vanillawara
นางสาว วราภรณ์ (บุ๋ม) ด่านศิริ

WHAT IS MENTAL MODEL ?


ความคิด และ ความเชื่อพื้นฐาน ของคนในองค์กร มีความสำคัญในการบริหารคน

ทฤษฎีความเชื่อ .. รูปแบบความคิด .. แบบแผนความคิดอ่าน ...


          ถึงแม้จะยังไม่มีคำแปลภาษาไทยอย่างเป็นทางการ ของคำว่า MENTAL MODEL แต่ฉันเชื่อว่า อีกไม่นาน เราจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับสิ่งที่เรียกว่า MENTAL MODEL มากขึ้นแน่นอนค่ะ ^^

 

          มนุษย์ทุกคนแตกต่าง .. นอกจากกายภาพที่แตกต่างแล้ว จิตใจเราก็ยังต่าง ความคิดเราก็ต่าง ความเชื่อก็แตกต่าง .. ฉันสามารถพูดได้เต็มปากว่า ในโลกใบนี้ไม่มีใครเหมือนกัน 100% แน่นอน

 

หากถามว่า ความแตกต่างดังกล่าวนี้ ความต่างใดมีอิทธิพลในการดำเนินชีวิตมากที่สุด ?
1. หลายคนเชื่อว่า “ความต่างด้านกายภาพ” มีอิทธิพลสูงสุด กระแสสังคมส่วนใหญ่ยกย่องว่า หากเราเกิดมาฐานะดี มีความรู้ระดับสูง หน้าตารูปร่างดี อาชีพหน้าที่การงานดี จะถือว่าเป็นบุคคลที่มีชีวิตที่น่ายกย่องสรรเสริญ ซึ่งคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะดำรงชีวิตอยู่ในทางโลก ประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับทางโลกเป็นส่วนมาก ตามความเห็นของฉัน การเปลี่ยนแปลงด้านกายภาพถือเป็นความเปลี่ยนแปลงที่เหนื่อย และไม่ยั่งยืนนัก เช่น การจูงใจพนักงานด้วยเงิน หากวันหนึ่งเจ้านายเลิกใช้เงินจูงใจ มีความเป็นไปได้สูงมากที่พนักงานจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงานทันที เป็นต้น

 

 
2. คนจำนวนหนึ่งเชื่อว่า “ความต่างด้านจิตใจ” สำคัญที่สุด หากเราจิตใจดี มีคุณธรรม มีความเมตตาปรานี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ก็ถือว่าเป็นบุคคลที่มีชีวิตที่เป็นแบบอย่าง และคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มักจะดำเนินชีวิตโดยยึดหลักคำสอนของศาสนาเป็นหลัก การเปลี่ยนแปลงจิตใจเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดประสิทธิผลมากที่สุด แต่ในความเป็นจริง การเปลี่ยนแปลงจิตใจ จะค่อนข้างทำได้ยากและจะใช้ได้ผลกับกลุ่มคนที่น้อย และหากคนนั้นๆไม่ได้มีจิตใจที่มั่นคง ก็อาจไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง จะเห็นจากตัวอย่าง ที่โรงเรียนพานักเรียนไปเข้าค่ายธรรมมะประจำปี จะพบว่ามีเด็กเพียงกลุ่มน้อยเท่านั้น ที่หลังจากเข้าค่ายแล้วสามารถเปลี่ยนจิตใจได้อย่างแท้จริง เพราะคนส่วนใหญ่จะมองว่าเรื่องธรรมมะ หรือศาสนา เป็นเรื่องที่ไม่น่าดึงดูดนัก
 

 

3. และมีคนอีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่า หากเรามี ความคิดและความเชื่อที่ดี (GOOD MENTAL MODEL) เราจะสามารถใช้ความคิดและความเชื่อที่ดีนั้น กำหนดการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวันได้ โดยการเปลี่ยนความคิดหรือความเชื่อนั้น จะเป็นการเปลี่ยนการกระทำที่ยั่งยืนกว่าการเปลี่ยนสิ่งอื่น เมื่อความคิดและความเชื่อเปลี่ยน คนสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือจิตใจในระยะยาวได้ โดยความคิดและความเชื่อที่ดีนั้น จะยึดรากฐานมาจากจิตใต้สำนึก ความคิดอ่านข้างใน (Insight of human being) ออกมา ทำให้การเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มาจากต้นตอ ซึ่งหากองค์กรสามารถปรับเปลี่ยนความคิดอ่านและความเชื่อ (MENTAL MODEL) ของพนักงานให้เกิดประสิทธิภาพและเป็นไปตามที่องค์กรต้องการได้ องค์กรก็สามารถเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นชุมชนของการปฏิบัติ (Community of Practice) ที่มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบความคิดและความเชื่อที่สร้างสรรค์

               รูปแบบความคิดและความเชื่อ (MENTAL MODEL) ของคนแต่ละคนนั้น สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ ยืดหยุ่นได้ ตามสถานการณ์ ซึ่งสมมติฐานเบื้องต้นของ Peter Senge ที่ให้ไว้เกี่ยวกับทฤษฎีนี้ กล่าวไว้ว่า คนเราแต่ละคนมี MENTAL MODEL ที่ต่างกัน และ MENTAL MODEL ของแต่ละคนนั้น ไม่สามารถเป็น MODEL ที่สมบูรณ์ที่สุดได้ เราจึงต้องมีการแลกเปลี่ยน พูดคุย แบบเปิดใจกัน (ใช้สุนทรียสนทนา) เพื่อคนเราจะเติมเต็มและตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

 

วันนี้เขียนมายาวมากเลยค่ะ ^^ ยังไม่ได้เข้าประเด็น MENTAL MODEL เลย ยังไงไว้ครั้งหน้าฉันจะมาเขียนต่อว่า “อะไร คือ MENTAL MODEL?” กันแน่ ไว้รอติดตามนะคะ  

 

สำหรับวันนี้ ในเรื่อง “ความต่าง” ทั้งสามประการ หากท่านคิดว่า ความต่างใดที่มีอิทธิพลในการดำเนินชีวิตมากที่สุด อย่างไร สารถแลกเปลี่ยนได้เลยนะคะ ขอบคุณที่ติดตามอ่าน แล้วพบกันใหม่ค่ะ ^^
หมายเลขบันทึก: 379802เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2010 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท