บทความที่ได้รับการกล่าวถึง และได้นำมาใช้ในการเรียนการสอนมากที่สุด


บทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 19 กรกฏาคม 2551

8 บทเรียนผู้นำของ Mandela

            หวังว่าแนวทางการเขียนบทความของผมในหนังสือพิมพ์แนวหน้ายุคใหม่ จะทำให้ท่านผู้อ่านได้รับประโยชน์มากขึ้น ย้ำอีกทีว่า ผมได้เสนอแนวคิดเมื่อ 2 อาทิตย์ ที่แล้ว 2 เรื่อง คือ

- Coaching
- Creativity

           ทั้งสองประเด็นเป็นเรื่องสำคัญ Coaching คือ ทักษะที่ผู้นำทุกคนต้องมี คือจะต้อง รู้ปัญหาต่าง ๆ ของลูกน้อง หรือเพื่อนร่วมงานในงานที่ทำ และหาทางแก้ไข ปรับปรุง ผู้นำไม่ใช่นั่งและสั่งการ ผู้นำต้องฝึกฝนให้ลูกน้อง หรือ ผู้ร่วมงานไปสู่จุดที่ประสบความสำเร็จมากขึ้น

            ส่วนเรื่องความคิดสร้างสรรค์ Creativity เป็นเรื่องที่จำเป็นมากเพราะองค์กรไหน ไม่มีแนวคิดใหม่ ๆ และเสนอวิธีการที่จะทำให้องค์กรโดดเด่น และนำไปปฏิบัติ องค์กรเหล่านั้น ก็จะทำงานแบบตัว R เป็นหลัก คือ งาน Routine ประจำวัน เคยทำอย่างไร ก็ทำแบบเดิม Creativity ทำให้คนในองค์กรมีพลัง มี Energy และถ้ามี Energy คนในองค์กรทั้งหมดก็ถูก Energize ขึ้นมา

            อาทิตย์นี้มีวันหยุดยาว ผู้อ่านคงจะสบายๆ อยู่บ้าน หรืออยู่กับครอบครัว หรือไปวัดเพื่อแสวงหาคุณธรรม และธรรมะ
ผมจึงขอเสนอแนวคิดเรื่องภาวะผู้นำ ซึ่งเป็นของอดีตประธานาธิบดีของแอฟริกาใต้ Mr. Nelson Mandela ซึ่งโลกชื่นชมมาก ช่วงนี้เป็นช่วงที่ Mandela อายุครบ 90 ปี หนังสือ Time เล่มใหม่สุด ได้ลงหน้าปกยกย่อง ฉลอง 90 ปี ของ Mandela ซึ่งได้ให้ Wisdom (ความลึกซึ้ง) อย่างน่าสนใจเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่ท่านได้สะสมมาจวบจนทุกวันนี้ 8 เรื่อง

           ในฐานะที่ผมพัฒนาผู้นำอยู่ทุกวัน ได้อ่านแล้ว บอกตัวเองว่า ลึกซึ้งมาก และมาจากประสบการณ์ที่สะสมมานาน เพราะ Mandela มีประสบการณ์อย่างน้อย 3 เรื่อง

           - ช่วงทำงานเริ่มแรกในฐานะนักกฎหมาย มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยคนผิวดำแอฟริกาใต้ให้หลุดพ้นจากการเหยียดผิวของรัฐบาลผิวขาว
           - สู้จนต้องเข้าคุก 27 ปี ท่านผู้อ่านลองคิดดูว่าในช่วง 27 ปี คุณ Mandela มีความมุ่งมั่นที่จะแสวงหา สติและปัญญา อย่างไร
           - การเรียนรู้ในช่วงอยู่ในคุก 27 ปี และดำรงชีวิตให้อยู่รอดช่วง 27 ปี แทนการคิดล้างแค้นคนผิวขาว แต่ได้สร้างความปรองดองระหว่างผิวขาวกับผิวดำและเกิดสันติภาพขึ้นอย่างถาวรในประเทศของเขา

           ผมว่าแค่ 3 ประเด็นนี้ ก็พอเพียงที่จะให้คนไทยทุกคนได้เข้าใจ และนำไปคิด โดยเฉพาะคนที่บ้าคลั่งอำนาจเงิน และอำนาจการเมือง และคิดว่าผู้นำจะต้องเป็นแบบนั้น

           ใน 8 ประเด็นของความเป็นผู้นำของ Mandela มีดังต่อไปนี้

            1. ความกล้าหาญ ไม่ใช่ ไม่มีความกลัว แต่เป็นความสามารถที่จะจุดประกายให้คนอื่นสามารถไปสู่จุดของความเป็นเลิศได้ ตัวอย่างของ Mandela ก็คือเห็นความเจ็บปวด ความอดทน ที่อยู่ในคุก 27 ปี ทำให้คนอีกเป็นจำนวนมาก มีความหวัง ผมชอบมุมมองแบบนี้ เพราะแปลว่า ความกล้าหาญ ไม่ใช่แค่ เป็นทหารกล้าตาย แต่กล้าที่จุดประกายและเป็น Role Model ให้คนอื่น ๆ เป็นเลิศ
           2. การเป็นผู้นำอยู่ข้างหน้า ก็จำเป็น แต่อย่าเปิดแนวหลังให้มีความอ่อนแอ ซึ่งจุดนี้ดีมาก คือ ต้องรุกได้ แต่ต้องตั้งรับ และไม่ประมาท
           3. การนำอยู่ข้างหลัง จะต้องแน่ใจว่า คนที่เรายกย่องให้มีบทบาทอยู่ข้างหน้า ต้องให้เขามีความรู้สึกว่า เขาได้นำอย่างน่าภูมิใจ และสมศักดิ์ศรี อย่างเช่น การเมืองไทยยุคปัจจุบัน คุณทักษิณ คุณเนวิน อยู่เบื้องหลัง คนที่อยู่ข้างหน้าแทนทั้งสองท่าน ต้องสร้างความรู้สึกว่าเขานำจริง ไม่ใช่ทำแบบ "นอมินี"
           4. ข้อนี้ ผมชอบ ถ้าจะจัดการบริหารศัตรู ต้องรู้จักเขาดีว่า เขาชอบอะไร คุณ Mandela เน้นว่า จะศึกษาศัตรูให้ดี ต้องรู้ว่า เขาบ้าคลั่งกีฬาอะไร ผมกำลังเริ่มเขียนบทความ "เรียนรู้กีฬา กับ ดร.จีระ" ในหนังสือพิมพ์สยามกีฬาทุกวันพุธ ประจวบเหมาะเลยว่า ต้องศึกษาคู่ต่อสู้ว่า "เขาชอบกีฬาอะไร" อย่างใครที่อยากรู้จักผมลึก ๆ ต้องรู้ว่าผมบ้าทีมสเปอร์ส ใครจะพูดเรื่องแมนยูฯ หรือ ลิเวอร์พูล ผมก็เฉย ๆ
           5. การจะอยู่อย่างผู้นำควรใกล้ชิดกับเพื่อนแน่นอน แต่กับคู่แข่ง หรือคนที่เราไม่ชอบ ต้องใกล้ชิดมากกว่า ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก ชีวิตคนเราจะคบแต่คนสนิท และคนที่ชอบพอ และไม่สนใจคู่แข่งหรือศัตรูไม่ได้ แนวทางแบบนี้ น่าจะใช้ในวงการธุรกิจ วงการบันเทิง วงการกีฬา และวงการการเมืองได้ดี
           6. ผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี ต้องปรากฏตัวตามที่ต่าง ๆ อย่างมีเกียรติและสง่างามเสมอ เวลาพบผู้คน ต้องยิ้ม และมีความเป็นกันเอง ซึ่งปัจจุบันคนให้ความสำคัญในเรื่องการสร้างภาพลักษณ์ บางองค์กร มีหลักสูตร พัฒนาบุคลิกภาพ หรือ การสอนให้เข้าสังคม หรือ มารยาทในการรับประทานอาหารหรือการแต่งตัวที่เหมาะสม ผมเรียกผู้นำแบบนี้ว่า "Charismatic Leadership" ตัวอย่างที่ดีก็คือ ประธานาธิบดี John F. Kennedy
           7. การเป็นผู้นำแนว Mandela อย่าไปเน้น ถูกหรือผิด แบบ 100% หรืออย่าไปเน้น ขาวหรือดำ 100% บางครั้ง เราต้องมีทางออกที่พบกันครึ่งทาง มีการประนีประนอมที่เหมาะสม แต่รักษาหลักการไว้ และหาทางตกลงกันได้แบบ Win - Win
           8. การเป็นผู้นำที่ดี ต้องรู้ว่าจังหวะไหน จะ "พอ" หรือ จะ "ถอย" ตัวอย่างก็คือ คุณจำลอง กับคุณทักษิณ ดูว่า ผู้นำทั้งคู่ว่า จุดใดที่ชนะแล้ว ควรถอย การถอย ไม่ได้แปลว่า แพ้ อย่างในประวัติศาสตร์การเมืองจะเห็นว่า จอมพล ป. อยู่ไม่ได้ เพราะไม่รู้จักพอ นายกฯเปรม ได้เป็นรัฐบุรุษ เพราะนายกฯ เปรม รู้จักพอ คุณทักษิณ น่าจะอ่าน Time Magazine เล่มหน้าปก Mandela อ่านแล้วต้องเข้าใจและเริ่มเรียนรู้ว่า มนุษย์ทุกคนต้องเรียนรู้ หากคิดว่าสิ่งที่เราคิดต้องถูกเสมอ เพราะเชื่อคนใกล้ชิดเสนอแนะอะไรที่คิดว่าเราชอบ หรือพอใจ ผู้นำที่ดีต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์แบบ 360 องศา (รอบด้าน) เพื่อปรับวิธีคิดและวิธีการทำงาน

            ผมจึงขอฝากแนวคิดของ Mandela ไว้ให้ทุกๆ ท่านได้นำไปคิด แต่อย่า Copy ต้องเข้าใจ understanding ว่า Mandela มาถึงจุดนี้เพราะอะไร และสร้าง Value (คุณค่า) ให้เกิดขึ้นในแต่ละท่าน คือ นำไปสร้างพฤติกรรมที่เหมาะสม แต่ใครจะทำได้แค่ไหน ก็อยู่ที่ความคิด และทัศนคติ และคุณค่า (Value) ที่ทุกๆ คนมองว่าคุณค่าของการเป็นมนุษย์ที่ดีคืออะไร ในเมืองไทยผู้นำหลายๆ คนต้องกลับไปศึกษาทฤษฎีของ Maslow ด้วย ซึ่งเน้นสุดยอดของมนุษย์ คือ ตอนตาย ใครจะพูดถึงเขาหรือไม่ และพูดว่าอะไร ?

หมายเลขบันทึก: 385244เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2010 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

บทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 15 ธันวาคม 2550

ผู้นำรุ่นใหม่: อภิสิทธิ์ , Obama และ Mededev (บทเรียนจากความจริง กับ ดร.จีระ)

บรรยากาศของความสุขและความปลื้มปีติของคนไทยในเดือนธันวาคม 2550 ยังมีต่อไป การเรียนรู้จากแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อนำไปใช้ หรือปรับพฤติกรรมต้องทำอย่างต่อเนื่อง อาจารย์มหาวิทยาลัย ครูมัธยม ครูประถม คงจะใช้แนวคิดของพระองค์ท่านเป็นบทเรียนต่อไป โดยเฉพาะวิธีหาความรู้ของพระองค์ท่านที่เน้น

* บริบทที่ถูกต้องตรงกับสถานการณ์นั้น
* เน้นความจริง
* เน้นความรู้ที่สด
* เน้นการเชื่อมโยงระหว่างวิทยาศาสตร์และสังคม
* และเน้นการวิเคราะห์ให้เป็นระบบ

อย่างไรก็ตาม อีก 1 อาทิตย์ ก็คงจะถึงวันสำคัญ คือ วันเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคมนี้ ซึ่งผมก็ต้องมีขอมีส่วนเล็กๆ ฝากแนวคิดบางอย่างให้ท่านผู้อ่านได้นำไปคิดต่อ แต่แนวคิดหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ เรื่องนักการเมืองรุ่นใหม่กับนักการเมืองรุ่นเก่าซึ่งคนไทยหลาย ๆ คนยังมีความรู้สึกว่าเก่าจะเป็นประโยชน์มากกว่าใหม่ แต่จริง ๆ แล้วก็เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันได้

ในช่วงนี้นักการเมืองระดับผู้นำของประเทศที่ลงสมัครเสนอตัวต่อประชาชน 3 คนและมาจาก 3 ประเทศ คือ

* คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จากพรรคประชาธิปัตย์ ของประเทศไทย ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนจัดตั้งรัฐบาล คุณอภิสิทธิ์นี่แหละคือนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของคนไทย

* อีกท่านหนึ่งก็คือคุณ Barack Obama เป็นนักการเมือง 2 ผิว คือ พ่อเป็นผิวดำแต่แม่ผิวขาว สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในนามพรรคเดโมเครต

* และท่านสุดท้าย หลาย ๆ คนคงไม่ค่อยจะได้ยินนัก คือ Medvedev ซึ่งคุณ Putin จะส่งเขาสมัครเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของรัสเซีย

ผมเองไม่ใช่นักการเมืองแต่ก็ชอบศึกษาประวัติของผู้นำเหล่านี้ และที่จะพูดถึงก็คือทั้ง 3 ท่าน มีอะไรคล้าย ๆ กัน และถ้าจะถือเป็นแนวโน้มการเมืองยุคอนาคตอาจจะเป็นไปได้ ผมจะลองวิเคราะห์ให้ดู

ประการที่หนึ่ง ทั้ง 3 ท่าน เป็นนักการเมืองที่มีอายุใกล้เคียงกัน คุณอภิสิทธิ์ย่างเข้า 44 คุณ Obama 45 ย่าง 46 คุณ Medvedev ปีนี้ 42 หนังสือพิมพ์ของรัสเซียบอกว่าคุณ Medvedev ถ้าเป็นประธานาธิบดี (ซึ่งคงจะชนะแน่เพราะคุณ Putin) จะเป็นประธานาธิบดีของรัสเซียในประวัติศาสตร์ 192 ปี ที่อายุน้อยที่สุด

ประการที่สอง ทั้ง 3 ท่าน เป็นบุคคลที่คนไทยน่าติดตาม คือ เป็นคนมีความรู้ดี และมีความคิดกว้างไกล

* คุณอภิสิทธิ์ เกียรตินิยมอันดับหนึ่งจาก Oxford
* Obama เรียนจบ จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และกฎหมายจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด
* คุณ Medvedev ก่อนคุณ Putin จะดึงมาช่วยงาน เขาเป็นอาจารย์กฎหมายที่ St. Petersburg University ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ

ผู้นำรุ่นใหม่มีการศึกษาดีและกระโดดมาช่วยชาติ น่าจะเป็นจุดที่น่าสนใจ เพราะบางครั้งในประเทศไทยในต่างจังหวัดมีนักเลง มาเฟีย เจ้าของบ่อน ไม่มีอะไรจะทำก็โดดมาเล่นการเมืองซึ่งทั้ง 3 ท่าน เป็นตัวอย่างที่ดี

อีกประการหนึ่งก็คือ มาสู่การเมืองไทยใช้ความรู้มากกว่าเงิน คือจริง ๆ แล้ว เป็นมืออาชีพ และเล่นการเมืองโดย มีอุดมการณ์ .....จะทำประโยชน์ให้แก่ประเทศ ของตัวเอง คุณ Medvedev อาจจะถูกมองว่ามีพี่เลี้ยงดูแลมากหน่อย แต่ก็ได้ดีเพราะมีความรู้

และสุดท้าย ก็คือ จะถูกถามอยู่เสมอว่า มีประสบการณ์พอหรือเปล่า เรื่องนี้ก็น่าสนใจว่าคนที่มีประสบการณ์มากกว่าก็อาจจะไม่ได้ประสบความสำเร็จทุกเรื่อง อย่างคุณ Obama แข่งกับคุณ Hillary Clinton ก็ถูกโจมตีว่าประสบการณ์น้อย แต่ คุณ Obama ก็ฉลาดบอกว่าประสบการณ์ ก็ไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป อยู่นานบางทีก็อาจจะขึ้นกับอำนาจ และอาจจะตัดสินใจผิดได้ คุณ Obama ก็เลยพูดว่า Experience กับ Judgment (การตัดสินใจ) อาจจะไม่ไปด้วยกัน ดูได้จาก การเมืองของไทยผู้ใหญ่ที่เล่นการเมือง อยู่ในขณะนี้ อาจจะคร่ำหวอด แต่ผลงานบางครั้งก็น่าจะวิเคราะห์ว่าจะพาประเทศรอดจริงหรือเปล่า? คุณ Obama ยังยกตัวอย่างว่า มีผู้นำของสหรัฐฯ บางคน มีประสบการณ์สูง อย่างเช่น รองประธานาธิบดี Dick Cheney หรือ อดีตรัฐมนตรีกลาโหม Rumsfeld ก็มองสหรัฐฯ เข้าป่า เรื่อง Irag ก็มี

ผมเขียนก็อยากให้เห็นว่าควรจะให้โอกาสคนรุ่นใหม่บ้าง ผมโชคดีได้ทำงานกับลูกศิษย์อายุน้อย ๆ หรือทีมงาน ผมเปิดโอกาสให้เขาเหล่านั้นได้แสดงออก อย่างในประเทศไทยถ้าไม่ให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงแล้ว อนาคตจะหาผู้นำทางการเมืองที่เสียสละอยากช่วยชาติ แต่ไม่มีเงินมากมายมาดูแลประเทศได้อย่างไร

สุดท้ายโรงเรียนเทพศิรินทร์เปิดตัวโรงเรียนเทพศิรินทร์ เชียงใหม่ เรียบร้อยไปแล้ว ผมในฐานะนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอกราบขอบพระคุณหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ที่มาเป็นองค์ประธานในพิธีมอบพระบรมสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี มอบธงประจำโรงเรียน เปิดป้ายโรงเรียนเทพศิรินทร์ ตลอดจนพิธีลงนามสัตยาบันเครือข่ายเทพศิรินทร์ และอยู่ร่วมงานขันโตก ผมภูมิใจที่เทพศิรินทร์มีที่ภาคเหนือด้วยครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181

บทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 16 พฤษภาคม 2552

ศึกษากรณี คุณยรรยงที่ครม.

            ช่วงนี้เป็นช่วงที่ประเทศไทยมีข่าวร้อน ๆ การเมืองก็ดูจะจาง ๆ ไป

            เช้าวันที่ 14 ก็ได้เห็นข่าวใหญ่ที่น่าสนใจมาก กรณีขออนุมัติครม.ประมูลข้าวโพดของกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 13 ซึ่งรัฐมนตรีพรทิวา ขอให้คุณยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายในมาชี้แจงซึ่งหลังจากนั้นก็มีการถกเถียงกันอย่างหนักระหว่างนายกฯอภิสิทธิ์และ ครม.ท่านอื่นๆ

            โดยคุณยรรยง อธิบายต่อครม. :

  • ครม.ชุดที่แล้วอนุมัติไปแล้ว
  • ครม.ไม่ใช่นิติบุคคล ทำสัญญาเองไม่ได้
  • จะขอให้ความเห็นชอบตามมติเดิม
  • ฟังแรกๆ ก็มีความรู้สึกว่าคุณยรรยงเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ไม่มีความสามารถเอาเสียเลย พูดกับครม.คล้าย ๆ มาสอนมวย นักการเมือง

จึงขอถือโอกาสวิเคราะห์แบบเป็นกลางและอาจจะมีบทเรียนบางอย่างน่าสนใจให้ท่านผู้อ่านได้นำไปวิเคราะห์ดู

  • ประการแรก คุณยรรยง พวงราช เป็นข้าราชการที่มีอนาคตและมีความรู้ดี สมัยที่ผมสอนธรรมศาสตร์ได้พบปะกับคุณยรรยงหลายครั้ง ตั้งแต่ท่านยังทำงานอยู่ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา
  • เป็นลูกอีสานไต่เต้ามาเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เพราะมีความมุ่งมั่น มานะอดทน ใฝ่รู้
  • เริ่มการเรียนจากอาชีวะที่ศรีสะเกษและมาต่อที่จุฬาฯ เป็นศิษย์เก่าอาชีวะศรีสะเกษที่ทำชื่อเสียงให้โรงเรียน
  • ตามที่ทราบกันไม่มีประวัติด่างพร้อย

คำถามคือ ทำไม่จึงเกิดเหตุการณ์ที่ครม.ในวันที่ 13 กับคุณยรรยงทั้งๆที่เป็นข้าราชการที่ดีและเป็นตัวเก็ง ปลัดกระทรวงพาณิชย์คนต่อไป

ผมสนใจบทบาทของนักการเมืองกับข้าราชการประจำมานาน  ทำให้ผมฟังข่าวนี้เป็นพิเศษ

ในยุคทักษิณเป็นยุคที่ข้าราชการตกต่ำสุดขีด เพราะยอมทุกอย่างที่นักการเมืองต้องการเรียกว่าช่วงทักษิณสร้างระบอบนี้ไว้อย่างฝังรากลึก

ประเทศที่เจริญแล้ว ประชาธิปไตยนักการเมืองต้องนำ พร้อมคุณธรรม และธรรมาภิบาล มีประโยชน์ต่อส่วนรวม

ดูสไตล์คุณพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ผู้หญิงเก่งของเราก็คงเข้าใจได้บ้าง หลังจากเรียนงานเป็นรัฐมนตรีพาณิชย์ พักหนึ่งก็เริ่มเห็นช่องทางในกระทรวงพาณิชย์มากขึ้น

เรื่องโควตาประมูลข้าวโพดและโควตาประมูลข้าว ก็เป็นเรื่องที่รัฐมนตรีพรทิวาสนใจเป็นพิเศษ เพราะหมายถึงการหาทรัพยากรเข้าพรรคซึ่งทุกพรรคการเมืองก็คงทำ แต่ต้องทำให้เนียนไม่สร้างผลกระทบเรื่องความโปร่งใสให้รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์

ผมคิดว่าคุณยรรยงคงถูกมอบให้มาเป็นผู้แถลง เพื่อครม.จะได้อนุมัติโครงการดังกล่าว ซึ่งความจริง รัฐมนตรีควรทำหน้าที่เองได้และผมคิดว่า จุดอ่อนของคุณยรรยงคงขาด ประสบการณ์ในระดับความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการกับการเมือง ขาดวิจารณญาณที่รอบคอบ จึงทำไปแล้วถูกใจรัฐมนตรีพรทิวา แต่ไม่ถูกใจ ครม.ทั้งคณะ และจะสร้างปัญหาให้แก่ตัวคุณยรรยงเอง ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือของการเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในสายตานายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์

บทเรียนครั้งนี้ประยุกต์เข้ากับทฤษฎีของการตัดสินผิดพลาดของคนเก่ง ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ ผมได้อ่านหนังสือชื่อว่า Think again เขียนโดย Sydney Finkelstein, Jo Whitehead และ Andrew Campbell ซึ่งร้านคิโนคุนิยะได้นำเสนอให้ผมมาวิจารณ์ให้คนไทยนำไปใช้และวิเคราะห์

ที่ผมชอบหนังสือเล่มนี้เพราะสามารถประยุกต์กับคนไทยได้บางเรื่องและบางเรื่องต้องเข้าใจบริบทของสังคมการเมืองไทยด้วย

ในหนังสือเล่มนี้ เขามี 2 ตาราง

ผิดพลาด

ทางป้องกัน

  • ขาดประสบการณ์
  • ขาดความรอบคอบในการใช้วิจารณญาณ
  • ผลประโยชน์ทับซ้อน
  • เล่นพวกหรือมีความสัมพันธ์ส่วนตัว

 

  • หาข้อมูลให้ครบถ้วน
  • ปรึกษาหารือให้ละเอียดรอบคอบกับทีมงาน
  • ต้องเน้นธรรมาภิบาล
  • ต้องติดตามประเมินผลอย่างใกล้ชิด
  • คุณยรรยงพลาดในทฤษฎีที่ผมยกตัวอย่างมาหลาย ๆ อย่าง เช่น
  • เรื่องแรกคืออ่อนประสบการณ์ในการอธิบายต่อครม.มองไม่ออกว่าถ้าพูดแบบนี้ไปอะไรจะเกิดขึ้น
  • ขาดความรอบคอบในการใช้วิจารณญาณที่เหมาะสม
  • แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ อาจจะถูกการเมืองนำไปสู่ความไม่โปร่งใส

ผลประโยชน์ของใครกันแน่ ชาติหรือส่วนตัว ซึ่งคุณยรรยงต้องไม่อยู่ในกับดักในจุดนี้

ผมคิดว่าทางรอดของคุณยรรยงในอนาคตคือ ถ้าบางเรื่องถูกต้องการเมืองไม่พอใจก็คงต้องทำไปสู่จุดที่ไม่ถูกต้องก็ต้องทำแบบคุณหญิงทิพาวดี คือถ้าฉันถูกย้าย ฉันก็โอเค หรือ วิธีการเน้นแบบกลางๆ แบบ win win ทั้งกระทรวงพาณิชย์และครม.ไม่เสียหน้า ซึ่งประเด็นที่สอง เน้นความฉลาดเฉลียวที่ข้าราชการผู้ใหญ่ ต้องมีการฝึกให้อยู่รอดในการเมืองไทย ผมหวังว่าอ่านคงจะต้องเรียนรู้ว่า คนดีอย่างคุณยรรยงไม่ควรตกเป็นเครื่องมือของนักการเมืองโดยไม่จำเป็น

 และประเด็นสุดท้ายก็คือระบอบทักษิณในอดีตที่พยายามให้ข้าราชการอ่อนแอและยอมศิโรราบต่อนักการเมือง  ผมเห็นเรื่องเหล่านี้มาตลอด มีลูกศิษย์คนหนึ่งเป็นผ.อ.อาชีวะบอกว่าทฤษฎีที่อาจารย์ให้มาในตารางขาดอยู่เรื่องหนึ่งที่ฝรั่งไม่เข้าใจคืออำนาจแฝงทางการเมือง ยุคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล ต้องยกย่องข้าราชการประจำให้เขามีเกียรติและมีศักดิ์ศรี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท