kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

การสร้างและใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (Strategic Route Map) เพื่อกำหนดทิศทางสู่ความสำเร็จในการพัฒนาสุขภาพประชาชน (2):การเชื่อมโยงกับเครื่องมืออื่น ๆ และการนำไปใช้


          จากนั้นอาจารย์ได้ให้ข้อเสนอในการเชื่อมโยง SRM กับเครื่องมือพัฒนาองค์กรอื่น ๆ เป็นตารางไว้คือ

SRM

BSC

RBM

PMQA

กพร.

ประชาชน (value)

Financial

Result

หมวด 7.1

ประสิทธิผล (50%)

Streakholder

Customer

หมวด 7.3 ,7.4

คุณภาพ (10%)

การบริหารจัดการ

Internal process

System

หมวด 1.2,3.2,4.2,6

ประสิทธิภาพ (10%)

Learning &develop

Learning &growth

Driver

หมวด 1.2,3.1

พัฒนาองค์กร (30%)

 

SRM กับบุคลากรในองค์กร

* ทำให้พันธกิจและยุทธศาสตร์ขององค์กรเป็นงานของทุกคน ทุกพื้นที่ และทุกเครือข่าย

* ทำให้ทุกคนตอบว่า “จะทำอะไรเป็นสิ่งสำคัญขององค์กร”

 

การขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ

        เริ่มจากความต้องการที่จะพัฒนา จากการพัฒนาคน องค์กร และการสร้างภาคี โดยองค์กรและชุมชนกำหนดกระบวนการทำให้เกิดการสร้าง SRM ก่อให้เกิด

  1. การบริหารจัดการ  (จากแกนการประสานงานและเครือข่าย)
  2. การประสาน เชื่อมโยงภาคีพันธมิตร
  3. สู่การปฏิบัติงาน
  4. เกิด Operation plan โครงการและกิจกรรมในชุมชน (มีการสร้างตัวชี้วัด และกิจกรรม M&E)
  5. ก่อให้เกิดผลการพัฒนา

 

ฉะนั้นจะเริ่ม SRM  โดย

-  มี concept base และ Project base

-  CSF ที่สำคัญคือการที่มีความร่วมมือระหว่างองค์กรที่ทำงานแบบเจาะจง

-  การแปลง และวัดคุณค่าให้เป็นนามธรรม และวัดได้

-  เริ่มทันที อย่ารอทุกอย่างให้สมบูรณ์ ให้เป็นวิถีชีวิต ทำไปเปลี่ยนแปลงไป

 

ขั้นตอนการทำ SRM

  1. วิเคราะห์บริบท และสถานการณ์
  2. กำหนดจุดหมายปลายทาง
  3. สร้างแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์
  4. สร้าง SLM
  5. นิยามเป้าประสงค์จาก SLM รวมทั้งกำหนด KPI
  6. สร้าง Meni SLM (แผนปฏิบัติงาน)
  7. เปิดงาน และติดตามผล

หมายเหตุ ขั้นตอน 1-3 เป็นกระบวนการสร้าง และขั้นตอน 4-7 เป็นกระบวนการใช้

            สำหรับการสร้างตัวชี้วัดซึ่งใช้กำหนดทิศทางการดำเนินงาน , ใช้ตรวจสอบและควบคุม และติดตามผลการดำเนินงาน และก่อให้เกิดความสำเร็จของการดำเนินงานนั้น อาจารย์ได้ให้ความหมายสิ่งที่เกี่ยวข้องดังนี้

 CSF (critical success factor)  หัวใจแห่งความสำเร็จ  คือ

        อะไรที่เป็นสิ่งที่จุดประกายที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง(อย่างต่อเนื่อง หรือเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่) ที่นำไปสู่ความสำเร็จ

 

KPI คือ

        ต้องทำ หรือจะทำอะไรที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่เหล่านั้น เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้เป็นไปในทิศทางที่ตั้งไว้

 

PI  คือ ตัววัดผลการปฏิบัติการที่ทำให้เกิดผลลัพธ์

 

KRI (Key result indicator) คือผลลัพธ์ที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลง

 

        อาจารย์สรุปว่า ตัวชี้วัดต้องตอบคำถามที่ว่า ประชาชนได้อะไร (ทั้งระยะใกล้ กลาง และไกล) และวัดได้หรือไม่ เท่านั้นเอง

        สุดท้ายอาจารย์พูดถึงความจำเป็นในการใช้ SRM เพื่อกำหนดทิศทางสู่ความสำเร็จในการพัฒนาสุขภาพประชาชน โดย WHO และ SEARO ได้กำหนดให้มีการฟื้นคืนชีพการสาธารณสุขมูลฐานโดยเบนจากการมุ่งการให้บริการ เป็นการมุ่งต่อการพัฒนา ภายใต้บริบททางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง สู่ความเข้มแข็ง และพึงพาตนเองได้ของประชาชน โดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ โดยชักนำให้เกิดการเปลี่ยน

-  เปลี่ยนวิถีการพัฒนา

-  เปลี่ยนกระบวนการทำงาน และเติมช่องว่างการพัฒนา

-  เปลี่ยนทิศทางการมีส่วนร่วม เป็นการเป็นเจ้าของ

-  เปลี่ยนโอกาสที่จะได้ค้นพบความคิดริเริ่มใหม่ ๆ จากที่ต่าง ๆ

-  เปลี่ยนมาใช้มาตรการที่มาจากชุมชนและท้องถิ่นมากขึ้น

 

โดยจุดหมายปลายทางของการส่งเสริมและป้องกันโรคคือ

  1. ประชาชนแสดงบทบาททางสุขภาพได้จริง (ปรับพฤติกรรม)
  2. ภาคีของสังคมมีบทบาทชัดเจนในการสร้าง และสนับสนุน
  3. มีนวัตกรรมเกี่ยวกับการสร้างมาตรการทางสังคมที่มาจากประชาชน
  4. มีการพัฒนาทักษะการจัดการสุขภาพของประชาชน
  5. มีการกระจายข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้อง

 

สิ่งที่สำคัญคือความชัดเจนในแนวคิดอันเป็นรากฐานและการแปลงแนวคิดไปสู่การปฏิบัติ นั่นเอง

 

                              เอวัง

หมายเลขบันทึก: 385575เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2010 13:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 14:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณนะคะที่นำความรู้มาแบ่งปัน

  • ค่อย ๆ อ่านที่ละบรรทัด ก็จะรู้ว่ามันไม่ยาก แต่ทำไม่ได้ เพราะ ... รู้ รู้ กันอยู่
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท