ส่งงาน Online ห้องเสาร์ (เช้า)


หน้านี้สำหรับส่งงานออนไลน์ วิชา เศรษฐกิจในชีวิตประจำวัน เฉพาะห้องที่เรียนวันเสาร์(8.30 - 11.00) เท่านั้นค่ะ

นักศึกษาสามารถส่งงาน Online (เฉพาะงานที่กำหนดให้ส่ง online เท่านั้นค่ะ)

อย่าลืม!

1) กรุณาบอกชื่อ ,รหัสประจำตัว 3 ตัวหลัง และวันที่เรียน จะได้เช๊คชื่อได้ถูกต้องค่ะ

2) หากใครไม่ส่งตามเวลาที่กำหนด ไม่สามารถส่งย้อนหลังได้ค่ะ  จะถือว่าขาดส่งงานนั้นไปเลยค่ะ

 

ขอบคุณค่ะ

(^_^)

คำสำคัญ (Tags): #งาน
หมายเลขบันทึก: 380698เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2010 14:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 14:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

คำถาม online ครั้งที่ 1

"เพราะเหตุใด การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงขาดทุน?"

หมดเขตส่งงานวันศุกร์ที่ 27 ส.ค. 53 เวลา 24.00 น. ค่ะ

หมายเหตุ: กรุณางดการคัดลอกความคิดเห็น หรือข้อความจากแหล่งข้อมูลใดๆ มาใช้  ควรค้นคว้าข้อมูลและสรุปเนื้อความเป็นของตนเองเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่นค่ะ 

นางสาวธีมาพร เลาหกุลวิวัฒน์(ปอย) รหัส 25142099 เรียนวันเสาร์ 8.30 น.ค่ะ

เพราะเหตุใด การรถไฟแห่งประเทศไทยถึงขาดทุน?

อันดับ 1 การบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพ 38.76%

อันดับ 2 เกิดการรั่วไหล /คอรัปชั่น 28.23%

อันดับ 3 การบริการไม่ดีทำให้คนใช้บริการน้อยลง 15.79%

อันดับ 4 มาจากเรื่องของราคาน้ำมันแพง 10.53%

อันดับ 5 ราคาค่าโดยสารถูกเกินไป 6.69%

ที่มา:http://www.ryt9.com/s/sdp/733679

นางสาวธีมาพร เลาหกุลวิวัฒน์(ปอย) รหัส 25142099 เรียนวันเสาร์ 8.30 น.ค่ะ

เพราะเหตุใด การรถไฟแห่งประเทศไทยถึงขาดทุน?

ความคิดเห็นส่วนตัว..คิดว่าเป็นเพราะปัญหาคอรัปชั่นภายในหน่วยงาน เช่น การเบิกค่าใช้จ่ายมาใช้ในการปรับปรุงดูแลภายในหน่วยงานมีการออกนอกระบบ ทำให้โครงการปรับปรุงดูแลไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร มีการบริการที่ไม่ดีทำให้มีผู้ใช้บริการน้อย ทำให้ไม่คุ้มกับการลงทุนที่ทางหน่วยงานลงไป เช่น ค่าเชื้อเพลิง เป็นต้น

ขอบคุณค่ะคุณธีมาพร  เข้ามาตอบคนแรกเลย

สำหรับคนอื่นๆ อาจารย์รออ่านอยู่น่ะค้ะ

(^_^)

ณัฐกุล  แสนพันธ์  รหัส 25343082 บริหารทรัพยากรมนุษย์ ปี 2553/1 เวลา 08:30 - 11:00 น.

 

เพราะเหตุใด การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงขาดทุน

 

1.  มาจากการที่รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ปล่อยปละละเลย ไม่มีความจริงใจที่สืบทอดพัฒนาการรถไฟฯ ให้บรรลุพระราชปณิธานของรัชกาลที่ 5 ที่มีความหมายใหญ่ยิ่งให้มีการรถไฟฯ ไว้เพื่อประโยชน์สูงสุดของการขนส่งภายในประเทศเพื่อชาติและประชาชน รัฐบาลจึงไม่ส่งเสริมลงทุนสร้างทางคู่ให้ทั่วประเทศ และไม่ขยายเส้นทางที่จำเป็น เช่น จากในภาคใต้จากคีรีรัฐนิคมถึงท่าฉัตรไชย-ภูเก็ต ทางสายเหนือจากเด่นชัย-เชียงราย สายตะวันออกเฉียงเหนือจากชุมทางบัวใหญ่-นครพนม

 

2.  ไปลงทุนสร้างถนนหลวงให้รถยนต์ทุกชนิดมาวิ่ง ทำให้ประชาชนใช้จ่ายเงินทั้งค่าน้ำมัน เป็นเหตุให้ขาดดุลการค้า และยังก่อให้เกิดอุบัติเหตุจราจร เสียชีวิต ทุพพลภาพ บาดเจ็บ ปีละนับหมื่นคน และนำไปสู่ก่อให้เกิดมลพิษภาวะโลกร้อน เพราะถ่ายคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นจำนวนมาก

 

3.  รัฐบาลเข้าควบคุมไม่ให้ขึ้นราคามาตั้งแต่ปี 2528 จนถึงปัจจุบันจากราคาน้ำมันลิตรละ 6 บาท จนถึงลิตรละ 28 บาทในปัจจุบัน ค่าโดยสารชั้น 3 ยังคิดอยู่ที่ราคา กิโลเมตรละ 24 สตางค์ ทั้งที่ราคาขณะนี้ต้นทุนราคาจะอยู่ที่ประมาณ 1.30 - 1.50 บาท ต่อ 1 กิโลเมตร

 

4.รัฐบาลไม่จ่ายเงินค่าชดเชยให้ตรงเวลา ตาม พ.ร.บ.การรถไฟฯ พ.ศ. 2494 มาตรา 43 ทำให้รถไฟต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยเงินกู้ปีละประมาณ 1,800 ล้านบาท และยังไม่จ่ายเงินต้น เช่น ขณะนี้รัฐบาลค้างเงินชดเชยรถไฟฯ ถึง 23,000 ล้านบาท แต่กลับกันผู้บริหารการรถไฟฯ ก็ไม่มีความรับผิดชอบกลับไปขออนุมัติ ครม. กู้เงิน 5,015 ล้านบาท แทนที่จะให้รัฐบาลจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมาย

 

5.  มีผู้บริหารที่ไร้ประสิทธิภาพ ขาดจิตสำนึกและมีการคอร์รัปชั่นรวมถึง นักการเมืองที่เข้ามากำกับดูแลการรถไฟฯ ได้ใช้อำนาจแทรกแซงให้ผู้บริหารรถไฟฯ เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทที่เป็นพวกพ้องของเขา รวมทั้งผู้บริหารกินหัวคิวจากการสั่งซื้อวัสดุต่าง ๆ เช่น รถจักร รถพ่วง ราง ไม้หมอนไม่ได้จัดให้มีการจัดซื้อจัดจ้างกันอย่างโปร่งใส

 

6.  เรื่องการทุจริตการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ การบริหารจัดการที่ไร้ประสิทธิภาพ เรื่องหาประโยชน์ทางที่ดิน เช่น ให้เช่าราคาถูก ผู้ประสงค์จะเช่าที่ดินไม่รู้จะติดต่อกับใคร และเมื่อให้เช่าแล้วไม่มีใครเก็บค่าเช่า ปล่อยให้มีการบุกรุกทำการค้าขายฝ่ายทรัพย์สิน ไร้ประสิทธิภาพขาดจิตสำนึก ความรับผิดชอบ ผู้บริหารรถไฟระดับสูงก็ปล่อยปละละเลย 

ปรานอม 089 รุ่น2553/1

บริหารทรัพยากรมนุษย์

1. รัฐบาลกู้สนั่นส่งผลหนี้สาธารณะพุ่งไม่หยุด 9 เดือนเพิ่มแล้ว 4.28 แสนล้านบาท

2. ใช้เงินภาษีประชาชนไปกับการสร้างถนนหลวง มากกว่าส่งเสริมกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย

3. รัฐบาลทุกรัฐบาลในรอบ 50 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ส่งเสริมสนับสนุนการรถไฟแห่งประเทศไทย แล้วยังมีการทุจริตคอร์รัปชั่นในการจัดซื้อจัดหา จึงเป็นต้นเหตุให้การรถไฟฯ ตกต่ำ และพัฒนาล่าช้า มีหนี้สินเพิ่มขึ้น รวมทั้งการที่รัฐบาลควบคุมไม่ให้ขึ้นค่าโดยสารที่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง

4. ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างมากในช่วงปี 2551

5. เก็บค่าบริการราคา "ถูก" เพื่อคนจนเป็นหลัก ทำให้ปรับราคาให้คุ้มทุนจริงๆ ได้ยาก

6. การทุจริตการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ การบริหารจัดการที่ไร้ประสิทธิภาพ การหาประโยชน์ทางที่ดิน

นายศิรศักดิ์ ธนวรรณาภรณ์ 25142104 สาขา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ เช้าเสาร์

หันกลับมาดูรถไฟฟ้าเมืองไทย เอ.........ก็เหมือน ฮ่องกงนะ แล้วทำไม ขาดทุน ผมเจอคำตอบบ้่าง

1. รถไฟฟ้าที่ ฮ่องกง ทางขึ้นทางลง จะเป็น อาคารพาิณิชย์ เรียกว่า กำไรจาก Property

2. ระบบรถไฟฟ้า สอดคล้องกับ รถ BRT และรถ taxi (ผมเคยโบก Taxi ที่ ฮ่องกง คนขับไล่ลงจากรถ ให้ไปขึ้นรถไฟฟ้าแทน เพราะใกล้กว่ามาก รถ taxi ต้องอ้อมไกลมาก)

3. คนที่นั้น นิยม ซื้อตั๋วรายเดือน สังเกตุ คนยืนรอแลกเหรียญน้อยมาก ก็พวกผมนี่ไง

4. คนที่ ฮ่องกง อยู่ Condo หนาแน่นมาก ถือว่าใช้รถไฟฟ้าคุ้มมาก

5. มีการปรับปรุงระบบคมนาคมตลอด เพราะเมืองท่องเที่ยว เอาใจนักท่องเที่ยวมาก ไปทีไร เดินทางสะดวกกว่าเดิมทุกครั้ง

รถไฟฟ้าเมืองไทย ทางขึ้น มักโผล่ มาแถว ฟุตบาต โล่ง แต่เชื่อไหม ที่ดินรอบๆ นะมีคนรวยๆ

ได้ไปนานมากแล้ว ตรงข้ามห้าง Fortune พระราม 9 รัชดา กลุ่ม เซ็นทรัล ได้ที่ดินเปล่ามานานกว่า 8-9 ปีแล้ว ตอนนี้กำลังลงมือก่อสร้าง ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพระราม 9

ประชาชน ได้อะไร ได้ไปซื้อบ้านไกลๆ รอรถไฟฟ้าจะมา

แถวบางใหญ่ คนไม่มากเหมือนรามคำแหง ลาดพร้าว และบางกะปิ แต่ทำไมรถไฟฟ้าจะไปก่อน

ก็เพราะ ที่ดินผู้ใหญ่แถวบางใหญ่มีหลายแปลงไง สมัยก่อนสามแยกแคราย

ตอนนี้เป็น สี่แยกแคราย เจริญกว่า ถนนเพชรบุรีตัดใหม่อีก

ที่มา http://www.oknation.net/blog/bankbank/2009/07/22/entry-1

พัชรีย์ รุ่งอินทร์ 25142100 คอมฯธุรกิจ เสาร์เช้า

"เพราะเหตุใด การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงขาดทุน?"

1.การบริหารงานบุคคล ภายในองค์กรการรถไฟฯตั้งแต่ผู้บริหาร จนถึงเจ้าหน้าที่ระดับล่างล้มเหลว ห่วยแตก นโนบายรับบุคคลภายนอกเข้ามาทำงานได้ 5เปอร์เซ็นต์ คนที่ทำงานอยู่ส่วนใหญ่เป็นญาติ พี่ น้องกันทั้งนั้น

2.การเมืองเข้าไปแทรกแซง จนทำให้องค์กรขาดความโปร่งใส

3.ปัญหาการทุจริต คอรัปชั่น เพราะมีคนในและเจ้าหน้าที่ของการรถไฟฯบางคนเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย รัฐหละหลวม และไม่มีความเด็ดขาดกับการใช้กฎหมายจัดการกับผู้ทำผิด (เก่งแต่ใช้ พรก.ฉุกเฉิน)

4.การบริการไม่ดี บางตู้มีหนู แมลงสาบเป็นผู้ร่วมเดินทางวิ่งพล่านเต็มไปหมด ห้องนำเหม็น การไม่ตรงเวลา ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง (ไม่เชื่อลองถาม toonได้) รถไฟไม่เคยมาก่อนเวลาและถึงปลายทางตามเวลาที่กำหนด เสียชื่อประเทศไทยหมด ไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียที่เปลี่ยนหัวรถจักรไอน้ำมาเป็นหัวรถจักรดีเซล ด้วยฝีมือบริหารของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงคนแรก ทำให้รถไฟไทยทันสมัยที่สุดในเอเชีย


แทบ ไม่น่าเชื่อว่า จากการรถไฟอันทันสมัยที่สุดในเอเชีย มีโรงเรียนช่างเป็นของตนเอง มีที่ดินมหาศาล แต่ทุกวันนี้กลับล้าหลังกว่าหลายประเทศในแถบอินโดจีน

อีก ไม่กี่ปีการรถไฟของอินเดียจะพัฒนาให้มีรถไฟหัวจรวดขับเคลื่อนด้วยความเร็ว ชั่วโมงละ 350 กิโลเมตร เช่นเดียวกับการรถไฟเวียดนามที่เกิดทีหลังบ้านเรา แต่ตอนนี้กำลังสร้างรถไฟหัวกระสุนความเร็วสูง จากกรุงฮานอยเมืองหลวงของเวียดนามสู่เมืองโฮจิมินห์ซิตี้ทางใต้

เห็นแล้วอิจฉา

น.ส. เสาวลักษณ์ พานนาค รหัส 25343100  บริหารทรัพยากรมนุษย์ ปี 2553/1 เวลา 08:30 - 11:00 น.

"เพราะเหตุใด การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงขาดทุน?"

โดยสร้างทางหลวงทั่วประเทศถึงปี 2544 มีความยาว 52,444 กิโลเมตร แต่ทางรถไฟ (รางรถไฟฯ) ได้ขยายเพิ่มขึ้นจากเดิมเพียง ประมาณ 600 กิโลเมตรเท่านั้น รวมทางรถไฟทั่วประเทศมีความยาว 4,170 กิโลเมตร และรัฐบาลต้องเสียค่าซ่อมบำรุงรักษาทางทางหลวงเป็นเงินปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 13,000 ล้านบาท

รวมทั้งการไม่สนับสนุนการก่อสร้างทางคู่แล้ว ทำให้เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนซื้อรถยนต์เพิ่มมากขึ้น และจราจรติดขัด และต้องเสียเงินซื้อน้ำมันเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 350,000 ล้านบาท และเงินต้องไหลออกนอกประเทศในการซื้อรถยนต์ส่วนตัว รถบัส รถบรรทุก รถมอเตอร์ไซด์ ทำให้เงินไหลออกต่างประเทศนับล้าน ๆ บาทต่อปี

โดยสรุปรัฐบาลทุกรัฐบาลในรอบ 50 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ส่งเสริมสนับสนุนการรถไฟแห่งประเทศไทย แล้วยังมีการทุจริตคอร์รัปชั่นในการจัดซื้อจัดหา จึงเป็นต้นเหตุให้การรถไฟฯ ตกต่ำ และพัฒนาล่าช้า มีหนี้สินเพิ่มขึ้น รวมทั้งการที่รัฐบาลควบคุมไม่ให้ขึ้นค่าโดยสารที่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง นี่คือมูลเหตุหลักที่ทำให้การรถไฟฯ ล้าหลัง และขาดทุนสะสมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันมีหนี้สินประมาณ 55,127 ล้านบาท

น.ส.จีราวดี สังฆโสภณ

เพราะเหตุใดรถไฟไทยจึงขาดทุน

1.มาจากการที่รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ปล่อยปละละเลย ไม่มีความจริงใจที่สืบทอดพัฒนาการรถไฟฯ ให้บรรลุพระราชปณิธานของรัชกาลที่ 5 ที่มีความหมายใหญ่ยิ่งให้มีการรถไฟฯ ไว้เพื่อประโยชน์สูงสุดของการขนส่งภายในประเทศเพื่อชาติและประชาชน รัฐบาลจึงไม่ส่งเสริมลงทุนสร้างทางคู่ให้ทั่วประเทศ และไม่ขยายเส้นทางที่จำเป็น เช่น จากในภาคใต้จากคีรีรัฐนิคมถึงท่าฉัตรไชย-ภูเก็ต ทางสายเหนือจากเด่นชัย-เชียงราย สายตะวันออกเฉียงเหนือจากชุมทางบัวใหญ่-นครพนม

2.ไปลงทุนสร้างถนนหลวงให้รถยนต์ทุกชนิดมาวิ่ง ทำให้ประชาชนใช้จ่ายเงินทั้งค่าน้ำมัน เป็นเหตุให้ขาดดุลการค้า และยังก่อให้เกิดอุบัติเหตุจราจร เสียชีวิต ทุพพลภาพ บาดเจ็บ ปีละนับหมื่นคน และนำไปสู่ก่อให้เกิดมลพิษภาวะโลกร้อน เพราะถ่ายคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นจำนวนมาก

3.รัฐบาลเข้าควบคุมไม่ให้ขึ้นราคามาตั้งแต่ปี 2528 จนถึงปัจจุบันจากราคาน้ำมันลิตรละ 6 บาท จนถึงลิตรละ 28 บาทในปัจจุบัน ค่าโดยสารชั้น 3 ยังคิดอยู่ที่ราคา กิโลเมตรละ 24 สตางค์ ทั้งที่ราคาขณะนี้ต้นทุนราคาจะอยู่ที่ประมาณ 1.30 - 1.50 บาท ต่อ 1 กิโลเมตร

4.รัฐบาลไม่จ่ายเงินค่าชดเชยให้ตรงเวลา ตาม พ.ร.บ.การรถไฟฯ พ.ศ. 2494 มาตรา 43 ทำให้รถไฟต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยเงินกู้ปีละประมาณ 1,800 ล้านบาท และยังไม่จ่ายเงินต้น เช่น ขณะนี้รัฐบาลค้างเงินชดเชยรถไฟฯ ถึง 23,000 ล้านบาท แต่กลับกันผู้บริหารการรถไฟฯ ก็ไม่มีความรับผิดชอบกลับไปขออนุมัติ ครม. กู้เงิน 5,015 ล้านบาท แทนที่จะให้รัฐบาลจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมาย

5.มีผู้บริหารที่ไร้ประสิทธิภาพ ขาดจิตสำนึกและมีการคอร์รัปชั่นรวมถึง นักการเมืองที่เข้ามากำกับดูแลการรถไฟฯ ได้ใช้อำนาจแทรกแซงให้ผู้บริหารรถไฟฯ เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทที่เป็นพวกพ้องของเขา รวมทั้งผู้ริหารกินหัวคิวจากการสั่งซื้อวัสดุต่าง ๆ เช่น รถจักร รถพ่วง ราง ไม้หมอนในการไม่ได้จัดให้มีการจัดซื้อจัดจ้างกันอย่างโปร่งใส

6.เรื่องการทุจริตการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ การบริหารจัดการที่ไร้ประสิทธิภาพ เรื่องหาประโยชน์ทางที่ดิน เช่น ให้เช่าราคาถูก ผู้ประสงค์จะเช่าที่ดินไม่รู้จะติดต่อกับใคร และเมื่อให้เช่าแล้วไม่มีใครเก็บค่าเช่า ปล่อยให้มีการบุกรุกทำการค้าขายฝ่ายทรัพย์สิน ไร้ประสิทธิภาพขาดจิตสำนึก ความรับผิดชอบ ผู้บริหารรถไฟระดับสูงก็ปล่อยปละละเลย

ที่มา : www.oknation.net

น.ส.จีราวดี สังฆโสภณ 25142081 คอมพิวเตอร์ธุรกิจฯ

สาเหตุที่การรถไฟไทยขาดทุน (ความคิดเห็นส่วนตัว)

เป็นเพราะการรถไฟมีรายได้ที่น้อยแต่วัตถุดิบหรือต้นทุนของการรถไฟค่อนข้างสูงและไม่สามารถพัฒนาและเรียกเก็บค่าบริการที่เหมาะสมได้เพราะถ้ารถไฟเรียกเก็บค่าบริการที่สูงขึ้นคนก็จะใช้บริการน้อยลงเพราะมีคู่แข่งในด้านการขนส่งที่พัฒนาขึ้นมาแข่งขันสูง รถไฟมีข้อเสียคือ ช้าถ้าในเวลาเร่งรีบผู้ใช้บริการมักจะเลือกเดินทางโดยเส้นทางอื่น

น.ส.อรชนก สิทธาวัฒน์เดชา รหัส 101 เรียนวันเสาร์ 08.30 น.

เพราะเหตุใดการรถไฟแห่งประเทศไทยจึงขาดทุน

1. การปรับเปลี่ยนบทบาทขององค์กรค่อนข้างล่าช้า ในปี พ.ศ. 2433 ซึ่งเป็นปีที่ถือกำเนิดขึ้นของกิจการรถไฟ

องค์กรนี้อยู่ภายใต้สังกัด "กรมรถไฟ" ของกระทรวงโยธาธิการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนเป็น "กรมรถไฟหลวง"

ในระยะเริ่มต้นนี้กิจการรถไฟเป็นหน่วยงานราชการ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ธนาคารโลกได้เสนอให้รัฐบาลไทยปรับปรุงกิจการรถไฟให้มีการบริหารงานอย่างเป็นอิสระ และมีความคล่องตัวเหมือนธุรกิจเอกชน กิจการรถไฟซึ่งเคยบริหารงานแบบราชการ

จึงกลายเป็นรัฐวิสาหกิจที่ชื่อว่า "การรถไฟแห่งประเทศไทย" กระนั้นก็ดี เกือบ 60 ปีที่ผ่านมา ระบบ ระเบียบ หลักเกณฑ์

และการกำกับดูแลภายใน ร.ฟ.ท. ยังไม่สามารถหลุดพ้นออกจากความเป็นราชการได้ ดังจะเห็นได้จาก ร.ฟ.ท. ซึ่งเริ่มต้น

ขาดทุนอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 หรือเกือบ 40 ปีมาแล้ว

2. การขาดความต่อเนื่องทางด้านนโยบาย ในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา มี รมว. คมนาคม 7-8 คน มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการการรถไฟกว่า 10 คณะ ผมคิดว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองบ่อยๆ อาจถือได้ว่าเป็นเรื่องปกติ และการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีที่มาดูแลการรถไฟบ่อยๆ ก็อาจถือได้ว่าเป็นเรื่องปกติเช่นเดียวกัน แต่การที่ไปเปลี่ยนคณะกรรมการรถไฟทุกๆ ครั้ง

ที่มีการเปลี่ยนรัฐมนตรีไม่น่าจะถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะทำให้การทำงานของคณะกรรมการขาดความต่อเนื่อง

และทำให้งานใหญ่ๆ ไม่อาจริเริ่มและดำเนินการต่อไปได้ตลอดรอดฝั่ง

3. ปัญหาของ ร.ฟ.ท. ที่หมักหมมจนเน่าเสียอยู่ในขณะนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับปัญหาการเมือง และปัญหา

ของนักการเมืองโดยตรง เพราะการเปลี่ยนตำแหน่ง รมว.คมนาคม กับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการรถไฟในทุกๆ ครั้ง

มักจะกลายเป็นข่าวอื้อฉาวเรื่องที่ รมต. ตั้งกรรมการรถไฟในลักษณะที่เป็นการให้รางวัลตอบแทนทางการเมือง

หรือตั้งสมัครพรรคพวกเข้ามาช่วยดูแลผลประโยชน์ทางด้านธุรกิจ มากกว่าจะรับบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ

และมีประสบการณ์ที่จะเข้ามาพัฒนา ร.ฟ.ท. ผมคิดว่ายอดขาดทุนรถไฟที่สูงขนาดนี้ หากเป็นธุรกิจเอกชนคง

ถูกฟ้องล้มละลายไปแล้ว

4. การมีส่วนร่วมในทางเศรษฐกิจและสังคมค่อนข้างน้อย เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนการให้บริการการขนส่งทางรถไฟ

กับการขนส่งทางถนนและทางน้ำ การขนส่งทางรถไฟจะมีบทบาทน้อยกว่ามาก กล่าวคือ ในแง่ของการบริการขนส่ง

ผู้โดยสารทั้งหมด รถไฟมีผู้ใช้บริการเพียงร้อยละ 16 ส่วนในแง่ของการขนส่งสินค้า ในปี พ.ศ. 2549 การขนส่งสินค้า

ทางรถไฟคิดเป็นเพียงร้อยละ 2.3 ของปริมาณการขนส่งทั้งหมด ในขณะที่การขนส่งทางถนนมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 85.5

การขนส่งทางน้ำภายในประเทศร้อยละ 6.2 การขนส่งทางทะเลร้อยละ 6.0 และการขนส่งทางอากาศร้อยละ 0.01

5. การกำกับดูแลของคณะกรรมการการรถไฟ การที่ฝ่ายนโยบายมีอำนาจเหนือฝ่ายกำกับดูแล และฝ่ายบริหารของ ร.ฟ.ท.

มาโดยตลอด ทำให้คณะกรรมการการรถไฟไม่สามารถทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างเป็นอิสระและเป็นกลาง การกำกับดูแล

ของคณะกรรมการ จึงกลายเป็นเพียงเครื่องมือของฝ่ายบริหาร ซึ่งขาดความโปร่งใส ขาดการตอบสนองผลประโยชน์ของ

ประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งขาดประสิทธิภาพในการทำงานโดยตลอด

6. ทัศนคติของฝ่ายบริหารและพนักงาน ที่ควรให้ความสำคัญกับประชาชนในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับกิจการของ ร.ฟ.ท.

โดยทั่วไปประชาชนถือเป็นผู้เสียภาษีอากรให้แก่รัฐบาล และรัฐบาลได้นำภาษีอากรเหล่านี้มาอุดหนุนกิจการรถไฟเป็นเวลา

ประมาณ 120 ปีแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 30-40 ปี สุดท้ายนี้ ซึ่งรัฐบาลต้องให้การอุดหนุนกับการขาดทุนของ ร.ฟ.ท.

เป็นอย่างสูงมาโดยตลอด ร.ฟ.ท. ควรตระหนักว่ามีประชาชนส่วนหนึ่งเท่านั้นที่เป็นผู้โดยสารของ ร.ฟ.ท. แต่ประชาชน

ส่วนใหญ่ของประเทศนี้ ต้องถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการ ร.ฟ.ท. ฉะนั้น ร.ฟ.ท. จะต้องให้ความสำคัญกับความรู้สึก

และความคาดหวังของประชาชนต่อ ร.ฟ.ท. อย่างจริงจัง

นางสาวนพมาส คงสมบุญ รหัส 25343085 เรียนวันเสาร์ เวลา 8.30 น.

"เพราะเหตุใด การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงขาดทุน?"

คนไทยมีรถไฟใช้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ และเคยเป็นประเทศที่มีรถไฟทันสมัยที่สุดในเอเชียด้วยซ้ำ แต่เพราะรัฐบาลไทยหลายยุคหลายสมัยไม่สนับสนุนให้คนไทยหันมาใช้รถไฟ แต่ไปสนับสนุนให้คนไทยซื้อรถยนต์แล้วก็สร้างถนนหนทาง สร้างกันเข้าไป สร้างกันทุกยุคทุกสมัย สร้างแล้วก็ซ่อม ซ่อมแล้วก็ซ่อมกันอีก แล้วไง...รถไฟก็เลยไม่มีคนขึ้นไปนั่ง สาเหตุที่คนไม่ค่อยชอบขึ้นรถไฟ

๑. สกปรก ที่นั่งไม่สะอาด ห้องน้ำเหม็น เป็นแหล่งเชื้อโรคอย่างดี

๒. เสียงดัง ร้อนตับแตก

๓. ไม่เคยตรงเวลา

ฯลฯ

เมื่อคนไม่ชอบขึ้นรถไฟ ส่งผลให้การรถไฟขาดทุน อันนี้อาจเป็นแค่สาเหตุเล็กน้อยค่ะ ที่ทำให้การรถไฟขาดทุน แต่สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้การรถไฟขาดทุนมีหลายสาเหตุ ดังนี้

๑. การรถไฟมีที่ดินจำนวนมหาศาลที่ไม่ได้ทำประโยชน์ให้กับการรถไฟ ทั้งๆ ที่มันน่าจะมีเงินรายได้เข้ามาสู่การรถไฟปีละเป็นจำนวนมหาศาล แต่การรถไฟกลับทำได้ไม่ถึงเป้า ปล่อยปละละเลยทำให้สูญเสียรายได้ นั่นก็เพราะการรถไฟมีผู้บริหารที่ไร้ประสิทธิภาพ ประเภทเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ไม่ได้สนใจว่าองค์กรจะเป็นอย่างไรหรือมีปัญหายังไง

๒. การบริหารจัดการที่ไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาการรถไฟให้เจริญรุ่งเรือง รถไฟมีมานานแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งตอนนั้น รถยนต์ยังไม่ได้พัฒนาเหมือนทุกวันนี้ และถือว่ารถไฟเป็นพาหนะที่สามารถโดยสารและบรรทุกคนได้มากที่สุด แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นว่ารถไฟ ดูล้าหลังที่สุด

๓. ภาครัฐไม่ได้เข้าไปช่วยเหลือดูแลอย่างจริงจัง น้ำมันแพงขึ้นแต่ทุกวันนี้มีโครงการนั่งรถไฟฟรี (อันนี้มันก็ดีสำหรับประชาชนนะ) โดยที่รัฐยังไม่สามารถจ่ายค่าชดเชยให้กับการรถไฟได้ อีกทั้งถูกอำนาจทางการเมืองเข้า "แทรกแซง" จนทำให้องค์กรแห่งนี้ขาดความ "โปร่งใส" และกำลังดิ่งลงเหวด้วยการบริหารงานอย่างไร้ประสิทธิภาพและขาดจิตสำนึก ทำให้การรถไฟไม่มีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น โครงการดีๆ หลายโครงการไม่สามารถผุดขึ้นมาได้

๔. การคอร์รัปชั่น อันนี้ขอบอกว่า มีกันทุกวงการ ทุกองค์กรตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงรัฐมนตรี (จะบอกว่าจนถึงนายกฯ บางคนก็เกรงใจ) บางกรณีจะเห็นได้ว่ามี "คนใน" หรือ "เจ้าหน้าที่" ของการรถไฟฯ บางคน เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อหวัง “ค่าอามิสสินจ้าง” ในการใช้อำนาจโดยมิชอบ โดยที่ภาครัฐไม่มีความเด็ดขาดกับการใช้กฎหมายจัดการกับ "ผู้ละเมิด" หรือ "ผู้กระทำผิด"

นั่นคือสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้การรถไฟขาดทุนย่อยยับ อันที่จริงก็ไม่ได้มีความรู้อะไรมาก แต่อยากจะเสนอแนะแนวทางแก้ไขในบางจุดเล่นๆ เผื่อโดนใจกรรมการบ้าง ดังนี้

๑. ภาครัฐน่าจะทำโครงการฝากรถไว้นอกเมือง เข้าเมืองให้ใช้รถไฟ รถเมล์ รถแท็กซี่ รถจักรยานก็พอ รถยนต์ส่วนตัวให้ใช้ได้ในบางเส้นทางเท่านั้น ส่งเสริมให้ลดปริมาณการใช้น้ำมัน ลดปัญหามลพิษและลดปัญหาการจราจร แต่รัฐจะต้องบริหารจัดการระบบขนส่งมวลชนที่ทันสมัยกว่านี้หน่อย ต้องสะดวก เพียงพอต่อความต้องการ สะอาด ปลอดภัย และรวดเร็ว (แต่ที่พูดมาคงทำยาก)

๒. เรื่องที่ดินของการรถไฟที่มีจำนวนมหาศาล ทุกวันนี้ให้เช่าแต่เก็บค่าเช่าไม่ได้ตามเป้า ก็ลองให้บริษัทเอกชนเข้ามาประมูลไปเลย ในเมื่อคนในการรถไฟไม่สามารถบริหารจัดการในส่วนนี้ได้ ก็ประมูลให้บริษัทเอกชนเข้ามาจัดการแทน (จะเกิดการฮั้วประมูลอีกไหมเนี่ย)

๓. ในบางเส้นทางที่มีผู้ใช้บริการน้อย เปลี่ยนจากการขนส่งมวลชนมาเป็นการให้บริการเพื่อการท่องเที่ยวจะดีกว่า เช่น การจัดโปรแกรมท่องเที่ยวในเส้นทางนั้น โดยจัดทำเป็นทัวร์ท่องเที่ยวโดยรถไฟ แบบว่าเป็นรถไฟสำราญ (เรือสำราญมีแล้ว) มีการแวะพักไปตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในเส้นทางที่ผ่าน ซึ่งจะทำให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับบรรยากาศที่แตกต่าง และชื่นชมกับธรรมชาติได้เต็มที่ จัดเป็นทัวร์ เมื่อมีนักท่องเที่ยวตามจำนวนก็ค่อยออกเดินทาง อันนี้คุ้มกว่านะ จุนักท่องเที่ยวได้เยอะดี แวะที่ไหนก็คึกคักกันที่นั่น ส่งเสริมการท่องเที่ยว และยังสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับสถานที่ท่องเที่ยวอีกด้วย

สาเหตุทีลดไฟฟ้าขาดทุน

ปัจจุบันรถไฟขาดทุนปีละหลายพันล้าน แต่ประชาชนก็หวังพึ่งรถไฟไม่ได้

ขาดการปรับปรุง พัฒนา เช่น ตู้รถไฟเก่า สกปรก อุปกรณ์ล้าสมัย ช้า ไม่ตรงเวลา ไม่ทำรางคู่

ปัญหาเรื่องการขาดทุนของ การรถไฟแห่งประเทศไทย ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 38.76 เห็นว่า เกิดจากการบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 43.11 เชื่อว่า แนวทางการแก้ปัญหาการบริหารงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย ด้วยการจัดตั้งบริษัทลูก 2 บริษัท ให้การรถไฟฯ ถือหุ้น 100 เปอร์เซ็นต์ คือ บริษัททรัพย์สิน และ บริษัทเดินรถ ทำหน้าที่ในการพัฒนาและบริหารจัดการเรื่องที่ดิน บริการขนส่งโดยสาร และรถสินค้า จะช่วยฟื้นฟูและแก้ไขปัญหาขาดทุนทางการเงินของการรถไฟฯ ได้ โดย ร้อยละ 42.9 ยอมรับไม่ได้ หากการรถไฟฯ จะขึ้นค่าโดยสารเพื่อลดปัญหาการขาดทุน เพราะเป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่ใช้บริการรถไฟเป็นประจำ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท