ดูงานวันที่สามต่อ


ช่วงบ่ายเราก็เดินทางกันต่อไปยังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งอยู่บริเวณเดียวกับกรมวิเทศสหการ (เดิม) ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ แถวสะพานขาว ซึ่งหากเราต้องสอบภาษาอังกฤษเพื่อชิงทุนไม่ว่าจะเป็นไปดูงานหรือเรียนต่อก็ต้องรู้จักที่นี่ แต่คราวนี้ไม่ได้มาสอบแต่มาฟังบรรยายจากเจ้าหน้่าที่ของสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์                                

ท่านได้เล่าความเป็นมาของสภาพัฒน์ ว่าเริ่มแรกเรียกว่าสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ เมื่อปี 2493 ต่อมาพ.ศ. 2502 เปลี่ยนชื่อเป็นสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ และปี 2515 เป็นชื่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปัจจุบัน ดร.อำพน กิติอำพน เป็นเลขาธิการมีรองเลขาธิการจำนวน 6 ท่านและที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงานจำนวน 7 ท่าน                       

ปัจจุบันแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมาถึงแผน 10 สิ้นแผนปี 2554 อยู่ในช่วงการจัดทำแผน 11 โดยกรอบแนวคิดและหลักการของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 11 พัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเีพียง ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม พัฒนาประเทศสู่ความสมดุลในทุกมิติอย่างบูรณาการและเป็นองค์รวม                                            

 วิสัยทัศน์ประเทศไทย พ.ศ. 2570

"คนไทยภาคภูมิใจในความเป็นไทย มีมิตรไมตรีบนวถีแห่งความพอเพียง ยึดมั่นในวัฒนธรรมประชาธิปไตยและหลักธรรมาภิบาลการบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานที่ทั่วถึง มีคุณภาพ สังคมมีความปลอดภัยและมั่นคง อยู่ในสภาะแวดล้อมที่ดี เกื้อกูลและเื้อื้ออาทรซึ่งกันและกัน ระบบการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงทางด้านอาหารและพลังงานอยู่บนพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ที่พึ่งตนเองและแข่งขันได้ในเวทีโลกสามารถอยู่ในประชาคมโลกอย่างมีศักดิ์ศรี"                              

วิสัยทัศน์แผนพัฒนาฉบับที่ 11

"ประเทศมีความมั่นคงเป็นธรรมและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง"



คำสำคัญ (Tags): #สภาพัฒน์
หมายเลขบันทึก: 377469เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2010 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ตามความก้าวหน้า 3 บันทึกใหม่
  • ขอขอบคุณ สำหรับการสาระเพื่อการเรียนรู้ ที่นำมาแบ่งปัน

  • ขอบคุณ คุณสามสัก ที่ติดตามค่ะ มีความเห็นก็แลกเปลี่ยนกันได้นะคะ
  • ตัวเองแม้ไม่ถนัดในเรื่องแผนสักเท่าไร แต่เห็นว่าหากเรานำแผนไปปฏิบัติจริงๆ ได้ก็น่าจะดี เพราะดูหลักการแล้วดีมาก 
  • มีแต่คนอ้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน แต่ไม่ได้คำนึงถึงการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กันจริงๆ เลย เพราะมีแต่พัฒนาเพื่อนำเงินมาใช้เท่านั้น 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท