ในฐานะรักษาการผมก็ทำให้เสร็จเรียบร้อยเป็นของธรรมศาสตร์ในยุคผม (รักษาการ) ขณะนี้ที่ดินตรงนี้มีมูลค่าเกิน 1,500 ล้านบาท

คุณอภิสิทธิ์อ่านแล้วก็ไม่ต้องเชื่อผม ศึกษาข้อมูลให้รอบคอบปรึกษาผู้ใหญ่ให้ดี โดยเฉพาะนายกฯชวนและสำนักงานกฤษฎีกา ถ้าจำเป็นก็ตั้งรักษาการได้ ให้มีสิทธิ์และกฎหมายรองรับทุกๆ อย่าง

สมัยรัฐบาลคุณสุรยุทธ์ ท่านก็เคยตั้งพลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส แทนพลตำรวจเอกโกวิท วัฒนะ ก็รักษาอยู่ 7 -8 เดือน

สัปดาห์นี้ผมมีโอกาสไปร่วมต้อนรับ โจเซฟ แบลทเทอร์ 2 ครั้ง คุณวรวีร์ มะกูดี และคุณองอาจ ก่อสินค้า กรุณาเชิญผมไปที่ทำเนียบ และไปเปิดสนามฟุตบอลเยาวชนที่หนองจอก ซึ่งได้ประสบการณ์มากเรื่องกีฬากับการพัฒนาเยาวชน

สรุปว่าในความคิดของ โจเซฟ แบลทเทอร์ กีฬา คือยาวิเศษในการสร้างคนให้เป็นคน
ฯพณฯ ศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถ่ายรูปร่วมกับ คุณมงคลัตถ์ พุกะนัดด์ ประธานสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ คณะวิทยากรและผู้เข้าร่วมสัมมนาในพิธีเปิดโครงการพัฒนาผู้นำสหกรณ์ "หลักสูตรผู้นำสหกรณ์ขั้นสูง" รุ่นที่ 4 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน 2552 ณ โรงแรมทาวน์อินทาวน์ พัทยากลาง

ได้คุยกับคณะทำงาน ของคุณแบลทเทอร์ เก่งๆ หลายคน และคุณแบลทเทอร์ ก็สนใจการพัฒนาเยาวชนไม่ใช่มองกีฬา ในมุมแคบๆ เพื่อกีฬาเท่านั้น

ท่านกล่าวที่หนองจอกพูดแบบปรัชญาว่า ฟุตบอลสำคัญมาก แต่ชีวิต (Life) ของพวกเราสำคัญกว่า

ผมสังเกตดูในวงการกีฬา เริ่มมีคนมองกีฬาในมุมกว้างมากขึ้นและผมก็ดีใจที่ได้มีส่วนร่วมบ้างเล็กน้อย

สุดท้ายมีกิจกรรมที่น่าสนใจของผม 2 เรื่อง

* การไปร่วมพิธีเปิด ภาวะผู้นำขั้นสูง ของสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย รุ่น 4 ที่พัทยา ซึ่งจะเรียน 4 เดือนเต็ม ต้องยอมรับว่า สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย โดยเฉพาะประธานคุณมงคลัตถ์ พุกะนัดด์ มีความสำคัญมากขึ้นสามารถเชิญรัฐมนตรีที่ดูแลการสหกรณ์มาเปิดงาน คือคุณศุภชัย โพธิ์สุ ท่านก็ได้แสดงจุดยืนว่า สหกรณ์เป็นขบวนการสำคัญมากๆ ต่อการพัฒนา คือเศรษฐกิจการเมือง ท่านเคยเป็นสมาชิกสหกรณ์มาก่อน รถมอเตอร์ไซค์คันแรกก็กู้จากสหกรณ์

ขอต้อนรับผู้นำขั้นสูง รุ่น 4 มีผู้นำเข้าร่วมแล้วทั้งหมด 160 คน ผมทำอะไรต้อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่องและผนึกกำลังกัน
ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศถ่ายรูปร่วมกับ คุณประเสริฐ แก้วเพ็ชร รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) คุณจรัญ พรมเสน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษาและผู้เข้าร่วมสัมมนาในพิธีเปิดโครงการพัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพระยะที่ 1 เมื่อวันอังคารที่ 15 กันยายน 2552 ณ ชลพฤกษ์รีสอร์ท จังหวัดนครนายก

เมื่อวันอังคารมีพิธีเปิดโครงการพัฒนาผู้นำข้าราชการ ก.พ. ส่วนกลางของสำนักงานอาชีวะ ส่วนกลางอีก 35 ท่าน ที่นครนายก ซึ่งเป็นการทำงานต่อเนื่องกันมา 8 - 9 ครั้งที่ผมมีโอกาสมาช่วยการอาชีวศึกษา

* เลขาธิการ เฉลียว อยู่สีมารักษ์ เอาจริงเรื่องการพัฒนาคนและเน้นส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคคู่กันไป

* รองเลขาธิการ ประเสริฐ แก้วเพ็ชร มีพฤติกรรมใฝ่หาความรู้ ได้ฟังท่านกล่าวเปิดแล้วประทับใจมาก

* ผอ.จรัล พรมเสน ผอ.คนใหม่ก็สนใจเรื่องคนเช่นกัน

ก็เลยมีความสุขที่ได้ทำงานคืนกำไรให้แก่ชาติบ้านเมืองของผมครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
www.chiracademy.com
http://gotoknow.org/blog/chiraacademy
โทร.02-619-0512-3 ,089-200-1471
โทรสาร 02-273-0181
 

  

 

บทความแนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม 2553

ผมได้เรียนรู้หลายอย่างที่จังหวัดเลย (บทเรียนจากความจริง กับ ดร.จีระ)
 
เมื่อวันที่ 11-12 ที่ผ่านมา ผมและทีมงานได้มีโอกาสไปพัฒนาครูอาชีวะ 100 คนที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาเลย การไปครั้งนี้ ไม่ได้เรียนรู้เฉพาะเรื่องอาชีวะที่จังหวัดเลย แต่ได้หารือ รับฟัง ปรึกษากับบุคคลหลายๆ ฝ่ายในจังหวัด ขอรายงานว่าผมและคณะได้เรียนรู้อะไรบ้าง เพื่อนำไปประกอบความรู้ที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของคนไทยในยุคต้องอยู่รอดปัจจุบัน

สิ่งแรกที่ได้เรียนรู้ คือ การท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นภูกระดึง เชียงคาน ภูหลวง ฯลฯ ผมคิดว่า คนไทยทุกคนคงจะคิดคล้ายผมว่า จะต้องหาโอกาสไปเที่ยวเลยให้ได้ แต่ถ้าไม่ตั้งใจจริงๆ ในชีวิตของเขาก็อาจจะเลยไม่ได้มาก็ได้ อ่านแล้วตั้งใจมาถึงเลยให้ได้อย่างน้อย 1 ครั้ง

ธรรมชาติที่สวยงาม จากการผสมผสานวัฒนธรรมของลาวกับไทย เป็นสิ่งที่หาดูได้ยาก

จุดอ่อน ของจังหวัดเลยเรื่องการท่องเที่ยวก็คือการคมนาคม ปัจจุบันมีสนามบิน แต่ไม่มีเครื่องบินลง ต้องไปลงที่อุดรธานี ไม่น่าเชื่อว่า แค่ 140 กิโล ถนนยังเป็น 2 ช่องทางอยู่ บรรดานักการเมืองในเลยน่าจะใช้งบไทยเข้มแข็งสร้างถนนให้ได้ 4 ช่องทาง เพราะจะเป็นช่องผ่านไปลาวด้วย



สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในจังหวัดเลย

การประชาสัมพันธ์เรื่องการท่องเที่ยวจังหวัดเลยยังทำไม่ได้ผลเท่าที่ควร

ประเด็นที่ 2 คือ เรื่องการเมืองอีสานและประเทศไทย แหล่งข้อมูลมาจาก

* ได้พบปะและหารือกับ ส.ส.ในภาคอีสานหลายคน

* ได้พบผู้ว่าราชการจังหวัดเลย รองผู้ว่าฯ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เจ้าหน้าที่ที่เป็นหัวหน้าหน่วยราชการต่างๆ ในจังหวัดเลยทำให้มีความเข้าใจมากขึ้นถึงปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในรากหญ้าของภาคอีสานและภาคเหนือ

สรุปได้ว่า ความรู้สึกของคนรากหญ้าในอีสาน พอใจกับ แผนการปรองดอง

ของนายกฯ อภิสิทธิ์ ความโกรธ เกลียด แค้น จากเหตุการณ์ 10 เมษาฯ ลดลงเพราะรากหญ้าเห็นทางออก รัฐบาลก็มองเรื่องความยากจน ความเหลื่อมล้ำและพยายามจะสร้าง Roadmap ให้สำเร็จให้ได้

อย่างไรก็ตาม ดูจากเหตุการณ์ที่ราชประสงค์ที่ยังตกลงกันไม่ได้ อาจจะพูดได้ว่า น่าจะเป็นเพราะเสื้อแดง 3 กลุ่มขัดแย้งกันเอง

กลุ่มแดง-พรรคเพื่อไทย ส่วนมากจะชอบการเจรจา ไม่ใช้ความรุนแรง ยกเว้นส.ส.ไม่กี่คน เช่น พายัพ ปั้นเกตุ เป็นต้น การเลือกตั้งในปลายปีก็รับได้และพร้อมจะหาเสียงเลือกตั้ง

กลุ่มแดง-นปช แบ่งเป็น 2 แดง แดงที่มองความปรองดอง เช่น คุณวีระ มุสิกพงศ์มองเห็นบันไดก็อยากลง

นายพรศักดิ์ เจียรณัย ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย,นายอุดมศักดิ์ จรกิจ รองผู้ว่าฯ ,
ผศ.สนิท เหลืองบุตรนาค อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และ
นางนงเยาว์ กัลยาลักษณ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาเลย
ร่วมให้การต้อนรับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อย่างอบอุ่น


ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และคณะผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเลย
ร่วมกิจกรรมตักบาตรวันพุธเช้าหน้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเลย


แต่ก็ยังมีแดงฮาร์ดคอร์อีกกลุ่มหนึ่ง ก็รู้ๆกันว่า ใครเป็นอะไร ยังมองว่าต้องสู้กันต่อไป

จากการวิเคราะห์ของหลายฝ่ายที่จังหวัดเลย คิดว่าความปรองดองน่าจะเกิดขึ้นได้ ยังมีการต้องสู้กันบ้างในระหว่างกลุ่มแดงที่ยังต้องการประท้วง การสนับสนุนของส.ส.พรรคเพื่อไทย ส่วนใหญ่ก็คงไม่เต็ม 100% พลังของการประท้วงน่าจะน้อยลง

ปัญหาอื่นๆ ของจังหวัดเลย อาจจะหมายถึงภาคอีสานทั้งหมดก็คือ เรื่องความยากจนซึ่งผู้ว่าอธิบายว่า เครื่องมือในการแก้ปัญหาของภาครัฐมีไม่พอ ถึงจะมีนโยบายก็ต้องประสานงานให้มากขึ้น และเห็นบทบาทของการแก้ปัญหาท้องถิ่นถูกกำหนดจากส่วนกลางเป็นส่วนใหญ่ เช่น นโยบายการศึกษา นโยบายการพัฒนาการเกษตร กลางและท้องถิ่นยังไม่ทำงานเป็นทีมเดียวกัน

แต่ที่เป็นปัญหาที่มาเร็วและต้องแก้ไขฉับพลันคือ เรื่องภัยธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นงานหลักของจังหวัด มีทั้งพายุและดินถล่ม ผู้ว่าฯ บอกว่า "ปัญหาภัยธรรมชาติจะรุนแรง และต้องการการแก้ไขอย่างรวดเร็วเพื่อลดความสูญเสียของประชาชน"

ปัญหาสุดท้าย คือ การกระจายอำนาจของส่วนกลางไปยังท้องถิ่น อบจ. อบต. เทศบาล มีทรัพยากรมาก แต่ไม่มีการประสานงานในระดับนโยบายกับส่วนกลาง ทำให้ใช้ทรัพยากรไม่ได้ผล ไม่ตกถึงมือประชาชนเท่าที่ควร

บทเรียนเหล่านี้ ถ้าเรียนในตำราก็อาจจะเขียนวิทยานิพนธ์ได้หลายเล่ม แต่ช่วงเวลาที่ผมไปอยู่ 2 วันก็ได้เรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ จึงมาแบ่งปันให้ท่านผู้อ่าน

ส่วนสุดท้าย ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาเลย ผมใช้เวลา 2 วัน ประมาณ 12 ชั่วโมงกับการพัฒนา เน้นเรื่องการให้ครู ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ประมาณ 100 คน มีส่วนร่วมกันพัฒนาการทำงานในอนาคต ซึ่งสำเร็จได้เพราะ





ภาพบรรยากาศการเรียนรู้ "การสร้างวิสัยทัศน์และการค้นหาค่านิยม
องค์กรของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเลย" โดยมี ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
ทำหน้าที่เป็นผู้ให้ความรู้ และโค้ช เมื่อวันที่ 11- 12 พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา


* ผู้นำ คือ ผอ. นงเยาว์ กัลยาลักษณ์ ต้องเอาจริงในการสร้างทัศนคติและปรับการทำงานให้เป็นแนวเดียวกัน

ได้เชิญผมและทีมงานไปกระตุ้นครูเหล่านั้นให้หันมาสำรวจตัวเองว่า เป็นครูเพื่ออะไร? ปลูกฝังค่านิยมหรือแก่นนิยมที่ดีต่อคุณภาพของลูกศิษย์

ใน 2 วัน ได้มีโอกาสแบ่งปันความรู้กัน โดยวันแรกจะเน้นการมีส่วนร่วมของทุกคนในการหาเข็มทิศไปข้างหน้า หรือ shared vision

วันที่ 2 หายุทธวิธีที่สำคัญ 2 เรื่องใหญ่ๆ

* การหา Winning Team และสร้างวัฒนธรรมที่เหมาะสมของทีม และ

* การปรับ Mindset ของทุกคนว่า ถ้าไม่ทำการศึกษา ก็คงจะมีแต่แย่ลง แย่ลง

จึงเป็นบทเรียนที่ผมอยากฝากไว้ให้ผู้อ่านได้นำไปคิดต่อ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
[email protected]
www.gotoknow.org/blog/chiraacademy
แฟกซ์0-2273-0181
 
หมายเลขบันทึก: 376796เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2010 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2012 09:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท