คำแนะนำดีๆ จาก A.K SEN ผู้รับรางวัลโนเบล


 

บทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้า  ฉบับวันเสาร์ ที่ 24 กรกฏาคม 2553

 

คำแนะนำดีๆ จาก A.K SEN ผู้รับรางวัลโนเบล (บทเรียนจากความจริง กับดร.จีระ)

 

ช่วงนี้ประเทศไทยมีข่าวดีหลายเรื่อง สัปดาห์ที่แล้ว ผมเขียนถึงรัฐบาลเดินหน้าการปรองดองปฏิรูปประเทศไทย ผู้อาวุโส 2 ท่าน คือ คุณอานันท์ ปันยารชุน และคุณหมอประเวศ วะสี รับบทบาทสำคัญไป

ยิ่งไปกว่านั้น เรื่องเศรษฐกิจไทย ผมเน้นเรื่องมีความแข็งแกร่งและทนทาน (Resilience) มาก

คุณทักษิณเคยพูดถึงคุณอภิสิทธิ์และคุณกรณ์ว่า เศรษฐกิจไทยไปไม่รอดเพราะ เด็ก 2 คน ไปๆ มาๆ เด็ก 2 คน เริ่มเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น อย่าดูถูกคนครับ คุณทักษิณ ไม่ใช่ท่านเก่งคนเดียว

การส่งออกของไทยเฉพาะเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้น 46.3% เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว

เมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียด้วยกันอัตราการขยายตัวไทยดีที่สุด

จีน 43.9%
ไต้หวัน 34.1%
เกาหลีใต้ 30.1%
สิงคโปร์ 28.3%
เวียดนาม 26.7%

ภาพคุณ A.K.Sen จากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์
ฉบับวันพุธที่ 21 กรกฎาคม 2553
สัมมนา หลักสูตร การสร้างทุนแห่งความสุขเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ (Happiness Capital Development Program) โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และอาจารย์สุรวัฒน์ ชมภูพงษ์ ที่โรงแรมสวิสโฮเต็ล เลอ คองคอร์ด เมื่อวันพุธที่ 21 กรกฎาคม 2553



อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยต้องไม่ประมาท เพราะปัจจัยเสี่ยงยังมีอยู่มาก แต่ก็เป็นข่าวดีในช่วงนี้และให้เห็นว่า รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ก็ทำได้ ตราบใดรัฐที่กระตุ้นและสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีกำลังที่จะแข่งขันต่อไป

การมองโอกาสครั้งนี้ ไปสู่อนาคตเพื่อรองรับความเสี่ยงคือ

* ผลักดันการท่องเที่ยวไทยให้มีบทบาทมากขึ้น กำหนดเป้าหมายภายใน 10 ปี มีรายได้จากการท่องเที่ยวเท่าไหร่ มีนักท่องเที่ยวเข้ามาประเทศไทยมีจำนวนเท่าไหร่?

* กระตุ้นการบริโภคในประเทศ ผมเห็นด้วยว่าจังหวะนี้ รัฐบาลเน้นการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้สูงหน่อย เช่น 15% ขึ้นไป และเน้นการพัฒนาฝีมือ และความรู้ของแรงงานโดยเฉพาะแรงงานในการส่งออก

* เน้นการพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรมต่างๆ

* อุตสาหกรรมส่งออก ต้องเน้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เอาใจช่วยรัฐมนตรีอลงกรณ์

สัปดาห์นี้ผมขอยกข่าวจากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เมื่อวันพุธที่ 21 กรกฎาคม 2553 ที่ผ่านมา

รายงานคำสัมภาษณ์ของอาจารย์ A.K.Sen นักเศรษฐศาสตร์ของอินเดีย

ผมโชคดีเมื่อตอนหนุ่มๆ ได้รู้จัก กับ A.K.Sen ตั้งแต่ท่านยังไม่ได้ Nobel ทางเศรษฐศาสตร์ เคยอยู่บนเวทีสัมมนาในต่างประเทศและก็ได้คุยกันทาง E-mail หลายครั้ง พยายามจะเชิญท่านมางานสัมมนานานาชาติของมูลนิธิฯ

คุณ A.K.Sen เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มองความจริงและข้ามศาสตร์

งานของท่านที่ได้ Nobel เป็นเรื่อง การโยงเศรษฐศาสตร์เข้ากับสังคมและเรื่องการอดอยากของคนในโลก เช่น เน้นการเจริญทางเศรษฐกิจ Economic Growth ว่าทำให้คนรากหญ้ามี เสรีภาพ ซึ่งผิดกับคุณทักษิณที่ให้คนรากหญ้าไทยพึ่งนักการเมืองไปเรื่อยๆ

ท่านวิจัยว่าการอดอยากอาหารเป็นเพราะการเมืองและระบบไม่ใช่ปัจจัย
ภาพบรรยากาศการบรรยาย เรื่อง "การบริหารทุนมนุษย์สู่ความสำเร็จ" ซึ่งเป็นระบบการเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม จัดโดย คุณเก็จวลี ลิขิตนุรักษ์ ผู้อำนวยการบริษัท เอ็นทียู (ประเทศไทย) จำกัด
การประชุมระดับนานาชาติ หัวข้อ "Mega-Trend in Human Capital and Labour Productivity towards Global Integration" จัดโดย กระทรวงแรงงาน ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ซึ่งได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นประธานพิธีเปิด เมื่อวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2553 ณ ห้องประชุม ESCAP Hall ตึกสหประชาชาติ กรุงเทพฯ

อุปสงค์ อุปทาน ไม่ใช่ขาดแคลนอาหาร

คุณ A.K.Sen มาพูดที่ ESCAP ท่านเน้น 3 เรื่อง คือ การศึกษาเป็นรากฐานสำคัญของประชาธิปไตย ทุกรัฐบาลต้องให้การศึกษา เพราะประชาธิปไตยต้องมีการหารือกันไม่ใช่ให้หัวคะแนนสั่งการ ผมจึงเสริมว่าถ้าให้การศึกษาช่วยไม่ใช่คำนึงถึงแค่ปริมาณ ไทยให้คนเรียนฟรี แต่ควรเป็นการศึกษาที่มีคุณภาพคือ ให้นักเรียนคิดเป็น วิเคราะห์เป็น

อย่างเช่น นโยบายเรียนฟรีของรัฐบาลต้องให้คนจนได้เรียนฟรีที่มีคุณภาพ และจัดการศึกษาของโรงเรียนยากจนให้มีทรัพยากรที่เพียงพอไม่ใช่โรงเรียนทุกแห่งมีรายจ่ายต่อหัวเท่ากัน

ยิ่งไปกว่านั้น ท่านยังพูดเรื่องอาหาร (Food) ซึ่งประเทศไทยมีประเด็น 2 ประเด็น

1. การให้เด็กไทยยากจนมีอาหารกลางวัน+ นม ซึ่งรัฐบาลทำอยู่ แต่ที่น่าวิตกก็คือ สารอาหารของเด็กวัยแรกเกิด 1- 3 ขวบ และในถิ่นที่ยากจนขาดสารอาหาร (Nutrition) ทำให้ IQ เด็กมีคุณภาพต่ำ ซึ่งเรื่องนี้ต้องฝาก

* รัฐบาลกลาง

* รัฐบาลท้องถิ่น

* ภาคเอกชน

2. สุดท้าย ท่านบอกว่าไทยเราเก่งเรื่องการแพทย์ ควรจะทุ่มเทในเรื่องแบรนด์ของประเทศไทยให้ได้ ประเทศไทย คงจะต้องสร้างเครือข่ายให้ภาคเอกชนเข้าไปมีบทบาทใน การศึกษาทางตรงและทางอ้อมมากขึ้น

ปัจจุบันรัฐบาลมีบทบาทในการศึกษามากเกินไปจึงเกิดปัญหาเรื่องการควบคุมคุณภาพ ดูได้จากงบประมาณของไทยมีถึง 25% ของงบประมาณทั้งหมด มากที่สุดในเอเชียด้วยกัน

สรุปจากข้อคิดเห็นของ A.K.Sen ทำให้เขาหันมามองตัวเอง ใครจะเป็นคนดูแลการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างแท้จริงในประเทศไทย เพราะปล่อยให้รัฐบาลทำฝ่ายเดียวก็คงไม่รอด เพราะผลประโยชน์การเมืองมีระยะสั้น ไม่เน้นระยะยาว

สัปดาห์นี้ ผมมีภารกิจและกิจกรรมที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

1. จัดสัมมนาหลักสูตรการสร้างทุนแห่งความสุขเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ (Happiness Capital Development Program) ที่โรงแรมสวิสโฮเต็ล เลอ คองคอร์ด เมื่อวันพุธที่ 21 กรกฎาคม 2553 ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับเกียรติจาก อาจารย์สุรวัฒน์ ชมภูพงษ์ เป็นวิทยากรร่วมกับผม นับว่า เป็นบรรยากาศการเรียนที่ดีมาก หลายคนสนใจเรื่องการจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้กับการสร้างความสุขในการทำงานของตนเอง และขององค์กรอย่างจริงจัง

2. บรรยาย เรื่อง "การบริหารทุนมนุษย์สู่ความสำเร็จ" ซึ่งเป็นระบบการเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม จัดโดย บริษัท เอ็นทียู (ประเทศไทย) จำกัด น่าสนใจมากเพราะมีผู้เรียนทั่วประเทศจากหลากหลายองค์กรกว่า 2,000 คน

3 ไปร่วมงานของแสตมฟอร์ด "Mega-Trend in Human Capital and Labour Productivity towards Global Integration" 15-16 กรกฎาคม 2553 ณ ห้อง Royal Ball Room โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล

กิจกรรมเหล่านี้ทำให้ผมมีโอกาสได้ทำประโยชน์ให้สังคมอย่างสม่ำเสมอ สำหรับท่านที่สนใจสามารถร่วมเรียนรู้ได้ใน Blog ของผมที่ www.chiraacademy.com และช่วยส่งความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์มาแลกเปลี่ยนกันด้วยนะครับ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
[email protected]
www.gotoknow.org/blog/chiraacademy
แฟกซ์ 0-2273-0181

 
หมายเลขบันทึก: 378453เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2010 20:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท